Contents
เงินได้ประเภทที่ 8
โดย ผศ.ดร.ยุทธนา ศรีสวัสดิ์ อาจารย์ประจำวิชากฎหมายภาษีอากร
เงินได้ประเภทที่ 8 คือ เงินได้พึงประเมินที่ไม่สามารถจัดให้เข้ากลุ่มเงินได้ประเภทที่ 1 – 7 ได้ และ ไม่ได้รับยกเว้นภาษี ด้วย จึงยังทำให้ผู้รับเงินมีหน้าที่ต้องเสีย ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา อยู่ดี ในวงการภาษีบางครั้งก็เรียกว่า เงินได้ 40(8)1 เช่น ขายของออนไลน์ เปิดร้านอาหาร กำไรจากการขายกองทุน LTF/RMF เงินส่วนแบ่งกำไรจากห้างหุ้นส่วนสามัญไม่จดทะเบียนและคณะบุคคล และอื่นๆ เป็นต้น
อย่างไรก็ดี ถ้าคุณมีคู่สมรสที่จะแยกยื่นภาษีเองอยู่แล้ว คุณสามารถเลือกให้คู่สมรสนำเงินได้ประเภทนี้ของคุณไปยื่นเป็นรายได้ของเขาแทนก็ได้2
ทำธุรกิจอยู่ จดบริษัทเลยดีมั้ย?
การหักค่าใช้จ่าย
การหักค่าใช้จ่ายของเงินได้ประเภทที่ 8 มีทั้งแบบเลือกหักตามจริงได้เพียงวิธีเดียว(ต้องมีหลักฐานค่าใช้จ่าย) และแบบเลือกหักตามจริงหรือหักเหมาตามอัตราที่กฎหมายกำหนด (ไม่ต้องมีหลักฐานค่าใช้จ่าย) ก็ได้ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับว่ากฎหมายอนุญาตให้รายได้ชนิดนั้นหักค่าใช้จ่ายแบบเหมาได้ด้วยไหม ซึ่งสรุปได้ ดังนี้3
รายได้ | ค่าใช้จ่ายที่หักได้ |
---|---|
เงินปันผลจากกองทุน REIT และกองทุนรวมตามประกาศคณะปฏิวัติฯ | – |
การขายอสังหาริมทรัพย์ที่เป็นมรดกหรือมีคนให้มา | หักแบบเหมา 50% |
การขายอสังหาริมทรัพย์ที่ได้มาโดยทางอื่นที่ไม่ได้มุ่งหากำไร | หักแบบเหมา 50-92% หรือหักตามจริง |
นักแสดงสาธารณะ | หักแบบเหมา 40-60% ไม่เกิน ฿600,000 หรือหักตามจริง |
การขายที่ดินเงินผ่อนหรือการให้เช่าซื้อที่ดิน | หักแบบเหมา 60% หรือหักตามจริง |
เงินได้จากการเก็บค่าต๋งหรือค่าเกมจากการพนัน การแข่งขันหรือการเล่นต่างๆ | หักแบบเหมา 60% หรือหักตามจริง |
เงินได้จากการถ่าย ล้าง อัด หรือขยายรูป ภาพยนตร์ รวมทั้งการขายส่วนประกอบ | หักแบบเหมา 60% หรือหักตามจริง |
กิจการคานเรือ อู่เรือ หรือซ่อมเรือที่ มิใช่ซ่อมเครื่องจักร เครื่องกล | หักแบบเหมา 60% หรือหักตามจริง |
ทำรองเท้า และเครื่องหนังแท้หรือ หนังเทียม รวมทั้งการขายส่วนประกอบ | หักแบบเหมา 60% หรือหักตามจริง |
กิจการคานเรือ อู่เรือ หรือซ่อมเรือที่ มิใช่ซ่อมเครื่องจักร เครื่องกล | หักแบบเหมา 60% หรือหักตามจริง |
การตัด เย็บ ถัก ปักเสื้อผ้าหรือสิ่งอื่น ๆ รวมทั้งการขายส่วนประกอบ | หักแบบเหมา 60% หรือหักตามจริง |
การทำ ตกแต่ง หรือซ่อมแซมเครื่องเรือน รวมทั้งการขายส่วนประกอบ | หักแบบเหมา 60% หรือหักตามจริง |
