Contents

วิธีคำนวณภาษีหัก ณ ที่จ่าย แบบละเอียด กรณีจ่ายเงินเดือนพนักงาน

358,286 views

โดย ผศ.ดร.ยุทธนา ศรีสวัสดิ์ อาจารย์ประจำวิชากฎหมายภาษีอากร

ในกรณีจ่ายเงินเดือนพนักงาน (เงินได้ประเภทที่ 1)  กฎหมายกำหนดให้นายจ้างซึ่งเป็นผู้จ่ายค่าจ้างให้พนักงานคำนวณภาษีหัก ณ ที่จ่ายเป็นรายเดือนจากเงินเดือนที่จ่ายให้พนักงานแต่ละเดือน โดยต้อง คำนวณภาษี ของพนักงานแยกเป็นรายบุคคล

1. หลักการทั่วไปเกี่ยวกับการคำนวณภาษีหัก ณ ที่จ่ายของเงินเดือนพนักงาน

โดยปกติแล้ว การคำนวณภาษีหัก ณ ที่จ่ายรายเดือนของพนักงาน จะใช้วิธีคำนวณจากการประมาณการรายได้และสิทธิประโยชน์ทางภาษีของพนักงานตลอดทั้งปี แล้วจึงนำค่าภาษีทั้งหมดที่คำนวณได้มาแบ่งซอยย่อยเป็นรายเดือน

ให้นายจ้างคำนวณภาษีหัก ณ ที่จ่ายโดยอิงจากฐานเงินเดือนของพนักงานที่จะได้รับตลอดทั้งปี แล้วหักด้วยสิทธิหัก ค่าใช้จ่าย และ ค่าลดหย่อน ที่แจ้งว่าจะใช้สิทธิ์ตลอดทั้งปี เมื่อคำนวณได้ค่าภาษีประจำปีแล้ว จึงนำมาหารเฉลี่ยตามจำนวนงวดที่จ่าย1

ค่าภาษีที่คํานวณได้ ÷ จํานวนงวด = ภาษีหัก ณ ที่จ่าย

เช่น คำนวณค่าภาษีทั้งปีแล้วได้ ฿12,000 โดยจ่ายเงินเดือนเป็นรายเดือน ดังนั้น ตลอดทั้งปีจึงมีการจ่ายเงินเดือน 12 งวด ทำให้ทุกๆ เดือนต้องหักภาษี ณ ที่จ่าย เดือนละ ฿1,000 เป็นต้น

อย่างไรก็ดี หากหารภาษีหัก ณ ที่จ่ายตามจำนวนงวดแล้วไม่ลงตัว การหักภาษีจะไม่ปัดเศษขึ้น เช่น คำนวณภาษีตลอดทั้งปีได้ 20,600 บาท เมื่อหารตามจำนวนงวด 12 เดือนแล้วจะได้  1,716.6666667 (20,600/12 เดือน) ในกรณีเช่นนี้ การหักภาษี ณ ที่จ่ายจะใช้เลข 1,716.66 ไปเลย (ไม่ปัดเศษเป็น 1,716.67)

หมายเหตุ: การแจ้งสิทธิลดหย่อนของพนักงานสามารถแจ้งให้นายจ้างหรือ HR ทราบล่วงหน้าได้ตั้งแต่ช่วงต้นปี โดยการแจ้งในแบบแจ้งรายการเพื่อการหักลดหย่อน (แบบ ล.ย.01) ที่นายจ้างทำขึ้น และให้มีผลต่อการคำนวณภาษีหัก​ ณ ที่จ่ายในงวดนั้นทันที แม้ว่าจะจ่ายค่าลดหย่อนนั้นในเดือนอื่นของปีก็ตาม เว้นแต่จะเป็นค่าลดหย่อนเงินบริจาคให้คำนวณหักได้เมื่อมีการจ่ายเงินบริจาคจริงเท่านั้น2

ทั้งนี้ กรณีพนักงานได้แจ้งเปลี่ยนแปลงรายการค่าลดหย่อนระหว่างปี ให้คำนวณหักค่าลดหย่อนตามที่พนักงานได้แจ้งการเปลี่ยนแปลงนั้นด้วย3

การคำนวณภาษีหัก ณ ที่จ่าย เฉพาะเดือนธันวาคม

การคำนวณภาษีหัก ณ ที่จ่ายของเดือนธันวาคมจะมีความพิเศษกว่าเดือนอื่นๆ กล่าวคือ อาจไม่ใช่เลขอัตราเดียวกับที่เคยถูกหักในเดือนอื่นๆ เนื่องจากในเดือนธันวาคมจะใช้วิธีคำนวณจากเศษคงเหลือของภาษีตลอดทั้งปีหลังหักภาษี ณ ที่จ่ายตั้งแต่เดือนมกราคมถึงเดือนพฤศจิกายน

