ใครต้องเสียภาษีมรดก?
ที่จริงภาษีมรดกเรียกเต็มๆ ว่า ภาษีการรับมรดก เนื่องจากเป็นภาษีที่จัดเก็บจากผู้รับ ไม่ได้เก็บจากกองมรดก
ดังนั้น ฐานที่ใช้ในการคำนวณภาษีจึงขึ้นอยู่กับมูลค่าของทรัพย์มรดกที่ผู้รับได้รับมา ซึ่งโดยปกติมักจะเป็นทรัพย์สินที่รู้ตัวเจ้าของชัดเจนหรือทรัพย์สินที่มีทะเบียน ได้แก่ อสังหาริมทรัพย์, หลักทรัพย์, เงินฝาก, ยานพาหนะ รวมถึงทรัพย์สินทางการเงินอื่นๆ
ภาษีการรับมรดก คืออะไร?
วิธีคำนวณภาษีมรดก
ภาษีการรับมรดกจะคำนวณจากมูลค่ามรดกสุทธิ (มรดกหลังหักหนี้สินแล้ว) ที่ได้รับเฉพาะส่วนที่เกิน 100 ล้านบาทเท่านั้น (ถ้าได้รับไม่เกิน 100 ล้านบาท จะไม่ต้องเสียภาษีการรับมรดก)
ดังนั้น ถ้าได้รับมรดกมา 4,000 ล้านบาทและไม่มีหนี้สินใดๆ ฐานภาษีที่จะนำมาคำนวณคือ 3,900 ล้านบาท ซึ่งเป็นมูลค่ามรดกส่วนที่เกิน 100 ล้านบาท
ส่วนค่าภาษีจะขึ้นอยู่กับความสัมพันธ์ระหว่างตัวผู้รับกับเจ้ามรดก ดังนี้
- ถ้าผู้รับมรดกเป็นคู่สมรส จะได้รับยกเว้นไม่ต้องเสียภาษีมรดกเลย
- ถ้าผู้รับมรดกเป็นบุพการี (พ่อแม่ ปู่ย่าตายาย ทวด และสูงขึ้นไป) หรือผู้สืบสันดาน (ลูก หลาน เหลน โหลน ลื้อ และต่ำลงมา) จะใช้อัตราภาษี 5% ทำให้ต้องเสียภาษี 195 ล้านบาท (3,900 ล้านบาท x 5%)
- ถ้าผู้รับมรดกเป็นบุคคลอื่นๆ นอกเหนือจากนี้ เช่น พี่ น้อง ลุง ป้า น้า อา เพื่อน ฯลฯ จะใช้อัตราภาษี 10% ทำให้ต้องเสียภาษี 390 ล้านบาท (3,900 ล้านบาท x 10%)
สรุป
ได้มรดกมา 4,000 ล้านบาท เป็นมูลค่าสุทธิ จะเสียภาษีมากหรือน้อยขึ้นอยู่กับความสัมพันธ์ระหว่างผู้รับและผู้ตายด้วย ถ้าผู้รับไม่ได้เป็นคู่สมรส บุพการี หรือผู้สืบสันดาน ก็จะเสียภาษีมากที่สุด คือ 390 ล้านบาท
RELATED POSTS
-
-
เป็นพระต้องเสียภาษีมั๊ยศาสนาพุทธเป็นสิ่งที่อยู่คู่กับสังคมไทยมาช้านาน พระภิกษุในฐานะนักบวชของศาสนาพุทธจึงเป็นที่พึ่งให้พุทธศาสนิกชนในหลายๆ เรื่อง โดยเฉพาะทางด้านจิตใจ ซึ่งหลายๆ ครั้งก็มักจะจบลงด้วยการใส่ซองถวายเงินให้พระแล้วกราบ 3 ครั้ง วันนี้เราจะมาไขข้อข้องใจกันว่า ตามกฎหมายไทยเป็นพระต้องเสียภาษีมั้ย? 1. พระเป็นผู้เสียภาษีได้ไหม? ในมุมมองของปุถุชน เรามักจะมองว่าพระตัดแล้วซึ่งทางโลก แต่กฎหมายไม่ได้มองแบบนั้น