เขตเลือกตั้งภาคกลาง 2566 ทั้ง 22 จังหวัด รวม 122 เขตเลือกตั้ง

วิเคราะห์

คณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) ได้ออก ประกาศคณะกรรมการการเลือกตั้ง เรื่อง จํานวนสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบแบ่งเขตเลือกตั้ง จํานวนเขตเลือกตั้ง และท้องที่ที่ประกอบเป็นเขตเลือกตั้ง เพื่อกำหนดเขตเลือกตั้ง 2566 สำหรับเขตเลือกตั้งทั้ง 400 เขต ทั้ง 77 จังหวัดทั่วประเทศ โดยได้แบ่ง เขตเลือกตั้งภาคกลาง ทั้ง 22 จังหวัด นับรวมได้ 122 เขตเลือกตั้ง โดยพื้นที่ภาคกลางเป็นภาคที่ได้รับการจัดสรรเขตเลือกมากเป็นอันดับสองของประเทศรองจากภาคอีสาน (133 เขต) โดยกรุงเทพมหานครเป็นจังหวัดที่มีเขตเลือกตั้งมากที่สุดของภาคกลางและมากที่สุดของประเทศด้วย โดยมีราษฎร 5,394,910 คน คน ทำให้ได้รับสิทธิเลือก สส. แบบแบ่งเขตได้ 33 คน จาก 33 เขตเลือกตั้ง

เขตเลือกตั้งภาคกลาง 22 จังหวัด (รวมกรุงเทพมหานคร) – 122 เขตเลือกตั้ง

เขตเลือกตั้งภาคกลาง 22 จังหวัด (รวมกรุงเทพมหานคร) มีจำนวนเขตเลือกตั้งรวมทั้งสิ้น 122 เขต โดยแบ่งเขตเลือกตั้งตามจังหวัดได้ดังนี้

กรุงเทพมหานคร – 33 เขตเลือกตั้ง

กรุงเทพมหานครมีราษฎร 5,394,910 คน เลือก สส. แบบแบ่งเขตได้ 33 คน

กรุงเทพมหานคร – เขตเลือกตั้งที่ 1

  1. เขตพระนคร
  2. เขตป้อมปราบศัตรูพ่าย
  3. เขตสัมพันธวงศ์
  4. เขตดุสิต (ยกเว้นแขวงถนนนครไชยศรี)
  5. เขตบางรัก

กรุงเทพมหานคร – เขตเลือกตั้งที่ 2

  1. เขตสาทร
  2. เขตปทุมวัน
  3. เขตราชเทวี

กรุงเทพมหานคร – เขตเลือกตั้งที่ 3

  1. เขตบางคอแหลม
  2. เขตยานนาวา

กรุงเทพมหานคร – เขตเลือกตั้งที่ 4

  1. เขตคลองเตย
  2. เขตวัฒนา

กรุงเทพมหานคร – เขตเลือกตั้งที่ 5

  1. เขตห้วยขวาง
  2. เขตวังทองหลาง (ยกเว้นแขวงคลองเจ้าคุณสิงห์)

กรุงเทพมหานคร – เขตเลือกตั้งที่ 6

  1. เขตพญาไท
  2. เขตดินแดง

กรุงเทพมหานคร – เขตเลือกตั้งที่ 7

  1. เขตบางซื่อ
  2. เขตดุสิต (เฉพาะแขวงถนนนครไชยศรี)

กรุงเทพมหานคร – เขตเลือกตั้งที่ 8

  1. เขตหลักสี่ (ยกเว้นแขวงตลาดบางเขน)
  2. เขตจตุจักร (ยกเว้นแขวงจันทรเกษมและแขวงเสนานิคม)

กรุงเทพมหานคร – เขตเลือกตั้งที่ 9

  1. เขตบางเขน (ยกเว้นแขวงท่าแร้ง)
  2. เขตจตุจักร (เฉพาะแขวงจันทรเกษมและแขวงเสนานิคม)
  3. เขตหลักสี่ (เฉพาะแขวงตลาดบางเขน)

กรุงเทพมหานคร – เขตเลือกตั้งที่ 10

  • เขตดอนเมือง

กรุงเทพมหานคร – เขตเลือกตั้งที่ 11

  • เขตสายไหม (ยกเว้นแขวงออเงิน)

กรุงเทพมหานคร – เขตเลือกตั้งที่ 12

  1. เขตสายไหม (เฉพาะแขวงออเงิน)
  2. เขตบางเขน (เฉพาะแขวงท่าแร้ง
  3. เขตลาดพร้าว (เฉพาะแขวงจรเข้บัว)

กรุงเทพมหานคร – เขตเลือกตั้งที่ 13

  1. เขตลาดพร้าว (ยกเว้นแขวงจรเข้บัว)
  2. เขตบึงกุ่ม (ยกเว้นแขวงคลองกุ่ม)

กรุงเทพมหานคร – เขตเลือกตั้งที่ 14

  1. เขตวังทองหลาง (เฉพาะแขวงคลองเจ้าคุณสิงห์)
  2. เขตบางกะปิ

กรุงเทพมหานคร – เขตเลือกตั้งที่ 15

  1. เขตคันนายาว
  2. เขตบึงกุ่ม (เฉพาะแขวงคลองกุ่ม)
 

กรุงเทพมหานคร – เขตเลือกตั้งที่ 16

  • เขตคลองสามวา (ยกเว้นแขวงสามวาตะวันออก และแขวงทรายกองดินใต้)

กรุงเทพมหานคร – เขตเลือกตั้งที่ 17

  1. เขตหนองจอก (ยกเว้นแขวงโคกแฝด แขวงลําผกั ชี และแขวงลําต้อยติ่ง)
  2. เขตคลองสามวา (เฉพาะแขวงสามวาตะวันออก และแขวงทรายกองดินใต้)

กรุงเทพมหานคร – เขตเลือกตั้งที่ 18

  1. เขตหนองจอก (เฉพาะแขวงโคกแฝด แขวงลําผกั ชี และแขวงลําต้อยติ่ง)
  2. เขตลาดกระบัง (เฉพาะแขวงลําปลาทิว)
  3. เขตมีนบุรี (เฉพาะแขวงแสนแสบ)

กรุงเทพมหานคร – เขตเลือกตั้งที่ 19

  1. เขตมีนบุรี (ยกเว้นแขวงแสนแสบ)
  2. เขตสะพานสูง (ยกเว้นแขวงทับช้าง)

กรุงเทพมหานคร – เขตเลือกตั้งที่ 20

  • เขตลาดกระบัง (ยกเว้นแขวงลําปลาทิว)

กรุงเทพมหานคร – เขตเลือกตั้งที่ 21

  1. เขตประเวศ (ยกเว้นแขวงหนองบอน)
  2. เขตสะพานสูง (เฉพาะแขวงทับช้าง)

