Contents
ค่าซ่อมแซมบ้านน้ำท่วม 2567
โดย ผศ.ดร.ยุทธนา ศรีสวัสดิ์ อาจารย์ประจำวิชากฎหมายภาษีอากร
ค่าซ่อมแซมบ้านน้ำท่วม (ค่าซ่อมบ้านจากอุทกภัย) ใช้เป็นค่าลดหย่อนได้ตามที่จ่ายจริง สูงสุด ฿100,000 สำหรับคนที่จ่ายค่าซ่อมแซมและค่าวัสดุอุปกรณ์ของบ้าน อาคารและคอนโด ที่เกิดจากเหตุน้ำท่วม ซึ่งจะเป็นที่อยู่อาศัย ประกอบกิจการ หรือใช้ประโยชน์อื่นใดก็ได้ โดยต้องเป็นค่าซ่อมแซมที่จ่ายระหว่าง 16 สิงหาคม ถึง 31 ธันวาคม 25671
ค่าซ่อมแซมบ้านน้ำท่วม เป็นสิทธิประโยชน์สำหรับ ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา
สิทธิประโยชน์ที่ได้รับ
ผู้ที่จ่ายค่าซ่อมแซมบ้าน อาคารและคอนโด สามารถนำค่าซ่อมแซมที่จ่ายไประหว่าง 16 สิงหาคม ถึง 31 ธันวาคม 2567 นั้นไปใช้เป็นค่าลดหย่อนได้ตามที่จ่ายจริงสูงสุดไม่เกิน ฿100,000 ทั้งนี้ อาจเป็นการซ่อมแซมบ้าน อาคาร และคอนโดมากกว่า 1 แห่งก็ได้ แต่เมื่อรวมสิทธิจากทุกแห่งรวมกันแล้วต้องไม่เกิน2)
สิทธินี้รวมถึงค่าซ่อมเฟอร์นิเจอร์ เครื่องสุขภัณฑ์ ประตู หน้าต่าง รั้ว ประตูรั้ว สนามหญ้า สระว่ายน้ำ บ่อเลี้ยงปลา แท็งก์น้ำ ปั๊มน้ำ ท่อน้ำ บ่อหรือถังบำบัดน้ำเสีย หลอดไฟฟ้า สายไฟฟ้า3)
เงื่อนไขการรับสิทธิ
คุณเองก็มีสิทธิหักลดหย่อนค่าซ่อมบ้านได้ถ้าทำตามเงื่อนไขทั้งหมดต่อไปนี้
- ทรัพย์สินนั้นเป็นทรัพย์สินที่ได้รับความเสียหายจากเหตุน้ำท่วมระหว่าง 16 สิงหาคม ถึง 31 ธันวาคม 2567 และอยู่ในพื้นที่ที่ทางราชการประกาศให้เป็นพื้นที่ประสบสาธารณภัยหรือ เขตการให้ความช่วยเหลือผู้ประสบภัยพิบัติกรณีฉุกเฉิน4)
- คุณเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ ผู้เช่า หรือผู้ใช้ประโยชน์จากทรัพย์สินนั้น เพื่อเป็นที่อยู่อาศัย ใช้ประกอบกิจการ หรือใช้ประโยชน์อื่นใดก็ได้5)
อนึ่ง ถ้ามีที่อยู่อาศัยมากกว่าหนึ่งแห่ง ให้รวมคำนวณค่าซ่อมแซมหรือค่าวัสดุหรืออุปกรณ์ในการซ่อมแซมทรัพย์สินทุกแห่งเข้าด้วยกัน แต่เมื่อรวมแล้วต้องไม่เกิน ฿100,0006)
นอกจากนี้ หากมีผู้จ่ายเงินค่าซ่อมร่วมกันมากกว่า 1 คน สามารถเฉลี่ยสิทธิลดหย่อนค่าซ่อมแซมได้ทุกคน แต่เมื่อรวมทุกคนแล้วต้องไม่เกิน ฿100,0007)
หลักฐานที่ต้องใช้
- หลักฐานการจ่ายค่าซ่อมแซมที่มีชื่อคุณเป็นผู้จ่ายในช่วงเวลาระหว่าง 16 สิงหาคม ถึง 31 ธันวาคม 2567 โดยต้องระบุชื่อ ที่อยู่ และลายมือชื่อของผู้รับเงิน ตลอดจนชื่อผู้จ่ายเงิน วันเดือนปีที่จ่าย รายการที่จ่าย และจำนวนเงินที่จ่าย8)
- หลักฐานแสดงความเป็นเจ้าของ ได้แก่ หนังสือสัญญาซื้อขาย หนังสือขออนุญาตปลูกสร้าง หรือหลักฐานแสดงความเป็นเจ้าของอื่นๆ9)
- สัญญาเช่า กรณีเป็นผู้เช่า10) หรือหลักฐานรับรองจากเจ้าของว่าให้ใช้ประโยชน์ กรณีเป็นผู้ใช้ประโยชน์เป็นที่อยู่อาศัยหรือใช้ประกอบกิจการหรือประโยชน์อื่น11)
เรื่องที่มักเข้าใจผิดบ่อย
- ค่าลดหย่อน กลุ่มนี้จะต้องเกี่ยวเนื่องกับเหตุการณ์น้ำท่วมใหญ่เมื่อช่วงกลางปี 2567 เท่านั้น หากเป็นความเสียหายที่เกิดจากเหตุน้ำท่วมอื่นนอกเหนือจากเหตุการณ์ดังกล่าวจะไม่สามารถใช้สิทธิลดหย่อนนี้ได้
เรื่องอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง
อ้างอิง
- ^
มาตรา 42(17) ประมวลรัษฎากร, ข้อ 1 กฎกระทรวง ฉบับที่ 396 (พ.ศ. 2567)
- ^
ข้อ 1(3) ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร (ฉบับที่ 452
- ^
ข้อ 1(4) ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร (ฉบับที่ 452
- ^
ข้อ 1(2) ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร (ฉบับที่ 452
- ^
ข้อ 1(2) ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร (ฉบับที่ 452
- ^
ข้อ 1(3)(ค) ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร (ฉบับที่ 452
- ^
ข้อ 1(3)(ข) ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร (ฉบับที่ 452
- ^
ข้อ 2(1) ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร (ฉบับที่ 452
- ^
ข้อ 2(2)(ก) ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร (ฉบับที่ 452
- ^
ข้อ 2(2)(ข) ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร (ฉบับที่ 452
- ^
ข้อ 2(2)(ค) ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร (ฉบับที่ 452