Contents
อากรแสตมป์
โดย ผศ.ดร.ยุทธนา ศรีสวัสดิ์ อาจารย์ประจำวิชากฎหมายภาษีอากร
อากรแสตมป์ คือ ภาษีประเภทหนึ่งตาม ประมวลรัษฎากร ซึ่งจัดเก็บในรูปของดวงแสตมป์ที่ใช้สำหรับปิดบนเอกสารราชการและหนังสือสัญญาต่างๆ โดยมีกรมสรรพากรเป็นหน่วยงานรับผิดชอบในการจัดเก็บ
รูปแบบของอากรแสตมป์
- ขนาด: รูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า กว้าง 2 ซม. x ยาว 3 ซม.
- ด้านบน: มีข้อความ “อากรแสตมป์”
- ตรงกลาง: พระอุเทนทราธิราชทรงพิณ (ตราสัญลักษณ์ของกรมสรรพากร)
- ด้านล่าง: แสดงราคาของอากรแสตมป์
- ราคา: 1 บาท 5 บาท และ 20 บาท
- สี: แบ่งตามราคา
- สีน้ำเงิน 1 บาท
- สีเขียว 5 บาท
- สีแดง 20 บาท
เอกสารที่ต้องใช้อากรแสตมป์
โดยทั่วไปเอกสารจะต้องใช้อากรแสตมป์จึงจะสามารถใช้เป็นหลักฐานในชั้นศาลได้ โดยมีตราสารที่กฎหมายบังคับอยู่ 28 รายการ ได้แก่1
- เช่าที่ดิน โรงเรือน สิ่งปลูกสร้างอย่างอื่นหรือแพ
- โอนใบหุ้น ใบหุ้นกู้ พันธบัตรและใบรับรองหนี้ ซึ่งบริษัท สมาคม คณะบุคคลหรือองค์การใด ๆ เป็นผู้ออก
- เช่าซื้อทรัพย์สิน
- จ้างทำของ
- กู้ยืมเงิน หรือการตกลงให้เบิกเงินเกินบัญชีจากธนาคาร
- กรมธรรม์ประกันภัย
- ใบมอบอำนาจ
- ใบมอบฉันทะสำหรับให้ลงมติในที่ประชุมของบริษัท
- ตั๋วแลกเงินหรือตราสารทำนองเดียวกับที่ใช้อย่างตั๋วแลกเงิน และ ตั๋วสัญญาใช้เงินหรือตราสารทำนองเดียวกับที่ใช้อย่างตั๋วสัญญาใช้เงิน
- บิลออฟเลดิง
- ใบหุ้น หรือใบหุ้นกู้ หรือใบรับรองหนี้ของบริษัท สมาคม คณะบุคคล หรือองค์การใด ๆ และ พันธบัตรของรัฐบาลใด ๆ ที่ขายในประเทศไทย
- เช็ค หรือหนังสือคำสั่งใด ๆ ซึ่งใช้แทนเช็ค
- ใบรับฝากเงินประเภทประจำของธนาคารโดยมีดอกเบี้ย
- เลตเตอร์ออฟเครดิต
- เช็คสำหรับผู้เดินทาง
- ใบรับของ
- ค้ำประกัน
- จำนำ
- ใบรับของคลังสินค้า
- คำสั่งให้ส่งมอบของ
- ตัวแทน
- คำชี้ขาดของอนุญาโตตุลาการ
- คู่ฉบับหรือคู่ฉีกแห่งตราสาร
- หนังสือบริคณห์สนธิของบริษัทจำกัดที่ส่งต่อนายทะเบียน
- ข้อบังคับของบริษัทจำกัดที่ส่งต่อนายทะเบียน
- ข้อบังคับใหม่หรือสำเนาหนังสือบริคณห์สนธิหรือข้อบังคับของบริษัทจำกัดซึ่งเปลี่ยนแปลงใหม่ที่ส่งต่อนายทะเบียน
- หนังสือสัญญาห้างหุ้นส่วน
- ใบรับ
ทั้งนี้ เอกสารที่ปิดอากรแสตมป์แล้วจะต้องขีดคร่อมด้วยจึงจะสมบูรณ์
บัญชีอัตราอากรแสตมป์
ลักษณะแห่งตราสาร |
ค่าอากรแสตมป์ |
ผู้ที่ต้องเสียอากร |
ผู้ที่ต้องขีดฆ่าแสตมป์ |
