คณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) ได้ออก ประกาศคณะกรรมการการเลือกตั้ง เรื่อง จํานวนสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบแบ่งเขตเลือกตั้ง จํานวนเขตเลือกตั้ง และท้องที่ที่ประกอบเป็นเขตเลือกตั้ง เพื่อกำหนดเขตเลือกตั้ง 2566 สำหรับเขตเลือกตั้งทั้ง 400 เขต ทั้ง 77 จังหวัดทั่วประเทศ โดยได้แบ่ง เขตเลือกตั้งภาคใต้ ทั้ง 14 จังหวัด นับรวมได้ 60 เขตเลือกตั้ง โดยพื้นที่ภาคใต้เป็นภาคที่ได้รับการจัดสรรเขตเลือกมากที่สุดเป็นอันดับสามของประเทศ รองจากภาคอีสาน (133 เขต) และภาคกลาง (122 เขต) โดยนครศรีธรรมราช เป็นจังหวัดที่มีเขตเลือกตั้งมากที่สุดในภาคใต้ โดยมีราษฎร 1,542,158 คน ทำให้ได้รับสิทธิเลือก สส. แบบแบ่งเขตได้ 10 คน จาก 10 เขตเลือกตั้ง
- เขตเลือกตั้ง 2566 แยกตามจังหวัด ครบทั้ง 400 เขต (อัพเดตล่าสุด)
- วันหยุดราชการ 2566 ปฏิทินวันหยุดราชการ อัปเดตล่าสุด
เขตเลือกตั้งภาคใต้ 14 จังหวัด – 60 เขตเลือกตั้ง
เขตเลือกตั้งภาคใต้ 14 จังหวัด มีจำนวนเขตเลือกตั้งรวมทั้งสิ้น 60 เขต โดยแบ่งเขตเลือกตั้งตามจังหวัดได้ดังนี้
กระบี่ – 3 เขตเลือกตั้ง
กระบี่มีราษฎร 477,792 คน เลือก สส. แบบแบ่งเขตได้ 3 คน
กระบี่ – เขตเลือกตั้งที่ 1
- อําเภอเมืองกระบี่
- อําเภอเหนือคลอง (ยกเว้นตําบลโคกยาง ตําบลห้วยยูง และตําบลปกาสัย)
กระบี่ – เขตเลือกตั้งที่ 2
- อําเภออ่าวลึก
- อําเภอปลายพระยา
- อําเภอเขาพนม
กระบี่ – เขตเลือกตั้งที่ 3
- อําเภอคลองท่อม
- อําเภอลําทับ
- อําเภอเกาะลันตา
- อําเภอเหนือคลอง (เฉพาะตําบลโคกยาง ตําบลห้วยยูง และตําบลปกาสัย)
ชุมพร – 3 เขตเลือกตั้ง
ชุมพรมีราษฎร 505,347 คน เลือก สส. แบบแบ่งเขตได้ 3 คน
ชุมพร – เขตเลือกตั้งที่ 1
- อําเภอเมืองชุมพร (ยกเว้นตําบลวังใหม่ ตําบลบ้านนา ตําบลหาดพันไกร ตําบลบางลึก และตําบลถ้ําสิงห์)
- อําเภอสวี (ยกเว้นตําบลเขาทะลุ และตําบลเขาค่าย)
ชุมพร – เขตเลือกตั้งที่ 2
- อําเภอเมืองชุมพร (เฉพาะตําบลวังใหม่ ตําบลบ้านนา ตําบลหาดพันไกร ตําบลบางลึก และตําบลถ้ําสิงห์)
- อําเภอท่าแซะ
- อําเภอปะทิว
ชุมพร – เขตเลือกตั้งที่ 3
- อําเภอสวี (เฉพาะตําบลเขาทะลุ และตําบลเขาค่าย)
- อําเภอหลังสวน
- อําเภอละแม
- อําเภอพะโต๊ะ
- อําเภอทุ่งตะโก
ตรัง – 4 เขตเลือกตั้ง