กฎหมายยังคงมองว่าพระภิกษุยังคงเป็น บุคคลธรรมดา ตามกฎหมายอยู่ ดังนั้น ถ้าพระมีรายได้ พระก็จะพ่วงตำแหน่ง ผู้เสียภาษี ไปด้วย ในทางกลับกัน ถ้าพระไม่มีรายได้ พระก็ไม่มีหน้าที่เป็นผู้เสียภาษีแต่อย่างใด 2. พระจะมีรายได้ได้ไง? สำหรับพระซึ่งกฎหมายมองว่าเป็นบุคคลธรรมดา ก็ใช้หลักพื้นฐานง่ายๆ ว่าบุคคลธรรมดาคนนั้นมีรายได้ที่ต้องเสียภาษีไหม (หรือที่ศัพท์กฎหมายยากๆ เรียกว่า “เงินได้พึงประเมิน”) ซึ่งนักบวชที่เป็นพระภิกษุในศาสนาพุทธก็อาจจะมีรายได้ที่ต้องเสียภาษีได้ เช่น รายได้จากการสอนหนังสือ บรรยายธรรมให้องค์กรเอกชน ได้รับดอกเบี้ยเงินฝากธนาคาร เป็นต้น 3. แต่ไม่เคยเห็นพระรูปไหนเสียภาษีเลยนะ? ถ้าเงินที่พระได้รับเป็นเงินทำบุญที่ญาติโยมบริจาคเพื่อใช้ประโยชน์ในกิจการศาสนา แบบนี้จะเป็นเงินได้ที่ต้องได้รับยกเว้นภาษีอยู่แล้ว (มาตรา 42(29) ประมวลรัษฎากร) เมื่อเงินที่ได้ได้รับยกเว้นภาษี ก็แปลว่า พระไม่มีเงินได้ที่ต้องเสียภาษี เมื่อไม่มีเงินได้ก็เลยไม่ต้องเสียภาษีนั่นเอง สรุป ที่พระไม่ต้องเสียภาษีไม่ใช่เพราะพระมีสถานะเป็นพระ แต่เป็นเพราะเงินที่พระได้รับเป็นเงินที่ยกเว้นภาษีต่างหาก พระเลยไม่ต้องเสียภาษี ส่วนพระที่มีรายได้นอกเหนือจากเงินทำบุญ ท่านอาจจะมีหน้าที่ต้องเสียภาษีด้วยนะครับ ยังไงถ้าหลวงพี่ทำภาษีไม่เป็นจริงๆ นิมนต์หลวงพี่ใช้ www.itax.in.th ได้ฟรีนะครับ
-
อายุไม่ถึงเกณฑ์ แต่มีรายได้ ต้องเสียภาษีมั้ย?หลายคนมักมักเข้าใจผิดว่า จะต้องเสียภาษีเมื่อเรียนจบเข้าทำงานแล้วเท่านั้น แต่ที่จริงแล้ว การเสียภาษีนั้นไม่ได้เกี่ยวข้องกับอายุ หรือมีการจำกัดอายุแต่อย่างใด แต่การเสียภาษีเป็นเรื่องของรายได้ที่คุณได้รับในแต่ละปีมากกว่า
-
-
บริจาคให้โรงพยาบาลลดหย่อนภาษีได้แล้วการบริจาคเงินให้โรงพยาบาลรัฐ และสถานพยาบาลของรัฐ สามารถนำมาใช้สิทธิลดหย่อนภาษีได้ 2 เท่า รวมถึงเงินบริจาคโครงการก้าวคนละก้าวก็สามารถลดหย่อนภาษีได้เช่นกัน
RELATED POSTS
-
-
