iTAX pedia

ค่าใช้จ่าย

โดย ผศ.ดร.ยุทธนา ศรีสวัสดิ์ อาจารย์ประจำวิชากฎหมายภาษีอากร

ค่าใช้จ่าย เป็นองค์ประกอบหนึ่งในการ คำนวณภาษี และสิทธิประโยชน์ของ ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา สำหรับหักเป็นต้นทุนสำหรับการทำมาหาได้ของเรา เพราะแทบทุกอาชีพที่สร้างรายได้ย่อมมีค่าใช้จ่ายในการสร้างรายได้เสมอ ดังนั้น ในหลายกรณีกฎหมายจึงยอมให้ เงินได้ แต่ละประเภทสามารถหักค่าใช้จ่ายที่คิดว่าเหมาะสมสำหรับรายได้ที่เกิดขึ้น

อย่างไรก็ดี การหักค่าใช้จ่ายเป็นสิทธิประโยชน์ทางภาษีอย่างหนึ่ง ดังนั้น จึงจำเป็นต้องมีกฎหมายเขียนรับรองไว้ด้วย หากค่าใช้จ่ายนั้นไม่มีกฎหมายรับรองก็จะหักค่าใช้จ่ายไม่ได้ แม้ว่าเราจะจ่ายไปจริงๆ ก็ตาม

การหักค่าใช้จ่าย 2 แบบ คือ

  1. หักค่าใช้จ่ายเป็นการเหมา หรือเรียกสั้นๆ ว่า หักเหมา (ไม่ต้องใช้หลักฐานค่าใช้จ่าย)
  2. หักค่าใช้จ่ายจริงตามความจำเป็นและสมควร หรือเรียกสั้นๆ ว่า หักตามจริง (ต้องมีหลักฐานค่าใช้จ่ายด้วย)

อัตราค่าใช้จ่าย

เราจะหักค่าใช้จ่ายได้มากหรือน้อยขึ้นอยู่กับประเภทของเงินได้ที่เราได้รับซึ่งสามารถสรุปได้คร่าวๆ ดังนี้

ประเภทของเงินได้ ค่าใช้จ่ายที่หักได้
เงินเดือน โบนัส (เงินได้ประเภทที่ 1)
ค่าจ้างทั่วไป (เงินได้ประเภทที่ 2)
หักแบบเหมา 50% แต่เมื่อรวมหักค่าใช้จ่ายจากเงินทั้ง 2 ประเภทรวมกันแล้ว ต้องไม่เกิน 100,000 บาท1
ค่าลิขสิทธิ์และสิทธิในทรัพย์สินทางปัญญา เงินปีฯ (เงินได้ประเภทที่ 3) เฉพาะค่าลิขสิทธิ์ ค่ากู๊ดวิลล์และสิทธิในทรัพย์สินทางปัญญา หักแบบเหมา 50% แต่ไม่เกิน 100,000 บาท หรือหักตามจริง2
ดอกเบี้ย เงินปันผลจากหุ้น และ cryptocurrency (เงินได้ประเภทที่ 4) หักค่าใช้จ่ายไม่ได้เลย
ค่าเช่า (เงินได้ประเภทที่ 5) หักแบบเหมา 10-30% หรือหักตามจริง3
ค่าวิชาชีพอิสระ (เงินได้ประเภทที่ 6) หักแบบเหมา 30-60% หรือหักตามจริง4
ค่ารับเหมาทั้งค่าแรงและค่าของ (เงินได้ประเภทที่ 7) หักแบบเหมา 60% หรือหักตามจริง5
เงินได้อื่นๆ ที่ไม่เข้าพวก (เงินได้ประเภทที่ 8) หักแบบเหมา 60% หรือหักตามจริง6 (ยกเว้นกรณีการขายอสังหาริมทรัพย์ที่ได้มาโดยทางอื่นที่ไม่ได้มุ่งหากำไร)

เรื่องที่มักเข้าใจผิดบ่อย

หลายคนสับสนระหว่างคำว่า ค่าใช้จ่ายและค่าลดหย่อน ว่าเป็นคำเดียวกัน แต่ความจริงแล้วสองคำนี้มีความหมายต่างกัน กล่าวคือ

หากคุณไม่แน่ใจว่ารายได้ของคุณหลังจากหักค่าใช้จ่ายแล้วจะต้องจ่ายภาษีอีกเท่าไหร่? ต้องใช้สิทธิ์ลดหย่อนภาษีเพิ่มอีกหรือไม่? คุณสามารถคำนวณภาษี พร้อมค้นหาแผนประกันเพื่อลดหย่อนภาษีเพื่อคุณต้องการได้ที่ iTAX shop

คำนวณภาษีได้ฟรีในรูปแบบ App ทั้งบนระบบ iOS และ Android


อ้างอิง

  1. ^

    มาตรา 42 ทวิ ประมวลรัษฎากร,พ.ร.บ. แก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ 44) พ.ศ. 2560

  2. ^

    มาตรา 43 ประมวลรัษฎากร,มาตรา 4 ทวิ พระราชกฤษฎีกา (ฉบับที่ 11) พ.ศ. 2502,พระราชกฤษฎีกา (ฉบับที่ 634) พ.ศ. 2560

  3. ^

    มาตรา 43 ประมวลรัษฎากร,มาตรา 5 พระราชกฤษฎีกา (ฉบับที่ 11) พ.ศ. 2502

  4. ^

    มาตรา 44 ประมวลรัษฎากร,มาตรา 6 พระราชกฤษฎีกา (ฉบับที่ 11) พ.ศ. 2502

  5. ^

    มาตรา 45 ประมวลรัษฎากร,มาตรา 7 พระราชกฤษฎีกา (ฉบับที่ 11) พ.ศ. 2502,พระราชกฤษฎีกา (ฉบับที่ 629) พ.ศ. 2560

  6. ^

    มาตรา 46 ประมวลรัษฎากร,มาตรา 8 พระราชกฤษฎีกา (ฉบับที่ 11) พ.ศ. 2502. พระราชกฤษฎีกา (ฉบับที่ 629) พ.ศ. 2560