โดย ผศ. ดร.ยุทธนา ศรีสวัสดิ์ อาจารย์ประจำวิชากฎหมายภาษีอากร
อุดหนุนเงินภาษีให้พรรคการเมือง (เดิมเรียกว่า การบริจาคภาษีที่ชำระให้พรรคการเมือง) เป็นสิทธิที่ ผู้เสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ที่มีภาระภาษีสามารถเลือกได้ว่าอยากให้เงินภาษีของตัวเองที่เสียไปนั้นไปเป็นเงินสนับสนุนพรรคการเมืองใดก็ได้ ในวงเงินไม่เกินภาระภาษีของตัวเอง สูงสุดไม่เกิน ฿5001 โดยจะต้องแสดงเจตนาผ่านการ ยื่นภาษี เท่านั้น2
ทั้งนี้ อุดหนุนเงินภาษีให้พรรคการเมือง ไม่ได้ทำให้คุณมีหน้าที่ต้องเสียภาษีมากขึ้น และไม่ทำให้คุณได้รับเงินคืนภาษีน้อยลงแต่อย่างใด
หลักเกณฑ์ อุดหนุนเงินภาษีให้พรรคการเมือง
- คุณต้องแสดงเจตนาตอนยื่นภาษี โดยต้องระบุว่าจะอุดหนุนเงินภาษีให้แก่พรรคการเมืองหรือไม่ และต้องระบุรหัสพรรคการเมืองรวมถึงจํานวนเงินภาษีที่ต้องการอุดหนุนให้ด้วย เพราะหากระบุข้อใดข้อหนึ่งไม่ครบหรือไม่ชัดเจนจะถือว่าไม่ได้แสดงเจตนาอุดหนุนเงินภาษีให้แก่พรรคการเมือง
- จำนวนเงินที่ระบุจะต้องไม่เกินภาระภาษีของตัวเอง แต่สูงสุดต้องไม่เกิน ฿500 หากระบุเกินวงเงินดังกล่าวจะถือว่าอุดหนุนเงินภาษีเพียงเท่าที่ไม่เกินภาระภาษีของตัวเอง และสูงสุดไม่เกิน ฿500
- คุณต้องระบุเพียงพรรคการเมืองเดียวเท่านั้น หากระบุมากกว่าหนึ่งพรรคจะถือว่าไม่ได้แสดงเจตนาอุดหนุนเงินภาษีให้แก่พรรคการเมืองใดเลย
- สิทธินี้สงวนเฉพาะ บุคคลธรรมดา ผู้มีสัญชาติไทยเท่านั้น
- เงินภาษีที่ได้แสดงเจตนาอุดหนุนให้แก่พรรคการเมืองนี้ ไม่ใช่ค่าลดหย่อน เงินบริจาคพรรคการเมือง
รายชื่อพรรคการเมือง (พร้อมรหัสพรรค) สำหรับการอุดหนุนภาษีประจำปีภาษี 2566 เรียงลำดับตามตัวอักษร
รายชื่อพรรคการเมือง จำนวน 81 พรรคการเมือง และรหัสพรรคการเมือง 3 หลัก โดย กรมสรรพากร สำหรับการอุดหนุนภาษีประจำปีภาษี 2566 เรียงลำดับตามตัวอักษรเพื่อความสะดวกในการค้นหา มีดังนี้
พรรคการเมือง | รหัสพรรคการเมือง (สำหรับกรอกเพื่ออุดหนุนภาษี) |
---|---|
พรรคกรีน | 206 |
พรรคกล้า | 222 |
พรรคกล้าธรรม (เดิมชื่อพรรคเศรษฐกิจไทย) | 218 |
พรรคก้าวไกล | 164 |
พรรคครูไทยเพื่อประชาชน | 118 |
พรรคคลองไทย | 189 |
พรรคความหวังใหม่ | 013 |
พรรคเครือข่ายชาวนาแห่งประเทศไทย | 022 |
พรรคช่วยไทย (เดิมชื่อพรรคเพื่อชีวิตใหม่) | 157 |
พรรคชาติไทยพัฒนา | 055 |
พรรคชาติพัฒนากล้า | 045 |
พรรคชาติรุ่งเรือง | 249 |
พรรคถิ่นกาขาวชาววิไล | 129 |
พรรคท้องที่ไทย | 242 |
พรรคทางเลือกใหม่ | 170 |
พรรคไทยก้าวหน้า | 246 |
พรรคไทยชนะ | 237 |