กรุงเทพมหานคร – เขตเลือกตั้งที่ 22

  1. เขตสวนหลวง
  2. เขตประเวศ (เฉพาะแขวงหนองบอน)

กรุงเทพมหานคร – เขตเลือกตั้งที่ 23

  1. เขตพระโขนง
  2. เขตบางนา

กรุงเทพมหานคร – เขตเลือกตั้งที่ 24

  • เขตธนบุรี (ยกเว้นแขวงวัดกัลยาณ์ แขวงหิรัญรูจี และแขวงบางยี่เรือ)
  • เขตคลองสาน
  • เขตราษฎร์บูรณะ (เฉพาะแขวงบางปะกอก)

กรุงเทพมหานคร – เขตเลือกตั้งที่ 25

  1. เขตทุ่งครุ
  2. เขตราษฎร์บูรณะ (ยกเว้นแขวงบางปะกอก)

กรุงเทพมหานคร – เขตเลือกตั้งที่ 26

  1. เขตบางขุนเทียน (เฉพาะแขวงท่าข้าม)
  2. เขตจอมทอง (ยกเว้นแขวงบางขุนเทียน)

กรุงเทพมหานคร – เขตเลือกตั้งที่ 27

  1. เขตบางบอน (เฉพาะแขวงบางบอนใต้ และแขวงคลองบางบอน)
  2. เขตบางขุนเทียน (ยกเว้นแขวงท่าข้าม)

กรุงเทพมหานคร – เขตเลือกตั้งที่ 28

  1. เขตจอมทอง (เฉพาะแขวงบางขุนเทียน)
  2. เขตบางบอน (ยกเว้นแขวงบางบอนใต้ และแขวงคลองบางบอน)
  3. เขตหนองแขม (เฉพาะแขวงหนองแขม)

กรุงเทพมหานคร – เขตเลือกตั้งที่ 29

  1. เขตบางแค (เฉพาะแขวงบางแคเหนือ และแขวงบางไผ่)
  2. เขตหนองแขม (ยกเว้นแขวงหนองแขม)

กรุงเทพมหานคร – เขตเลือกตั้งที่ 30

  1. เขตบางแค (ยกเว้นแขวงบางแคเหนือ และแขวงบางไผ่)
  2. เขตภาษีเจริญ (เฉพาะแขวงบางหว้า แขวงบางด้วน และแขวงคลองขวาง)

กรุงเทพมหานคร – เขตเลือกตั้งที่ 31

  1. เขตทวีวัฒนา
  2. เขตตลิ่งชัน (ยกเว้นแขวงบางเชือกหนัง)

กรุงเทพมหานคร – เขตเลือกตั้งที่ 32

  1. เขตบางกอกน้อย (เฉพาะแขวงศิริราช)
  2. เขตบางกอกใหญ่
  3. เขตภาษีเจริญ (ยกเว้นแขวงบางหว้า แขวงบางด้วน และแขวงคลองขวาง)
  4. เขตตลิ่งชัน (เฉพาะแขวงบางเชือกหนัง)
  5. เขตธนบุรี (เฉพาะแขวงวัดกัลยาณ์ แขวงหิรัญรูจี และแขวงบางยี่เรือ)

กรุงเทพมหานคร – เขตเลือกตั้งที่ 33

  1. เขตบางพลัด
  2. เขตบางกอกน้อย (ยกเว้นแขวงศิริราช)

กำแพงเพชร – 4 เขตเลือกตั้ง

กำแพงเพชรมีราษฎร 707,173 คน เลือก สส. แบบแบ่งเขตได้ 4 คน

กำแพงเพชร – เขตเลือกตั้งที่ 1

  • อําเภอเมืองกําแพงเพชร (เฉพาะตําบลในเมือง ตําบลหนองปลิง ตําบลเทพนคร ตําบลอ่างทอง ตําบลคลองแม่ลาย ตําบลนครชุม ตําบลนิคมทุ่งโพธิ์ทะเล ตําบลวังทอง ตําบลลานดอกไม้ ตําบลคณฑี ตําบลท่าขุนราม ตําบลนาบ่อคํา ตําบลทรงธรรม และตําบลธํามรงค์)

กำแพงเพชร – เขตเลือกตั้งที่ 2

  1. อําเภอพรานกระต่าย
  2. อําเภอลานกระบือ
  3. อําเภอโกสัมพีนคร
  4. อําเภอไทรงาม (เฉพาะตําบลมหาชัย ตําบลพานทอง ตําบลหนองคล้า และตําบลหนองทอง)
  5. อําเภอเมืองกําแพงเพชร (เฉพาะตําบลสระแก้ว)

กำแพงเพชร – เขตเลือกตั้งที่ 3

  1. อําเภอคลองขลุง
  2. อําเภอคลองลาน
  3. อําเภอปางศิลาทอง
  4. อําเภอเมืองกําแพงเพชร (เฉพาะตําบลไตรตรึงษ์)

กำแพงเพชร – เขตเลือกตั้งที่ 4

  1. อําเภอขาณุวรลักษบุรี
  2. อําเภอบึงสามัคคี
  3. อําเภอทรายทองวัฒนา
  4. อําเภอไทรงาม (เฉพาะตําบลหนองแม่แตง ตําบลไทรงาม และตําบลหนองไม้กอง)

ชัยนาท – 2 เขตเลือกตั้ง

ชัยนาทมีราษฎร 317,948 คน เลือก สส. แบบแบ่งเขตได้ 2 คน

ชัยนาท – เขตเลือกตั้งที่ 1

  1. อําเภอเมืองชัยนาท
  2. อําเภอสรรพยา
  3. อําเภอมโนรมย์
  4. อําเภอวัดสิงห์ (เฉพาะตําบลมะขามเฒ่า ตําบลหนองน้อย ตําบลหนองบัว เทศบาลตําบลวัดสิงห์ และตําบลหนองขุ่น)

ชัยนาท – เขตเลือกตั้งที่ 2

  1. อําเภอสรรคบุรี
  2. อําเภอหันคา
  3. อําเภอเนินขาม
  4. อําเภอหนองมะโมง
  5. อําเภอวัดสิงห์ (ยกเว้นตําบลมะขามเฒ่า ตําบลหนองน้อย ตําบลหนองบัว เทศบาลตําบลวัดสิงห์ และตําบลหนองขุ่น)