เช่น คำนวณภาษีตลอดทั้งปีได้ 20,600 บาท และเมื่อเดือนมกราคมถึงเดือนพฤศจิกายนถูกหักภาษี ณ ที่จ่ายไปเดือนละ 1,716.66 บาท รวม 11 เดือน จึงถูกหักภาษี ณ ที่จ่ายระหว่างปีไปแล้วรวม 18,883.26 บาท (ภาษีหัก ณ ที่จ่าย 1,716.66 x 11 เดือน)

ดังนั้น ภาษีหัก ณ ที่จ่ายในเดือนธันวาคมจึงนำภาษีที่คำนวณตลอดทั้งปี 20,600ภาษีหัก ณ ที่จ่ายระหว่างปี 18,883.26 = 1,716.74 บาท 

สรุป เดือนธันวาคมจึงต้องหักภาษี ณ ที่จ่าย 1,716.74 บาท

ตัวอย่างการคำนวณภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย กรณีจ่ายเงินเดือนอย่างเดียว

ตัวอย่าง 1 – พนักงานทำงานตั้งแต่เดือนมกราคมของปี

นาย ก. เงินเดือน เดือนละ 50,000 บาท ได้สิทธิหักค่าใช้จ่าย 100,000 บาท ได้สิทธิหักค่าลดหย่อนส่วนตัว 60,000 หักประกันสังคมเดือนละ 750 บาท

ขั้นตอนที่ 1: คำนวณภาษีหัก ณ ที่จ่ายรายเดือนสำหรับเดือนมกราคม – พฤศจิกายน
  1. คำนวณเสมือนได้รับเงินเดือนตลอดทั้งปี 50,000 x 12 = 600,000
  2. หักค่าใช้จ่าย 100,000 บาท ค่าลดหย่อนส่วนตัว 60,000 บาท และค่าลดหย่อนประกันสังคม 9,000 บาท
  3. เงินได้สุทธิ 600,000 – 100,000 – 60,000 – 9,000 = 431,000 เสียภาษีในอัตราสูงสุด 10%
  4. คำนวณภาษีตลอดทั้งปีได้ 20,600 บาท
  5. หารตามจำนวนงวด 20,600/12 เดือน = 1,716.66 (ไม่ปัดเศษ)
  6. ภาษีหัก ณ ที่จ่ายตั้งแต่เดือนมกราคมถึงเดือนพฤศจิกายน จะใช้อัตรา 1,716.66 บาท
ขั้นตอนที่ 2: คำนวณภาษีหัก ณ ที่จ่ายรายเดือนสำหรับเดือนธันวาคม
  1. ภาษีหัก ณ ที่จ่ายในเดือนธันวาคม จะใช้วิธีคำนวณจากเศษคงเหลือของภาษีตลอดทั้งปีหลังหักภาษี ณ ที่จ่ายตั้งแต่เดือนมกราคมถึงเดือนพฤศจิกายน กล่าวคือ เมื่อเดือนมกราคมถึงเดือนพฤศจิกายนถูกหักภาษี ณ ที่จ่ายไปรวม 18,883.26 บาท (ภาษีหัก ณ ที่จ่าย 1,716.66 x 11 เดือน)
  2. คำนวณภาษีตามค่าจ้างที่จ่ายให้จริงตลอดทั้งปี 600,000 บาท คิดเป็นจำนวนภาษีได้ 20,600 บาท
  3. นำค่าภาษีตลอดทั้งปี 20,600 – ภาษีหัก ณ ที่จ่าย ม.ค. ถึง พ.ย. 18,883.26
  4. ดังนั้น ภาษีหัก ณ ที่จ่ายในเดือนธันวาคมจึงเป็น 1,716.74 บาท 

 

เสียเวลาคำนวณภาษีเงินเดือนเองทำไม?

iTAX paystation จัดการภาษีเงินเดือนให้อัตโนมัติ

สอบถามค่าบริการ

 

ตัวอย่าง 2 – พนักงานเริ่มงานระหว่างปี

นาย ก. เงินเดือน เดือนละ 50,000 บาท เริ่มงานเดือนมีนาคมเป็นเดือนแรก (ปีนี้จะได้ทำงาน 10 เดือน) ได้สิทธิหักค่าใช้จ่าย 100,000 บาท ได้สิทธิหักค่าลดหย่อนส่วนตัว 60,000 และหักประกันสังคมเดือนละ 750 บาท เป็นเวลา 10 เดือน