1. เช่าที่ดิน โรงเรือน สิ่งปลูกสร้างอย่างอื่นหรือแพ |
1 บาท
|
ผู้ให้เช่า
|
ผู้เช่า
|
2. โอนใบหุ้น ใบหุ้นกู้ พันธบัตรและใบรับรองหนี้ ซึ่งบริษัท สมาคม คณะบุคคลหรือองค์การใด ๆ เป็นผู้ออก คิดตามราคาหุ้นที่ชำระแล้วหรือตามราคาในตราสารแล้วแต่อย่างใดจะมากกว่า ทุกจำนวนเงิน 1,000 บาท หรือเศษของ 1,000 บาท ยกเว้นไม่ต้องเสียอากร ก. โอนพันธบัตรของรัฐบาลไทย ข. โอนใบหุ้น ใบหุ้นกู้ และใบรับรองหนี้ซึ่งสหกรณ์ หรือธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตรเป็นผู้ออก |
1 บาท |
ผู้โอน |
ผู้รับโอน |
3. เช่าซื้อทรัพย์สิน ทุกจำนวนเงิน 1,000 บาท หรือเศษของเงิน 1,000 บาท แห่งราคาทั้งหมด ยกเว้นไม่ต้องเสียอากร เช่าซื้อทรัพย์สินใช้ในการทำนา ไร่ สวน |
1 บาท
|
ผู้ให้เช่า |
ผู้เช่า |
4. จ้างทำของ ทุกจำนวนเงิน 1,000 บาท หรือเศษของ 1,000 บาท แห่งสินจ้างที่กำหนดไว้ หมายเหตุ (1) ถ้าในเวลากระทำสัญญาจ้างทำของไม่ทราบจำนวนสินจ้างว่าเป็นราคาใด ให้ประมาณจำนวนสินจ้างตามสมควรแล้วเสียอากรตามจำนวนสินจ้างที่ประมาณนั้น (2) ถ้ามีการรับเงินสินจ้างเป็นคราว ๆ และอากรที่เสียไว้เดิมยังไม่ครบ ให้เสียอากรเพิ่มเติมให้ครบตามจำนวนที่ต้องเสียทุกครั้งในทันทีที่มีการรับเงิน (3) เมื่อการรับจ้างทำของได้สิ้นสุดลงแล้ว และปรากฏว่าได้เสียอากรเกินไป ให้ขอคืนตามมาตรา 122 ได้ ยกเว้นไม่ต้องเสียอากร สัญญาที่ทำขึ้นนอกประเทศไทยและการปฏิบัติตามข้อสัญญานั้นมิได้ทำในประเทศไทย |
1 บาท
|
ผู้รับจ้าง
|
ผู้รับจ้าง
|
5. กู้ยืมเงิน หรือการตกลงให้เบิกเงินเกินบัญชีจากธนาคาร ทุกจำนวนเงิน 2,000 บาท หรือเศษของเงิน 2,000 บาท แห่งยอดเงินที่กู้ยืมหรือตกลงให้เบิกเกินบัญชี ค่าอากรตามลักษณะแห่งตราสารนี้ เมื่อคำนวณแล้วถ้าเกิน 10,000 บาท ให้เสีย 10,000 บาท ยกเว้นไม่ต้องเสียอากร การกู้ยืมเงินซึ่งสมาชิกกู้ยืมจากสหกรณ์หรือสหกรณ์กู้ยืมจากสหกรณ์ หรือจากธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร2 |
1 บาท |
ผู้ให้กู้ |
ผู้กู้ |
6. กรมธรรม์ประกันภัย (ก) กรมธรรม์ประกันวินาศภัย ทุก 250 บาท หรือเศษของ 250 บาท แห่งเบี้ยประกันภัย (ข) กรมธรรม์ประกันชีวิต ทุก 2,000 บาท หรือเศษของ 2,000 บาท แห่งจำนวนเงินที่เอาประกันภัย ((ประกาศคณะปฎิวัติ (ฉบับที่ 155) ใช้บังคับ 7 มิ.