นครนายก – 2 เขตเลือกตั้ง

นครนายกมีราษฎร 258,980 คน เลือก สส. แบบแบ่งเขตได้ 2 คน

นครนายก – เขตเลือกตั้งที่ 1

  1. อําเภอเมืองนครนายก
  2. อําเภอปากพลี

นครนายก – เขตเลือกตั้งที่ 2

  1. อําเภอบ้านนา
  2. อําเภอองครักษ์

นครปฐม – 6 เขตเลือกตั้ง

นครปฐมมีราษฎร 910,330 คน เลือก สส. แบบแบ่งเขตได้ 6 คน

นครปฐม – เขตเลือกตั้งที่ 1

  1. อําเภอเมืองนครปฐม (เฉพาะตําบลหนองดินแดง ตําบลสระกะเทียม ตําบลสวนป่าน ตําบลวังเย็น ตําบลพระประโทน ตําบลบางแขม ตําบลดอนยายหอม ตําบลสามควายเผือก ตําบลธรรมศาลา และตําบลถนนขาด)
  2. อําเภอสามพราน (เฉพาะตําบลตลาดจินดา ตําบลคลองจินดา ตําบลบางช้าง ตําบลคลองใหม่ ตําบลท่าตลาด และตําบลหอมเกร็ด)

นครปฐม – เขตเลือกตั้งที่ 2

  • อําเภอเมืองนครปฐม (เฉพาะตําบลทุ่งน้อย ตําบลสนามจันทร์ ตําบลนครปฐม ตําบลวังตะกู ตําบลหนองปากโลง ตําบลโพรงมะเดื่อ ตําบลลําพยา ตําบลห้วยจรเข้ ตําบลบ้านยาง ตําบลบ่อพลับ และตําบลพระปฐมเจดีย์)

นครปฐม – เขตเลือกตั้งที่ 3

  1. อําเภอเมืองนครปฐม (เฉพาะตําบลทัพหลวง ตําบลตาก้อง ตําบลหนองงูเหลือม และตําบลมาบแค)
  2. อําเภอกําแพงแสน (เฉพาะตําบลกระตีบ ตําบลทุ่งลูกนก ตําบลทุ่งกระพังโหม ตําบลทุ่งบัว ตําบลห้วยขวาง ตําบลทุ่งขวาง ตําบลห้วยหมอนทอง ตําบลกําแพงแสน ตําบลรางพิกุล ตําบลหนองกระทุ่ม ตําบลวังน้ําเขียว ตําบลดอนข่อย และตําบลสระสี่มุม)

นครปฐม – เขตเลือกตั้งที่ 4

  1. อําเภอดอนตูม
  2. อําเภอบางเลน
  3. อําเภอกําแพงแสน (ยกเว้นตําบลกระตีบ ตําบลทุ่งลูกนก ตําบลทุ่งกระพังโหม ตําบลทุ่งบัว ตําบลห้วยขวาง ตําบลทุ่งขวาง ตําบลห้วยหมอนทอง ตําบลกําแพงแสน ตําบลรางพิกุล ตําบลหนองกระทุ่ม ตําบลวังน้ําเขียว ตําบลดอนข่อย และตําบลสระสี่มุม)

นครปฐม – เขตเลือกตั้งที่ 5

  1. อําเภอนครชัยศรี
  2. อําเภอพุทธมณฑล

นครปฐม – เขตเลือกตั้งที่ 6

  • อําเภอสามพราน (ยกเว้นตําบลตลาดจินดา ตําบลคลองจินดา ตําบลบางช้าง ตําบลคลองใหม่ ตําบลท่าตลาด และตําบลหอมเกร็ด)

นครสวรรค์ – 6 เขตเลือกตั้ง

นครสวรรค์มีราษฎร 1,026,840 คน เลือก สส. แบบแบ่งเขตได้ 6 คน

นครสวรรค์ – เขตเลือกตั้งที่ 1

  • อําเภอเมืองนครสวรรค์ (เฉพาะตําบลบ้านมะเกลือ ตําบลบางพระหลวง ตําบลบางม่วง ตําบลวัดไทรย์ ตําบลบึงเสนาท ตําบลเกรียงไกร ตําบลแควใหญ่ ตําบลปากน้ําโพ ตําบลนครสวรรค์ตก ตําบลนครสวรรค์ออก ตําบลตะเคียนเลื่อน และตําบลกลางแดด)

นครสวรรค์ – เขตเลือกตั้งที่ 2

  1. อําเภอเมืองนครสวรรค์ (เฉพาะตําบลบ้านแก่ง ตําบลพระนอน ตําบลหนองกรด ตําบลหนองกระโดน และตําบลหนองปลิง)
  2. อําเภอพยุหะคีรี
  3. อําเภอโกรกพระ

นครสวรรค์ – เขตเลือกตั้งที่ 3

  1. อําเภอบรรพตพิสัย
  2. อําเภอชุมแสง
  3. อําเภอเก้าเลี้ยว

นครสวรรค์ – เขตเลือกตั้งที่ 4

  1. อําเภอหนองบัว
  2. อําเภอไพศาลี (เฉพาะตําบลโคกเดื่อ ตําบลวังนํ้าลัด ตําบลวังข่อย ตําบลนาขอม และตําบลไพศาลี)
  3. อําเภอท่าตะโก

นครสวรรค์ – เขตเลือกตั้งที่ 5

  1. อําเภอตาคลี
  2. อําเภอตากฟ้า
  3. อําเภอไพศาลี (เฉพาะตําบลตะคร้อ ตําบลสําโรงชัย และตําบลโพธิ์ประสาท)

นครสวรรค์ – เขตเลือกตั้งที่ 6

  1. อําเภอลาดยาว
  2. อําเภอแม่วงก์
  3. อําเภอแม่เปิน
  4. อําเภอชุมตาบง

นนทบุรี – 8 เขตเลือกตั้ง

นนทบุรีมีราษฎร 1,285,637 คน เลือก สส. แบบแบ่งเขตได้ 8 คน

นนทบุรี – เขตเลือกตั้งที่ 1

  • อําเภอเมืองนนทบุรี (เฉพาะตําบลบางกระสอ ตําบลท่าทราย และตําบลบางเขน)

นนทบุรี – เขตเลือกตั้งที่ 2

  • อําเภอเมืองนนทบุรี (เฉพาะตําบลบางกร่าง ตําบลบางศรีเมือง ตําบลบางรักน้อย ตําบลสวนใหญ่ และตําบลตลาดขวัญ)

นนทบุรี – เขตเลือกตั้งที่ 3

  1. อําเภอบางกรวย
  2. อําเภอเมืองนนทบุรี (เฉพาะตําบลบางไผ่)

นนทบุรี – เขตเลือกตั้งที่ 4

  • อําเภอปากเกร็ด (เฉพาะตําบลบางพูด ตําบลบ้านใหม่ ตําบลคลองเกลือ และตําบลบางตลาด)

นนทบุรี – เขตเลือกตั้งที่ 5

  1. อําเภอปากเกร็ด (ยกเว้นตําบลบางพูด ตําบลบ้านใหม่ ตําบลคลองเกลือ และตําบลบางตลาด)
  2. อําเภอบางบัวทอง (เฉพาะตําบลลําโพ และตําบลละหาร)
  3. อําเภอเมืองนนทบุรี (เฉพาะตําบลไทรม้า)