ขั้นตอนที่ 1: คำนวณภาษีหัก ณ ที่จ่ายรายเดือนสำหรับเดือนมีนาคม – พฤศจิกายน
  1. คำนวณเสมือนได้รับเงินเดือนตลอดทั้งปี 50,000 x 10 = 500,000
  2. หักค่าใช้จ่าย 100,000 บาท ค่าลดหย่อนส่วนตัว 60,000 บาท และค่าลดหย่อนประกันสังคม 7,500 บาท (ประกันสังคม 10 เดือน)
  3. เงินได้สุทธิ 500,000 – 100,000 – 60,000 – 7,500 = 332,500 เสียภาษีในอัตราสูงสุด 10%
  4. คำนวณภาษีตลอดทั้งปีได้ 10,750 บาท
  5. หารตามจำนวนงวด 10,750/10 เดือน = 1,075
  6. ภาษีหัก ณ ที่จ่ายตั้งแต่เดือนมีนาคมถึงเดือนพฤศจิกายน จะใช้อัตรา 1,075 บาท
  7. ภาษีหัก ณ ที่จ่ายในเดือนธันวาคม จะใช้วิธีคำนวณจากเศษคงเหลือของภาษีตลอดทั้งปีหลังหักภาษี ณ ที่จ่ายตั้งแต่เดือนที่เข้างานเดือนแรก (มีนาคม) ถึงเดือนพฤศจิกายน กล่าวคือ เมื่อเดือนมีนาคมถึงเดือนพฤศจิกายนถูกหักภาษี ณ ที่จ่ายไปรวม 9,675 บาท (ภาษีหัก ณ ที่จ่าย 1,075 x 9 เดือน) ดังนั้น ภาษีหัก ณ ที่จ่ายในเดือนธันวาคมจึงเป็น 1,075 บาท (ภาษีตลอดทั้งปี 10,750 – ภาษีหัก ณ ที่จ่าย มี.ค. ถึง พ.ย. 9,675)
ขั้นตอนที่ 2: คำนวณภาษีหัก ณ ที่จ่ายรายเดือนสำหรับเดือนธันวาคม
  1. ภาษีหัก ณ ที่จ่ายในเดือนธันวาคม จะใช้วิธีคำนวณจากเศษคงเหลือของภาษีตลอดทั้งปีหลังหักภาษี ณ ที่จ่ายตั้งแต่เดือนที่เข้างานเดือนแรก (มีนาคม) ถึงเดือนพฤศจิกายน กล่าวคือ เมื่อเดือนมีนาคมถึงเดือนพฤศจิกายนถูกหักภาษี ณ ที่จ่ายไปรวม 9,675 บาท (ภาษีหัก ณ ที่จ่าย 1,075 x 9 เดือน)
  2. คำนวณภาษีตามค่าจ้างที่จ่ายให้จริงตลอดทั้งปี 500,000 บาท คิดเป็นจำนวนภาษีได้ 10,750 บาท
  3. นำค่าภาษีตลอดทั้งปี 10,750 – ภาษีหัก ณ ที่จ่าย มี.ค. ถึง พ.ย. 9,675
  4. ดังนั้น ภาษีหัก ณ ที่จ่ายในเดือนธันวาคมจึงเป็น 1,075 บาท

 

เสียเวลาคำนวณภาษีเงินเดือนเองทำไม?

iTAX paystation โปรแกรมเงินเดือนออนไลน์

สอบถามค่าบริการ

 

ตัวอย่าง 3 – ปรับฐานเงินเดือนของพนักงานให้ระหว่างปี

นาย ก. เงินเดือน เดือนละ 50,000 บาท ได้สิทธิหักค่าใช้จ่าย 100,000 บาท ได้สิทธิหักค่าลดหย่อนส่วนตัว 60,000 หักประกันสังคมเดือนละ 750 บาท ต่อมานายจ้างปรับฐานเงินเดือนให้เป็น 100,000 บาท โดยเริ่มมีผลตั้งแต่เดือนตุลาคมเป็นต้นไป