ย.2515 เป็นต้นไป ข้อ 7 กำหนดให้ค่าอากรแสตมป์สำหรับตราสารกรมธรรม์ประกันชีวิต ถ้ามีจำนวนสูงกว่า 20 บาท ให้ลดเหลือ 20 บาท)) (ค) กรมธรรม์ประกันภัยอื่น ๆ ทุก 2,000 บาท หรือเศษของ 2,000 บาท แห่งจำนวนเงินที่เอาประกัน (ง) กรมธรรม์เงินปี ทุก 2,000 บาท หรือเศษของ 2,000 บาง แห่งต้นทุนเงินปีนั้น หรือถ้าไม่ปรากฏต้นทุนให้คิดทุก 2,000 บาท หรือเศษของ 2,000 บาท แห่ง 33 1/3 เท่าของรายได้ประจำปี (จ) กรมธรรม์ประกันภัยซึ่งผู้รับประกันภัยนำไปให้ผู้อื่นประกันอีกต่อหนึ่ง (ฉ) บันทึกการต่ออายุกรมธรรม์ประกันภัยเดิม ยกเว้นไม่ต้องเสียอากร (ก) การประกันภัยสัตว์พาหนะซึ่งใช้ในการเกษตรกรรม (ข) บันทึกประกันภัยหรือกรมธรรม์ประกันภัยชั่วคราวซึ่งรับรองจะออกกรมธรรม์ประกันภัยต้วจริง แต่ถ้าผู้ทรงจะเรียกร้องเอาสิทธิอย่างอื่น นอกจากให้ส่งมอบกรมธรรม์ประกันภัยตัวจริงแล้วต้องปิดแสตมป์เสียก่อน เช่นเดียวกับที่จะต้องปิดสำหรับประกันภัยตัวจริง3 |
(ก) 1 บาท (ข) 1 บาท (ค) 1 บาท (ง) 1 บาท (จ) 1 บาท
|
ผู้รับประกันภัย ผู้รับประกันภัย ผู้รับประกันภัย ผู้รับประกันภัย ผู้รับประกันภัย |
ผู้รับประกันภัย ผู้รับประกันภัย ผู้รับประกันภัย ผู้รับประกันภัย ผู้รับประกันภัย |
7. ใบมอบอำนาจ คือ ใบตั้งตัวแทนซึ่งมิได้กระทำในรูปลักษณะตราสารสัญญา รวมทั้งใบตั้งอนุญาโตตุลาการ (ก) มอบอำนาจให้บุคคลคนเดียวหรือหลายคน การทำการครั้งเดียว (ข) มอบอำนาจให้บุคคลคนเดียวหรือหลายคนร่วมกระทำการมากกว่าครั้งเดียว (ค) มอบอำนาจให้กระทำการมากกว่าครั้งเดียว โดยให้บุคคลหลายคนต่างคนต่างกระทำกิจการแยกกันได้ คิดตามรายตัวบุคคลที่รับมอบคนละ หมายเหตุ ถ้าผู้มอบอำนาจมีหลายคน แต่มิได้เป็นผู้มีอำนาจร่วมกันแล้วมอบอำนาจในตราสารฉบับเดียวกัน ต้องคิดตามรายตัวบุคคลผู้มอบคนหนึ่งเป็นเรื่องหนึ่งตามมาตรา 108 ยกเว้นไม่ต้องเสียอากร (1) ใบแต่งทนายและใบมอบอำนาจซึ่งทนายความให้แก่เสมียนของตนเพื่อเป็นตัวแทนดำเนินคดีในศาล (2) ใบมอบอำนาจให้โอนหรือให้กระทำการใด ๆ เกี่ยวด้วยสัตว์พาหนะตามกฎหมายว่าด้วยสัตว์หาหนะ (3) ใบมอบอำนาจให้รับเงินหรือสิ่งของแทน (4) ใบมอบอำนาจซึ่งสหกรณ์เป็นผู้มอบและใบมอบอำนาจตั้งสหกรณ์เป็นตัวแทนจัดการให้สหกรณ์ได้รับสิทธิในอสังหาริมทรัพย์ |
(ก) 10 บาท (ค) 30 บาท |
ผู้มอบอำนาจ ผู้มอบอำนาจ |
ผู้รับมอบอำนาจ ผู้รับมอบอำนาจ |
8. ใบมอบฉันทะสำหรับให้ลงมติในที่ประชุมของบริษัท (ก) มอบฉันทะสำหรับการประชุมครั้งเดียว (ข) มอบฉันทะสำหรับการประชุมกว่าครั้งเดียว4 |
