iTAX pedia

เงินได้ประเภทที่ 6

โดย ผศ.ดร.ยุทธนา ศรีสวัสดิ์ อาจารย์ประจำวิชากฎหมายภาษีอากร

เงินได้ประเภทที่ 6 คือ เงินได้พึงประเมินในรูปของค่าตอบแทนจากการ ประกอบวิชาชีพอิสระ ที่มีจำนวนไม่แน่นอนขึ้นอยู่กับปริมาณหรือความยากง่าย ที่ทำให้ผู้รับเงินมีหน้าที่ต้องเสีย ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ในวงการภาษีบางครั้งก็เรียกว่า เงินได้ 40(6) ซึ่งมีเพียง 6 อาชีพเท่านั้น ได้แก่ การประกอบโรคศิลปะ, นักกฎหมาย, วิศวกร, สถาปนิก, นักบัญชี และช่างประณีตศิลป์1

อย่างไรก็ดี ถ้าคุณมีคู่สมรสที่จะแยกยื่นภาษีเองอยู่แล้ว คุณสามารถเลือกให้คู่สมรสนำเงินได้ประเภทนี้ของคุณไปยื่นเป็นรายได้ของเขาแทนก็ได้2

การหักค่าใช้จ่าย

ค่าวิชาชีพอิสระคุณสามารถเลือกหัก ค่าใช้จ่าย ได้ 2 วิธี คือ หักตามจริง (ต้องมีหลักฐานค่าใช้จ่าย) หรือหักเหมา 30 – 60% (ไม่ต้องมีหลักฐานค่าใช้จ่าย) โดยแบ่งตามกลุ่มวิชาชีพอิสระดังนี้3

รายได้ ค่าใช้จ่ายที่หักได้
  • การประกอบโรคศิลปะ
หักแบบเหมา 60% หรือหักตามจริง
  • กฎหมาย
  • วิศวกรรม
  • สถาปัตยกรรม
  • บัญชี
  • ประณีตศิลปกรรม
หักแบบเหมา 30% หรือหักตามจริง

ลักษณะเฉพาะของเงินได้ประเภทที่ 6

การจะเป็นเงินได้จากวิชาชีพอิสระในฐานะเงินได้ประเภทที่ 6 ได้ จะต้องมีองค์ประกอบต่อไปนี้ครบทั้งหมด

ลักษณะพิเศษเฉพาะการประกอบโรคศิลปะ

การประกอบโรคศิลปะในที่นี้ โดยปกติจะหมายถึงที่เกี่ยวข้องกับการตรวจโรค การวินิจฉัยโรค การบำบัดโรค การป้องกันโรค การส่งเสริมและฟื้นฟูสุขภาพของมนุษย์ ซึ่งเป็นวิชาชีพที่ต้องได้รับใบอนุญาตด้วย ได้แก่

สำหรับการประกอบโรคศิลปะในโรงพยาบาล นอกจากเงินได้ของจะเป็นเงินได้จากวิชาชีพอิสระนี้ได้จะต้องมีรายได้ไม่แน่นอนแล้ว จะต้องมีลักษณะพิเศษเฉพาะที่แสดงให้เห็นต่อไปนี้ด้วย

ในกรณีที่ต้องแบ่งเงินให้โรงพยาบาล จำนวนเงินที่เป็นค่าวิชาชีพอิสระจะดูจากจำนวนเงินที่เรียกเก็บจากคนไข้ ก่อนแบ่งให้โรงพยาบาล ไม่ใช่จำนวนเงินหลังแบ่งให้โรงพยาบาลแล้ว

ทั้งนี้ เมื่อคนไข้ต้องไปเป็นจ่ายเงินได้เราโดยตรง แม้เราจะฝากให้โรงพยาบาลเป็นผู้เก็บเงินให้ โรงพยาบาลก็ไม่มีหน้าที่ต้องหักภาษี ณ ที่จ่าย ก่อนจ่ายให้เราแต่อย่างใด