ขั้นตอนที่ 1: คำนวณภาษีหัก ณ ที่จ่ายรายเดือนสำหรับเดือนมกราคม – กันยายน
  1. คำนวณเสมือนได้รับเงินเดือนตลอดทั้งปี 50,000 x 12 = 600,000
  2. หักค่าใช้จ่าย 100,000 บาท ค่าลดหย่อนส่วนตัว 60,000 บาท และค่าลดหย่อนประกันสังคม 9,000 บาท
  3. เงินได้สุทธิ 600,000 – 100,000 – 60,000 – 9,000 = 431,000 เสียภาษีในอัตราสูงสุด 10%
  4. คำนวณภาษีตลอดทั้งปีได้ 20,600 บาท
  5. หารตามจำนวนงวด 20,600/12 เดือน = 1,716.66 (ไม่ปัดเศษ)
  6. ภาษีหัก ณ ที่จ่ายตั้งแต่เดือนมกราคมถึงเดือนกันยายน จะใช้อัตรา 1,716.66 บาท
ขั้นตอนที่ 2: คำนวณภาษีหัก ณ ที่จ่ายรายเดือนสำหรับเดือนตุลาคม – พฤศจิกายน
  1. เริ่มใช้ฐานเงินเดือนใหม่แล้วคำนวณเสมือนได้รับเงินเดือนตลอดทั้งปี 100,000 x 12 = 1,200,000 (แม้ว่าในความเป็นจริงจะได้รับเงินเดือนฐานใหม่เพียง 3 เดือนสุดท้ายของปีก็ตาม)
  2. หักค่าใช้จ่าย 100,000 บาท ค่าลดหย่อนส่วนตัว 60,000 บาท และค่าลดหย่อนประกันสังคม 9,000 บาท
  3. เงินได้สุทธิ 1,200,000 – 100,000 – 60,000 – 9,000 = 1,031,000 เสียภาษีในอัตราสูงสุด 25%
  4. คำนวณภาษีตลอดทั้งปีได้ 122,750 บาท
  5. หารตามจำนวนงวด 122,750/12 เดือน = 10,229.16 (ไม่ปัดเศษ)
  6. ภาษีหัก ณ ที่จ่ายตั้งแต่เดือนตุลาคมถึงเดือนพฤศจิกายน จะใช้อัตรา 10,229.16 บาท
ขั้นตอนที่ 3: คำนวณภาษีหัก ณ ที่จ่ายรายเดือนสำหรับเดือนธันวาคม
  1. ภาษีหัก ณ ที่จ่ายในเดือนธันวาคม จะใช้วิธีคำนวณจากเศษคงเหลือของภาษีตลอดทั้งปีหลังหักภาษี ณ ที่จ่ายตั้งแต่เดือนมกราคมถึงเดือนพฤศจิกายน กล่าวคือ เมื่อเดือนมกราคมถึงเดือนพฤศจิกายนถูกหักภาษี ณ ที่จ่ายไปรวม 35,908.26 บาท (ภาษีหัก ณ ที่จ่าย ม.ค. ถึง ก.ย. 1,716.66 x 9 เดือน + ภาษีหัก ณ ที่จ่าย ต.ค. ถึง พ.ย. 10,229.16 x 2 เดือน)
  2. คำนวณภาษีตามค่าจ้างที่จ่ายให้จริงตลอดทั้งปี 750,000 บาท (เงินเดือน ม.ค. ถึง ก.ย. 450,000 + เงินเดือน ต.ค. ถึง ธ.ค. 300,000 บาท) คิดเป็นจำนวนภาษีได้ 39,650 บาท
  3. นำค่าภาษีตลอดทั้งปี 39,650 – ภาษีหัก ณ ที่จ่าย ม.ค. ถึง พ.ย. 35,908.26
  4. ดังนั้น ภาษีหัก ณ ที่จ่ายในเดือนธันวาคมจึงเป็น 3,741.74 บาท

 

เสียเวลาคำนวณภาษีเงินเดือนเองทำไม?

iTAX paystation โปรแกรมเงินเดือนสำเร็จรูป

สอบถามค่าบริการ

 

ตัวอย่าง 4 – พนักงานทำงานตั้งแต่เดือนมกราคมของปีและแจ้งสิทธิลดหย่อนให้นายจ้างทราบ

นาย ก. เงินเดือน เดือนละ 50,000 บาท ได้สิทธิหักค่าใช้จ่าย 100,000 บาท ได้สิทธิหักค่าลดหย่อนส่วนตัว 60,000 หักประกันสังคมเดือนละ 750 บาท

นาย ก. ได้แจ้งสิทธิลดหย่อนบิดา 60,000 บาท สิทธิลดหย่อนดอกเบี้ยบ้าน 100,000 บาท และสิทธิลดหย่อนเบี้ยประกันชีวิตที่คาดว่าจะจ่ายปีนี้ 50,000 บาท