ตรังมีราษฎร 636,813 คน เลือก สส. แบบแบ่งเขตได้ 4 คน
ตรัง – เขตเลือกตั้งที่ 1
- อําเภอเมืองตรัง
ตรัง – เขตเลือกตั้งที่ 2
- อําเภอห้วยยอด
- อําเภอรัษฎา
- อําเภอวังวิเศษ
ตรัง – เขตเลือกตั้งที่ 3
- อําเภอนาโยง
- อําเภอปะเหลียน
- อําเภอหาดสําราญ
- อําเภอย่านตาขาว (เฉพาะตําบลหนองบ่อ ตําบลนาชุมเห็ด ตําบลในควน และตําบลโพรงจระเข้)
ตรัง – เขตเลือกตั้งที่ 4
- อําเภอกันตัง
- อําเภอสิเกา
- อําเภอย่านตาขาว (ยกเว้นตําบลหนองบ่อ ตําบลนาชุมเห็ด ตําบลในควน และตําบลโพรงจระเข้)
นครศรีธรรมราช – 10 เขตเลือกตั้ง
นครศรีธรรมราชมีราษฎร 1,542,158 คน เลือก สส. แบบแบ่งเขตได้ 10 คน
นครศรีธรรมราช – เขตเลือกตั้งที่ 1
- อําเภอเมืองนครศรีธรรมราช (เฉพาะ เทศบาลนครนครศรีธรรมราช ตําบลปากนคร ตําบลท่าไร่ ตําบลท่าเรือ ตําบลบางจาก เทศบาลตําบลบางจาก และเทศบาลตำบลปากนคร)
นครศรีธรรมราช – เขตเลือกตั้งที่ 2
- อําเภอเมืองนครศรีธรรมราช
(เฉพาะตําบลท่างิ้ว ตําบลกําแพงเซา ตําบลโพธิ์เสด็จ ตําบลนาเคียน ตําบลนาทราย ตําบลมะม่วงสองต้น ตําบลไชยมนตรี ตําบลปากพูน ตําบลท่าซัก และเทศบาลตําบลท่าแพ) - อําเภอพระพรหม
นครศรีธรรมราช – เขตเลือกตั้งที่ 3
- อําเภอปากพนัง
- อําเภอหัวไทร
นครศรีธรรมราช – เขตเลือกตั้งที่ 4
- อําเภอชะอวด
- อําเภอเชียรใหญ่
- อําเภอเฉลิมพระเกียรติ
นครศรีธรรมราช – เขตเลือกตั้งที่ 5
- อําเภอร่อนพิบูลย์
- อําเภอจุฬาภรณ์
- อําเภอลานสกา
นครศรีธรรมราช – เขตเลือกตั้งที่ 6
- อําเภอทุ่งสง (ยกเว้นตําบลเขาขาว)
นครศรีธรรมราช – เขตเลือกตั้งที่ 7
- อําเภอถ้ําพรรณรา
- อําเภอทุ่งใหญ่
- อําเภอบางขัน
- อำเภอทุ่งสง (เฉพาะตําบลเขาขาว)
นครศรีธรรมราช – เขตเลือกตั้งที่ 8
- อําเภอพิปูน
- อําเภอฉวาง
- อําเภอช้างกลาง
- อําเภอนาบอน
นครศรีธรรมราช – เขตเลือกตั้งที่ 9
- อําเภอพรหมคีรี
- อําเภอนบพิตํา
- อําเภอท่าศาลา (เฉพาะตําบลท่าศาลา ตําบลไทยบุรี ตําบลหัวตะพาน ตําบลโพธิ์ทอง ตําบลโมคลาน ตําบลดอนตะโก และเทศบาลตําบลท่าศาลา)
นครศรีธรรมราช – เขตเลือกตั้งที่ 10
- อําเภอขนอม
- อําเภอสิชล
- อําเภอท่าศาลา (เฉพาะตําบลกลาย ตําบลตลิ่งชัน ตําบลสระแก้ว และตําบลท่าขึ้น)
นราธิวาส – 5 เขตเลือกตั้ง
นราธิวาสมีราษฎร 816,803 คน เลือก สส. แบบแบ่งเขตได้ 5 คน