(ก) 20 บาท
|
ผู้มอบฉันทะ
|
ผู้มอบฉันทะ
|
9. (1) ตั๋วแลกเงินหรือตราสารทำนองเดียวกับที่ใช้อย่างตั๋วแลกเงิน ฉบับละ (2) ตั๋วสัญญาใช้เงินหรือตราสารทำนองเดียวกับที่ใช้อย่างตั๋วสัญญาใช้เงิน ฉบับละ ยกเว้นไม่ต้องเสียอากร ถ้าตั๋วออกเป็นสำรับและฉบับแรกในสำรับนั้นปิดแสตมป์บริบูรณ์แล้ว ฉบับอื่น ๆ ไม่ต้องปิดอีก แต่ตัองสลักหลังฉบับนั้น ๆ ไว้ว่าได้เสียอากรแลัว5 |
(1) 3 บาท (2) 3 บาท
|
ผู้สั่งจ่าย ผู้ออกตั๋ว
|
ผู้สั่งจ่าย ผู้ออกตั๋ว
|
10. บิลออฟเลดิง หมายเหตุ ถ้าออกเป็นสำรับให้ปิดแสตมป์ตามอัตราทุกฉบับ |
2 บาท |
ผู้กระทำตราสาร |
ผู้กระทำตราสาร |
11. (1) ใบหุ้น หรือใบหุ้นกู้ หรือใบรับรองหนี้ของบริษัท สมาคม คณะบุคคล หรือองค์การใด ๆ 6 (2) พันธบัตรของรัฐบาลใด ๆ ที่ขายในประเทศไทย ทุกจำนวนเงิน 100 บาท หรือเศษของ 100 บาท ยกเว้นไม่ต้องเสียอากร ใบหุ้น ใบหุ้นกู้ หรือใบรับรองหนี้ของสหกรณ์ |
(1) 5 บาท (2) 1 บาท
|
ผู้ทรงตราสาร ผู้ทรงตราสาร
|
ผู้ทรงตราสาร ผู้ทรงตราสาร
|
12. เช็ค หรือหนังสือคำสั่งใด ๆ ซึ่งใช้แทนเช็ค ฉบับละ7 |
3 บาท
|
ผู้สั่งจ่าย
|
ผู้สั่งจ่าย
|
13. ใบรับฝากเงินประเภทประจำของธนาคารโดยมีดอกเบี้ย8 |
5 บาท
|
ผู้รับฝาก
|
ผู้รับฝาก
|
14. เลตเตอร์ออฟเครดิต (ก)ออกในประเทศ – เงินต่ำกว่า 10,000 บาท – เงินตั้งแต่ 10,000 บาท ขึ้นไป (ข) ออกในต่างประเทศและให้ชำระเงินในประเทศไทย คราวละ หมายเหตุ ตราสารเลตเตอร์ออฟเครดิตที่ออกในประเทศไทย และให้ชำระเงินในต่างประเทศ ต้องทำสำเนาเก็บไว้ในประเทศไทย ส่วนการเสียอากรให้ปิดแสตมป์บริบูรณ์เฉพาะในฉบับสำเนาดังกล่าวนั้น 9 |
(ก) 20 บาท (ข) 20 บาท
|
ผู้ออกตราสาร ผู้ทรงคนแรก
|
ผู้ออกตราสาร ผู้ทรงคนแรก
|
15. เช็คสำหรับผู้เดินทาง (ก) ออกในประเทศ ฉบับละ (ข) ออกในต่างประเทศ แต่ให้ชำระในประเทศไทย ฉบับละ(พระราชกำหนดแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ 12) พ.ศ.2526 ใช้บังคับ 29 พ.ย.2526 เป็นต้นไป) |
(ก) 3 บาท
|
ผู้ออกเช็ค
|
ผู้ออกเช็ค
|
16. ใบรับของ ซึ่งออกให้เนื่องในกิจการรับขนสินค้าโดยทางน้ำ ทางบก และทางอากาศ คือตราสารซึ่งลงลายมือชื่อพนักงานหรือนายสินค้าของยานพาหนะรับขนส่ง ซึ่งออกรับของดังระบุไว้ในใบรับนั้น เมื่อไม่ได้ออกบิลออฟเลดิง ฉบับละ หมายเหตุ ถ้าออกเป็นสำรับให้ปิดแสตมป์ตามอัตราทุกฉบับ 10 |
1 บาท
|
ผู้ออกใบรับ
|
ผู้ออกใบรับ
|