ขั้นตอนที่ 1: คำนวณภาษีหัก ณ ที่จ่ายรายเดือนสำหรับเดือนมกราคม – พฤศจิกายน
  1. คำนวณเสมือนได้รับเงินเดือนตลอดทั้งปี 50,000 x 12 = 600,000
  2. หักค่าใช้จ่าย 100,000 บาท ค่าลดหย่อนส่วนตัว 60,000 บาท ค่าลดหย่อนประกันสังคม 9,000 บาท ค่าลดหย่อนอุปการะเลี้ยงดูบิดา 60,000 บาท ค่าลดหย่อนดอกเบี้ยบ้าน 100,000 บาท และค่าลดหย่อนเบี้ยประกันชีวิตที่คาดว่าจะจ่ายปีนี้ 50,000 บาท (แม้เบี้ยประกันชีวิตจะยังไม่ได้จ่ายจริง แต่ก็สามารถนำมาคำนวณภาษีหัก ณ ที่จ่ายได้ตามที่แจ้งให้นายจ้างทราบ)
  3. เงินได้สุทธิ 600,000 – 100,000 – 60,000 – 9,000 – 60,000 – 100,000 – 50,000 = 221,000 เสียภาษีในอัตราสูงสุด 5%
  4. คำนวณภาษีตลอดทั้งปีได้ 3,550 บาท
  5. หารตามจำนวนงวด 3,550/12 เดือน = 295.83 (ไม่ปัดเศษ)
  6. ภาษีหัก ณ ที่จ่ายตั้งแต่เดือนมกราคมถึงเดือนพฤศจิกายน จะใช้อัตรา 295.83 บาท
ขั้นตอนที่ 2: คำนวณภาษีหัก ณ ที่จ่ายรายเดือนสำหรับเดือนธันวาคม
  1. ภาษีหัก ณ ที่จ่ายในเดือนธันวาคม จะใช้วิธีคำนวณจากเศษคงเหลือของภาษีตลอดทั้งปีหลังหักภาษี ณ ที่จ่ายตั้งแต่เดือนมกราคมถึงเดือนพฤศจิกายน กล่าวคือ เมื่อเดือนมกราคมถึงเดือนพฤศจิกายนถูกหักภาษี ณ ที่จ่ายไปรวม 3,254.13 บาท (ภาษีหัก ณ ที่จ่าย 295.83 x 11 เดือน)
  2. คำนวณภาษีตามค่าจ้างที่จ่ายให้จริงตลอดทั้งปี 600,000 บาท และหักด้วยสิทธิลดหย่อนตามที่แจ้งไว้ทั้งหมดแล้ว คิดเป็นจำนวนภาษีได้ 3,550 บาท
  3. นำค่าภาษีตลอดทั้งปี 3,550 – ภาษีหัก ณ ที่จ่าย ม.ค. ถึง พ.ย. 3,254.13
  4. ดังนั้น ภาษีหัก ณ ที่จ่ายในเดือนธันวาคมจึงเป็น 295.87 บาท 

 

พนักงานแจ้งสิทธิลดหย่อนไว้ ต้องคำนวณภาษียังไงดี?

iTAX paystation จัดการภาษีเงินเดือนให้อัตโนมัติ

สอบถามค่าบริการ

 

2. วิธีคำนวณภาษีหัก ณ ที่จ่ายของเงินเดือนพนักงาน กรณีจ่ายโบนัส ค่าคอมมิชชั่น หรือเงินพิเศษ

การคำนวณภาษีหัก ณ ที่จ่ายของเดือนที่จ่ายโบนัส ค่าคอมมิชชั่น ค่านายหน้า หรือเงินพิเศษอื่นๆ เช่น เงินค่าล่วงเวลา OT จะมีความพิเศษกว่าการจ่ายเงินเดือนเพียงอย่างเดียว เนื่องจากเงินลักษณะนี้ เป็นรายได้ที่ไม่แน่นอน จึงไม่สามารถคาดเดาจำนวนรายได้ตามจำนวนงวดที่แน่นอนล่วงหน้าได้ และต้องใช้วิธีคำนวณภาษีหัก ณ ที่จ่ายที่แตกต่างออกไป (ต่างจากเงินเดือนที่คาดเดาล่วงหน้าได้ทุกงวดจนถึงสิ้นปี)

หลักการสำคัญของการคำนวณภาษีหัก ณ ที่จ่ายในเดือนที่จ่ายโบนัส ค่าคอม และเงินพิเศษ คือ คำนวณภาษีส่วนที่เพิ่มจากฐานรายได้ปกติเพราะได้รับเงินพิเศษเหล่านั้น แล้วนำเฉพาะภาษีที่คำนวณส่วนเกินนั้นมาบวกเพิ่มกับฐานภาษีหัก ณ ที่จ่ายปกติในเดือนที่ได้รับเงินพิเศษ

ตัวอย่างการคำนวณภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย ในเดือนที่ได้รับโบนัส ค่าคอมมิชชั่น และเงินพิเศษ

ตัวอย่าง 5 – ได้รับโบนัส

นาย ก. เงินเดือน เดือนละ 50,000 บาท ได้สิทธิหักค่าใช้จ่าย 100,000 บาท ได้สิทธิหักค่าลดหย่อนส่วนตัว 60,000 หักประกันสังคมเดือนละ 750 บาท และได้รับโบนัสเมื่อเดือนมีนาคม 100,000 บาท

