Contents

อัตราภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา

68,115 views

โดย ผศ.ดร.ยุทธนา ศรีสวัสดิ์ อาจารย์ประจำวิชากฎหมายภาษีอากร

อัตราภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา

ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา คำนวณภาษีแบบขั้นบันไดในอัตราสูงสุด 35% โดยจะเพิ่มขึ้นตาม เงินได้สุทธิ ของผู้เสียภาษี ซึ่งอัตราภาษีปัจจุบันเป็นดังนี้1

เงินได้สุทธิ อัตราภาษี ค่าภาษีสูงสุดที่คำนวณได้จากเงินได้สุทธิในแต่ขั้น ค่าภาษีสูงสุดสะสม
฿0 – ฿150,000 ยกเว้น2 ฿0 ฿0
> ฿150,000 – ฿300,000 5% ฿7,500 ฿7,500
> ฿300,000 – ฿500,000 10% ฿20,000 ฿27,500
> ฿500,000 – ฿750,000 15% ฿37,500 ฿65,000
> ฿750,000 – ฿1,000,000 20% ฿50,000 ฿115,000
> ฿1,000,000 – ฿2,000,000 25% ฿250,000 ฿365,000
> ฿2,000,000 – ฿5,000,000 30% ฿600,000 ฿965,000
> ฿5,000,000 35% > ฿965,000

สำหรับคนที่เป็นมนุษย์เงินเดือนหน้าใหม่ หรือเพิ่งจะมีรายได้ในปีแรกๆ อาจจะยังไม่แน่ใจวิธีคำนวณอัตราภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา หรือการคำนวณภาษีแบบขั้นบันไดเท่าไหร่ หรืออาจจะกำลังไม่มั่นใจว่าต้องเริ่มต้นคำนวณภาษีอย่างไร ทำแบบไหนถึงจะถูกต้อง เราอยากให้คุณวางใจได้เพราะ iTAX เป็นแอปพลิเคชั่นที่จะช่วยให้คุณสามารถจัดการภาษี วางแผนภาษี และ หาตัวช่วยลดหย่อนภาษี ได้แม้จะไม่มีความรู้เรื่องภาษีเลยก็ตาม

คำนวณภาษีได้ฟรี ทั้งบนระบบ iOS และ Android

อัตราภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาในอดีต

ปีภาษี 2556 – 2559

เงินได้สุทธิ อัตราภาษี
฿0 – ฿150,000 ยกเว้น3
> ฿150,000 – ฿300,000 5%
> ฿300,000 – ฿500,000 10%
> ฿500,000 – ฿750,000 15%
> ฿750,000 – ฿1,000,000 20%
> ฿1,000,000 – ฿2,000,000 25%
> ฿2,000,000 – ฿4,000,000 30%
> ฿4,000,000 35%

ปีภาษี 2551 – 2555

เงินได้สุทธิ อัตราภาษี
฿0 – ฿150,000 ยกเว้น4
> ฿150,000 – ฿500,000 10%
> ฿500,000 – ฿1,000,000 20%
> ฿1,000,000 – ฿4,000,000 30%
> ฿4,000,000 37%

ปีภาษี 2547 – 2550

เงินได้สุทธิ อัตราภาษี
฿0 – ฿100,000 ยกเว้น5
> ฿100,000 – ฿500,000 10%
> ฿500,000 – ฿1,000,000 20%
> ฿1,000,000 – ฿4,000,000 30%
> ฿4,000,000 37%

ปีภาษี 2546

เงินได้สุทธิ อัตราภาษี
฿0 – ฿80,000 ยกเว้น6
> ฿80,000 – ฿100,000 5%
> ฿100,000 – ฿500,000 10%
> ฿500,000 – ฿1,000,000 20%
> ฿1,000,000 – ฿4,000,000 30%
> ฿4,000,000 37%

ปีภาษี 2542-2545

เงินได้สุทธิ อัตราภาษี
฿0 – ฿50,000 ยกเว้น7
> ฿50,000 – ฿100,000 5%
> ฿100,000 – ฿500,000 10%
> ฿500,000 – ฿1,000,000 20%
> ฿1,000,000 – ฿4,000,000 30%
> ฿4,000,000 37%

ปีภาษี 2535-2541

เงินได้สุทธิ อัตราภาษี
฿0 – ฿100,000 5%
> ฿100,000 – ฿500,000 10%
> ฿500,000 – ฿1,000,000 20%
> ฿1,000,000 – ฿4,000,000 30%
> ฿4,000,000 37%

ปีภาษี 2534

เงินได้สุทธิ อัตราภาษี
฿0 – ฿50,000 5%
> ฿50,000 – ฿200,000 10%
> ฿200,000 – ฿500,000 20%
> ฿500,000 – ฿1,000,000 30%
> ฿1,000,000 – ฿2,000,000 40%
> ฿2,000,000 50%8

ปีภาษี 2532-2533

เงินได้สุทธิ อัตราภาษี
฿0 – ฿50,000 5%
> ฿50,000 – ฿200,000 10%
> ฿200,000 – ฿500,000 20%
> ฿500,000 – ฿1,000,000 30%
> ฿1,000,000 – ฿2,000,000 40%
> ฿2,000,000 55%

ปีภาษี 2529-2531

เงินได้สุทธิ อัตราภาษี
฿0 – ฿40,000 7%
> ฿40,000 – ฿90,000 10%
> ฿90,000 – ฿150,000 15%
> ฿150,000 – ฿220,000 20%
> ฿220,000 – ฿300,000 25%
> ฿300,000 – ฿400,000 30%
> ฿400,000 – ฿550,000 35%
> ฿550,000 – ฿750,000 40%
> ฿750,000 – ฿1,000,000 45%
> ฿1,000,000 – ฿2,000,000 50%
> ฿2,000,000 55%

ปีภาษี 2525-2528

เงินได้สุทธิ อัตราภาษี
฿0 – ฿30,000 7%
> ฿30,000 – ฿60,000 10%
> ฿60,000 – ฿100,000 13%
> ฿100,000 – ฿150,000 17%
> ฿150,000 – ฿200,000 22%
> ฿200,000 – ฿270,000 28%
> ฿270,000 – ฿350,000 35%
> ฿350,000 – ฿450,000 40%
> ฿450,000 – ฿600,000 45%
> ฿600,000 – ฿800,000 50%
> ฿800,000 – ฿1,000,000 55%
> ฿1,000,000 – ฿2,000,000 60%
> ฿2,000,000 65%

เรื่องที่เกี่ยวข้อง


อ้างอิง

  1. ^

    บัญชีอัตราภาษี (1) ประมวลรัษฎากร

  2. ^

    มาตรา 4 พระราชกฤษฎีกา (ฉบับที่ 470) พ.ศ. 2551

  3. ^

    มาตรา 4 พระราชกฤษฎีกา (ฉบับที่ 470) พ.ศ. 2551

  4. ^

    มาตรา 4 พระราชกฤษฎีกา (ฉบับที่ 470) พ.ศ. 2551

  5. ^

    มาตรา 4 พระราชกฤษฎีกา (ฉบับที่ 430) พ.ศ. 2548

  6. ^

    มาตรา 4 พระราชกฤษฎีกา (ฉบับที่ 412) พ.ศ. 2545

  7. ^

    มาตรา 4 พระราชกฤษฎีกา (ฉบับที่ 352) พ.ศ. 2542

  8. ^

    ข้อ 11 ประกาศคณะรักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติ ฉบับที่ 37 เรื่อง การแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร