iTAX pedia

ค่าฝากครรภ์และค่าคลอดบุตร

โดย ผศ.ดร.ยุทธนา ศรีสวัสดิ์ อาจารย์ประจำวิชากฎหมายภาษีอากร

ค่าฝากครรภ์และค่าคลอดบุตร ใช้เป็นค่าลดหย่อนได้ ตามที่จ่ายจริง สูงสุดท้องละ ฿60,000 สำหรับค่าฝากครรภ์และค่าคลอดบุตรของตนที่จ่ายตั้งแต่ 1 ม.ค. 2561 เป็นต้นไป1

ค่าฝากครรภ์และทำคลอดเป็นสิทธิประโยชน์สำหรับ ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา


วิธีกรอกค่าลดหย่อนค่าฝากครรภ์และค่าคลอดบุตรบนแอป iTAX

หากคุณต้องการใช้สิทธิลดหย่อนค่าฝากครรภ์และค่าคลอดบุตร สามารถนำมาคำนวณบนแอป iTAX ได้ดังนี้

  1. ในหน้าแรก (Home) กดที่ »  ค่าลดหย่อน
  2. เลือก ‘ค่าฝากครรภ์ & ทำคลอด’
  3. เลือก ‘รับทราบฯ’ » กด ‘ยินยอม’
  4. กรอกจำนวนค่าฝากครรภ์และค่าคลอดบุตร ที่จ่ายตลอดทั้งปี
  5. กด Done

แอปจะพากลับไปที่หน้า Home และแสดงผลการคำนวณภาษีหลังใช้สิทธิลดหย่อนค่าฝากครรภ์และค่าคลอดบุตรแล้วให้อัตโนมัติ


สิทธิประโยชน์ที่ได้รับ

คุณพ่อคุณแม่ที่กำลังมีลูกสามารถนำค่าฝากครรภ์และค่าคลอดบุตรของตนไปใช้เป็น ค่าลดหย่อนได้ตามที่จ่ายจริง รวมสูงสุดไม่เกินท้องละ ฿60,000 ทั้งนี้ คุณอาจจะมีลูกมากกว่า 1 ท้องต่อปีก็ได้ แต่การตั้งครรภ์ลูกแฝดจะยังนับว่าเป็นท้องเดียวอยู่ดี

ถ้าค่าฝากครรภ์และค่าคลอดบุตรเกิดขึ้นคนละปีกัน ก็ยังสามารถใช้สิทธิลดหย่อนได้ตามค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นจริงในแต่ละ ปีภาษี แต่ท้องนั้นจะลดหย่อนรวมกันได้สูงสุดไม่เกิน ฿60,000

เงื่อนไขการรับสิทธิ

ในกรณีที่สามีภริยายื่นภาษีรวมกัน ให้คนที่ยื่นภาษีหลักเป็นคนได้ใช้สิทธินี้ แต่ถ้าสามีภริยาต่างฝ่ายต่างยื่นภาษี คนที่ใช้สิทธิลดหย่อนนี้ได้มีเพียง ภริยา คนเดียวเท่านั้น2

เช่น ถ้าคุณจ่ายค่าฝากครรภ์และทำคลอดไป ฿50,000 แต่ภริยาของคุณแยกยื่นภาษีกับคุณ จะมีเพียงภริยาของคุณเท่านั้นที่สามารถใช้สิทธิลดหย่อนภาษี ฿50,000

ในกรณีที่มีท้องสองครั้งในปีเดียวกัน แต่ละท้องจะได้สิทธิลดหย่อนแยกกันท้องละไม่เกิน ฿60,0003

เช่น ถ้าคุณจ่ายค่าทำคลอดสำหรับท้องแรกไป ฿50,000 และในปีเดียวกันคุณก็จ่ายค่าฝากครรภ์สำหรับท้องที่สองด้วยอีก ฿50,000 คุณจะสามารถใช้สิทธิลดหย่อนภาษี ฿50,000 สำหรับท้องแรก และใช้สิทธิลดหย่อนภาษีอีก ฿50,000 สำหรับท้องที่สอง เพราะกฎหมายให้สิทธิแยกเป็นคราวตามการตั้งครรภ์

ถ้าเป็นกรณีที่ท้องข้ามปี ค่าใช้จ่ายของท้องนั้นยังสามารถนำไปใช้สิทธิลดหย่อนในปีถัดไปได้อยู่ถ้ารวมกับค่าใช้จ่ายของท้องนี้ในปีที่ผ่านมาแล้วยังไม่เกิน ฿60,0004

