Contents

แบบฟอร์มภาษี

11,042 views

โดย ผศ. ดร.ยุทธนา ศรีสวัสดิ์ อาจารย์ประจำวิชากฎหมายภาษีอากร

แบบฟอร์มภาษี หรือ แบบแสดงรายการภาษี เป็นแบบฟอร์มที่กรมสรรพากรกำหนดให้ผู้เสียภาษีนำไปใช้สำหรับการยื่นภาษีประเภทต่างๆ โดยจำแนกได้ตามชื่อแบบฟอร์มดังนี้

แบบฟอร์ม ภ.ง.ด.91

ภ.ง.ด.91 เป็นแบบฟอร์มสำหรับแสดงรายการ ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาประจำปี ซึ่งจะต้องใช้เพื่อ ยื่นภาษี ระหว่างวันที่ 1 ม.ค. – 31 มี.ค. ของทุกปี โดยจะใช้สำหรับผู้เสียภาษีที่มีรายได้จาก งานประจำ เพียงทางเดียว

แบบฟอร์ม ภ.ง.ด.90

ภ.ง.ด.90 เป็นแบบฟอร์มสำหรับแสดงรายการ ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาประจำปี ซึ่งจะต้องใช้เพื่อ ยื่นภาษี ระหว่างวันที่ 1 ม.ค. – 31 มี.ค. ของทุกปี โดยจะใช้สำหรับผู้เสียภาษีที่มีรายได้ทางอื่นนอกจาก งานประจำ ด้วย เช่น

แบบฟอร์ม ภ.ง.ด.94

ภ.ง.ด.90 เป็นแบบฟอร์มสำหรับแสดงรายการ ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาครึ่งปี ซึ่งจะต้องใช้เพื่อ ยื่นภาษี ระหว่างวันที่ 1 ก.ค. – 30 ก.ย. ของทุกปี โดยจะใช้สำหรับผู้เสียภาษีที่มีรายได้ในช่วงครึ่งปีแรก (1 ม.ค. – 30 มิ.ย.) ต่อไปนี้1

แบบฟอร์ม ภ.ง.ด.93

ภ.ง.ด.93 เป็นแบบฟอร์มสำหรับแสดงรายการภาษีเงินได้ล่วงหน้า2 โดยปกติ มักนิยมใช้กรณีทำสัญญาเช่าระยะยาวแล้วต้องการเฉลี่ยแบ่งคำนวณภาษีจากค่าเช่าที่ได้รับเป็นเงินก้อนให้เฉลี่ยตามส่วนตามอายุของสัญญาเช่าเป็นรายปีแทน เช่น ได้รับเงินก้อนจากสัญญาเช่า 30 ปี เป็นเงิน 30 ล้านบาท แทนจะยื่นภาษี ภ.ง.ด.90 เป็นเงินได้ 30 ล้านบาทในปีเดียวซึ่งจะเสียภาษีในอัตราสูง ผู้เสียภาษีสามารถขอใช้สิทธิยื่น ภ.ง.ด.93 เพื่อยื่นภาษีโดยเฉลี่ยเงินได้เป็นปีละ 1 ล้านบาท เป็นเวลา 30 ปี แทนได้3

แบบฟอร์ม ภ.ง.ด.95

ภ.ง.ด.95 เป็นแบบฟอร์มสำหรับแสดงรายการ ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาประจำปี ในรูปแบบที่มีภาษาอังกฤษเพื่ออำนวยความสะดวกสำหรับชาวต่างชาติซึ่งจะต้อง ยื่นภาษี ระหว่างวันที่ 1 ม.ค. – 31 มี.ค. ของทุกปี

แบบฟอร์ม ภ.ง.ด.1

ภ.ง.ด.1 เป็นแบบฟอร์มสำหรับแสดงรายการภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย ที่ผู้จ่ายเงินได้หักไว้ระหว่างเดือน โดยต้องนำส่งค่าภาษีที่หักไว้ และยื่นภาษีเป็นรายเดือน ระหว่างวันที่ 1-7 ของเดือนถัดจากเดือนที่หักภาษี ณ ที่จ่าย

โดยปกติ ภ.ง.ด.1 จะใช้กับการหักภาษี ณ ที่จ่ายสำหรับเงินได้ต่อไปนี้4

แบบฟอร์ม ภ.ง.ด.1 ก

ภ.ง.ด.1 ก เป็นแบบฟอร์มสำหรับแสดงรายการภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย ที่ผู้จ่ายเงินได้หักไว้ตลอดทั้งปีที่ผ่านมา โดยเป็นการสรุปรายการที่เคยยื่น ภ.ง.ด. 1 ทั้ง 12 เดือนในปีนั้นๆ และต้องยื่นสรุปปีละครั้ง ภายในสิ้นเดือน ก.พ. ของปีถัดไป5