กิจการภัตตาคาร ร้านอาหารและเครื่องดื่ม รวมถึงโรงแรม | หักแบบเหมา 60% หรือหักตามจริง |
การดัด ตัด แต่งผม หรือตกแต่งร่างกาย | หักแบบเหมา 60% หรือหักตามจริง |
การทำสบู่ แชมพู หรือเครื่องสำอาง | หักแบบเหมา 60% หรือหักตามจริง |
การทำวรรณกรรม (เขียนเอง พิมพ์เอง ขายเอง) | หักแบบเหมา 60% หรือหักตามจริง |
การค้าเครื่องเงิน ทอง นาก เพชร พลอย หรืออัญมณีอื่น ๆ รวมทั้งการขายส่วนประกอบ | หักแบบเหมา 60% หรือหักตามจริง |
กิจการสถานพยาบาลที่ให้บริการ 24 ชั่วโมงโดยมีการจ่ายยาและเตียงรับผู้ป่วยค้างคืน | หักแบบเหมา 60% หรือหักตามจริง |
การโม่หรือย่อยหิน | หักแบบเหมา 60% หรือหักตามจริง |
การทำป่าไม้ สวนยาง หรือไม้ยืนต้น | หักแบบเหมา 60% หรือหักตามจริง |
การขนส่งหรือรับจ้างด้วยยานพาหนะ | หักแบบเหมา 60% หรือหักตามจริง |
การทำบล็อก และตรา การรับพิมพ์ หรือเย็บสมุด เอกสาร รวมทั้งการขายส่วนประกอบ | หักแบบเหมา 60% หรือหักตามจริง |
การทำเหมืองแร่ | หักแบบเหมา 60% หรือหักตามจริง |
การทำเครื่องดื่ม | หักแบบเหมา 60% หรือหักตามจริง |
การทำเครื่องกระเบื้อง เครื่องเคลือบ เครื่องซีเมนต์ หรือดินเผา | หักแบบเหมา 60% หรือหักตามจริง |
การทำหรือจำหน่ายกระแสไฟฟ้า | หักแบบเหมา 60% หรือหักตามจริง |
การทำน้ำแข็ง | หักแบบเหมา 60% หรือหักตามจริง |
การทำกาว แป้งเปียกหรือสิ่งที่มีลักษณะทำนองเดียวกันและการทำแป้งชนิดต่าง ๆ ที่ไม่ใช่เครื่องสำอาง | หักแบบเหมา 60% หรือหักตามจริง |
การทำลูกโป่ง เครื่องแก้ว เครื่องพลาสติก หรือเครื่องยางสำเร็จรูป | หักแบบเหมา 60% หรือหักตามจริง |
การซักรีด หรือย้อมสี | หักแบบเหมา 60% หรือหักตามจริง |
รางวัลที่เจ้าของม้าได้จากการส่งม้าเข้าแข่ง | หักแบบเหมา 60% หรือหักตามจริง |
การรับสินไถ่ทรัพย์สินที่ขายฝากหรือการได้กรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินโดยเด็ดขาดจากการขายฝาก | หักแบบเหมา 60% หรือหักตามจริง |
การรมยาง การทำยางแผ่น หรือยางอย่างอื่น ที่ไม่ใช่ยางสำเร็จรูป | หักแบบเหมา 60% หรือหักตามจริง |
การฟอกหนัง | หักแบบเหมา 60% หรือหักตามจริง |
การทำน้ำตาล หรือน้ำเหลืองของน้ำตาล | หักแบบเหมา 60% หรือหักตามจริง |
การจับสัตว์น้ำ | หักแบบเหมา 60% หรือหักตามจริง |
กิจการโรงเลื่อย | หักแบบเหมา 60% หรือหักตามจริง |
การกลั่นหรือหีบน้ำมัน | หักแบบเหมา 60% หรือหักตามจริง |
การให้เช่าซื้อสังหาริมทรัพย์ที่ไม่เข้าลักษณะตาม เงินได้ประเภทที่ 5 | หักแบบเหมา 60% หรือหักตามจริง |
