Contents
กองทุนรวมไทยเพื่อความยั่งยืน (กองทุน Thai ESG)
โดย ผศ.ดร.ยุทธนา ศรีสวัสดิ์ อาจารย์ประจำวิชากฎหมายภาษีอากร
เงินค่าซื้อหน่วยลงทุนในกองทุนรวมไทยเพื่อความยั่งยืน (กองทุน Thai ESG หรือ TESG) ใช้เป็น ค่าลดหย่อน ได้ ตามที่จ่ายจริง แต่ต้องไม่เกิน 30% ของ “เงินได้ที่ต้องเสียภาษี” (ไม่ว่าจะเอามารวมยื่นภาษีด้วยหรือไม่) และไม่เกิน ฿100,000 โดยมีเงื่อนไขว่า ต้องถือครบ 8 ปีนับจากวันที่ซื้อ โดยเริ่มตั้งแต่ 21 พฤศจิกายน 2566 ถึง 31 ธันวาคม 2575 1
ทั้งนี้ ในปี 2567 ถึง 2569 ค่าลดหย่อนค่าซื้อกองทุน Thai ESG มีการปรับหลักเกณฑ์โดยเพิ่มสิทธิลดหย่อนขึ้นจากไม่เกิน ฿100,000 เป็น ไม่เกิน ฿300,000 2 และลดระยะเวลาถือครองจากที่ต้องถือครบ 8 ปีนับจากวันที่ซื้อเหลือเพียงครบ 5 ปีนับจากวันที่ซื้อ3 โดยเริ่มตั้งแต่ 1 มกราคม 2567 ถึง 31 ธันวาคม 25694
Thai ESG เป็นสิทธิประโยชน์สำหรับ ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา
สิทธิประโยชน์ที่ได้รับ
ค่าลดหย่อน
คนที่ซื้อกองทุนรวมไทยเพื่อความยั่งยืน หรือ กองทุน Thai ESG สามารถนำเงินนั้นไปใช้เป็นค่าลดหย่อนได้ตามที่จ่ายจริง แต่กฎหมายกำหนดเพดานให้หักลดหย่อนได้ไม่เกินจำนวนที่น้อยกว่าระหว่าง 30% ของเงินได้ที่ต้องเสียภาษีตลอดทั้งปี หรือ ฿100,000 ขึ้นอยู่กับว่าจำนวนใดน้อยกว่าก็ให้หักลดหย่อนตามนั้น โดยไม่กระทบต่อเพดานสิทธิลดหย่อน ฿500,000 ร่วมกับกองทุนการเกษียณอื่นๆ ด้วย5
เช่น ถ้ามีเงินได้ที่ต้องเสียภาษีตลอดทั้งปีเป็นเงิน ฿500,000 แล้วซื้อกองทุน Thai ESG ไป ฿100,000 จะหักได้ตามที่จ่ายจริง ฿100,000 เลย
ทั้งนี้ ในปี 2567 ถึง 2569 ค่าลดหย่อนค่าซื้อกองทุน Thai ESG มีการปรับหลักเกณฑ์โดยเพิ่มสิทธิลดหย่อนขึ้นจากไม่เกิน ฿100,000 เป็น ไม่เกิน ฿300,000 6 และลดระยะเวลาถือครองจากที่ต้องถือครบ 8 ปีนับจากวันที่ซื้อเหลือเพียงครบ 5 ปีนับจากวันที่ซื้อ7 โดยเริ่มตั้งแต่ 1 มกราคม 2567 ถึง 31 ธันวาคม 25698
กำไรได้รับยกเว้นภาษี
กำไรจากการขายกองทุน Thai ESG ที่ถือไว้จนครบเงื่อนไขจะได้รับยกเว้นภาษี9
แต่ถ้าทำผิดเงื่อนไข เช่น ขายก่อนถือครบ 8 ปีนับแต่วันที่ซื้อหน่วยลงทุน กำไรจากการขายกองทุน Thai ESG จะต้องเอาไปเสียภาษีด้วยในฐานะ เงินได้ประเภทที่ 410
ทั้งนี้ ในปี 2567 ถึง 2569 ค่าลดหย่อนค่าซื้อกองทุน Thai ESG มีการปรับหลักเกณฑ์โดยลดระยะเวลาถือครองจากที่ต้องถือครบ 8 ปีนับจากวันที่ซื้อเหลือเพียงครบ 5 ปีนับจากวันที่ซื้อ11 โดยเริ่มตั้งแต่ 1 มกราคม 2567 ถึง 31 ธันวาคม 256912
เงื่อนไขการได้รับสิทธิ