นนทบุรี – เขตเลือกตั้งที่ 6

  • อําเภอบางใหญ่

นนทบุรี – เขตเลือกตั้งที่ 7

  1. อําเภอบางบัวทอง (เฉพาะตําบลบางบัวทอง ตําบลพิมลราช และตําบลโสนลอย)
  2. อําเภอไทรน้อย (เฉพาะตําบลไทรน้อย และตําบลคลองขวาง)

นนทบุรี – เขตเลือกตั้งที่ 8

  1. อําเภอบางบัวทอง (เฉพาะตําบลบางคูรัด ตําบลบางรักพัฒนา และตําบลบางรักใหญ่)
  2. อําเภอไทรน้อย (ยกเว้นตําบลไทรน้อย และตําบลคลองขวาง)

ปทุมธานี – 7 เขตเลือกตั้ง

ปทุมธานีมีราษฎร 1,191,386 คน เลือก สส. แบบแบ่งเขตได้ 7 คน

ปทุมธานี – เขตเลือกตั้งที่ 1

  1. อําเภอลาดหลุมแก้ว
  2. อําเภอสามโคก
  3. อําเภอเมืองปทุมธานี (เฉพาะตําบลบ้านฉาง ตําบลบางหลวง และตําบลบางเดื่อ)

ปทุมธานี – เขตเลือกตั้งที่ 2

  • อําเภอเมืองปทุมธานี (ยกเว้นตําบลบ้านฉาง ตําบลบางหลวง ตําบลบางเดื่อ และตำบลสวนพริกไทย)

ปทุมธานี – เขตเลือกตั้งที่ 3

  • อําเภอคลองหลวง (เฉพาะเทศบาลเมืองท่าโขลง และตําบลคลองสาม)

ปทุมธานี – เขตเลือกตั้งที่ 4

  1. อําเภอธัญบุรี (เฉพาะตําบลประชาธิปัตย์)
  2. อําเภอคลองหลวง (เฉพาะเทศบาลเมืองคลองหลวง)
  3. อําเภอเมืองปทุมธานี (เฉพาะตําบลสวนพริกไทย)

ปทุมธานี – เขตเลือกตั้งที่ 5

  1. อําเภอคลองหลวง (เฉพาะตําบลคลองสี่ ตําบลคลองห้า ตําบลคลองหก และตําบลคลองเจ็ด)
  2. อําเภอธัญบุรี (เฉพาะตําบลบึงยี่โถ ตําบลรังสิต และตําบลลําผักกูด)
  3. อําเภอหนองเสือ (เฉพาะตําบลบึงชําอ้อ ตําบลบึงกาสาม และตําบลนพรัตน์)

ปทุมธานี – เขตเลือกตั้งที่ 6

  • อําเภอลําลูกกา (เฉพาะตําบลคูคต และตําบลลาดสวาย)

ปทุมธานี – เขตเลือกตั้งที่ 7

  1. อําเภอหนองเสือ (เฉพาะตําบลบึงบอน ตําบลบึงบา ตําบลหนองสามวัง และตําบลศาลาครุ)
  2. อําเภอธัญบุรี (เฉพาะตําบลบึงสนั่น และตําบลบึงน้ํารักษ์)
  3. อําเภอลําลูกกา (เฉพาะตําบลบึงคําพร้อย ตําบลลําลูกกา ตําบลบึงทองหลาง ตําบลลําไทร ตําบลบึงคอไห และตําบลพืชอุดม)

พระนครศรีอยุธยา – 5 เขตเลือกตั้ง

พระนครศรีอยุธยามีราษฎร 818,255 คน เลือก สส. แบบแบ่งเขตได้ 5 คน

พระนครศรีอยุธยา – เขตเลือกตั้งที่ 1

  1. อําเภอบางบาล
  2. อําเภอพระนครศรีอยุธยา

พระนครศรีอยุธยา – เขตเลือกตั้งที่ 2

  1. อําเภอท่าเรือ
  2. อําเภอนครหลวง
  3. อําเภอบางปะหัน
  4. อําเภอบ้านแพรก
  5. อําเภอมหาราช

พระนครศรีอยุธยา – เขตเลือกตั้งที่ 3

  1. อําเภอวังน้อย
  2. อําเภอภาชี
  3. อําเภออุทัย

พระนครศรีอยุธยา – เขตเลือกตั้งที่ 4

  1. อําเภอบางไทร
  2. อําเภอบางปะอิน

พระนครศรีอยุธยา – เขตเลือกตั้งที่ 5

  1. อําเภอบางซ้าย
  2. อําเภอผักไห่
  3. อําเภอลาดบัวหลวง
  4. อําเภอเสนา

พิจิตร – 3 เขตเลือกตั้ง

พิจิตรมีราษฎร 525,327 คน เลือก สส. แบบแบ่งเขตได้ 3 คน

พิจิตร – เขตเลือกตั้งที่ 1

  1. อําเภอเมืองพิจิตร
  2. อําเภอสามง่าม
  3. อําเภอวชิรบารมี

พิจิตร – เขตเลือกตั้งที่ 2

  1. อําเภอตะพานหิน
  2. อําเภอทับคล้อ
  3. อําเภอดงเจริญ
  4. อําเภอวังทรายพูน
  5. อําเภอสากเหล็ก

พิจิตร – เขตเลือกตั้งที่ 3

  1. อําเภอโพทะเล
  2. อําเภอบางมูลนาก
  3. อําเภอบึงนาราง
  4. อําเภอโพธิ์ประทับช้าง

พิษณุโลก – 5 เขตเลือกตั้ง

พิษณุโลกมีราษฎร 842,737 คน เลือก สส. แบบแบ่งเขตได้ 5 คน

พิษณุโลก – เขตเลือกตั้งที่ 1

  • อําเภอเมืองพิษณุโลก (เฉพาะตําบลในเมือง (เทศบาล นครพิษณุโลก) ตําบลวังนํ้าคู้ ตําบลวัดจันทร์ ตําบลวัดพริก ตําบลท่าทอง ตําบลบ้านคลอง ตําบลบึงพระ ตําบลอรัญญิก (เทศบาล เมืองอรัญญิก) ตําบลพลายชุมพล (เทศบาล ตําบลพลายชุมพล) และเทศบาลตำบลบ้านใหม่ (ตําบลวังนํ้าคู้และตําบลวัดพริก))

พิษณุโลก – เขตเลือกตั้งที่ 2

  1. อําเภอพรหมพิราม (เฉพาะตําบลพรหมพิราม ตําบลท่าช้าง ตําบลวงฆ้อง ตําบลมะตมู ตําบลหอกลอง ตําบลศรีภิรมย์ ตําบลตลุกเทียม ตําบลวังวน ตําบลหนองแขม ตําบลมะต้อง ตําบลทับยายเชียง ตําบลดงประคํา เทศบาลตำบลวงฆ้อง (ตําบลวงฆ้องและ ตําบลมะต้อง และเทศบาลตําบล พรหมพิราม))
  2. อําเภอเมืองพิษณุโลก (เฉพาะตําบลสมอแข ตําบลดอนทอง ตําบลบ้านป่า ตําบลปากโทก ตําบลหัวรอ ตําบลจอมทอง ตําบลบ้านกร่าง ตําบลมะขามสูง และตําบลไผ่ขอดอน)