แบบฟอร์ม ภ.ง.ด.2

ภ.ง.ด.2 เป็นแบบฟอร์มสำหรับแสดงรายการภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย ที่ผู้จ่ายเงินได้หักไว้ระหว่างเดือน โดยต้องนำส่งค่าภาษีที่หักไว้ และยื่นภาษีเป็นรายเดือน ระหว่างวันที่ 1-7 ของเดือนถัดจากเดือนที่หักภาษี ณ ที่จ่าย

โดยปกติ ภ.ง.ด.2 จะใช้กับการหักภาษี ณ ที่จ่ายสำหรับเงินได้ต่อไปนี้6

แบบฟอร์ม ภ.ง.ด.2 ก

ภ.ง.ด.2 ก เป็นแบบฟอร์มสำหรับแสดงรายการภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย ที่ผู้จ่ายเงินได้หักไว้ตลอดทั้งปีที่ผ่านมา โดยเป็นการสรุปรายการเฉพาะดอกเบี้ย และเงินปันผล (เงินได้ประเภทที่ 4) ที่เคยยื่น ภ.ง.ด. 2 ทั้ง 12 เดือนในปีนั้นๆ และต้องยื่นสรุปปีละครั้ง ภายใน 31 ม.ค. ของปีถัดไป7

แบบฟอร์ม ภ.ง.ด.3

ภ.ง.ด.3 เป็นแบบฟอร์มสำหรับแสดงรายการภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย ที่ผู้จ่ายเงินได้หักไว้ระหว่างเดือน โดยต้องนำส่งค่าภาษีที่หักไว้ และยื่นภาษีเป็นรายเดือน ระหว่างวันที่ 1-7 ของเดือนถัดจากเดือนที่หักภาษี ณ ที่จ่าย

โดยปกติ ภ.ง.ด.3 จะใช้กับการหักภาษี ณ ที่จ่ายสำหรับเงินได้ต่อไปนี้8

แบบฟอร์ม ภ.ง.ด.50

ภ.ง.ด.50 เป็นแบบฟอร์มสำหรับแสดงรายการ ภาษีเงินได้นิติบุคคล ในรอบระยะเวลาบัญชีที่ผ่านมา ซึ่งจะต้องใช้เพื่อยื่นภาษี ระหว่างวันที่ 1 ม.ค. – 30 พ.ค. ของทุกปี (หรือ 29 พ.ค. ในปีที่เดือน ก.พ. มี 29 วัน) 9

แบบฟอร์ม ภ.ง.ด.51

ภ.ง.ด.51 เป็นแบบฟอร์มสำหรับแสดงรายการ ภาษีเงินได้นิติบุคคล ในช่วง 6 เดือนแรกของรอบระยะเวลาบัญชีที่ผ่านมา ซึ่งจะต้องใช้เพื่อยื่นภาษี ระหว่างวันที่ 1 มิ.ย. – 31 ส.ค. ของทุกปี10

แบบฟอร์ม ภ.ง.ด.53

ภ.ง.ด.53 เป็นแบบฟอร์มสำหรับแสดงรายการภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย กรณีผู้ถูกหักภาษี ณ ที่จ่ายเป็นบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่ผู้จ่ายเงินได้หักไว้ระหว่างเดือน โดยต้องนำส่งค่าภาษีที่หักไว้ และยื่นภาษีเป็นรายเดือน ระหว่างวันที่ 1-7 ของเดือนถัดจากเดือนที่หักภาษี ณ ที่จ่าย

โดยปกติ ภ.ง.ด.53 จะใช้กับการหักภาษี ณ ที่จ่ายสำหรับเงินได้ต่อไปนี้11


อ้างอิง

  1. ^

    มาตรา 56 ทวิ ประมวลรัษฎากร

  2. ^

    มาตรา 52 ทวิ ประมวลรัษฎากร

  3. ^

    คำสั่งกรมสรรพากร ที่ ป.151/2558

  4. ^

    มาตรา 52 ประมวลรัษฎากร

  5. ^

    ประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง ขยายกำหนดเวลาการยื่นรายการตามมาตรา 58 แห่งประมวลรัษฎากร

  6. ^

    มาตรา 53 ประมวลรัษฎากร

  7. ^

    มาตรา 58 ประมวลรัษฎากร

  8. ^

    มาตรา 59 ประมวลรัษฎากร

  9. ^

    มาตรา 68 ประมวลรัษฎากร

  10. ^

    มาตรา 67 ทวิ ประมวลรัษฎากร

  11. ^

    มาตรา 3 เตรส, มาตรา 69 ทวิ และมาตรา 65 จัตวา  ประมวลรัษฎากร