โดย ผศ. ดร.ยุทธนา ศรีสวัสดิ์ อาจารย์ประจำวิชากฎหมายภาษีอากร
เบี้ยปรับ เป็นบทลงโทษเกี่ยวกับภาษีอย่างหนึ่งซึ่งจะคำนวณจากค่าภาษีที่จ่ายไม่ครบอีก 1-2 เท่าของค่าภาษี
โดยปกติถ้าถูกลงโทษให้เสียเบี้ยปรับมักจะต้องเสีย เงินเพิ่ม ด้วย และอาจมีโทษทางอาญาด้วย เช่น โทษปรับหรือจำคุก แล้วแต่ความร้ายแรงของเรื่องนั้นๆ
เบี้ยปรับที่ต้องจ่าย
- ถ้าไม่ยื่นแบบภาษีภายในกำหนด – เสียเบี้ยปรับ ×2 ของค่าภาษีที่ต้องจ่าย1 เช่น ถ้าค้างชำระภาษีอยู่ ฿10,000 คุณจะต้องเสียค่าภาษี ฿10,000 + เบี้ยปรับอีก ฿20,000 พร้อมค่าปรับทางอาญาและเงินเพิ่ม ซึ่งอาจรวมถึงรับโทษจำคุกด้วย
- ยื่นแบบทันกำหนด แต่เสียภาษีไม่ครบ – เสียเบี้ยปรับ ×1 ของค่าภาษีที่ต้องจ่าย2 เช่น ถ้าค้างชำระภาษีอยู่ ฿10,000 คุณจะต้องเสียค่าภาษี ฿10,000 + เบี้ยปรับอีก ฿10,000 พร้อมเงินเพิ่มด้วย
ความผิด | เบี้ยปรับ |
---|---|
ไม่ยื่นแบบภาษีภายในกำหนด | 2x |
ยื่นแบบทันกำหนด แต่เสียภาษีไม่ครบ | 1x |
เบี้ยปรับตามประมวลรัษฎากร
เรื่องที่มักเข้าใจผิดบ่อย
- หลายคนเข้าใจผิดว่า เบี้ยปรับ/เงินเพิ่ม เป็นคำเดียวกัน แต่ที่จริงแล้วเงินเพิ่มเป็นบทลงโทษเกี่ยวกับอีกอย่างนึงซึ่งคำนวณตามระยะเวลาที่เสียภาษีล่าช้าคล้ายดอกเบี้ย และมักมาพร้อมกับเบี้ยปรับ จึงถูกเรียกรวบกันบ่อยๆ ว่า เบี้ยปรับเงินเพิ่ม
- เบี้ยปรับแตกต่างจากค่าปรับทางอาญา ตรงที่เบี้ยปรับจะประเมินจากค่าภาษีที่ค้างชำระ แต่โทษปรับทางอาญาจะประเมินจากการกระทำความผิดทางอาญาซึ่งเป็นคนละส่วนกัน แต่เนื่องจากความผิดเกี่ยวกับภาษีเป็นความผิดอาญาที่รัฐเป็นผู้เสียหายจึงมีทั้งโทษปรับทางอาญาและเบี้ยปรับเกิดขึ้นได้พร้อมกัน
อ้างอิง
- ^
มาตรา 26 ประมวลรัษฎากร
- ^
มาตรา 26 ประมวลรัษฎากร, ข้อ 4 คำสั่งกรมสรรพากรที่ ท.ป. 81/2542
- ^
มาตรา 22 และมาตรา 26 ประมวลรัษฎากร โดยให้ถือเป็นเงินภาษีตามมาตรา 27 ทวิ
- ^
มาตรา 89 ประมวลรัษฎากร โดยให้ถือเป็นเงินภาษีตามมาตรา 89/2
- ^
มาตรา 92/21 (6) ประกอบมาตรา 89/1 ประมวลรัษฎากร โดยให้ถือเป็นเงินภาษีตามมาตรา 92/21 (6) ประกอบมาตรา 89/2