พิษณุโลก – เขตเลือกตั้งที่ 3

  1. อําเภอวังทอง (เฉพาะตําบลวังทอง ตําบลพันชาลี ตําบลแม่ระกา ตําบลบ้านกลาง ตําบลวังพิกุล ตําบลแก่งโสภา ตําบลท่าหมื่นราม ตําบลวังนกแอ่น ตําบลหนองพระ ตําบลชัยนาม ตําบลดินทอง และเทศบาลตําบลวังทอง)
  2. อําเภอเนินมะปราง (เฉพาะตําบลชมพู ตําบลวังโพรง ตําบลบ้านน้อยซุ้มขี้เหล็ก ตําบลเนินมะปราง ตําบลวังยาง ตําบลบ้านมุง เทศบาลตาํ บลบ้านมุง ตําบลไทรย้อย เทศบาลตําบลไทรย้อย และเทศบาลตําบล เนินมะปราง)

พิษณุโลก – เขตเลือกตั้งที่ 4

  1. อําเภอบางระกํา (เฉพาะตําบลบางระกํา ตําบลวังอิทก ตําบลบึงกอก ตําบลหนองกุลา ตําบลชุมแสงสงคราม ตําบลนิคมพัฒนา ตําบลบ่อทอง ตําบลท่านางงาม ตําบลคุยม่วง ตําบลพันเสา (เทศบาลตําบลพันเสาและ เทศบาลตําบลบางระกํา) และตําบลปลักแรด (เทศบาลตําบลปลักแรด และเทศบาลตําบลบึงระมาณ))
  2. อําเภอบางกระทุ่ม (เฉพาะตําบลบางกระทุ่ม ตําบลบ้านไร่ ตําบลโคกสลุด ตําบลสนามคลี ตําบลท่าตาล
    ตําบลไผ่ล้อม ตําบลนครป่าหมาก เทศบาลตำบลบางกระทุ่ม และเทศบาลตําบลเนินกุ่ม (ตําบลเนินกุ่มและตําบล วัดตายม))
  3. อําเภอเมืองพิษณุโลก (เฉพาะตําบลท่าโพธิ์ และตําบลงิ้วงาม)

พิษณุโลก – เขตเลือกตั้งที่ 5

  1. อําเภอนครไทย (เฉพาะตําบลหนองกะท้าว ตําบลเนินเพิ่ม ตําบลนาบัว ตําบลนครชุม ตําบลน้ํากุ่ม ตําบลยางโกลน ตําบลบ่อโพธิ์ ตําบลบ้านพร้าว ตําบลห้วยเฮี้ย ตําบลบ้านแยง (เทศบาล ตําบลบ้านแยง) และตําบลนครไทย (เทศบาลตําบลนครไทย))
  2. อําเภอวัดโบสถ์ (เฉพาะตําบลวัดโบสถ์ ตําบลท่างาม ตำบลท้อแท้ ตําบลบ้านยาง ตําบลหินลาด ตําบลคันโช้ง และเทศบาลตําบลวัดโบสถ์ (ตําบลวัดโบสถ์ ตําบล ท่างาม และตำบลท้อแท้))
  3. อําเภอชาติตระการ (เฉพาะตําบลป่าแดง ตําบลชาติตระการ ตําบลสวนเมี่ยง ตําบลบ้านดง ตําบลบ่อภาค ตําบลท่าสะแก และเทศบาลตําบลป่าแดง (ตําบลป่าแดง และตําบล ท่าสะแก))

เพชรบูรณ์ – 6 เขตเลือกตั้ง

เพชรบูรณ์มีราษฎร 971,383 คน เลือก สส. แบบแบ่งเขตได้ 6 คน

เพชรบูรณ์ – เขตเลือกตั้งที่ 1

  • อําเภอเมืองเพชรบูรณ์ (เฉพาะเทศบาล เมืองเพชรบูรณ์ ตําบลชอนไพร ตําบลนาป่า ตําบลตะเบาะ ตําบลนายม ตําบลบ้านโตก ตําบลสะเดียง ตําบลน้ําร้อน ตําบลห้วยใหญ่ ตําบลห้วยสะแก ตําบลบ้านโคก ตําบลระวิง ตำบลดงมูลเหล็ก เทศบาลตําบลวังชมภู และ ตําบลวังชมภู)

เพชรบูรณ์ – เขตเลือกตั้งที่ 2

  1. อําเภอเมืองเพชรบูรณ์ (ยกเว้นเทศบาลเมืองเพชรบูรณ์ ตําบลชอนไพร ตําบลนาป่า ตําบลตะเบาะ ตําบลนายม ตําบลบ้านโตก ตำบลสะเดียง ตําบลน้ําร้อน ตําบลห้วยใหญ่ ตําบลห้วยสะแก ตำบลบ้านโคก ตําบลระวิง ตำบลดงมูลเหล็ก เทศบาลตําบลวังชมภู และตําบลวังชมภู)
  2. อําเภอหล่มสัก (เฉพาะเทศบาลเมืองหล่มสัก ตำบลตาลเดี่ยว ตําบลบ้านกลาง ตําบลวัดป่า ตําบลช้างตะลูด ตําบลหนองไขว่ ตําบลบ้านไร่ ตําบลลานบ่า ตําบลปากดุก ตําบลปากช่อง ตําบลบ้านโสก ตําบลบ้านติ้ว
    ตําบลห้วยไร่ และตําบลบ้านหวาย)
  3. อําเภอนํ้าหนาว

เพชรบูรณ์ – เขตเลือกตั้งที่ 3

  1. อําเภอหล่มเก่า
  2. อําเภอเขาค้อ
  3. อําเภอหล่มสัก (ยกเว้นเทศบาลเมืองหล่มสัก ตําบลตาลเดี่ยว ตําบลบ้านกลาง ตําบลวัดป่า ตําบลช้างตะลูด ตําบลหนองไขว่ ตําบลบ้านไร่ ตําบลลานบ่า ตําบลปากดุก ตําบลปากช่อง ตําบลบ้านโสก ตำบลบ้านติ้ว ตำบลห้วยไร่ และตําบลบ้านหวาย)

เพชรบูรณ์ – เขตเลือกตั้งที่ 4

  1. อําเภอชนแดน
  2. อําเภอวังโป่ง
  3. อําเภอหนองไผ่ (เฉพาะเทศบาลตําบลหนองไผ่ ตําบลหนองไผ่ เทศบาลตําบลเฉลียงทอง เทศบาลตำบลนาเฉลียง เทศบาลตําบลบัววัฒนา ตําบลห้วยโป่ง และตําบลยางงาม)