17. ค้ำประกัน (ก) สำหรับกรณีที่มิได้จำกัดจำนวนเงินไว้ (ข) สำหรับจำนวนเงินไม่เกิน 1,000 บาท (ค) สำหรับจำนวนเงินเกิน 1,000 บาท แต่ไม่เกิน 10,000 บาท (ง) สำหรับจำนวนเงินเกิน 10,000 บาท ขึ้นไป ยกเว้นไม่ต้องเสียอากร (ก) ค้ำประกันหนี้เนื่องแต่การที่รัฐบาลให้ราษฎรกู้ยืมหรือยืมเพื่อการบริโภคหรือการเกษตรกรรม (ข) ค้ำประกันหนี้เนื่องแต่การที่สหกรณ์ให้สมาชิกกู้ยืมหรือยืม 11 |
(ก) 10 บาท
|
ผู้ค้ำประกัน
|
ผู้ค้ำประกัน
|
18. จำนำ จำนวนหนี้ทุก 2,000 บาท หรือเศษของ 2,000 บาท ถ้าการจำนำมิได้จำกัดจำนวนหนี้ไว้ ยกเว้นไม่ต้องเสียอากร (ก) ตั๋วจำนำของโรงรับจำนำที่ได้รับอนุญาตตามกฎหมาย (ข) จำนำอันเกี่ยวกับกู้ยืมซึ่งได้ปิดแสตมป์บริบูรณ์แล้วตามข้อ 5 |
1 บาท
|
ผู้รับจำนำ
|
ผู้รับจำนำ
|
19. ใบรับของคลังสินค้า |
1 บาท |
นายคลังสินค้า |
นายคลังสินค้า |
20. คำสั่งให้ส่งมอบของ คือ ตราสารซึ่งบุคคลผู้ปรากฏชื่อในตราสารนั้น หรือซึ่งบุคคลผู้นั้นตราชื่อไว้ หรือผู้ทรงมีสิทธิที่จะรับมอบสินค้าอันอยู่ในอู่ หรือเมืองท่า หรือคลังสินค้าซึ่งรับเก็บหรือรับฝากโดยเรียกเก็บค่าเช่าหรือรับสินค้าอันอยู่ที่ท่าสินค้าโดยที่เจ้าของลงลายมือชื่อ หรือมีผู้อื่นลงลายมือชื่อแทนในเมื่อขายหรือโอนทรัพย์สินอันปรากฎในตราสารนั้น 12 |
1 บาท
|
ผู้ออกคำสั่ง
|
ผู้ออกคำสั่ง
|
21. ตัวแทน (ก) มอบอำนาจเฉพาะการ (ข) มอบอำนาจทั่วไป ยกเว้นไม่ต้องเสียอากร การตั้งตัวแทนในกรณีสหกรณ์เป็นตัวการ 13 |
(ก) 10 บาท
|
ตัวการ
|
ตัวการ
|
22. คำชี้ขาดของอนุญาโตตุลาการ (ก) ในกรณีซึ่งพิพาทกันด้วยจำนวนเงินหรือราคาทุกจำนวนเงิน 1,000 บาท หรือเศษของ 1,000 บาท (ข) ในกรณีอื่นซึ่งไม่กล่าวถึงจำนวนเงินหรือราคา 14 |
(ก) 1 บาท
|
อนุญาโตตุลาการ
|
อนุญาโตตุลาการ
|
23. คู่ฉบับหรือคู่ฉีกแห่งตราสาร คือ ตราสารซึ่งมีข้อความอย่างเดียวกันกับต้นฉบับ หรือต้นสัญญาและผู้กระทำตราสารได้ลงลายมือชื่อไว้ อย่างเดียวกับต้นฉบับ (ก) ถ้าต้นฉบับเสียอากรไม่เกิน 5 บาท (ข) ถ้าเกิน 5 บาท ยกเว้นไม่ต้องเสียอากร ถ้าฝ่ายที่ต้องเสียอากรเป็นสหกรณ์ 15 |
(ก) 1 บาท
|
(1) ถ้าไม่มีบุคคลอีกฝ่ายหนึ่งเป็นคู่สัญญาคนที่เสียอากรสำหรับต้นฉบับเป็นผู้เสีย |
คนเดียวกับผู้ขีดฆ่า |
24. หนังสือบริคณห์สนธิของบริษัทจำกัดที่ส่งต่อนายทะเบียน |
200 บาท |
ผู้เริ่มก่อการ |
ผู้เริ่มก่อการ |
25. ข้อบังคับของบริษัทจำกัดที่ส่งต่อนายทะเบียน |