พรรคไทยธรรม | 178 |
พรรคไทยเป็นหนึ่ง | 241 |
พรรคไทยพร้อม (เดิมชื่อพรรคไทยพัฒนา) | 183 |
พรรคไทยภักดี | 234 |
พรรคไทยรวมไทย | 221 |
พรรคไทยศรีวิไลย์ | 180 |
พรรคไทยสมาร์ท (เดิมชื่อพรรคมวลชนสยาม) | 230 |
พรรคไทยสร้างไทย | 227 |
พรรคแนวทางใหม่ | 235 |
พรรคประชากรไทย | 002 |
พรรคประชาชาติ | 187 |
พรรคประชาไทย | 205 |
พรรคประชาธิปไตยใหม่ | 109 |
พรรคประชาธิปัตย์ | 001 |
พรรคประชาภิวัฒน์ | 172 |
พรรคประชาสามัคคี | 091 |
พรรคประชาอาสาชาติ | 253 |
พรรคเป็นธรรม (เดิมชื่อพรรคกลาง) | 203 |
พรรคเปลี่ยน | 252 |
พรรคเปลี่ยนอนาคต | 243 |
พรรคแผ่นดินธรรม | 188 |
พรรคพลัง | 247 |
พรรคพลังท้องถิ่นไท | 124 |
พรรคพลังไทยรักชาติ | 155 |
พรรคพลังไทรุ่งเรือง (เดิมชื่อพรรคสยามพัฒนา) | 182 |
พรรคพลังธรรมใหม่ | 175 |
พรรคพลังบูรพา (เดิมชื่อพรรคพลังชล) | 112 |
พรรคพลังประชาธิปไตย | 153 |
พรรคพลังประชารัฐ | 192 |
พรรคพลังปวงชนไทย | 184 |
พรรคพลังเพื่อไทย | 204 |
พรรคพลังสยาม | 232 |
พรรคพลังสหกรณ์ | 122 |
พรรคพลังสังคม | 198 |
พรรคพลังสังคมใหม่ | 226 |
พรรคเพื่อชาติไทย (เดิมชื่อพรรคพลังไทยรักไทย) | 185 |
พรรคเพื่อไทย | 034 |
พรรคเพื่อไทรวมพลัง | 238 |
พรรคเพื่อประชาชน | 231 |
พรรคเพื่ออนาคตไทย | 217 |
พรรคภราดรภาพ | 154 |
พรรคภาคีเครือข่ายไทย | 211 |
พรรคภูมิใจไทย | 063 |
พรรคมิติใหม่ | 228 |
พรรคยุทธศาสตร์ชาติ | 224 |
พรรครวมใจไทย | 250 |
พรรครวมไทยสร้างชาติ | 229 |
พรรครวมแผ่นดิน (เดิมชื่อพรรคพลังชาติไทย) | 186 |
พรรครวมพลัง (เดิมชื่อพรรครวมพลังประชาชาติไทย) | 181 |
พรรครักษ์ธรรม | 147 |
พรรครักษ์ผืนป่าประเทศไทย (เดิมชื่อพรรคโอกาสไทย) | 133 |
พรรคราษฎรร์วิถี (เดิมชื่อพรรคเทิดไท) | 240 |
พรรคแรงงานสร้างชาติ | 245 |
พรรคเศรษฐกิจใหม่ | 193 |
พรรคสยามพล | 248 |
พรรคสร้างอนาคตไทย (เดิมชื่อพรรคพลังไทยนำไทย) | 174 |
พรรคสังคมประชาธิปไตยไทย | 076 |
พรรคสัมมาธิปไตย | 251 |
พรรคสามัญชน | 209 |
พรรคเส้นด้าย (เดิมชื่อพรรคพลเมืองไทย) | 173 |
พรรคเสมอภาค | 236 |
พรรคเสรีรวมไทย | 145 |
พรรคใหม่ | 244 |
พรรคอนาคตไทย | 056 |
เรื่องที่มักเข้าใจผิดบ่อย
- หลายคนตัดสินใจไม่อุดหนุนเงินภาษีให้พรรคการเมือง เพราะเข้าใจผิดว่าจะทำให้ตัวเองได้เงินคืนภาษีน้อยลงหรือเสียภาษีแพงขึ้น แต่ความจริงแล้วการอุดหนุนเงินภาษีให้พรรคการเมืองไม่ได้ทำให้คุณมีหน้าที่ต้องเสียภาษีมากขึ้น และไม่ทำให้คุณได้รับเงินคืนภาษีน้อยลงแต่อย่างใด