นราธิวาส – เขตเลือกตั้งที่ 1
- อําเภอเมืองนราธิวาส
- อําเภอยี่งอ
นราธิวาส – เขตเลือกตั้งที่ 2
- อําเภอตากใบ
- อําเภอสุไหงโก-ลก
นราธิวาส – เขตเลือกตั้งที่ 3
- อําเภอแว้ง
- อําเภอสุไหงปาดี
- อําเภอเจาะไอร้อง
นราธิวาส – เขตเลือกตั้งที่ 4
- อําเภอระแงะ
- อําเภอจะแนะ
- อําเภอสุคิริน
นราธิวาส – เขตเลือกตั้งที่ 5
- อําเภอบาเจาะ
- อําเภอรือเสาะ
- อําเภอศรีสาคร
ปัตตานี – 5 เขตเลือกตั้ง
ปัตตานีมีราษฎร 731,408 คน เลือก สส. แบบแบ่งเขตได้ 5 คน
ปัตตานี – เขตเลือกตั้งที่ 1
- อําเภอเมืองปัตตานี
ปัตตานี – เขตเลือกตั้งที่ 2
- อําเภอหนองจิก
- อําเภอโคกโพธิ์
ปัตตานี – เขตเลือกตั้งที่ 3
- อําเภอยะรัง
- อําเภอแม่ลาน
- อําเภอทุ่งยางแดง
ปัตตานี – เขตเลือกตั้งที่ 4
- อําเภอสายบุรี
- อําเภอไม้แก่น
- อําเภอกะพ้อ
- อําเภอปะนาเระ
ปัตตานี – เขตเลือกตั้งที่ 5
- อําเภอยะหริ่ง
- อําเภอมายอ
พังงา – 2 เขตเลือกตั้ง
พังงามีราษฎร 263,389 คน เลือก สส. แบบแบ่งเขตได้ 2 คน
พังงา – เขตเลือกตั้งที่ 1
- อําเภอเมืองพังงา
- อําเภอตะกั่วทุ่ง
- อําเภอเกาะยาว
- อําเภอทับปุด
พังงา – เขตเลือกตั้งที่ 2
- อําเภอกะปง
- อําเภอตะกั่วป่า
- อําเภอคุระบุรี
- อําเภอท้ายเหมือง
พัทลุง – 3 เขตเลือกตั้ง
พัทลุงมีราษฎร 521,278 คน เลือก สส. แบบแบ่งเขตได้ 3 คน
พัทลุง – เขตเลือกตั้งที่ 1
- อําเภอเมืองพัทลุง
- อําเภอเขาชัยสน
พัทลุง – เขตเลือกตั้งที่ 2
- อําเภอควนขนุน
- อําเภอป่าพะยอม
- อําเภอศรีบรรพต
- อําเภอศรีนครินทร์
- อําเภอกงหรา (เฉพาะตําบลสมหวัง และตําบลชะรัด)
พัทลุง – เขตเลือกตั้งที่ 3
- อําเภอตะโหมด
- อําเภอบางแก้ว
- อําเภอป่าบอน
- อําเภอปากพะยูน
- อําเภอกงหรา (ยกเว้นตําบลสมหวัง และตําบลชะรัด)
ภูเก็ต – 3 เขตเลือกตั้ง
ภูเก็ตมีราษฎร 406,986 คน เลือก สส. แบบแบ่งเขตได้ 3 คน
ภูเก็ต – เขตเลือกตั้งที่ 1
- อําเภอเมืองภูเก็ต (เฉพาะตําบลตลาดใหญ่ ตําบลตลาดเหนือ ตําบลรัษฎา และตําบลเกาะแก้ว)
ภูเก็ต – เขตเลือกตั้งที่ 2
- อําเภอเมืองภูเก็ต (ยกเว้นตําบลตลาดใหญ่ ตําบลตลาดเหนือ ตําบลรัษฎา และตําบลเกาะแก้ว)
- อําเภอกะทู้ (ยกเว้นตําบลกะทู้)
ภูเก็ต – เขตเลือกตั้งที่ 3
- อําเภอถลาง
- อําเภอกะทู้ (เฉพาะตําบลกะทู้)
ยะลา – 3 เขตเลือกตั้ง
