Contents

วิสาหกิจเพื่อสังคม (Social Enterprise)

16,045 views

โดย ผศ. ดร.ยุทธนา ศรีสวัสดิ์ อาจารย์ประจำวิชากฎหมายภาษีอากร

วิสาหกิจเพื่อสังคม (Social Enterprise) คือ บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่ต้ังข้ึนตามกฎหมายไทย ซึ่งดำเนินกิจการเก่ียวกับการผลิต การจำหน่ายสินค้า หรือการบริการ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อสังคมเป็นเป้าหมายหลักของกิจการ และได้รับการจดทะเบียนเป็นวิสาหกิจเพื่อสังคมตาม พ.ร.บ.ส่งเสริมวิสาหกิจเพื่อสังคม พ.ศ. 2562 แล้ว1

ลักษณะของวิสาหกิจเพื่อสังคม

วิสาหกิจเพื่อสังคม (Social Enterprise) ที่อยู่ในเกณฑ์ลงทุนเพื่อลดหย่อนภาษีได้จะต้องอยู่เกณฑ์ที่สามารถจดทะเบียนเป็น Social Enterprise ได้ โดยมีลักษณะสำคัญ ดังนี้2

  1. มีวัตถุประสงค์หลักเพื่อส่งเสริมการจ้างงานแก่บุคคลผู้สมควรได้รับการส่งเสริมเป็นพิเศษ การแก้ไขปัญหาหรือ พัฒนาชุมชน สังคม หรือส่ิงแวดล้อม หรือเพื่อประโยชน์ส่วนรวมอื่นหรือคืนประโยชน์ให้แก่สังคมตามท่ีรัฐมนตรีประกาศกำหนด
  2. มีรายได้ไม่น้อยกว่า 50% มาจากการจาหน่ายสินค้าหรือการบริการ เว้นแต่กิจการที่ไม่ประสงค์จะแบ่งปันกำไรให้แก่ผู้เป็นหุ้นส่วนหรือผู้ถือหุ้นอาจมีรายได้น้อยกว่า 50% มาจากการจำหน่ายสินค้าหรือการบริการ
  3. นำผลกำไรไม่น้อยกว่า 70% ไปใช้เพื่อวัตถุประสงค์ตาม ข้อ 1 และแบ่งปันกำไรให้แก่ผู้เป็นเจ้าของกิจการ หรือผู้ถือหุ้นได้ไม่เกิน 30% ของผลกำไรทั้งหมด โดยให้ถือว่าการลงทุนในกิจการของตนเองซึ่งมีกระบวนการผลิตหรือการบริการที่มีลักษณะตามข้อ 1 หรือการขยายกิจการเพื่อวัตถุประสงค์ตามข้อ 1 ตามเงื่อนไขที่คณะกรรมการส่งเสริมวิสาหกิจเพื่อสังคมประกาศกำหนดเป็นการนำผลกาไรไปใช้เพื่อสังคม
  4. มีการกำกับดูแลกิจการท่ีดี
  5. ไม่เคยถูกเพิกถอนการจดทะเบียนเป็นวิสาหกิจเพื่อสังคม เว้นแต่พ้นกำหนด 2 ปีนับถึงวันยื่นคำขอจดทะเบียนเพื่อขอรับการส่งเสริมหรือสนับสนุน
  6. ไม่มีหุ้นส่วน กรรมการหรือผู้มีอานาจจัดการแทนนิติบุคคล หรือผู้ถือหุ้นซึ่งถือหุ้นต้ังแต่ 25% ข้ึนไป ซึ่งเคยเป็นหุ้นส่วน กรรมการหรือผู้มีอานาจจัดการแทนนิติบุคคล หรือผู้ถือหุ้นตั้งแต่ 25% ขึ้นไป ในกิจการท่ีเคยถูกเพิกถอนการจดทะเบียนตามข้อ 5 เว้นแต่จะพิสูจน์ได้ว่าตนมิได้มีส่วนร่วมหรือรู้เห็นกับการกระทาของนิติบุคคลท่ีเป็นเหตุให้ถูกเพิกถอนการจดทะเบียน

วิสาหกิจเพื่อสังคมประเภทไม่แบ่งปันกำไร

วิสาหกิจเพื่อสังคม สามารถเลือกเป็นประเภทไม่แบ่งปันกำไรได้ โดยวิสาหกิจเพื่อสังคมประเภทไม่ประสงค์จะแบ่งปันกาไรให้แก่ผู้เป็นหุ้นส่วนหรือผู้ถือหุ้น จะได้รับสิทธิยกเว้นภาษีเงินได้สำหรับกาไรสุทธิท่ีได้จากการประกอบกิจการ ตั้งแต่วันที่วิสาหกิจเพื่อสังคมประเภทไม่แบ่งปันกำไรนั้นได้จดทะเบียนบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อสังคมเป็นเป้าหมายหลักของกิจการ และไม่มีการแบ่งปันกำไรให้แก่ผู้เป็นหุ้นส่วนหรือผู้ถือหุ้น3

