ทำประกันสุขภาพแล้วดียังไง…คำตอบแรกที่นึกถึง คือมีผู้ช่วยมือดีคอยดูแลค่ารักษาพยาบาลอยู่ใกล้ๆ ทั้งค่าห้อง ค่ายา ค่าหมอ และค่าใช้จ่ายทางการแพทย์อื่นๆ ระหว่างพักรักษาตัวในโรงพยาบาล เจ็บป่วยแต่ละทีก็ไม่กระทบเงินเก็บ แล้วรู้หรือไม่ว่า…นอกจากเบี้ยประกันชีวิตและเบี้ยประกันชีวิตแบบบำนาญแล้ว เบี้ยประกันสุขภาพ ก็สามารถนำมาใช้ลดหย่อนภาษีได้เช่นกัน มาดูกันว่า สิทธิประโยชน์และเงื่อนไขต่างๆ ในการลดหย่อนภาษีจากเบี้ยประกันสุขภาพสำหรับปีภาษี 2563 (นำไปยื่นภาษีในช่วงต้นปี 2564) นี้จะมีอะไรบ้าง
ประกันสุขภาพแบบไหนที่สามารถนำไปใช้สิทธิได้
ประกันสุขภาพมีหลายแบบ และให้การดูแลแตกต่างกันไปตามแผนความคุ้มครองที่เราเลือก แต่แบบที่สามารถนำมาลดหย่อนภาษีได้ ต้องมีความคุ้มครองตามข้อกำหนดของกรมสรรพากร ดังต่อไปนี้
- แบบประกันภัยที่ให้ความคุ้มครองเกี่ยวกับการรักษาพยาบาล อันเกิดจากการเจ็บป่วยและบาดเจ็บ การชดเชยการทุพพลภาพ และการสูญเสียอวัยวะ เนื่องจากการเจ็บป่วยหรือบาดเจ็บ
- แบบประกันภัยอุบัติเหตุ เฉพาะที่ให้ความคุ้มครองเกี่ยวกับการรักษาพยาบาล การทุพพลภาพ การสูญเสียอวัยวะ และการแตกหักของกระดูก
- แบบประกันภัยโรคร้ายแรง (Critical Illnesses)
- แบบประกันภัยการดูแลระยะยาว (Long Term Care)
เบี้ยประกันสุขภาพกับเงื่อนไขการลดหย่อนภาษีสำหรับปีภาษี 2563
ด้วยส่วนหนึ่งจากสถานการณ์โรคโควิด-19 ที่ส่งผลกระทบเป็นวงกว้าง ในปี 2563 นี้ ทางภาครัฐจึงได้ออกมาตรการดูแลเพื่อช่วยลดภาระเรื่องค่าใช้จ่ายของประชาชน โดยอนุมัติปรับสิทธิลดหย่อนภาษีของเบี้ยประกันสุขภาพให้เพิ่มขึ้นจากเดิม ในส่วนของประกันสุขภาพตนเอง
- เบี้ยประกันสุขภาพตนเอง สามารถนำมาใช้สิทธิลดหย่อนภาษีได้ตามที่จ่ายจริง ซึ่งปีภาษี 2563 (นำไปยื่นภาษีในช่วงต้นปี 2564) เราสามารถขอลดหย่อนได้สูงสุดไม่เกิน 25,000 บาท และเมื่อรวมกับเบี้ยประกันชีวิตทั่วไปต้องไม่เกิน 1 แสนบาทนั่นเอง
- เบี้ยประกันสุขภาพบิดามารดา เราสามารถนำมาใช้สิทธิลดหย่อนภาษีได้ตามที่จ่ายจริง สูงสุดไม่เกิน 15,000 บาท โดยคุณพ่อหรือคุณแม่ของเราต้องมีรายได้ในปีภาษีนั้นไม่เกิน 30,000 บาท และเราจะต้องเป็นบุตรที่ชอบด้วยกฎหมาย (บุตรบุญธรรมไม่สามารถใช้สิทธินี้ได้) ในกรณีที่ลูกๆ ช่วยการจ่ายค่าเบี้ยประกันภัย การขอสิทธิลดหย่อนจะถูกหารตามของจำนวนพี่น้องที่ร่วมกันจ่าย เช่น หากมีพี่น้อง 3 คน ร่วมกันทำประกันสุขภาพให้คุณพ่อคุณแม่ ลูกแต่ละคนจะขอสิทธิลดหย่อนได้ไม่เกิน 5,000 บาท จากจำนวนเต็ม 15,000 บาท ซึ่งตัวเราเองหรือคุณพ่อคุณแม่ท่านใดท่านหนึ่ง จะต้องอยู่ในประเทศไทยครบ 180 วันในปีภาษีนั้น ทั้งนี้ เรายังสามารถนำเบี้ยประกันสุขภาพของคุณพ่อคุณแม่คู่สมรสมาใช้ลดหย่อนได้เช่นเดียวกัน แต่ต้องเป็นกรณีที่คู่สมรสไม่มีเงินได้ และเรานำคู่สมรสนั้นมาใช้สิทธิลดหย่อนภาษี