ยะลามีราษฎร 544,373 คน เลือก สส. แบบแบ่งเขตได้ 3 คน
ยะลา – เขตเลือกตั้งที่ 1
- อําเภอเมืองยะลา (ยกเว้นตําบลบุดี ตําบลเปาะเส้ง และตําบลบันนังสาเรง)
- อําเภอยะหา (เฉพาะตําบลยะหา ตําบลตาชี และตําบลบาโงยซิแน)
ยะลา – เขตเลือกตั้งที่ 2
- อําเภอเมืองยะลา (เฉพาะตําบลบุดี ตําบลเปาะเส้ง และตําบลบันนังสาเรง)
- อําเภอยะหา (ยกเว้นตําบลยะหา ตําบลตาชี และตําบลบาโงยซิแน)
- อําเภอรามัน
- อําเภอกาบัง
ยะลา – เขตเลือกตั้งที่ 3
- อําเภอกรงปินัง
- อําเภอบันนังสตา
- อําเภอธารโต
- อําเภอเบตง
ระนอง – 1 เขตเลือกตั้ง
ระนองมีราษฎร 179,600 คน เลือก สส. แบบแบ่งเขตได้ 1 คน
ระนอง – เขตเลือกตั้งที่ 1
- ทั้งจังหวัด
สตูล – 2 เขตเลือกตั้ง
สตูลมีราษฎร 324,763 คน เลือก สส. แบบแบ่งเขตได้ 2 คน
สตูล – เขตเลือกตั้งที่ 1
- อําเภอเมืองสตูล
- อําเภอควนโดน
- อําเภอควนกาหลง
(เฉพาะตําบลทุ่งนุ้ย)
สตูล – เขตเลือกตั้งที่ 2
- อําเภอละงู
- อําเภอท่าแพ
- อําเภอทุ่งหว้า
- อําเภอมะนัง
- อําเภอควนกาหลง (ยกเว้นตําบลทุ่งนุ้ย)
สงขลา – 9 เขตเลือกตั้ง
สงขลามีราษฎร 1,421,318 คน เลือก สส. แบบแบ่งเขตได้ 9 คน
สงขลา – เขตเลือกตั้งที่ 1
- อําเภอเมืองสงขลา
สงขลา – เขตเลือกตั้งที่ 2
- อําเภอหาดใหญ่ (เฉพาะตําบลหาดใหญ่ และตําบลคลองอู่ตะเภา)
สงขลา – เขตเลือกตั้งที่ 3
- อําเภอนาหม่อม
- อําเภอหาดใหญ่ (เฉพาะตําบลบ้านพรุ ตําบลคอหงส์ ตําบลพะตง ตําบลทุ่งใหญ่ ตําบลท่าข้าม และตําบลนํ้าน้อย)
- อําเภอจะนะ (เฉพาะตําบลคลองเปียะ และตําบลจะโหนง)
สงขลา – เขตเลือกตั้งที่ 4
- อําเภอระโนด
- อําเภอกระแสสินธ์ุ
- อําเภอสทิงพระ
- อําเภอสิงหนคร (เฉพาะตําบลม่วงงาม ตําบลบางเขียด ตําบลชะแล้
- ตําบลรําแดง และตําบลวัดขนุน)
สงขลา – เขตเลือกตั้งที่ 5
- อําเภอรัตภูมิ
- อําเภอควนเนียง
- อําเภอสิงหนคร (เฉพาะตําบลปากรอ ตําบลป่าขาด ตําบลทํานบ ตําบลชิงโค ตําบลหัวเขา และตําบลสทิงหม้อ)
สงขลา – เขตเลือกตั้งที่ 6
- อําเภอสะเดา
- อําเภอคลองหอยโข่ง
สงขลา – เขตเลือกตั้งที่ 7
- อําเภอนาทวี
- อําเภอสะบ้าย้อย
- อําเภอเทพา (เฉพาะตําบลลําไพล)
สงขลา – เขตเลือกตั้งที่ 8
- อําเภอจะนะ (เฉพาะตําบลบ้านนา ตําบลป่าชิง ตําบลสะพานไม้แก่น ตําบลสะกอม ตําบลนาหว้า ตําบลนาทับ ตําบลน้ําขาว ตําบลขุนตัดหวาย ตําบลท่าหมอไทร ตําบลคู ตําบลแค และตําบลตลิ่งชัน)