เป็นพระต้องเสียภาษีมั๊ยศาสนาพุทธเป็นสิ่งที่อยู่คู่กับสังคมไทยมาช้านาน พระภิกษุในฐานะนักบวชของศาสนาพุทธจึงเป็นที่พึ่งให้พุทธศาสนิกชนในหลายๆ เรื่อง โดยเฉพาะทางด้านจิตใจ ซึ่งหลายๆ ครั้งก็มักจะจบลงด้วยการใส่ซองถวายเงินให้พระแล้วกราบ 3 ครั้ง วันนี้เราจะมาไขข้อข้องใจกันว่า ตามกฎหมายไทยเป็นพระต้องเสียภาษีมั้ย? 1. พระเป็นผู้เสียภาษีได้ไหม? ในมุมมองของปุถุชน เรามักจะมองว่าพระตัดแล้วซึ่งทางโลก แต่กฎหมายไม่ได้มองแบบนั้น กฎหมายยังคงมองว่าพระภิกษุยังคงเป็น บุคคลธรรมดา ตามกฎหมายอยู่ ดังนั้น ถ้าพระมีรายได้ พระก็จะพ่วงตำแหน่ง ผู้เสียภาษี ไปด้วย ในทางกลับกัน ถ้าพระไม่มีรายได้ พระก็ไม่มีหน้าที่เป็นผู้เสียภาษีแต่อย่างใด 2. พระจะมีรายได้ได้ไง? สำหรับพระซึ่งกฎหมายมองว่าเป็นบุคคลธรรมดา ก็ใช้หลักพื้นฐานง่ายๆ ว่าบุคคลธรรมดาคนนั้นมีรายได้ที่ต้องเสียภาษีไหม (หรือที่ศัพท์กฎหมายยากๆ เรียกว่า “เงินได้พึงประเมิน”) ซึ่งนักบวชที่เป็นพระภิกษุในศาสนาพุทธก็อาจจะมีรายได้ที่ต้องเสียภาษีได้ เช่น รายได้จากการสอนหนังสือ บรรยายธรรมให้องค์กรเอกชน ได้รับดอกเบี้ยเงินฝากธนาคาร เป็นต้น 3. แต่ไม่เคยเห็นพระรูปไหนเสียภาษีเลยนะ? ถ้าเงินที่พระได้รับเป็นเงินทำบุญที่ญาติโยมบริจาคเพื่อใช้ประโยชน์ในกิจการศาสนา แบบนี้จะเป็นเงินได้ที่ต้องได้รับยกเว้นภาษีอยู่แล้ว (มาตรา 42(29) ประมวลรัษฎากร) เมื่อเงินที่ได้ได้รับยกเว้นภาษี ก็แปลว่า พระไม่มีเงินได้ที่ต้องเสียภาษี เมื่อไม่มีเงินได้ก็เลยไม่ต้องเสียภาษีนั่นเอง สรุป ที่พระไม่ต้องเสียภาษีไม่ใช่เพราะพระมีสถานะเป็นพระ แต่เป็นเพราะเงินที่พระได้รับเป็นเงินที่ยกเว้นภาษีต่างหาก พระเลยไม่ต้องเสียภาษี ส่วนพระที่มีรายได้นอกเหนือจากเงินทำบุญ ท่านอาจจะมีหน้าที่ต้องเสียภาษีด้วยนะครับ ยังไงถ้าหลวงพี่ทำภาษีไม่เป็นจริงๆ นิมนต์หลวงพี่ใช้ www.itax.in.th ได้ฟรีนะครับ
-
อายุไม่ถึงเกณฑ์ แต่มีรายได้ ต้องเสียภาษีมั้ย?หลายคนมักมักเข้าใจผิดว่า จะต้องเสียภาษีเมื่อเรียนจบเข้าทำงานแล้วเท่านั้น แต่ที่จริงแล้ว การเสียภาษีนั้นไม่ได้เกี่ยวข้องกับอายุ หรือมีการจำกัดอายุแต่อย่างใด แต่การเสียภาษีเป็นเรื่องของรายได้ที่คุณได้รับในแต่ละปีมากกว่า
-
-
บริจาคให้โรงพยาบาลลดหย่อนภาษีได้แล้วการบริจาคเงินให้โรงพยาบาลรัฐ และสถานพยาบาลของรัฐ สามารถนำมาใช้สิทธิลดหย่อนภาษีได้ 2 เท่า รวมถึงเงินบริจาคโครงการก้าวคนละก้าวก็สามารถลดหย่อนภาษีได้เช่นกัน
ภาษีมรดก มรดกสี่พันล้าน
Last modified: 8 May, 2020