200 บาท |
กรรมการ |
กรรมการ |
26. ข้อบังคับใหม่หรือสำเนาหนังสือบริคณห์สนธิหรือข้อบังคับของบริษัทจำกัดซึ่งเปลี่ยนแปลงใหม่ที่ส่งต่อนายทะเบียน | 50 บาท | กรรมการ | กรรมการ |
27. หนังสือสัญญาห้างหุ้นส่วน (ก) หนังสือสัญญาจัดตั้งห้างหุ้นส่วน (ข) หนังสือสัญญาที่แก้ไขสัญญาจัดตั้งห้างหุ้นส่วน 16 |
(ก) 100 บาท
|
ผู้เป็นหุ้นส่วน
|
ผู้เป็นหุ้นส่วน
|
28. ใบรับ เฉพาะตามที่ระบุต่อไปนี้ |
1 บาท |
ผู้ออกใบรับ |
ผู้ออกใบรับ |
(ยกเลิกโดยพระราชกำหนดแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ 14) พ.ศ.2529 ใช้บังคับ 1 ก.พ.2529 เป็นต้นไป) |
|||
(ยกเลิกโดยพระราชกำหนดแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ 14) พ.ศ.2529 ใช้บังคับ 1 ก.พ.2529 เป็นต้นไป) |
สถานที่จัดจำหน่าย
คุณสามารถซื้ออากรแสตมป์ได้ที่สำนักงานสรรพากรพื้นที่หรือสาขาใกล้บ้าน
การเสียอากรแสตมป์เป็นตัวเงิน (อส.4)
ในกรณีที่ตราสารนั้นจำเป็นต้องปิดอากรแสตมป์จำนวนมาก เช่น ราคาหลักพันบาท ผู้เสียภาษีสามารถเลือกใช้วิธีเสียอากรแสตมป์เป็นตัวเงินแทนการปิดอากรแสตมป์แบบปกติได้ โดยติดต่อสำนักงานสรรพากรพื้นที่หรือสาขาใกล้บ้าน แล้วยื่นแบบคำขอ อส.4 เพื่อชำระค่าอากรแสตมป์เป็นตัวเงิน
ข้อควรทราบเกี่ยวกับ อส.4
คุณจำเป็นต้องติดต่อกับสำนักงานสรรพากรในพื้นที่ที่เกี่ยวข้อง เช่น พื้นที่ที่คู่สัญญานั้นอยู่ เพราะเจ้าหน้าที่สรรพากรจะไม่สามารถให้บริการนอกพื้นที่ของคู่สัญญา
และนอกจากตัวสัญญาต้นฉบับ 1 ชุดที่คุณต้องเตรียมไปด้วยแล้ว คุณจำเป็นต้องเตรียมเตรียมคู่ฉบับของสัญญาไว้ 1 ชุด และสำเนาของสัญญาเพื่อให้เจ้าหน้าที่สรรพากรเก็บไว้อีก 1 ชุดด้วย (รวม 3 ชุด)
เรื่องที่มักเข้าใจผิดบ่อย
- อากรแสตมป์ แม้จะเรียกว่าแสตมป์ แต่ไม่สามารถหาซื้อได้ที่ไปรษณีย์หรือร้านสะดวกซื้อทั่วไป
- อากรแสตมป์ไม่ใช่ดวงตราไปรษณียากร เราจึงไม่สามารถนำไปใช้ปิดซองจดหมายได้
- อากรแสตมป์ใช้ติดตามมูลค่าของสัญญา โดยไม่ต้องนำภาษีมูลค่าเพิ่ม (VAT) มารวมด้วย18 เช่น ถ้าสัญญาดังกล่าวมูลค่า 100,000 บาท และมีภาษีมูลค่าเพิ่มอีก 7,000 บาท ให้ปิดอากรแสตมป์เป็นเงิน 100 บาทเท่านั้น ไม่ใช่ 107 บาท
- แม้อากรแสตมป์จะเป็น ภาษี ที่อยู่ในความรับผิดชอบของกรมสรรพากรแต่กรมสรรพากรก็ไม่ได้ทำหน้าที่พิมพ์เองแต่อย่างใด หากแต่พิมพ์โดยโรงพิมพ์ธนบัตรของธนาคารแห่งประเทศไทย ทำให้การพิมพ์อากรแสตมป์ของประเทศไทยมีคุณภาพระดับเดียวกับธนบัตรเลยทีเดียว19