- อําเภอเทพา (เฉพาะตําบลเทพา ตําบลปากบาง ตําบลเกาะสะบ้า ตําบลท่าม่วง ตําบลวังใหญ่ และตําบลสะกอม)
สงขลา – เขตเลือกตั้งที่ 9
- อําเภอบางกล่ํา
- อําเภอหาดใหญ่ (เฉพาะตําบลคลองแห ตําบลควนลัง ตําบลฉลุง ตําบลทุ่งตําเสา และตําบลคูเต่า)
สุราษฎร์ธานี – 7 เขตเลือกตั้ง
สุราษฎร์ธานีมีราษฎร 1,064,957 คน เลือก สส. แบบแบ่งเขตได้ 7 คน
สุราษฎร์ธานี – เขตเลือกตั้งที่ 1
- อําเภอเมืองสุราษฎร์ธานี (ยกเว้นตําบลวัดประดู่ และตําบลขุนทะเล)
สุราษฎร์ธานี – เขตเลือกตั้งที่ 2
- อําเภอเกาะพะงัน
- อําเภอเกาะสมุย
- อําเภอดอนสัก
- อําเภอกาญจนดิษฐ์ (เฉพาะตําบลท่าทอง ตําบลพลายวาส ตําบลท่าอุแท และตําบลคลองสระ)
สุราษฎร์ธานี – เขตเลือกตั้งที่ 3
- อําเภอเวียงสระ
- อําเภอบ้านนาสาร (ยกเว้นตําบลทุ่งเตา และตําบลทุ่งเตาใหม่)
- อําเภอเคียนซา (ยกเว้นตําบลบ้านเสด็จ)
สุราษฎร์ธานี – เขตเลือกตั้งที่ 4
- อําเภอพุนพิน
- อําเภอคีรีรัฐนิคม
- อําเภอบ้านตาขุน
สุราษฎร์ธานี – เขตเลือกตั้งที่ 5
- อําเภอพระแสง
- อําเภอชัยบุรี
- อําเภอพนม
- อําเภอเคียนซา (เฉพาะตําบลบ้านเสด็จ)
สุราษฎร์ธานี – เขตเลือกตั้งที่ 6
- อําเภอท่าชนะ
- อําเภอไชยา
- อําเภอท่าฉาง
- อําเภอวิภาวดี
สุราษฎร์ธานี – เขตเลือกตั้งที่ 7
- อําเภอเมืองสุราษฎร์ธานี (เฉพาะตําบลขุนทะเล และตําบลวัดประดู่)
- อําเภอกาญจนดิษฐ์ (ยกเว้นตําบลท่าทอง ตําบลพลายวาส ตําบลท่าอุแท และตําบลคลองสระ)
ข้อสังเกตเกี่ยวกับการกำหนดเขตเลือกตั้ง 2566
- จำนวนราษฎรสัญชาติไทยทั่วราชอาณาจักร 65,106,481 คน เมื่อวันที่ 31 ธันวาคม 2565
- กกต. ได้กำหนดเขตเลือกตั้งโดยใช้ฐานเฉลี่ยจำนวนราษฎร 162,766 คน ต่อ สส. แบบแบ่งเขตหนึ่งคน
- เขตเลือกตั้ง 400 เขต สามารถแบ่งจำนวนตามภาคได้ดังนี้
- ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 20 จังหวัด มี 133 เขตเลือกตั้ง (สส. แบบแบ่งเขต 133 คน)
- ภาคกลาง 22 จังหวัด (รวมกรุงเทพมหานคร) มี 122 เขตเลือกตั้ง (สส. แบบแบ่งเขต 122 คน)
- ภาคใต้ 14 จังหวัด มี 60 เขตเลือกตั้ง (สส. แบบแบ่งเขต 60 คน)
- ภาคเหนือ 9 จังหวัด มี 37 เขตเลือกตั้ง (สส. แบบแบ่งเขต 37 คน)
- ภาคตะวันออก 7 จังหวัด มี 29 เขตเลือกตั้ง (สส. แบบแบ่งเขต 29 คน)