อย่างไรก็ตาม หากวิสาหกิจเพื่อสังคมประเภทไม่แบ่งปันกำไรเปลี่ยนแปลงประเภทเป็นประสงค์จะแบ่งปันกำไรให้แก่ผู้เป็นหุ้นส่วนหรือผู้ถือหุ้นในภายหลัง สิทธิยกเว้นภาษีเงินได้จะสิ้นสุดลงต้ังแต่รอบระยะเวลาบัญชีแรกท่ีได้รับสิทธิประโยชน์ทางภาษี และต้องนำไปรวมคำนวณเป็นรายได้ ในการคำนวณกำไรสุทธิเพื่อเสียภาษีเงินได้ในรอบระยะเวลาบัญชีที่ได้ใช้สิทธินั้น4

สิทธิประโยชน์ทางภาษีสำหรับผู้ลงทุนในธุรกิจ Social Enterprise

เงินที่ผู้ลงทุนจ่ายเพื่อลงหุ้นหรือลงทุนในการจัดตั้งหรือเพิ่มทุนของธุรกิจ Social Enterprise ที่เป็น บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล แล้วจะได้รับสิทธิประโยชน์ทางภาษีดังนี้

กรณีผู้ลงทุนเป็นบุคคลธรรมดา

ดูเพิ่ม ค่าลดหย่อนเงินลงทุนธุรกิจ Social Enterprise (วิสาหกิจเพื่อสังคม)

บุคคลธรรมดาที่ลงหุ้นหรือลงทุนในธุรกิจ Social Enterprise สามารถนำเงินเข้าหุ้นหรือเงินลงทุนนั้นไปใช้เป็นค่าลดหย่อนสำหรับคำนวณภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาได้ตามที่จ่ายจริงสูงสุดปีละไม่เกิน ฿100,0005

กรณีผู้ลงทุนเป็นบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล

บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่ลงหุ้นหรือลงทุนในธุรกิจ Social Enterprise สามารถนำเงินเข้าหุ้นหรือเงินลงทุนนั้นไปใช้ยกเว้นเงินได้สำหรับคำนวณภาษีเงินได้นิติบุคคลได้ตามที่จ่ายจริง6

เงื่อนไขการรับสิทธิสำหรับผู้ลงทุน

บุคคลธรรมดาและบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลจะได้รับสิทธิประโยชน์ทางภาษีจากเงินลงทุนธุรกิจ Social Enterprise ได้ถ้าทำตามเงื่อนไขทั้งหมดต่อไปนี้

1. จ่ายเงินเพื่อลงหุ้นหรือลงทุนในการจัดตั้งหรือเพิ่มทุนของธุรกิจ Social Enterprise ที่เป็น บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล แล้ว

2. ธุรกิจ Social Enterprise ที่อยู่ในเกณฑ์ลงทุนเพื่อลดหย่อนภาษีได้ดังกล่าวจะต้องมีคุณสมบัติดังนี้7

  • ต้องเป็นบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลของไทย ที่ดำเนินกิจการเก่ียวกับการผลิต การจำหน่ายสินค้า หรือการบริการ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อสังคมเป็นเป้าหมายหลักของกิจการ และได้รับการจดทะเบียนเป็นวิสาหกิจเพื่อสังคม ตาม พ.ร.บ.ส่งเสริมวิสาหกิจเพื่อสังคม พ.ศ. 2562 แล้ว
  • ธุรกิจ Social Enterprise ดังกล่าวต้องจดแจ้งความประสงค์ต่ออธิบดีกรมสรรพากรแล้ว เพื่อเป็นธุรกิจ Social Enterprise ที่ให้สิทธิลดหย่อนแก่ผู้ลงทุนได้

3. ผู้ลงทุนในหุ้นหรือการเป็นหุ้นส่วนที่จะได้รับสิทธิลดหย่อนต้องถือหุ้นหรือเป็นหุ้นส่วนในธุรกิจ Social Enterprise นั้นจนกว่าจะเลิกกิจการ เว้นแต่อธิบดีกรมสรรพากรจะประกาศกำหนด


อ้างอิง

  1. ^

    มาตรา 4 พระราชกฤษฎีกา (ฉบับที่ 735) พ.ศ. 2564

  2. ^

    มาตรา 5 พ.ร.บ.ส่งเสริมวิสาหกิจเพื่อสังคม พ.ศ. 2562

  3. ^

    มาตรา 5 พระราชกฤษฎีกา (ฉบับที่ 735) พ.ศ. 2564

  4. ^

    มาตรา 5 วรรคสอง พระราชกฤษฎีกา (ฉบับที่ 735) พ.ศ. 2564

  5. ^

    มาตรา 6(1) พระราชกฤษฎีกา (ฉบับที่ 735) พ.ศ. 2564

  6. ^

    มาตรา 6(2) พระราชกฤษฎีกา (ฉบับที่ 735) พ.ศ. 2564

  7. ^

    มาตรา 11 พระราชกฤษฎีกา (ฉบับที่ 735) พ.ศ. 2564