คลอดบุตร เบิกประกันสังคม สำหรับผู้ประกันตนที่เป็นลูกจ้าง (ผู้ประกันตนตามมาตรา 33) สามารถ เบิกค่าคลอดบุตรเหมาจ่าย จำนวน 13,000 บาท และได้รับเงินสงเคราะห์การหยุดงานเพื่อการคลอดบุตรอีก ในอัตรา 50% ของค่าจ้างเฉลี่ยเป็นเวลา 90 วัน
- ครม.เห็นชอบ แก้ประกันสังคม ถอนเงินสะสมมาใช้ก่อนได้
- ลดอัตราเงินสมทบประกันสังคม ผู้ประกันตน ม.33 ม.39 นาน 3 เดือน
กรณี “คลอดบุตร” เบิกประสังคม ตามสิทธิอะไรได้บ้าง
ผู้ประกันตนในระบบประกันสังคมท่ีส่งเงินสมทบครบ 5 เดือน ภายใน 15 เดือน ก่อนเดือนท่ีคลอดมีสิทธิได้รับค่าคลอดบุตรโดยไม่จำกัดจำนวนคร้ัง ดังนี้
1. กรณีเป็นผู้ประกันตนหญิง
ผู้ประกันตนหญิงสามารถคลอดบุตรท่ีสถานพยาบาลใดก็ได้ แล้วนำสำเนาสูติบัตรของบุตร บัตรประจำตัวประชาชนมายื่นเรื่องท่ีสำนักงานประกันสังคมจะได้รับเงินค่าคลอดบุตรเหมาจ่าย จำนวน 13,000 บาท และได้รับเงินสงเคราะห์การหยุดงานเพื่อการคลอดบุตรอีก ในอัตรา 50% ของค่าจ้างเฉลี่ยเป็นเวลา 90 วัน
หมายเหตุ เงินสงเคราะห์การหยุดงานเพื่อการคลอดบุตร เบิกได้ไม่เกิน 2 คร้ัง
2. กรณีเป็นผู้ประกันตนชาย
ผู้ประกันตนชายท่ีมีภริยาจดทะเบียนสมรสหรือหญิงซึ่งอยู่กินกันฉันสามีภริยาแต่ไม่ได้จดทะเบียนสมรสก็สามารถ เบิกประกันสังคม สำหรับค่า “คลอดบุตร” ได้ โดยต้องใช้เอกสารต่อไปนี้
- สำเนาสูติบัตรของบุตร
- สำเนาทะเบียนสมรส หรือ หนังสือรับรองกรณีไม่มีทะเบียนสมรส (เฉพาะกรณีผู้ประกันตนไม่ได้จดทะเบียนสมรสกับภริยา)
ผู้ประกันตนชายสามารถนำเอกสารข้างต้นมาเบิกเงินท่ีสำนักงานประกันสังคม โดยจะได้รับเฉพาะเงินค่าคลอดบุตรเหมาจ่าย จำนวน 13,000 บาท (ไม่ได้รับเงินสงเคราะห์การหยุดงานเพื่อการคลอดบุตร)
3. ค่าตรวจและรับฝากครรภ์
- อายุครรภ์ไม่เกิน 12 สัปดาห์ จ่ายในอัตราเท่าท่ีจ่ายจริง ไม่เกิน 500 บาท
- อายุครรภ์มากกว่า 12 สัปดาห์ แต่ไม่เกิน 20 สัปดาห์ จ่ายในอัตราเท่าท่ีจ่ายจริงไม่เกิน 300 บาท
- อายุครรภ์มากกว่า 20 สัปดาห์ แต่ไม่เกิน 28 สัปดาห์ จ่ายในอัตราเท่าที่จ่ายจริงไม่เกิน 200 บาท