Contents
ค่าลดหย่อนท่องเที่ยว 2562 (ยกเลิกแล้ว)
โดย ผศ.ดร.ยุทธนา ศรีสวัสดิ์ อาจารย์ประจำวิชากฎหมายภาษีอากร
ค่าลดหย่อนท่องเที่ยว ใช้เป็นค่าลดหย่อนได้ตามที่จ่ายจริง สูงสุด ฿20,000 สำหรับจังหวัดรอง และ อาจลดหย่อนได้สูงสุด ฿15,000 สำหรับจังหวัดหลัก ทั้งนี้เมื่อรวมใช้สิทธิทั้งจังหวัดรองและจังหวัดหลักต้องไม่เกิน ฿20,000 สำหรับค่าบริการท่องเที่ยวมัคคุเทศก์ (ค่าแพ็คเกจทัวร์) ค่าที่พักในโรงแรม รีสอร์ท หรือโฮมสเตย์ ระหว่างวันที่ 30 เมษายน – 30 มิถุนายน 25621
แม้จะใช้คำว่า “ค่าการเดินทางท่องเที่ยวฯ” แต่สิทธิประโยชน์นี้ไม่ได้รวมถึงค่าเดินทาง เช่น ค่ารถ ค่าน้ำมัน ค่าเครื่องบิน แต่อย่างใด
ค่าบริการท่องเที่ยวส่วนนี้เป็นสิทธิประโยชน์สำหรับ ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา
สิทธิประโยชน์ที่ได้รับ
ผู้ที่จ่ายเงินสำหรับท่องเที่ยวในไทยสามารถนำค่าบริการท่องเที่ยวมัคคุเทศก์และค่าที่พักในโรงแรม รีสอร์ท หรือโฮมสเตย์ ไปใช้เป็น ค่าลดหย่อน ได้ตามที่จ่ายจริงสูงสุดปีละไม่เกิน ฿15,000 สำหรับจังหวัดหลัก หรือสูงสุดไม่เกิน ฿20,000 สำหรับจังหวัดรอง และเมื่อรวมกันแล้วต้องไม่เกิน ฿20,0002
เงื่อนไขการรับสิทธิ
คุณเองก็มีสิทธิหักลดหย่อนค่าบริการท่องเที่ยวสูงสุด ฿15,000 ได้ถ้าทำตามเงื่อนไขทั้งหมดต่อไปนี้3
- เป็นค่าใช้จ่ายสำหรับการท่องเที่ยวในประเทศไทย ในพื้นที่จังหวัดหลัก ระหว่างวันที่ 30 เมษายน – 30 มิถุนายน 2562 และ
- เป็นเงินที่จ่ายให้กับผู้ประกอบธุรกิจนำเที่ยวและมัคคุเทศก์ที่จดทะเบียนแล้ว หรือผู้ประกอบการธุรกิจโรงแรมที่จดทะเบียนแล้ว หรือโฮมสเตย์ ที่ได้รับการรับรองมาตรฐานโฮมสเตย์ไทยตามที่กรมการท่องเที่ยวกำหนด รวมถึงค่าที่พักในสถานท่ีพักที่ไม่เป็นโรงแรมแต่อธิบดีเห็นชอบ
ทั้งนี้ คุณยังมีสิทธิหักลดหย่อนค่าบริการท่องเที่ยวสูงสุด ฿20,000 ได้ถ้าทำตามเงื่อนไขทั้งหมดต่อไปนี้4
- เป็นค่าใช้จ่ายสำหรับการท่องเที่ยวในประเทศไทยในพื้นที่ 55 จังหวัดตามที่ประกาศ (จังหวัดรอง) ระหว่างวันที่ 30 เมษายน – 30 มิถุนายน 2562 และ
- เป็นเงินที่จ่ายให้กับผู้ประกอบธุรกิจนำเที่ยวและมัคคุเทศก์ที่จดทะเบียนแล้ว หรือผู้ประกอบการธุรกิจโรงแรมที่จดทะเบียนแล้ว หรือโฮมสเตย์ ที่ได้รับการรับรองมาตรฐานโฮมสเตย์ไทยตามที่กรมการท่องเที่ยวกำหนด รวมถึงค่าที่พักในสถานท่ีพักที่ไม่เป็นโรงแรมแต่อธิบดีเห็นชอบ
“โฮมสเตย์” ที่ใช้ลดหย่อนภาษีได้ต้องเป็นสถานที่พักชั่วคราวที่เจ้าของบ้านนําพื้นที่ในบ้านมาดัดแปลงเป็นห้องพักเพื่อให้บริการนักท่องเที่ยวในลักษณะเป็นรายได้เสริม โดยมีจํานวนไม่เกิน 4 ห้อง มีผู้พักรวมกันไม่เกิน 20 คน และต้องขึ้นทะเบียนกับกรมการท่องเที่ยวด้วย