ตัวอย่างรายได้ที่เป็นค่าวิชาชีพอิสระ

การประกอบโรคศิลปะ

ทนายความ/นักกฎหมาย

หมายเหตุ: สำหรับค่าวิชาชีพอิสระด้านกฎหมาย ศาลฎีกาเคยตีความว่า หากสำเร็จการศึกษาวิชากฎหมายแล้วมีรายได้จากค่าที่ปรึกษากฎหมายก็เพียงพอที่จะเป็นค่าวิชาชีพอิสระด้านกฎหมายได้แล้ว ไม่จำเป็นต้องมาจากการว่าความหรือฟ้องคดีเท่านั้น26

วิศวกร

สถาปนิก

นักบัญชี

ช่างประณีตศิลป์

เรื่องที่มักเข้าใจผิดบ่อย

หากคุณเป็นหนึ่งคนที่ประกอบอาชีพอิสระที่กล่าวมาข้างต้น และไม่อยากเสียเวลาไปกับการจัดการภาษีหรือคำนวณภาษีนานเกินไป iTAX Application ช่วยคุณได้ โดยคุณสามารถ คำนวณภาษี และ หาตัวช่วยลดหย่อนภาษี ที่ตรงกับความต้องการและงบประมาณที่คุณตั้งไว้ได้ในที่เดียว และโปรแกรมคำนวณภาษีจาก iTAX จะทำให้คุณรู้สึกว่า ภาษีไม่เป็นเรื่องยากอีกต่อไป


อ้างอิง

  1. ^

    มาตรา 40(6) ประมวลรัษฎากร

  2. ^

    ข้อ 2.2 หน้า 2-3 คำชี้แจงกรมสรรพากร เรื่อง แนวทางปฏิบัติเกี่ยวกับการจัดเก็บภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาจากสามีและภริยา (ฉบับที่ 2)

  3. ^

    มาตรา 44 ประมวลรัษฎากร, มาตรา 6 พระราชกฤษฎีกา (ฉบับที่ 11) พ.ศ. 2502

  4. ^

    คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8214/2549

  5. ^

    พ.ร.บ. วิชาชีพเวชกรรม พ.ศ.2525

  6. ^

    พ.ร.บ. วิชาชีพทันตกรรม พ.ศ.2537

  7. ^

    พ.ร.บ. วิชาชีพเภสัชกรรม พ.ศ.2537

  8. ^

    พ.ร.บ. วิชาชีพการพยาบาลและการผดุงครรภ์ พ.ศ.2528

  9. ^

    พ.ร.บ. วิชาชีพการพยาบาลและการผดุงครรภ์ พ.ศ.2528

  10. ^

    พ.ร.บ. วิชาชีพกายภาพบำบัด พ.ศ.2547

  11. ^

    พ.ร.บ. วิชาชีพเทคนิคการแพทย์ พ.ศ.2547

  12. ^

    มาตรา 5 (1) พ.ร.บ. การประกอบโรคศิลปะ พ.ศ. 2542

  13. ^

    มาตรา 5 (2) พ.ร.บ. การประกอบโรคศิลปะ พ.ศ. 2542

  14. ^

    มาตรา 5 (3) พ.ร.บ. การประกอบโรคศิลปะ พ.ศ. 2542

  15. ^

    มาตรา 5 (4) พ.ร.บ. การประกอบโรคศิลปะ พ.ศ. 2542

  16. ^

    มาตรา 5 (5) พ.ร.บ. การประกอบโรคศิลปะ พ.ศ. 2542

  17. ^

    มาตรา 5 (6) พ.ร.บ. การประกอบโรคศิลปะ พ.ศ. 2542

  18. ^

    มาตรา 5 (7) พ.ร.บ. การประกอบโรคศิลปะ พ.ศ. 2542

  19. ^

    มาตรา 5 (8) พ.ร.บ. การประกอบโรคศิลปะ พ.ศ. 2542

  20. ^

    คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5345/2549

  21. ^

    คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4923/2533

  22. ^

    คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5960/2549

  23. ^

    คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5960/2549

  24. ^

    คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5345/2549

  25. ^

    คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4923/2533

  26. ^

    คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8214/2549