เพชรบูรณ์ – เขตเลือกตั้งที่ 5

  1. อำเภอบึงสามพัน
  2. อําเภอหนองไผ่ (ยกเว้นเทศบาลตําบลหนองไผ่ ตําบลหนองไผ่ เทศบาลตําบลเฉลียงทอง เทศบาลตําบลนาเฉลียง เทศบาลตําบลบัววัฒนา ตําบลห้วยโป่ง และตําบลยางงาม)
  3. อําเภอวิเชียรบุรี (เฉพาะตําบลสามแยก ตําบลยางสาว ตําบลโคกปรง และตําบลบึงกระจับ)

เพชรบูรณ์ – เขตเลือกตั้งที่ 6

  1. อําเภอศรีเทพ
  2. อําเภอวิเชียรบุรี (ยกเว้นตําบลสามแยก ตําบลยางสาว ตําบลโคกปรง และตําบลบึงกระจับ)

ลพบุรี – 5 เขตเลือกตั้ง

ลพบุรีมีราษฎร 733,857 คน เลือก สส. แบบแบ่งเขตได้ 5 คน

ลพบุรี – เขตเลือกตั้งที่ 1

อําเภอเมืองลพบุรี (เฉพาะเทศบาลเมืองลพบุรี เทศบาลเมืองเขาสามยอด เทศบาลตําบลถนนใหญ่ เทศบาลตําบลกกโก เทศบาลตําบลป่าตาล ตําบลทะเลชุบศร ตําบลท่าแค ตําบลโคกกะเทียม ตําบลพรหมมาสตร์ ตําบลโพธิ์เก้าต้น ตำบลบางขันหมาก และตำบลโคกลำพาน)

ลพบุรี – เขตเลือกตั้งที่ 2

  1. อําเภอเมืองลพบุรี (เฉพาะเทศบาลตําบลเขาพระงาม เทศบาลตำบลท่าศาลา และเทศบาลตําบลโคกตูม)
  2. อําเภอโคกสําโรง (เฉพาะตําบลห้วยโป่ง และตําบลหลุมข้าว)
  3. อําเภอพัฒนานิคม

ลพบุรี – เขตเลือกตั้งที่ 3

  1. อําเภอเมืองลพบุรี (เฉพาะตําบลดอนโพธิ์ ตําบลโก่งธนู ตําบลงิ้วราย ตําบลตะลุง ตําบลโพธิ์ตรุ ตําบลท้ายตลาด ตําบลบ้านข่อย และตําบลสี่คลอง)
  2. อําเภอท่าวุ้ง
  3. อําเภอบ้านหมี่

ลพบุรี – เขตเลือกตั้งที่ 4

  1. อําเภอโคกสําโรง (ยกเว้นตําบลห้วยโป่ง และตําบลหลุมข้าว)
  2. อําเภอหนองม่วง
  3. อําเภอสระโบสถ์
  4. อําเภอโคกเจริญ

ลพบุรี – เขตเลือกตั้งที่ 5

  1. อําเภอชัยบาดาล
  2. อําเภอท่าหลวง
  3. อําเภอลําสนธิ

สมุทรปราการ – 8 เขตเลือกตั้ง

สมุทรปราการมีราษฎร 1,341,854 คน เลือก สส. แบบแบ่งเขตได้ 8 คน

สมุทรปราการ – เขตเลือกตั้งที่ 1

  • อําเภอเมืองสมุทรปราการ (เฉพาะตําบลบางโปรง ตําบลบางด้วน ตําบลบางเมือง ตําบลท้ายบ้าน และตำบลปากน้ํา)

สมุทรปราการ – เขตเลือกตั้งที่ 2

  • อําเภอเมืองสมุทรปราการ (เฉพาะตําบลบางปู ตําบลบางปูใหม่ ตําบลแพรกษา และตําบลท้ายบ้านใหม่)

สมุทรปราการ – เขตเลือกตั้งที่ 3

  • อําเภอเมืองสมุทรปราการ (เฉพาะตําบลเทพารักษ์ ตําบลสําโรงเหนือ และตําบลบางเมืองใหม่)

สมุทรปราการ – เขตเลือกตั้งที่ 4

  • อําเภอบางพลี (เฉพาะตําบลบางพลีใหญ่ และตําบลบางแก้ว)

สมุทรปราการ – เขตเลือกตั้งที่ 5

  1. อําเภอบางพลี (เฉพาะตําบลบางปลา ตําบลบางโฉลง ตําบลราชาเทวะ และตําบลหนองปรือ)
  2. อําเภอเมืองสมุทรปราการ (เฉพาะตําบลแพรกษาใหม่)
  3. อําเภอบางเสาธง (เฉพาะตําบลศีรษะจรเข้น้อย)

สมุทรปราการ – เขตเลือกตั้งที่ 6

  • อําเภอพระประแดง (ยกเว้นตําบลบางจาก)

สมุทรปราการ – เขตเลือกตั้งที่ 7

  1. อําเภอพระสมุทรเจดีย์
  2. อําเภอพระประแดง (เฉพาะตําบลบางจาก)

สมุทรปราการ – เขตเลือกตั้งที่ 8

  1. อําเภอบางบ่อ
  2. อําเภอบางเสาธง (เฉพาะตําบลบางเสาธง และตําบลศีรษะจรเข้ใหญ่)

สมุทรสงคราม – 1 เขตเลือกตั้ง

สมุทรสงครามมีราษฎร 187,701 คน เลือก สส. แบบแบ่งเขตได้ 1 คน

สมุทรสงคราม – เขตเลือกตั้งที่ 1

  • ทั้งจังหวัด

สมุทรสาคร – 3 เขตเลือกตั้ง

สมุทรสาครมีราษฎร 556,860 คน เลือก สส. แบบแบ่งเขตได้ 3 คน

สมุทรสาคร – เขตเลือกตั้งที่ 1

  • อําเภอเมืองสมุทรสาคร (เฉพาะตําบลมหาชัย ตําบลท่าฉลอม ตําบลโกรกกราก ตําบลบางหญ้าแพรก ตําบลท่าทราย ตําบลโคกขาม ตําบลพันท้ายนรสิงห์ ตําบลคอกกระบือ และตําบลบางน้ําจืด)

สมุทรสาคร – เขตเลือกตั้งที่ 2

  1. อําเภอเมืองสมุทรสาคร (เฉพาะตําบลนาดี)
  2. อําเภอกระทุ่มแบน (เฉพาะตําบลอ้อมน้อย ตําบลสวนหลวง ตําบลท่าไม้ ตําบลตลาดกระทุ่มแบน ตําบลแคราย ตําบลคลองมะเดื่อ และตําบลดอนไก่ดี)