เช่น ถ้าปีนี้คุณจ่ายค่าฝากครรภ์สำหรับท้องนี้ไป ฿20,000 แล้วปีถัดมาคุณได้จ่ายค่าทำคลอดสำหรับท้องเดิมอีก ฿40,000 คุณจะสามารถใช้สิทธิลดหย่อนภาษีปีนี้ได้ ฿20,000 และปีถัดไปอีก ฿40,000 สำหรับท้องนี้ เพราะกฎหมายให้เพดานสิทธิ ฿60,000 นี้ให้กับการตั้งครรภ์แต่ละครั้ง

ถ้าคุณมีสิทธิสวัสดิการเบิกค่าฝากครรภ์หรือค่าคลอดบุตรได้ ไม่ว่าจะเบิกจากบัตรทอง (หลักประกันสุขภาพแห่งชาติ), ประกันสังคม, สวัสดิการข้าราชการหรือหน่วยงานของรัฐ หรือสิทธิสวัสดิของนายจ้าง ฯลฯ เพดานสิทธิในการหักลดหย่อนของคุณจะต้องหักออกจากเงินค่าใช้จ่ายจากสิทธิสวัสดิการที่คุณเบิกมาได้ด้วย

เช่น ถ้าคุณเบิกค่าคลอดบุตรจากประกันสังคมมาได้ ฿13,000 เพดานสิทธิลดหย่อนของคุณจะลดลงจาก ฿60,000 เหลือ ฿47,000 (เพดานสิทธิ ฿60,000 – สิทธิสวัสดิการที่เบิกได้ ฿13,000) หรือถ้าคุณเบิกค่าคลอดบุตรจากบริษัทมาได้ ฿70,000 เพดานสิทธิลดหย่อนของคุณจะลดลงเหลือ ฿05

ค่าใช้จ่ายที่นำไปลดหย่อนได้

ค่าใช้จ่ายที่คุณสามารถนำไปลดหย่อนภาษีได้ ได้แก่6

ทั้งนี้ ค่าใช้จ่ายข้างต้นจะจ่ายให้สถานพยาบาลของรัฐหรือเอกชนก็ได้ และแม้ว่าการตั้งครรภ์นั้นสุดท้ายจะแท้งไปก็ยังสามารถใช้ลดหย่อนภาษีได้อยู่ดี7

