iTAX pedia

ภาษีการรับมรดก

โดย ผศ.ดร.ยุทธนา ศรีสวัสดิ์ อาจารย์ประจำวิชากฎหมายภาษีอากร  feat. TaxBugnoms

ภาษีการรับมรดก หรือที่ทั่วไปเรียกสั้นๆ ว่า ภาษีมรดก เป็นภาษีที่เก็บจากผู้รับมรดกสำหรับมรดกจากเจ้ามรดกแต่ละรายที่มูลค่าสุทธิรวมเกิน 100 ล้านบาท โดยจัดเก็บภาษีในอัตราสูงสุด 10% สำหรับมรดกส่วนที่เกิน 100 ล้านบาท โดยมี กรมสรรพากร เป็นหน่วยงานจัดเก็บภาษี1

ภาษีการรับมรดกเป็นภาษีที่มาพร้อมกับ ภาษีการรับการให้ เพื่อจัดเก็บภาษีจากการถ่ายโอนมรดกเมื่อเจ้าของมรดกเสียชีวิต รวมถึงการดักทางไม่ให้เลี่ยงภาษีมรดกโดยการเก็บภาษีการให้สำหรับการถ่ายโอนทรัพย์สินก่อนที่เจ้าของมรดกจะเสียชีวิตด้วย

ทรัพย์สินที่ต้องเสียภาษี

ทรัพย์สินที่ต้องเสียภาษีการรับมรดกมักอยู่ในรูปทรัพย์สินที่มีทะเบียนที่สามารถระบุตัวเจ้าของได้ไม่ว่าจะอยู่ในประเทศไทยหรือต่างประเทศก็ตาม ได้แก่2

อย่างไรก็ดี หากผู้รับมรดกไม่ใช่บุคคลผู้มีสัญชาติไทยหรือกฎหมายไม่ได้ถือว่าเป็นบุคคลผู้มีสัญชาติไทยแล้ว ทรัพย์สินที่ต้องเสียภาษีการรับมรดกจะเหลือเพียงทรัพย์สินที่อยู่ในไทยเท่านั้น3

อัตราภาษี

ถ้ามรดกที่ผู้เสียภาษีได้รับจากเจ้ามรดกแต่ละรายมีมูลค่าสุทธิ (มูลค่าทรัพย์สิน – หนี้สิน) เกินกว่า 100 ล้านบาท ผู้รับมรดกจะต้องเสียภาษีเฉพาะส่วนที่เกิน 100 ล้านบาท4 ในอัตราคงที่ 10%5

ดังนั้น หากได้มรดกจากเจ้ามรดกรายหนึ่งๆ ไม่เกิน 100 ล้านบาท ก็จะไม่อยู่ในเกณฑ์ต้องเสียภาษีมรดกแต่อย่างใด

แต่ถ้าผู้รับมรดกเป็นบุพการี (พ่อแม่ ปู่ย่าตายาย ทวด และสูงขึ้นไป) หรือผู้สืบสันดาน (ลูก หลาน เหลน โหลน ลื้อ และต่ำลงมา) อัตราภาษีจะลดลงเหลือ 5%6

แต่ถ้าผู้รับมรดกเป็นสามีภริยาที่จดทะเบียนสมรสถูกต้องจะได้รับยกเว้น ไม่ต้องเสียภาษีการรับมรดกแต่อย่างใด7

ผู้เสียภาษี

บุคคลธรรมดา

ผู้รับมรดกที่เป็นบุคคลธรรมดาจะอยู่ในเกณฑ์ต้องเสียภาษีการรับมรดกหากเข้าเกณฑ์อย่างใดอย่างหนึ่ง ต่อไปนี้

นิติบุคคล

ผู้รับมรดกที่เป็นนิติบุคคล เช่น บริษัท ห้างหุ้นส่วนจำกัด ก็อยู่ในเกณฑ์ต้องเสียภาษีการรับมรดกเช่นกันหากเข้าเกณฑ์อย่างใดอย่างหนึ่ง ต่อไปนี้11

การยื่นภาษี

ผู้รับมรดกต้องยื่นแบบแสดงรายการภาษีการรับมรดก (ภ.ม.60) และชำระภาษีภายใน 150 วัน นับจากวันที่ได้รับมรดกจากเจ้ามรดกรายนั้นๆ เกิน 100 ล้านบาท12 และสามารถเลือกผ่อนจ่ายภาษีได้สูงสุด 5 ปี

โดยอาจต้องจ่าย เงินเพิ่ม บางส่วน13 (ในอัตรา 0.75% ต่อเดือน)14 แต่ถ้าผ่อนจ่ายครบภายในเวลา 2 ปีได้จะไม่มีภาระเงินเพิ่มแต่อย่างใด

บทลงโทษ

ตัวอย่างบทลงโทษที่เกี่ยวกับภาษีมรดก เช่น

คำแนะนำสำหรับวางแผนภาษีมรดก

เรื่องที่มักเข้าใจผิดบ่อย


อ้างอิง

  1. ^

    มาตรา 6 พ.ร.บ. ภาษีการรับมรดก พ.ศ. 2558

  2. ^

    มาตรา 14 พ.ร.บ. ภาษีการรับมรดก พ.ศ. 2558

  3. ^

    มาตรา 14 วรรคสอง พ.ร.บ. ภาษีการรับมรดก พ.ศ. 2558

  4. ^

    มาตรา 12 วรรคแรก และวรรคสอง พ.ร.บ. ภาษีการรับมรดก พ.ศ. 2558

  5. ^

    มาตรา 16 พ.ร.บ. ภาษีการรับมรดก พ.ศ. 2558

  6. ^

    มาตรา 16 พ.ร.บ. ภาษีการรับมรดก พ.ศ. 2558

  7. ^

    มาตรา 3(2) พ.ร.บ. ภาษีการรับมรดก พ.ศ. 2558

  8. ^

    มาตรา 11(1) พ.ร.บ. ภาษีการรับมรดก พ.ศ. 2558

  9. ^

    มาตรา 11(2) พ.ร.บ. ภาษีการรับมรดก พ.ศ. 2558

  10. ^

    มาตรา 11(3) พ.ร.บ. ภาษีการรับมรดก พ.ศ. 2558

  11. ^

    มาตรา 11 วรรคสอง พ.ร.บ. ภาษีการรับมรดก พ.ศ. 2558

  12. ^

    มาตรา 17 พ.ร.บ. ภาษีการรับมรดก พ.ศ. 2558

  13. ^

    มาตรา 23 พ.ร.บ. ภาษีการรับมรดก พ.ศ. 2558

  14. ^

    มาตรา 31 วรรคสอง พ.ร.บ. ภาษีการรับมรดก พ.ศ. 2558

  15. ^

    มาตรา 33 พ.ร.บ. ภาษีการรับมรดก พ.ศ. 2558

  16. ^

    มาตรา 29(1) พ.ร.บ. ภาษีการรับมรดก พ.ศ. 2558

  17. ^

    มาตรา 29(2) พ.ร.บ. ภาษีการรับมรดก พ.ศ. 2558

  18. ^

    มาตรา 36 พ.ร.บ. ภาษีการรับมรดก พ.ศ. 2558

  19. ^

    ภาษีมรดก(อีกครั้ง?), สรรพากรสาส์น