สมุทรสาคร – เขตเลือกตั้งที่ 3

  1. อําเภอเมืองสมทุรสาคร (เฉพาะตําบลนาโคก ตําบลกาหลง ตําบลบางโทรัด ตําบลชัยมงคล ตําบลบ้านบ่อ ตำบลบางกระเจ้า ตําบลบ้านเกาะ และตําบลท่าจีน)
  2. อําเภอกระทุ่มแบน (เฉพาะตําบลท่าเสา ตําบลบางยาง และตําบลหนองนกไข่)
  3. อําเภอบ้านแพ้ว

สระบุรี – 4 เขตเลือกตั้ง

สระบุรีมีราษฎร 636,445 คน เลือก สส. แบบแบ่งเขตได้ 4 คน

สระบุรี – เขตเลือกตั้งที่ 1

  1. อําเภอเมืองสระบุรี (ยกเว้นตําบลหนองโน)
  2. อําเภอเฉลิมพระเกียรติ
  3. อําเภอแก่งคอย (เฉพาะตําบลห้วยแห้ง)

สระบุรี – เขตเลือกตั้งที่ 2

  1. อําเภอแก่งคอย (ยกเว้นตําบลห้วยแห้ง)
  2. อําเภอมวกเหล็ก
  3. อําเภอวังม่วง

สระบุรี – เขตเลือกตั้งที่ 3

  1. อําเภอหนองแค
  2. อําเภอวิหารแดง
  3. อําเภอหนองแซง
  4. อําเภอเมืองสระบุรี (เฉพาะตําบลหนองโน)

สระบุรี – เขตเลือกตั้งที่ 4

  1. อําเภอพระพุทธบาท
  2. อําเภอบ้านหมอ
  3. อําเภอเสาไห้
  4. อําเภอหนองโดน
  5. อําเภอดอนพุด

สิงห์บุรี – 1 เขตเลือกตั้ง

สิงห์บุรีมีราษฎร 202,501 คน เลือก สส. แบบแบ่งเขตได้ 1 คน

สิงห์บุรี – เขตเลือกตั้งที่ 1

  • ทั้งจังหวัด

สุโขทัย – 4 เขตเลือกตั้ง

สุโขทัยมีราษฎร 580,909 คน เลือก สส. แบบแบ่งเขตได้ 4 คน

สุโขทัย – เขตเลือกตั้งที่ 1

  1. อําเภอเมืองสุโขทัย (ยกเว้นตําบลเมืองเก่า และตําบลวังทองแดง)
  2. อําเภอศรีสำโรง (ยกเว้นตําบลบ้านไร่ ตำบลบ้านซ่าน ตําบลวัดเกาะ ตําบลนาขุนไกร และตำบลราวต้นจันทร์)
  3. อําเภอกงไกรลาศ (เฉพาะตําบลไกรกลาง ตําบลไกรใน ตําบลกกแรต และตำบลบ้านใหม่สุขเกษม)

สุโขทัย – เขตเลือกตั้งที่ 2

  1. อําเภอคีรีมาศ
  2. อําเภอบ้านด่านลานหอย
  3. อําเภอกงไกรลาศ (ยกเว้นตําบลไกรกลาง ตําบลไกรใน ตําบลกกแรต และตําบลบ้านใหม่สุขเกษม)

สุโขทัย – เขตเลือกตั้งที่ 3

  1. อําเภอทุ่งเสลี่ยม
  2. อําเภอสวรรคโลก (ยกเว้นตําบลป่ากุมเกาะ ตาํ บลในเมือง ตําบลคลองยาง และตําบลปากน้ํา)
  3. อําเภอศรีสำโรง (เฉพาะตําบลบ้านไร่ ตําบลบ้านซ่าน ตําบลวัดเกาะ ตําบลนาขุนไกร และตําบลราวต้นจันทร์)
  4. อําเภอเมืองสุโขทัย (เฉพาะตําบลเมืองเก่า และตําบลวังทองแดง)

สุโขทัย – เขตเลือกตั้งที่ 4

  1. อําเภอศรีสัชนาลัย
  2. อําเภอศรีนคร
  3. อําเภอสวรรคโลก (เฉพาะตําบลป่ากุมเกาะ ตําบลในเมือง ตําบลคลองยาง และตําบลปากน้ํา)

สุพรรณบุรี – 5 เขตเลือกตั้ง

สุพรรณบุรีมีราษฎร 828,119 คน เลือก สส. แบบแบ่งเขตได้ 5 คน

สุพรรณบุรี – เขตเลือกตั้งที่ 1

  • อําเภอเมืองสุพรรณบุรี

สุพรรณบุรี – เขตเลือกตั้งที่ 2

  1. อําเภอบางปลาม้า
  2. อําเภอสองพี่น้อง (เฉพาะเทศบาลเมืองสองพี่น้อง ตําบลบางตาเถร ตําบลบางเลน ตําบลศรีสําราญ ตําบลดอนมะนาว ตําบลบ้านกุ่ม ตําบลหัวโพธิ์ ตําบลเนินพระปรางค์ ตําบลบ้านช้าง ตําบลบางตะเคียน ตําบลบางพลับ และตำบลต้นตาล)

สุพรรณบุรี – เขตเลือกตั้งที่ 3

  1. อําเภออู่ทอง
  2. อําเภอสองพี่น้อง (เฉพาะเทศบาลตําบล ทุ่งคอก ตําบลทุ่งคอก ตําบลหนองบ่อ และตําบลบ่อสุพรรณ)

สุพรรณบุรี – เขตเลือกตั้งที่ 4

  1. อําเภอด่านช้าง 
  2. อําเภอเดิมบางนางบวช
  3. อําเภอหนองหญ้าไซ (เฉพาะตําบลแจงงาม ตําบลหนองขาม ตําบลทัพหลวง และตําบลหนองโพธิ์)

สุพรรณบุรี – เขตเลือกตั้งที่ 5

  1. อําเภอศรีประจันต์
  2. อําเภอสามชุก
  3. อําเภอดอนเจดีย์
  4. อําเภอหนองหญ้าไซ (เฉพาะเทศบาลตําบล หนองหญ้าไซ ตําบลหนองหญ้าไซ และตําบลหนองราชวัตร)

อ่างทอง – 2 เขตเลือกตั้ง

อ่างทองมีราษฎร 272,166 คน เลือก สส. แบบแบ่งเขตได้ 2 คน

อ่างทอง – เขตเลือกตั้งที่ 1

  1. อําเภอเมืองอ่างทอง
  2. อําเภอป่าโมก
  3. อําเภอวิเศษชัยชาญ (ยกเว้นตําบลม่วงเตี้ย และตําบลสาวร้องไห้)

อ่างทอง – เขตเลือกตั้งที่ 2

  1. อําเภอโพธิ์ทอง
  2. อําเภอไชโย
  3. อําเภอแสวงหา
  4. อําเภอสามโก้
  5. อําเภอวิเศษชัยชาญ (เฉพาะตําบลม่วงเตี้ย และตําบลสาวร้องไห้)