นอกจากนี้ ต้องไม่ลืมแจ้งความประสงค์ที่จะใช้สิทธิลดหย่อนภาษีนี้ให้กับบริษัทที่สมัครทำประกันไว้ทราบด้วย เพื่อจะได้ดำเนินการนำส่งข้อมูลเบี้ยประกันสุขภาพให้กับกรมสรรพากร ที่สำคัญคือไม่ควรวางแผนทำประกันสุขภาพเพื่อใช้สิทธิในระยะเวลาที่กระชั้นชิดจนเกินไป เนื่องจากทุกแบบประกันมีระยะเวลารอคอยการอนุมัติ ทางที่ดีควรซื้อความประกันสุขภาพเอาไว้ตั้งแต่เนิ่นๆ
เพื่อให้เป็นไปตามการวางแผนเพื่อลดหย่อนภาษีของเรา และ อนาคตเป็นเรื่องที่ไม่แน่นอน เจ็บป่วยจะเกิดขึ้นเมื่อไหร่ไม่มีใครทราบได้ เราจึงควรเตรียมรับมือด้านสุขภาพให้พร้อม
แล้วอย่างนี้เราควรทำประกันสุขภาพแบบไหนถึงจะตอบโจทย์ความต้องการที่มี เพราะเมืองไทยประกันชีวิตเข้าใจ เราจึงขอแนะนำ ความคุ้มครองสุขภาพ ดี เฮลท์ (D Health) ที่เป็นขั้นกว่าของความอุ่นใจ นอกจากสามารถลดหย่อนภาษีแบบเต็มแม็กซ์แล้ว คุณยังจะได้รับความคุ้มครองดีๆ เต็มแม็กซ์ ที่เงื่อนไขเข้าใจง่าย ไม่ซับซ้อน ดูแลค่ารักษาพยาบาลแบบเหมาๆ ตามจริงตอนแอดมิท ทั้งค่าห้องเดี่ยวมาตรฐาน ค่ายา ค่ารักษาพยาบาล ค่าผ่าตัด ห้อง ไอ.ซี.ยู. สูงสุด 5 ล้านบาท* สมัครได้ถึงอายุ 80 ปี และคุ้มครองยาว ๆ จนถึง อายุ 99 ปี นอกจากนี้ ยังคุ้มครองโรคร้ายทุกระยะโรคทั่วไป และโรคระบาด จ่ายเบี้ยวันละไม่ถึง 55 บาทต่อวัน** ให้คุณได้อุ่นใจ คลายกังวล กับความคุ้มครองที่ครอบคลุมทุกความต้องการ
รายละเอียดเพิ่มเติม คลิก https://webmtl.co/2TxGoFy หรือ โทร. 1766
* กรณีเลือกแผนความคุ้มครอง 5 ล้านบาท โดยเป็นวงเงินค่ารักษาพยาบาลแบบผู้ป่วยในต่อการเข้าพักรักษาตัวครั้งใดครั้งหนึ่ง
** สำหรับผู้เอาประกันเพศชาย อายุ 35 ปี เลือกแผนความคุ้มครอง 5 ล้านบาท ชำระเบี้ยประกันรายปี
หมายเหตุ
- ความคุ้มครองของสัญญาเพิ่มเติมต้องไม่เกินระยะเวลาเอาประกันภัยของกรมธรรม์ประกันชีวิตที่สัญญาเพิ่มเติมนี้แนบท้าย
- การพิจารณารับประกันภัยเป็นไปตามหลักเกณฑ์ของบริษัทฯ
- เบี้ยประกันภัยสามารถนำไปลดหย่อนภาษีได้ ทั้งนี้ หลักเกณฑ์เป็นไปตามที่กรมสรรพากร กำหนด
- โปรดศึกษารายละเอียดความคุ้มครองและข้อยกเว้นก่อนตัดสินใจทำประกันภัย