หลักฐานที่ต้องใช้

คำถามที่พบบ่อย8

Q. หากจ่ายค่าคลอดบุตรต้นปี 2561 เป็นเงิน 60,000 บาท ปลายปีจ่ายค่าฝากครรภ์บุตรคนที่ 2 อีก 60,000 บาท ได้รับสิทธิยกเว้นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา 120,000 บาทใช่หรือไม่?
Q. หากจ่ายค่าฝากครรภ์ต้นปี 2561 เป็นเงิน 30,000 บาท ต่อมาแท้งบุตรต้องขูดมดลูกจำนวน 40,000 บาท สามารถใช้สิทธิยกเว้นภาษีได้บุคคลธรรมดาเท่าใด?
Q. หากจ่ายค่าฝากครรภ์ปลายปี 2560 เป็นเงิน 35,000 บาท และจ่ายค่าคลอดบุตรปลายปี 2561 เป็นเงิน 45,000 บาท สามารถใช้สิทธิยกเว้นภาษีได้บุคคลธรรมดาในปี 2561 ได้เท่าใด?
Q. หากจ่ายค่าฝากครรภ์ปี 2561 เป็นเงิน 35,000 บาท และจ่ายค่าคลอดบุตรปี 2562 เป็นเงิน 45,000 บาท สามารถใช้สิทธิยกเว้นภาษีได้บุคคลธรรมดาในปี 2561 และ 2562 ได้เท่าใด?
Q. กรณีฝากครรภ์แล้วภายหลังตรวจพบว่าบุตรในครรภ์ไม่สมบูรณ์ แพทย์จำเป็นต้องนำทารกออกจากครรภ์ (ยุติการตั้งครรภ์) สามารถใช้สิทธิลดหย่อนได้หรือไม่?
Q. กรณีตั้งครรภ์และแท้งเอง และตั้งครรภ์ใหม่ในปีภาษีเดียวกัน ลดหย่อนได้เท่าใด?
Q. ค่าขูดมดลูกกรณีแท้งจากครั้งก่อน ถือเป็นค่าฝากครรภ์ที่ได้รับสิทธิลดหย่อนหรือไม่?
Q. กรณีต่างฝ่ายต่างมีเงินได้แยกยื่นแบบ ใบเสร็จรับเงินค่าฝากครรภ์และคลอดบุตรออกมาในชื่อสามี ภริยาใช้สิทธิลดหย่อนได้หรือไม่?
Q. กรณีตั้งครรภ์และแท้งในเดือนมีนาคม 2561 และตั้งครรภ์ใหม่ในเดือนกันยายน 2561 จะได้รับสิทธิค่าฝากครรภ์และค่าคลอดบุตรอย่างไร?
Q. กรณีคลอดลูกแฝด ในเดือนกันยายน ปี 2561 จะได้รับสิทธิลดหย่อนค่าฝากครรภ์และคลอดบุตรอย่างไร?
Q. ค่าตรวจครรภ์ที่คลินิก สามารถนำมาลดหย่อนค่าฝากครรภ์และค่าคลอดบุตร ได้หรือไม่
Q. กรณีการยกเว้นค่าคลอดบุตร ชาวต่างชาติได้รับสิทธิด้วยหรือไม่?
Q. กรณีชาวต่างชาติเข้ามาในไทย ทำงานมีเงินได้และอยู่ในไทยไม่เกิน 180 วัน สามารถลดหย่อนค่าฝากครรภ์และค่าคลอดบุตร และลดหย่อนบุตรคนที่ 2 เพิ่ม ได้หรือไม่?
Q. กรณีผู้มีเงินได้เป็นชาวต่างชาติ และภริยาเป็นคนไทยไม่มีรายได้ ชาวต่างชาติผู้มีเงินได้สามารถใช้สิทธิลดหย่อนค่าฝากครรภ์ ค่าคลอดบุตร และลดหย่อนบุตรคนที่ 2 เพิ่ม ได้หรือไม่?
Q. เดือนมกราคม 2561 จ่ายค่าคลอดบุตรคนที่ 1 จำนวน 60,000 บาท และเดือนกันยายน 2561 จ่ายค่าฝากครรภ์บุตรคนที่ 2 จำนวน 60,000 บาท กรณีนี้จะใช้สิทธิลดหย่อนค่าฝากครรภ์และค่าคลอดบุตรในปีภาษี 2561 ได้เท่าไหร่ และในปีภาษี 2562 จะสามารถใช้สิทธิลดหย่อนค่าคลอดบุตรคนที่ 2 ได้อีกหรือไม่?
Q. กรณีที่บิดาและมารดา ไม่ได้จดทะเบียนสมรส มารดาสามารถใช้สิทธิค่าฝากครรภ์และค่าคลอดบุตรได้หรือไม่?
Q. กรณีที่บิดามารดาไม่ได้จดทะเบียนสมรสและมารดาไม่มีเงินได้ บิดาสามารถใช้สิทธิค่าฝากครรภ์และค่าคลอดบุตรได้หรือไม่?
Q. กรณีมีลูกแฝดเกิดห่างกันไม่กี่นาที แฝดพี่คลอด 31 ธ.ค. 2560 แฝดน้องคลอด 1 ม.ค. 2561 จะได้รับสิทธิค่าฝากครรภ์และค่าคลอดบุตร และลดหย่อนบุตรคนที่ 2 เพิ่ม 30,000 บาท อย่างไร?
Q. กรณีได้รับสิทธิสวัสดิการค่ารักษาพยาบาลจากนายจ้างภาคเอกชนในการคลอดบุตร จำนวน 30,000 บาท แต่ได้จ่ายค่าคลอดบุตรไปจำนวน 100,000 บาท จะใช้สิทธิลดค่าฝากครรภ์และคลอดบุตร อย่างไร?
Q. มีบุตรคนที่ 1 มาแล้วเกิดเมื่อปีภาษี 2557 และยังมีชีวิตอยู่ และได้ทำการฝากครรภ์เมื่อต้นปี 2561 คลอดบุตรปลายปี 2561 จ่ายเงินค่าฝากครรภ์และคลอดบุตรเอง และเป็นบุตรแฝด 3 จะได้รับสิทธิลดหย่อนอย่างไร?

กรณีบุตรคนที่ 1 เกิดปี 2557 และได้ทำการฝากครรภ์และคลอดบุตรแฝด 3 คน ในปี 2561 สามารถใช้สิทธิได้ ดังนี้

Q. ตั้งครรภ์แล้วเกิดการแท้งในปีภาษี 2561 ค่าใช้จ่ายที่เกิดจากการแท้ง ค่าใช้จ่ายใดบ้างที่จะถือว่าเป็นค่าคลอดบุตรที่สามารถนำสิทธิมาหักลดหย่อนภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาได้?
Q. ฝากครรภ์ปีภาษี 2560 จ่ายค่าฝากครรภ์ปี 2560 จำนวน 30,000 บาท และคลอดบุตรต้นปีภาษี 2561 จ่ายค่าคลอดบุตรปี 2561 อีกจำนวน 30,000 บาท จะสามารถใช้สิทธิลดหย่อนค่าฝากครรภ์และค่าคลอดบุตรอย่างไร?
Q. กรณีจดทะเบียนสมรสและหย่าภริยาคนแรก มีบุตร 2 คน และต่อมาได้จดทะเบียนสมรสกับภริยาคนที่ 2 มีบุตรด้วยกันอีก 2 คน และบุตรคนที่ 3 ตั้งครรภ์และคลอดในปี 2561 จะสามารถลดหย่อนบุตรได้ 5 คนหรือไม่ และจะได้รับสิทธิค่าฝากครรภ์ ค่าคลอดบุตร และสิทธิลดหย่อนบุตรเพิ่ม 30,000 บาท หรือไม่ และต้องใช้เอกสารหลักฐานอะไรบ้าง?