การซื้อกองทุน Thai ESG เพื่อรับสิทธิประโยชน์ทางภาษี จะต้องถือหน่วยลงทุนไว้อย่างน้อย 8 ปีนับแต่วันที่ซื้อหน่วยลงทุน และไม่ขายจนกว่าตัวเองจะถือจนครบ 8 ปี หรือเสียชีวิต หรือทุพพลภาพก่อน13
อนึ่ง หากทำผิดเงื่อนไข เช่น ขายก่อนถือครบ 8 ปี จะต้องคืนสิทธิ์ยกเว้นภาษีที่เคยใช้ลดหย่อน Thai ESG ตั้งแต่ตอนซื้อครั้งแรกพร้อม เงินเพิ่ม และเสียภาษีกำไรที่ได้รับจากการขาย Thai ESG นั้นด้วย14
ทั้งนี้ ในปี 2567 ถึง 2569 ค่าลดหย่อนค่าซื้อกองทุน Thai ESG มีการปรับหลักเกณฑ์โดยลดระยะเวลาถือครองจากที่ต้องถือครบ 8 ปีนับจากวันที่ซื้อเหลือเพียงครบ 5 ปีนับจากวันที่ซื้อ15 โดยเริ่มตั้งแต่ 1 มกราคม 2567 ถึง 31 ธันวาคม 256916
วิธีนับระยะเวลา
การนับระยะเวลา 8 ปีของ Thai ESG จะเป็นการนับระยะเวลาแบบวันชนวัน ปีชนปี เช่น ถ้าซื้อ Thai ESG เมื่อวันที่ 1 พ.ค. 2566 วันที่ครบ 8 ปีคือวันที่ 1 พ.ค. 2574 และจะขายโดยไม่ผิดเงื่อนไข 8 ปีได้ในวันรุ่งขึ้น คือ 2 พ.ค. 2574
ทั้งนี้ ในปี 2567 ถึง 2569 ค่าลดหย่อนค่าซื้อกองทุน Thai ESG มีการปรับหลักเกณฑ์โดยลดระยะเวลาถือครองจากที่ต้องถือครบ 8 ปีนับจากวันที่ซื้อเหลือเพียงครบ 5 ปีนับจากวันที่ซื้อ17 โดยเริ่มตั้งแต่ 1 มกราคม 2567 ถึง 31 ธันวาคม 256918
อ้างอิง
- ^
ข้อ 2 (105) กฎกระทรวงฉบับที่ 126 (พ.ศ. 2509)
- ^
ข้อ 2 (105) วรรคสอง กฎกระทรวง ฉบับที่ 126 (พ.ศ. 2509) และ ข้อ 1 กฎกระทรวง ฉบับที่ 395 (พ.ศ. 2567)
- ^
ข้อ 2 (106) (ข) กฎกระทรวง ฉบับที่ 126 (พ.ศ. 2509) และ ข้อ 3 กฎกระทรวง ฉบับที่ 395 (พ.ศ. 2567)
- ^
ข้อ 4 กฎกระทรวง ฉบับที่ 395 (พ.ศ. 2567)
- ^
ข้อ 2 (105) กฎกระทรวงฉบับที่ 126 (พ.ศ. 2509)
- ^
ข้อ 2 (105) วรรคสอง กฎกระทรวง ฉบับที่ 126 (พ.ศ. 2509) และ ข้อ 1 กฎกระทรวง ฉบับที่ 395 (พ.ศ. 2567)
- ^
ข้อ 2 (106) (ข) กฎกระทรวง ฉบับที่ 126 (พ.ศ. 2509) และ ข้อ 3 กฎกระทรวง ฉบับที่ 395 (พ.ศ. 2567)
- ^
ข้อ 4 กฎกระทรวง ฉบับที่ 395 (พ.ศ. 2567)
- ^
ข้อ 2 (106) กฎกระทรวงฉบับที่ 126 (พ.ศ. 2509)
- ^
ข้อ 2 (106) กฎกระทรวงฉบับที่ 126 (พ.ศ. 2509)
- ^
ข้อ 2 (106) (ข) กฎกระทรวง ฉบับที่ 126 (พ.ศ. 2509) และ ข้อ 3 กฎกระทรวง ฉบับที่ 395 (พ.ศ. 2567)
- ^
ข้อ 4 กฎกระทรวง ฉบับที่ 395 (พ.ศ. 2567)
- ^
ข้อ 2 (105) กฎกระทรวงฉบับที่ 126 (พ.ศ. 2509)
- ^
ข้อ 2 (105) กฎกระทรวงฉบับที่ 126 (พ.ศ. 2509)
- ^
ข้อ 2 (106) (ข) กฎกระทรวง ฉบับที่ 126 (พ.ศ. 2509) และ ข้อ 3 กฎกระทรวง ฉบับที่ 395 (พ.ศ. 2567)
- ^
ข้อ 4 กฎกระทรวง ฉบับที่ 395 (พ.ศ. 2567)
- ^
ข้อ 2 (106) (ข) กฎกระทรวง ฉบับที่ 126 (พ.ศ. 2509) และ ข้อ 3 กฎกระทรวง ฉบับที่ 395 (พ.ศ. 2567)
- ^
ข้อ 4 กฎกระทรวง ฉบับที่ 395 (พ.ศ. 2567)