- ภาคตะวันตก 5 จังหวัด มี 19 เขตเลือกตั้ง (สส. แบบแบ่งเขต 19 คน)
- กรุงเทพมหานครมีราษฎร 5,394,910 คน จึงได้รับการจัดสรรเขตเลือกมากที่สุด คือ 33 เขตเลือกตั้ง ทำให้มี สส. แบบแบ่งเขตได้ถึง 33 คนในจังหวัดเดียว
- ตราด ระนอง สมุทรสาคร และสิงห์บุรี เป็น 4 จังหวัดที่มีเขตเลือกเพียงจังหวัดละ 1 เขต ทำให้ทั้ง 4 จังหวัดนี้มี สส. แบบแบ่งเขตได้จังหวัดละ 1 คน
- จังหวัดที่มีราษฎรเกิน 1 ล้านคน มีจำนวน 21 จังหวัด
- จังหวัดที่สามารถมี สส. แบบแบ่งเขตได้ 10 คนขึ้นไป มีจำนวน 9 จังหวัด ได้แก่
- กรุงเทพมหานคร ได้ 33 คน
- นครราชสีมา ได้ 16 คน
- ขอนแก่น ได้ 11 คน
- อุบลราชธานี ได้ 11 คน
- ชลบุรี ได้ 10 คน
- เชียงใหม่ ได้ 10 คน
- นครศรีธรรมราช ได้ 10 คน
- บุรีรัมย์ ได้ 10 คน
- อุดรธานี ได้ 10 คน
ไม่สะดวกไปเลือกตั้งวันอาทิตย์ที่ 14 พ.ค. 2566 สามารถใช้สิทธิลงทะเบียนเลือกตั้งล่วงหน้านอกเขตในวันอาทิตย์ที่ 7 พ.ค. 2566 แทนได้
กกต. เปิดโอกาสให้ประชาชนผู้มีสิทธิเลือกตั้งสามารถใช้สิทธิ ลงทะเบียน เลือกตั้งล่วงหน้า 2566 นอกเขตเลือกตั้ง และ นอกราชอาณาจักร ได้ตั้งแต่ 25 มีนาคม – 9 เมษายน 2566 เพื่อให้สามารถไปลงคะแนนเลือกตั้งล่วงหน้าได้จริงในวันอาทิตย์ที่ 7 พฤษภาคม 2566
ทั้งนี้ ประชาชนสามารถ ลงทะเบียน เลือกตั้งล่วงหน้า 2566 ได้ผ่านช่องทางออนไลน์ของกรมการปกครอง BORA PORTAL เป็นทางเลือกได้อีกหนึ่งช่องทาง โดยมีรายละเอียดขั้นตอนดังต่อไปนี้
ช่วงเวลาลงทะเบียน เลือกตั้งล่วงหน้า 2566
- ตั้งแต่ 25 มีนาคม – 9 เมษายน 2566
ช่องทางลงทะเบียนเลือกตั้งล่วงหน้า
- ยื่นคำขอต่อนายทะเบียนท้องถิ่นด้วยตัวเองหรือผู้แทน
- ยื่นคำขอต่อนายทะเบียนท้องถิ่นทางไปรษณีย์
- ยื่นคำขอผ่านช่องทางออนไลน์
ขั้นตอนการลงทะเบียนเลือกตั้งล่วงหน้า 2566 นอกเขต ผ่านช่องทางออนไลน์ BORA PORTAL กรมการปกครอง
- ผ่านเว็บไซต์ BORA PORTAL กรมการปกครอง https://thportal.bora.dopa.go.th
- กดปุ่ม “LOGIN ด้วย ThaID” (กรณียังไม่เคยสมัครใช้บริการ ThaID บัตรประชาชนดิจิทัลของกรมการปกครอง สามารถดูขั้นตอนการสมัครท้ายบทความนี้)
- แสกน QR Code ด้วยแอป ThaID หรือ กดปุ่ม “เข้าสู่ระบบด้วย ThaID”
- เมื่อเข้าสู่ระบบแล้ว ให้เลือกเมนู “ระบบเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร (ส.ส.)”