ขั้นตอนที่ 1 คำนวณภาษีหัก ณ ที่จ่ายรายเดือน
  1. คำนวณเสมือนได้รับเงินเดือนตลอดทั้งปี 50,000 x 12 = 600,000
  2. หักค่าใช้จ่าย 100,000 บาท ค่าลดหย่อนส่วนตัว 60,000 บาท และค่าลดหย่อนประกันสังคม 9,000 บาท
  3. เงินได้สุทธิ  600,000 – 100,000 – 60,000 – 9,000 = 431,000 เสียภาษีในอัตราสูงสุด 10%
  4. คำนวณภาษีตลอดทั้งปีก่อนรวมโบนัสได้ 20,600 บาท
  5. หารตามจำนวนงวด 20,600/12 เดือน = 1,716.66 (ไม่ปัดเศษ)
  6. ภาษีหัก ณ ที่จ่ายตั้งแต่เดือนมกราคมถึงเดือนพฤศจิกายน จะใช้ฐานในอัตรา 1,716.66 บาท
ขั้นตอนที่ 2 คำนวณภาษีหัก ณ ที่จ่ายของเดือนที่ได้รับโบนัส
  1. คำนวณเสมือนได้รับเงินเดือนตลอดทั้งปี 600,000 + โบนัส 100,000 = 700,000
  2. หักค่าใช้จ่าย 100,000 บาท ค่าลดหย่อนส่วนตัว 60,000 บาท และค่าลดหย่อนประกันสังคม 9,000 บาท
  3. เงินได้สุทธิ 700,000 – 100,000 – 60,000 – 9,000 = 531,000 เสียภาษีในอัตราสูงสุด 15%
  4. คำนวณภาษีตลอดทั้งปีเมื่อรวมโบนัสแล้วได้ 32,150 บาท
  5. นำภาษีตลอดทั้งปีเมื่อรวมโบนัส 32,150 – ภาษีตลอดทั้งปีก่อนรวมโบนัส 20,600 = ภาษีส่วนเพิ่มเนื่องจากรับโบนัส 11,550 บาท
  6. ภาษีหัก ณ ที่จ่ายของเดือนมีนาคมที่ได้รับโบนัสจึงต้องเป็น 13,266.66 (อัตราภาษีหัก ณ ที่จ่ายจากฐานเงินเดือนปกติ 1,716.66 บาท + ภาษีส่วนเพิ่มเนื่องจากรับโบนัส 11,550 บาท)

 

ใช้โปรแกรมคำนวณภาษีโบนัสให้ ง่ายกว่าเยอะ

iTAX paystation คำนวณภาษีเงินเดือนและโบนัสให้อัตโนมัติ

สอบถามค่าบริการ

 

ตัวอย่าง 6 – ได้รับค่าคอมมิชชั่นครั้งเดียวระหว่างปี

นาย ก. เงินเดือน เดือนละ 50,000 บาท ได้สิทธิหักค่าใช้จ่าย 100,000 บาท ได้สิทธิหักค่าลดหย่อนส่วนตัว 60,000 หักประกันสังคมเดือนละ 750 บาท และได้รับค่าคอมมิชชั่นเมื่อเดือนมีนาคม 100,000 บาท

ขั้นตอนที่ 1 คำนวณภาษีหัก ณ ที่จ่ายรายเดือน
  1. คำนวณเสมือนได้รับเงินเดือนตลอดทั้งปี 50,000 x 12 = 600,000
  2. หักค่าใช้จ่าย 100,000 บาท ค่าลดหย่อนส่วนตัว 60,000 บาท และค่าลดหย่อนประกันสังคม 9,000 บาท
  3. เงินได้สุทธิ 600,000 – 100,000 – 60,000 – 9,000 = 431,000 เสียภาษีในอัตราสูงสุด 10%
  4. คำนวณภาษีตลอดทั้งปีก่อนรวมโบนัสได้ 20,600 บาท
  5. หารตามจำนวนงวด 20,600/12 เดือน = 1,716.66 (ไม่ปัดเศษ)
  6. ภาษีหัก ณ ที่จ่ายตั้งแต่เดือนมกราคมถึงเดือนพฤศจิกายน จะใช้ฐานในอัตรา 1,716.66 บาท
ขั้นตอนที่ 2 คำนวณภาษีหัก ณ ที่จ่ายของเดือนที่ได้รับค่าคอมมิชชั่น
  1. คำนวณเสมือนได้รับเงินเดือนตลอดทั้งปี 600,000 + ค่าคอมมิชชั่น 100,000 = 700,000
  2. หักค่าใช้จ่าย 100,000 บาท ค่าลดหย่อนส่วนตัว 60,000 บาท และค่าลดหย่อนประกันสังคม 9,000 บาท
  3. เงินได้สุทธิ  700,000 – 100,000 – 60,000 – 9,000 = 531,000 เสียภาษีในอัตราสูงสุด 15%
  4. คำนวณภาษีตลอดทั้งปีเมื่อรวมค่าคอมมิชชั่นแล้วได้ 32,150 บาท
  5. นำภาษีตลอดทั้งปีเมื่อรวมค่าคอมมิชชั่น 32,150 – ภาษีตลอดทั้งปีก่อนรวมค่าคอมมิชชั่น 20,600 = ภาษีส่วนเพิ่มเนื่องจากรับค่าคอมมิชชั่น 11,550 บาท
  6. ภาษีหัก ณ ที่จ่ายของเดือนมีนาคมที่ได้รับค่าคอมมิชชั่นจึงต้องเป็น 13,266.66 (อัตราภาษีหัก ณ ที่จ่ายจากฐานเงินเดือนปกติ 1,716.66 บาท + ภาษีส่วนเพิ่มเนื่องจากรับค่าคอมมิชชั่น 11,550 บาท)