กิจการโรงสีข้าว | หักแบบเหมา 60% หรือหักตามจริง |
การทำเกษตรกรรมประเภทไม้ล้มลุกและธัญชาติ | หักแบบเหมา 60% หรือหักตามจริง |
การอบหรือบ่มใบยาสูบ | หักแบบเหมา 60% หรือหักตามจริง |
การเลี้ยงสัตว์ทุกชนิด รวมทั้งการขายวัตถุพลอยได้ | หักแบบเหมา 60% หรือหักตามจริง |
การฆ่าสัตว์จำหน่าย รวมทั้งการขายวัตถุพลอยได้ | หักแบบเหมา 60% หรือหักตามจริง |
การทำนาเกลือ | หักแบบเหมา 60% หรือหักตามจริง |
การขายเรือกำปั่นหรือเรือที่มีระวางตั้งแต่ 6 ตันขึ้นไป เรือกลไฟ เรือยนต์มีระวางตั้งแต่ 5 ตันขึ้นไป หรือแพ | หักแบบเหมา 60% หรือหักตามจริง |
การขายของนอกจากนี้และเราไม่ได้เป็นผู้ผลิตเอง (กิจการซื้อมาขายไป) | หักแบบเหมา 60% หรือหักตามจริง |
นอกเหนือจากรายการนี้ | หักตามจริง |
อะไรเป็นเงินได้ประเภทที่ 8 ได้บ้าง?
เงินได้ประเภทที่ 8 หมายถึงรายได้อะไรก็ได้ที่ไม่เข้าพวกเงินได้ประเภทที่ 1-7 ซึ่งสรุปไว้แล้วในตารางค่าใช้จ่าย เช่น
- เงินได้จากการขายอสังหาริมทรัพย์
- เงินได้จากการเป็นนักแสดงสาธารณะ
- เงินได้จากการเปิดสถานพยาบาลที่ให้บริการ 24 ชั่วโมงโดยมีการจ่ายยาและเตียงรับผู้ป่วยค้างคืน
- เงินได้จากการเปิดภัตตาคาร ร้านอาหารและเครื่องดื่ม รวมถึงโรงแรม
- เงินได้อื่นๆ นอกเหนือจากนี้ เช่น เงินได้จากการขายของออนไลน์
นอกจากนี้ยังรวมถึงรายได้อื่นๆ ที่ไม่เข้าพวกเงินได้ประเภทที่ 1 – 7 และไม่ปรากฎในตารางค่าใช้จ่ายข้างบนด้วย เช่น
- เบี้ยยังชีพแก่ผู้สูงอายุ (เบี้ยคนชรา)
- เงินส่วนแบ่งกำไรจากห้างหุ้นส่วนสามัญไม่จดทะเบียนและคณะบุคคล
- รางวัลจากการจับสลากชิงรางวัล
- งานจ้างทำของที่มีค่าใช้จ่ายสูง ต้องใช้ผู้เชี่ยวชาญมาก
- เปิดสำนักตัวแทนประกันชีวิตมีค่าเช่าสำนักงานและลูกจ้าง
- และอื่นๆ ที่ไม่เข้าพวก
และหากคุณเป็นหนึ่งคนที่รู้สึกว่า ภาษีเป็นเรื่องยุ่งยาก น่าปวดหัว และกำลังไม่รู้ว่าจะเริ่มต้นจัดการภาษีอย่างไรดี เราอยากจะบอกว่า วันนี้คุณสามารถคำนวณภาษี วางแผนภาษี และเตรียมแบบฟอร์มการยื่นภาษีได้ง่ายๆ ด้วยแอปพลิเคชัน iTAX ที่คุณสามารถคำนวณภาษีได้ฟรีในรูปแบบ App ทั้งบนระบบ iOS และ Android
อ้างอิง
- ^
มาตรา 40(8) ประมวลรัษฎากร
- ^
ข้อ 2.2 หน้า 2-3 คำชี้แจงกรมสรรพากร เรื่อง แนวทางปฏิบัติเกี่ยวกับการจัดเก็บภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาจากสามีและภริยา (ฉบับที่ 2), www.rd.go.th
- ^
มาตรา 46 ประมวลรัษฎากร, มาตรา 8 และ 8 ทวิ พระราชกฤษฎีกา (ฉบับที่ 11) พ.ศ. 2502