- เลือก “ลงทะเบียนขอใช้สิทธิล่วงหน้านอกเขตเลือกตั้ง”
- ที่หน้าระบบลงทะเบียนใช้สิทธินอกเขต ให้เลือกจังหวัดที่ต้องการไปใช้สิทธิเลือกตั้งล่วงหน้านอกเขต
- เลือกสถานที่ที่ต้องการไปใช้สิทธิเลือกตั้งล่วงหน้านอกเขต
- กด “บันทึกข้อมูล”
- กด “ยืนยัน”
- ระบบจะแสดงผล “ลงทะเบียนสำเร็จ”
กรณีต้องการลงทะเบียนเลือกตั้งล่วงหน้า “นอกเขตราชอาณาจักร” สำหรับคนไทยที่อยู่ต่างประเทศ ผ่านช่องทางออนไลน์ BORA PORTAL กรมการปกครอง
- ผ่านเว็บไซต์ BORA PORTAL กรมการปกครอง https://thportal.bora.dopa.go.th
- กดปุ่ม “LOGIN ด้วย ThaID” (กรณียังไม่เคยสมัครใช้บริการ ThaID บัตรประชาชนดิจิทัลของกรมการปกครอง สามารถดูขั้นตอนการสมัครท้ายบทความนี้)
- แสกน QR Code ด้วยแอป ThaID หรือ กดปุ่ม “เข้าสู่ระบบด้วย ThaID”
- เมื่อเข้าสู่ระบบแล้ว ให้เลือกเมนู “ระบบเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร (ส.ส.)”
- เลือก “ลงทะเบียนขอใช้สิทธิล่วงหน้านอกราชอาณาจักร ทางอินเทอเน็ต”
- ตรวจสอบข้อมูลเลขหนังสือเดินทาง (Passport) แล้วกด “ตรวจสอบข้อมูล”
- เลือกประเทศที่ต้องการใช้สิทธิเลือกตั้ง
- เลือกสถานทูต/สถานกงสุลที่ต้องการใช้สิทธิเลือกตั้ง
- กรอกที่อยู่ปัจจุบันในต่างประเทศเป็นภาษาอังกฤษ
- กรอกที่อยู่สำหรับจัดส่งเอกสารทางไปรษณีย์ (สามารถระบุเป็นภาษาท้องถิ่นได้)
- กรอก email สำหรับส่งอีเมลตอบกลับ
- กด “บันทึกการลงทะเบียน”
- กด “ยืนยัน”
- ระบบจะแสดงผล “ลงทะเบียนสำเร็จ”
ลงทะเบียนเปิดใช้บริการ ThaID บัตรประชาชนดิจิทัล กรมการปกครอง
การลงทะเบียนเลือกตั้งนอกเขตผ่าน BORA PORTAL จำเป็นต้องสมัครใช้ ThaID ก่อนลงทะเบียนด้วย ซึ่งเป็นระบบ Digital ID ของกรมการปกครอง เพื่อสร้างระบบการพิสูจน์และยืนยันตัวตนทางดิจิทัลของประเทศรองรับการใช้งานบริการภาครัฐ โดยประชาชนทั่วไปสามารถลงทะเบียนเปิดใช้ ThaID บัตรประชาชนดิจิทัลได้ฟรีที่บ้านโดยไม่ต้องไปแจ้งเขต-อำเภอก็ได้
ขั้นตอนการ ลงทะเบียนบัตรประชาชนดิจิทัล ด้วยตนเอง (พิสูจน์และยืนยันตัวผ่านแอป ThaID)
- โหลดแอป ThaID