ได้รับสิทธิลดหย่อนบุตร ทั้ง 5 คน และบุตรคนที่ 5 ได้รับสิทธิค่าฝากครรภ์และค่าคลอดบุตร และสิทธิลดหย่อนบุตรเพิ่ม โดยใช้หลักฐาน ดังนี้

Q. กรณีฝากครรภ์และคลอดบุตรที่ได้ลดหย่อนภาษี รวมถึงค่าใช้จ่ายอย่างอื่นด้วยหรือไม่ เช่น ค่านม ค่าของใช้ที่เกี่ยวกับการคลอดบุตร ค่าเดินทาง เป็นต้น
Q. เดือนมกราคม 2561 จ่ายค่าฝากครรภ์แต่ภายหลังได้แท้งบุตร ต่อมาได้ตั้งครรภ์และฝากครรภ์อีกครั้งในเดือนเมษายน 2561 และคลอดก่อนกำหนดในเดือนธันวาคม 2561 จะใช้สิทธิลดหย่อนค่าฝากครรภ์และค่าคลอดบุตร อย่างไร?
Q. มีบุตรมาแล้ว 3 คน คนที่ 1 อายุ 21 ปี คนที่ 2 อายุ 18 ปี และคนที่ 3 อายุ 6 เดือน แต่ภริยาคนแรกเสียชีวิตในปี 2560 ได้สมรสใหม่กับภริยาคนปัจจุบันในปี 2561 ภริยาไม่มีเงินได้ เมื่อเดือนมีนาคม 2561 ภริยาตั้งครรภ์และมีการฝากครรภ์แต่ในเดือนสิงหาคม 2561 มีภาวะต้องยุติการตั้งครรภ์ เนื่องจากเด็กไม่สมบูรณ์ ตั้งครรภ์ใหม่และฝากครรภ์ในเดือนพฤศจิกายน 2561 ใช้สิทธิลดหย่อนค่าฝากครรภ์และค่าคลอดบุตรได้เท่าไหร่?
Q. มีบุตรกับภริยาคนแรก ไม่ได้จดทะเบียนสมรส แต่มีการจ่ายค่าเลี้ยงดู 1 คน เกิดเมื่อวันที่ 1 ม.ค. 2561 ขณะนี้บุตรคนแรกมีอายุ 10 เดือนกว่าๆ และได้แต่งงานจดทะเบียนสมรสกับภริยาคนปัจจุบันมีบุตรด้วยกันอีก 1 คน เกิดเมื่อวันที 1 พ.ย. 2561 ภริยาทั้ง 2 คน ไม่มีเงินได้ จะใช้สิทธิลดหย่อนค่าฝากครรภ์และคลอดบุตร รวมถึงการใช้สิทธิลดหย่อนบุตร 60,000 บาท ได้หรือไม่?

คุณมีสิทธิลดหย่อนอะไรบ้าง?

ให้ iTAX Market ช่วยเปรียบเทียบตัวเลือกลดหย่อนภาษีที่ดีที่สุดให้คุณได้เลย!

ค้นหาตัวเลือกประหยัดภาษี


อ้างอิง

  1. ^

    มาตรา 47(1)(ซ) ประมวลรัษฎากร, ข้อ 2(99) กฎกระทรวง ฉบับที่ 126 (พ.ศ. 2509)

  2. ^

    ข้อ 2(1) ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีเงินได้ (ฉบับที่ 331) พ.ศ. 2561

  3. ^

    ข้อ 2(4) ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีเงินได้ (ฉบับที่ 331) พ.ศ. 2561

  4. ^

    ข้อ 2(3) ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีเงินได้ (ฉบับที่ 331) พ.ศ. 2561

  5. ^

    ข้อ 4 ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีเงินได้ (ฉบับที่ 331) พ.ศ. 2561

  6. ^

    ข้อ 1 ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีเงินได้ (ฉบับที่ 331) พ.ศ. 2561

  7. ^

    ​ข้อ 1 ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีเงินได้ (ฉบับที่ 331) พ.ศ. 2561

  8. ^

    “ค่าฝากครรภ์ ค่าคลอดบุตร และบุตรคนที่ 2 ลดหย่อนอย่างไร ???” www.rd.go.th