อ้างอิง
- ^
บัญชีอากรแสตมป์ ประมวลรัษฎากร
- ^
พระราชกำหนดแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ 14) พ.ศ.2529 ใช้บังคับ 1 ก.พ.2529 เป็นต้นไป
- ^
พระราชกำหนดแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ 10) พ.ศ.2525 ใช้บังคับ 27 ก.พ.2525 เป็นต้นไป
- ^
พระราชกำหนดแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ 12) พ.ศ.2526 ใช้บังคับ 29 พ.ย.2526 เป็นต้นไป
- ^
พระราชกำหนดแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ 12) พ.ศ.2526 ใช้บังคับ 29 พ.ย.2526 เป็นต้นไป
- ^
พระราชกำหนดแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ 12) พ.ศ.2526 ใช้บังคับ 29 พ.ย.2526 เป็นต้นไป
- ^
พระราชกำหนดแก้ไขเพิ่มเติมพระมวลรัษฎากร (ฉบับที่ 12) พ.ศ.2526 ใช้บังคับ 29 พ.ย.2526 เป็นต้นไป
- ^
พระราชกำหนดแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ 12) พ.ศ.2526 ใช้บังคับ 29 พ.ย.2526 เป็นต้นไป
- ^
พระราชกำหนดแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ 12) พ.ศ.2526 ใช้บังคับ 29 พ.ย.2526 เป็นต้นไป
- ^
พระราชกำหนดแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ 10) พ.ศ.2525 ใช้บังคับ 27 ก.พ.2525 เป็นต้นไป
- ^
พระราชกำหนดแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ 12) พ.ศ.2526 ใช้บังคับ 29 พ.ย.2526 เป็นต้นไป
- ^
พระราชกำหนดแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ 10) พ.ศ.2525 ใช้บังคับ 27 ก.พ.2525 เป็นต้นไป
- ^
พระราชกำหนดแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ 12) พ.ศ.2526 ใช้บังคับ 29 พ.ย.2526 เป็นต้นไป
- ^
พระราชกำหนดแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ 10) พ.ศ.2525 ใช้บังคับ 27 ก.พ.2525 เป็นต้นไป
- ^
พระราชกำหนดแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ 12) พ.ศ.2526 ใช้บังคับ 29 พ.ย.2526 เป็นต้นไป
- ^
พระราชกำหนดแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ 12) พ.ศ.2526 ใช้บังคับ 29 พ.ย.2526 เป็นต้นไป
- ^
พระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ 30) พ.ศ.2534 ใช้บังคับ 1 ม.ค.2535 เป็นต้นไป
- ^
ข้อหารือภาษีอากรที่ กค 0811(กม)/464 ลว. 12 มีนาคม 2541
- ^
ธนาคารแห่งประเทศไทย, www.bot.or.th