ตัวอย่าง 7 – ได้รับค่าคอมมิชชั่นระหว่างปีหลายครั้ง

นาย ก. เงินเดือน เดือนละ 50,000 บาท ได้สิทธิหักค่าใช้จ่าย 100,000 บาท ได้สิทธิหักค่าลดหย่อนส่วนตัว 60,000 หักประกันสังคมเดือนละ 750 บาท และได้รับค่าคอมมิชชั่นเมื่อเดือนมีนาคม 100,000 บาท และเดือนเมษายนอีก 30,000 บาท

ขั้นตอนที่ 1 คำนวณภาษีหัก ณ ที่จ่ายรายเดือน
  1. คำนวณเสมือนได้รับเงินเดือนตลอดทั้งปี 50,000 x 12 = 600,000
  2. หักค่าใช้จ่าย 100,000 บาท ค่าลดหย่อนส่วนตัว 60,000 บาท และค่าลดหย่อนประกันสังคม 9,000 บาท
  3. เงินได้สุทธิ 600,000 – 100,000 – 60,000 – 9,000 = 431,000 เสียภาษีในอัตราสูงสุด 10%
  4. คำนวณภาษีตลอดทั้งปีก่อนรวมโบนัสได้ 20,600 บาท
  5. หารตามจำนวนงวด 20,600/12 เดือน = 1,716.66 (ไม่ปัดเศษ)
  6. ภาษีหัก ณ ที่จ่ายตั้งแต่เดือนมกราคมถึงเดือนพฤศจิกายน จะใช้ฐานในอัตรา 1,716.66 บาท
ขั้นตอนที่ 2 คำนวณภาษีหัก ณ ที่จ่ายของเดือนที่ได้รับค่าคอมมิชชั่น (มีนาคม)
  1. คำนวณเสมือนได้รับเงินเดือนตลอดทั้งปี 600,000 + ค่าคอมมิชชั่น 100,000 = 700,000
  2. หักค่าใช้จ่าย 100,000 บาท ค่าลดหย่อนส่วนตัว 60,000 บาท และค่าลดหย่อนประกันสังคม 9,000 บาท
  3. เงินได้สุทธิ 700,000 – 100,000 – 60,000 – 9,000 = 531,000 เสียภาษีในอัตราสูงสุด 15%
  4. คำนวณภาษีตลอดทั้งปีเมื่อรวมค่าคอมมิชชั่นแล้วได้ 32,150 บาท
  5. นำภาษีตลอดทั้งปีเมื่อรวมค่าคอมมิชชั่น 32,150 – ภาษีตลอดทั้งปีก่อนรวมค่าคอมมิชชั่น 20,600 = ภาษีส่วนเพิ่มเนื่องจากรับค่าคอมมิชชั่น 11,550 บาท
  6. ภาษีหัก ณ ที่จ่ายของเดือนมีนาคมที่ได้รับค่าคอมมิชชั่นจึงต้องเป็น 13,266.66 (อัตราภาษีหัก ณ ที่จ่ายจากฐานเงินเดือนปกติ 1,716.66 บาท + ภาษีส่วนเพิ่มเนื่องจากรับค่าคอมมิชชั่น 11,550 บาท)
ขั้นตอนที่ 3 คำนวณภาษีหัก ณ ที่จ่ายของเดือนที่ได้รับค่าคอมมิชชั่น (เมษายน)
  1. คำนวณเสมือนได้รับเงินเดือนตลอดทั้งปี 600,000 + ค่าคอมมิชชั่น มี.ค. 100,000 + ค่าคอมมิชชั่น เม.ย. 30,000 = 730,000
  2. หักค่าใช้จ่าย 100,000 บาท ค่าลดหย่อนส่วนตัว 60,000 บาท และค่าลดหย่อนประกันสังคม 9,000 บาท
  3. เงินได้สุทธิ 730,000 – 100,000 – 60,000 – 9,000 = 561,000 เสียภาษีในอัตราสูงสุด 15%
  4. คำนวณภาษีตลอดทั้งปีเมื่อรวมค่าคอมมิชชั่น มี.ค. และ เม.ย. แล้วได้ 36,650 บาท
  5. นำภาษีตลอดทั้งปีเมื่อรวมค่าคอมมิชชั่น มี.ค. และ เม.ย. 36,650 – ภาษีตลอดทั้งปีก่อนรวมค่าคอมมิชชั่น เม.ย. 32,150 = ภาษีส่วนเพิ่มเนื่องจากรับค่าคอมมิชชั่น 4,500 บาท
  6. ภาษีหัก ณ ที่จ่ายของเดือนเมษายนที่ได้รับค่าคอมมิชชั่นจึงต้องเป็น 6,216.66 (อัตราภาษีหัก ณ ที่จ่ายจากฐานเงินเดือนปกติ 1,716.66 บาท + ภาษีส่วนเพิ่มเนื่องจากรับค่าคอมมิชชั่น 4,500 บาท)