- ผู้ใช้งานแอนดรอยด์ (Android) » โหลดผ่าน Google Play Store
- ผู้ใช้งานไอโฟน (iPhone) » โหลดผ่าน Apple App Store
- เลือกหัวข้อลงทะเบียนด้วยตนเอง
- ยอมรับข้อตกลงและเงื่อนไขการใช้บริการเพื่อทำการลงทะเบียนสิ่งแทนเอกลักษณ์ดิจิทัล
- ถ่ายรูปหน้าบัตรประจำตัวประชาชน เมื่อเสร็จแล้วให้ตรวจสอบความชัดเจนและกดปุ่มยืนยันหรือถ่ายใหม่
- ถ่ายรูปหลังบัตรประจำตัวประชาชน เมื่อเสร็จแล้วให้ตรวจสอบความชัดเจนและกดปุ่มยืนยันหรือถ่ายใหม่
- ตรวจสอบข้อมูลบัตรประจำตัวประชาชน หากถูกต้องให้กดยืนยัน
- ถ่ายรูปภาพใบหน้าตนเอง
- ตั้งค่ารหัสผ่านเหมือนกัน 2 ครั้งโดยต้องไม่เรียงกัน และไม่ซ้ำกันเกิน 4 ตัว เช่น 1234, 1111
- ระบบแจ้งเตือนขอความยินยอมโดยระบุรหัสผ่านอีกครั้งเพื่อเข้าใช้งานแอปพลิเคชันครั้งแรก
- เมื่อลงทะเบียนเสร็จสิ้น หน้าจอจะแสดงรูปบัตรประจำตัวประชาชน
ขั้นตอนการ ลงทะเบียนบัตรประชาชนดิจิทัล ผ่านเจ้าหน้าที่
- โหลดแอป ThaID
- ผู้ใช้งานแอนดรอยด์ (Android) » โหลดผ่าน Google Play Store
- ผู้ใช้งานไอโฟน (iPhone) » โหลดผ่าน Apple App Store
- เลือกหัวข้อลงทะเบียนผ่านเจ้าหน้าที่
- นำบัตรประจำตัวประชาชนใบล่าสุด เพื่อให้เจ้าหน้าที่ผู้รับลงทะเบียนทำการตรวจสอบข้อมูลก่อนการลงทะเบียน ณ สำนักทะเบียน
- เปิดแอปพลิเคชัน ThaID พร้อมทั้งอนุญาตให้ใช้อุปกรณ์ของเครื่องโทรศัพท์มือถือ
- ยอมรับข้อตกลงและเงื่อนไขการใช้บริการเพื่อทำการลงทะเบียนสิ่งแทนเอกลักษณ์ดิจิทัล
- ระบุเลขประจำตัวประชาชน 13 หลัก ให้ถูกต้อง
- แสกนลายพิมพ์นิ้วชี้กับเจ้าหน้าที่
- แสกน QR code บนหน้าจอของเจ้าหน้าที่ ด้วยแอพพลิเคชั่น ThaID
- ตั้งค่ารหัสผ่านเหมือนกัน 2 ครั้งโดยต้องไม่เรียงกัน และไม่ซ้ำกันเกิน 4 ตัว เช่น 1234, 1111
- ระบบแจ้งเตือนขอความยินยอมโดยระบุรหัสผ่านอีกครั้งเพื่อเข้าใช้งานแอปพลิเคชันครั้งแรก
- เมื่อลงทะเบียนเสร็จสิ้น หน้าจอจะแสดงรูปบัตรประจำตัวประชาชน
หมายเหตุ: กรณีลืมรหัสผ่าน สามารถรีเซ็ตรหัสผ่านได้ โดยการถ่ายรูปภาพใบหน้าตนเองเพื่อขอสร้างรหัสผ่านใหม่