iTAX pedia

Laffer Curve

โดย ผศ.ดร.ยุทธนา ศรีสวัสดิ์ อาจารย์ประจำวิชากฎหมายภาษีอากร

Laffer Curve (ล๊าบ-เฟอ-เคิฟ) เป็นกราฟเส้นที่ทำหน้าที่อธิบายความสัมพันธ์ระหว่างรายได้ของรัฐกับ อัตราภาษี ว่าอัตราภาษีนั้นๆ มีความเหมาะสมหรือไม่ และอัตราภาษีที่เปลี่ยนแปลงนั้นจะมีผลกับรายได้ของรัฐอย่างไรบ้าง1

หลักการอธิบาย

ทั้งนี้ อัตราที่เหมาะสมไม่จําเป็นต้องมีแค่ 1 จุด และไม่จําเป็นต้องอยู่ที่อัตรา 50%2 ซึ่งหลายๆ ครั้ง การลดภาษีลงก็จะกระตุ้นเศรษฐกิจจนรัฐมีรายได้มากกว่าภาษีอัตราเดิมเสียอีก แต่เมื่อใดที่รัฐเก็บภาษีในอัตราที่สูงเกินกว่าจุดที่เหมาะสม รัฐจะเริ่มเก็บภาษีได้ลดลงหรือจนถึงขึ้นเก็บภาษีไม่ได้เลยก็เป็นไปได้เช่นกัน

การปรับใช้ในแต่ละประเทศ

อัตราภาษีที่ยุติธรรมจึงขึ้นอยู่กับมุมมองของกฎหมายภาษีแต่ละประเทศ ซึ่งจะเห็นได้จากอัตราภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาสูงสุดโดยทั่วไปในแต่ละประเทศที่แตกต่างกัน เช่น

จึงกล่าวได้ว่าหากคนไทยและคนสิงคโปร์มีรายได้เท่ากัน คนไทยจะเสียภาษีสูงกว่า ทั้งๆ ที่จากการสํารวจของ World Bank พบว่าประชากรไทยมีรายได้เฉลี่ยต่อคนราวต่ำกว่าประชากรสิงคโปร์อยู่เกือบ 10 เท่า ดังนั้น อัตราภาษีที่ยุติธรรมจึงขึ้นอยู่กับมุมมองของแต่ละประเทศนั่นเอง


อ้างอิง

  1. ^

    Jude Wanniski, “Taxes, Revenues, and the ‘Laffer Curve,'” The Public Interest, Winter 1978

  2. ^

    Laffer, Arthur. “The Laffer Curve, Past, Present and Future”. Heritage Foundation. (June 1, 2004)

  3. ^

    World Bank, Gross national income per capita 2016, Atlas method and PPP, databank.worldbank.org

  4. ^

    KPMG, Individual Income Tax Rates Table, https://home.kpmg.com

  5. ^

    World Bank, Gross national income per capita 2016, Atlas method and PPP, http://databank.worldbank.org