 

ค่าคอมมิชชั่นไม่แน่นอน คำนวณภาษียาก?

iTAX paystation คิดภาษีค่าคอมมิชชั่นแต่ละเดือนให้อัตโนมัติ

สอบถามค่าบริการ

 

ตัวอย่าง 8 – ได้รับค่าล่วงเวลา

นาย ก. เงินเดือน เดือนละ 50,000 บาท ได้สิทธิหักค่าใช้จ่าย 100,000 บาท ได้สิทธิหักค่าลดหย่อนส่วนตัว 60,000 หักประกันสังคมเดือนละ 750 บาท และได้รับค่าล่วงเวลา (เงินพิเศษ) เมื่อเดือนมีนาคม 2,000 บาท

ขั้นตอนที่ 1 คำนวณภาษีหัก ณ ที่จ่ายรายเดือน
  1. คำนวณเสมือนได้รับเงินเดือนตลอดทั้งปี 50,000 x 12 = 600,000
  2. หักค่าใช้จ่าย 100,000 บาท ค่าลดหย่อนส่วนตัว 60,000 บาท และค่าลดหย่อนประกันสังคม 9,000 บาท
  3. เงินได้สุทธิ 600,000 – 100,000 – 60,000 – 9,000 = 431,000 เสียภาษีในอัตราสูงสุด 10%
  4. คำนวณภาษีตลอดทั้งปีก่อนรวมโบนัสได้ 20,600 บาท
  5. หารตามจำนวนงวด 20,600/12 เดือน = 1,716.66 (ไม่ปัดเศษ)
  6. ภาษีหัก ณ ที่จ่ายตั้งแต่เดือนมกราคมถึงเดือนพฤศจิกายน จะใช้ฐานในอัตรา 1,716.66 บาท
ขั้นตอนที่ 2 คำนวณภาษีหัก ณ ที่จ่ายของเดือนที่ได้รับค่าล่วงเวลา
  1. คำนวณเสมือนได้รับเงินเดือนตลอดทั้งปี 600,000 + ค่าล่วงเวลา 2,000 = 602,000
  2. หักค่าใช้จ่าย 100,000 บาท ค่าลดหย่อนส่วนตัว 60,000 บาท และค่าลดหย่อนประกันสังคม 9,000 บาท
  3. เงินได้สุทธิ 602,000 – 100,000 – 60,000 – 9,000 = 433,000 เสียภาษีในอัตราสูงสุด 10%
  4. คำนวณภาษีตลอดทั้งปีเมื่อรวมค่าล่วงเวลาแล้วได้ 20,800 บาท
  5. นำภาษีตลอดทั้งปีเมื่อรวมค่าล่วงเวลา 20,800 – ภาษีตลอดทั้งปีก่อนรวมค่าล่วงเวลา 20,600 = ภาษีส่วนเพิ่มเนื่องจากรับค่าล่วงเวลา 200 บาท
  6. ภาษีหัก ณ ที่จ่ายของเดือนมีนาคมที่ได้รับค่าล่วงเวลาจึงต้องเป็น 1,916.66 (อัตราภาษีหัก ณ ที่จ่ายจากฐานเงินเดือนปกติ 1,716.66 บาท + ภาษีส่วนเพิ่มเนื่องจากรับค่าล่วงเวลา 200 บาท)

 

ค่าล่วงเวลาไม่แน่นอน คำนวณภาษียาก?

iTAX paystation คิดภาษีค่าล่วงเวลาแต่ละเดือนให้อัตโนมัติ

สอบถามค่าบริการ

 


อ้างอิง

  1. ^

    มาตรา 50(1) ประมวลรัษฎากร, คำสั่งกรมสรรพากร ที่ ป. 96/2543

  2. ^

    ข้อ 1 (2) คำสั่งกรมสรรพากร ที่ ป. 96/2543

  3. ^

    ข้อ 1 (2) คำสั่งกรมสรรพากร ที่ ป. 96/2543