รายชื่อ 55 จังหวัดรองที่ใช้สิทธิ์ได้
ภาคใต้
- ชุมพร (มีเที่ยวบิน)
- ตรัง (มีเที่ยวบิน)
- นครศรีธรรมราช (มีเที่ยวบิน)
- นราธิวาส (มีเที่ยวบิน)
- ปัตตานี
- พัทลุง
- ยะลา
- ระนอง (มีเที่ยวบิน)
- สตูล
ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
- กาฬสินธุ์
- ชัยภูมิ
- นครพนม (มีเที่ยวบิน)
- บึงกาฬ
- บุรีรัมย์ (มีเที่ยวบิน)
- มหาสารคาม
- มุกดาหาร
- ยโสธร
- ร้อยเอ็ด (มีเที่ยวบิน)
- เลย (มีเที่ยวบิน)
- ศรีสะเกษ
- สกลนคร (มีเที่ยวบิน)
- สุรินทร์
- หนองคาย
- หนองบัวลำภู
- อุดรธานี (มีเที่ยวบิน)
- อุบลราชธานี (มีเที่ยวบิน)
- อำนาจเจริญ
ภาคเหนือ
- กำแพงเพชร
- เชียงราย (มีเที่ยวบิน)
- ตาก (มีเที่ยวบิน)
- นครสวรรค์
- น่าน (มีเที่ยวบิน)
- พะเยา
- พิจิตร
- พิษณุโลก (มีเที่ยวบิน)
- เพชรบูรณ์
- แพร่
- แม่ฮ่องสอน (มีเที่ยวบิน)
- ลำปาง (มีเที่ยวบิน)
- ลำพูน
- สุโขทัย (มีเที่ยวบิน)
- อุตรดิตถ์
- อุทัยธานี
ภาคกลาง ภาคตะวันออก ภาคตะวันตก
- จันทบุรี
- ชัยนาท
- ตราด (มีเที่ยวบิน)
- นครนายก
- ปราจีนบุรี
- ราชบุรี
- ลพบุรี
- สมุทรสงคราม
- สระแก้ว
- สิงห์บุรี
- สุพรรณบุรี
- อ่างทอง
จังหวัดหลัก
- กรุงเทพมหานคร
- กระบี่
- กาญจนบุรี
- ขอนแก่น
- ฉะเชิงเทรา
- ชลบุรี
- เชียงใหม่
- นครปฐม
- นครราชสีมา
- นนทบุรี
- ปทุมธานี
- ประจวบคีรีขันธ์
- พระนครอยุธยา
- พังงา
- เพชรบุรี
- ภูเก็ต
- ระยอง
- สมุทรสาคร
- สมุทรปราการ
- สงขลา
- สุราษฎร์ธานี
- สระบุรี
หลักฐานที่ต้องใช้
- ใบกำกับภาษี ใบเสร็จหรือหลักฐานการจ่ายเงินจากผู้ประกอบธุรกิจนำเที่ยว ผู้ประกอบธุรกิจโรงแรม โฮมสเตย์ หรือที่พักที่ระบุชื่อคุณ พร้อมวันที่และจังหวัดที่พัก รวมถึงจำนวนเงิน5
เรื่องที่มักเข้าใจผิดบ่อย
บางคนเข้าใจผิดว่าใบเสร็จหรือหลักฐานการจ่ายเงินจาก website ที่เป็นตัวแทนรับจองที่พัก เช่น Agoda, Expedia ฯลฯ สามารถนำมาใช้ลดหย่อนภาษีได้ซึ่งเป็นความเข้าใจที่คลาดเคลื่อน เพราะเอกสารเหล่านี้ไม่ใช่เอกสารที่ออกโดยผู้ประกอบธุรกิจโรงแรมโดยตรง จึงไม่สามารถนำไปใช้สิทธิหักลดหย่อนได้
นอกจากค่าลดหย่อนเที่ยวเมืองรองจะสามารถใช้ลดหย่อนภาษีได้แล้ว รัฐบาลยังมีสิทธิ์ลดหย่อนภาษีให้คุณเลือกใช้อีกมากมาย คุณสามารถเลือกใช้สิทธิ์ลดหย่อนภาษีได้ตามความต้องการของตัวเองที่ iTAX shop
เรื่องอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง
อ้างอิง
- ^
กฎกระทรวง ฉบับที่ 344 (พ.ศ. 2562)
- ^
ข้อ 3 กฎกระทรวง ฉบับที่ 344 (พ.ศ. 2562)
- ^
ข้อ 2(2) กฎกระทรวง ฉบับที่ 344 (พ.ศ. 2562)
- ^
ข้อ 2(1) กฎกระทรวง ฉบับที่ 344 (พ.ศ. 2562)
- ^
ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีเงินได้ (ฉบับที่ 349)