อุทัยธานี – 2 เขตเลือกตั้ง

อุทัยธานีมีราษฎร 323,385 คน เลือก สส. แบบแบ่งเขตได้ 2 คน

อุทัยธานี – เขตเลือกตั้งที่ 1

  1. อําเภอเมืองอุทัยธานี
  2. อําเภอหนองขาหย่าง
  3. อําเภอทัพทัน
  4. อําเภอสว่างอารมณ์
  5. อําเภอหนองฉาง (ยกเว้นตําบลเขาบางแกรก ตําบลทุ่งโพ และตําบลเขากวางทอง)

อุทัยธานี – เขตเลือกตั้งที่ 2

  1. อําเภอลานสัก
  2. อําเภอห้วยคต
  3. อําเภอบ้านไร่
  4. อําเภอหนองฉาง (เฉพาะตําบลเขาบางแกรก ตําบลทุ่งโพ และตําบลเขากวางทอง)

ข้อสังเกตเกี่ยวกับการกำหนดเขตเลือกตั้ง 2566

  • จำนวนราษฎรสัญชาติไทยทั่วราชอาณาจักร 65,106,481 คน เมื่อวันที่ 31 ธันวาคม 2565
  • กกต. ได้กำหนดเขตเลือกตั้งโดยใช้ฐานเฉลี่ยจำนวนราษฎร 162,766 คน ต่อ สส. แบบแบ่งเขตหนึ่งคน
  • เขตเลือกตั้ง 400 เขต สามารถแบ่งจำนวนตามภาคได้ดังนี้
    • ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 20 จังหวัด มี 133 เขตเลือกตั้ง (สส. แบบแบ่งเขต 133 คน)
    • ภาคกลาง 22 จังหวัด (รวมกรุงเทพมหานคร) มี 122 เขตเลือกตั้ง (สส. แบบแบ่งเขต 122 คน)
    • ภาคใต้ 14 จังหวัด มี 60 เขตเลือกตั้ง (สส. แบบแบ่งเขต 60 คน)
    • ภาคเหนือ 9 จังหวัด มี 37 เขตเลือกตั้ง (สส. แบบแบ่งเขต 37 คน)
    • ภาคตะวันออก 7 จังหวัด มี 29 เขตเลือกตั้ง (สส. แบบแบ่งเขต 29 คน)
    • ภาคตะวันตก 5 จังหวัด มี 19 เขตเลือกตั้ง (สส. แบบแบ่งเขต 19 คน)
  • กรุงเทพมหานครมีราษฎร 5,394,910 คน จึงได้รับการจัดสรรเขตเลือกมากที่สุด คือ 33 เขตเลือกตั้ง ทำให้มี สส. แบบแบ่งเขตได้ถึง 33 คนในจังหวัดเดียว
  • ตราด ระนอง สมุทรสาคร และสิงห์บุรี เป็น 4 จังหวัดที่มีเขตเลือกเพียงจังหวัดละ 1 เขต ทำให้ทั้ง 4 จังหวัดนี้มี สส. แบบแบ่งเขตได้จังหวัดละ 1 คน
  • จังหวัดที่มีราษฎรเกิน 1 ล้านคน มีจำนวน 21 จังหวัด
  • จังหวัดที่สามารถมี สส. แบบแบ่งเขตได้ 10 คนขึ้นไป มีจำนวน 9 จังหวัด ได้แก่
    1. กรุงเทพมหานคร ได้ 33 คน
    2. นครราชสีมา ได้ 16 คน
    3. ขอนแก่น ได้ 11 คน
    4. อุบลราชธานี ได้ 11 คน
    5. ชลบุรี ได้ 10 คน
    6. เชียงใหม่ ได้ 10 คน
    7. นครศรีธรรมราช ได้ 10 คน
    8. บุรีรัมย์ ได้ 10 คน
    9. อุดรธานี ได้ 10 คน

ไม่สะดวกไปเลือกตั้งวันอาทิตย์ที่ 14 พ.ค. 2566 สามารถใช้สิทธิลงทะเบียนเลือกตั้งล่วงหน้านอกเขตในวันอาทิตย์ที่ 7 พ.ค. 2566 แทนได้

กกต. เปิดโอกาสให้ประชาชนผู้มีสิทธิเลือกตั้งสามารถใช้สิทธิ ลงทะเบียน เลือกตั้งล่วงหน้า 2566 นอกเขตเลือกตั้ง และ นอกราชอาณาจักร ได้ตั้งแต่ 25 มีนาคม – 9 เมษายน 2566 เพื่อให้สามารถไปลงคะแนนเลือกตั้งล่วงหน้าได้จริงในวันอาทิตย์ที่ 7 พฤษภาคม 2566

ทั้งนี้ ประชาชนสามารถ ลงทะเบียน เลือกตั้งล่วงหน้า 2566 ได้ผ่านช่องทางออนไลน์ของกรมการปกครอง BORA PORTAL เป็นทางเลือกได้อีกหนึ่งช่องทาง โดยมีรายละเอียดขั้นตอนดังต่อไปนี้

ช่วงเวลาลงทะเบียน เลือกตั้งล่วงหน้า 2566

  • ตั้งแต่ 25 มีนาคม – 9 เมษายน 2566

ช่องทางลงทะเบียนเลือกตั้งล่วงหน้า

  1. ยื่นคำขอต่อนายทะเบียนท้องถิ่นด้วยตัวเองหรือผู้แทน
  2. ยื่นคำขอต่อนายทะเบียนท้องถิ่นทางไปรษณีย์
  3. ยื่นคำขอผ่านช่องทางออนไลน์

ขั้นตอนการลงทะเบียนเลือกตั้งล่วงหน้า 2566 นอกเขต ผ่านช่องทางออนไลน์ BORA PORTAL กรมการปกครอง

  1. ผ่านเว็บไซต์ BORA PORTAL กรมการปกครอง https://thportal.bora.dopa.go.th
  2. กดปุ่ม “LOGIN ด้วย ThaID” (กรณียังไม่เคยสมัครใช้บริการ ThaID บัตรประชาชนดิจิทัลของกรมการปกครอง สามารถดูขั้นตอนการสมัครท้ายบทความนี้)
  3. แสกน QR Code ด้วยแอป ThaID หรือ กดปุ่ม “เข้าสู่ระบบด้วย ThaID”
  4. เมื่อเข้าสู่ระบบแล้ว ให้เลือกเมนู “ระบบเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร (ส.ส.)”
  5. เลือก “ลงทะเบียนขอใช้สิทธิล่วงหน้านอกเขตเลือกตั้ง”
  6. ที่หน้าระบบลงทะเบียนใช้สิทธินอกเขต ให้เลือกจังหวัดที่ต้องการไปใช้สิทธิเลือกตั้งล่วงหน้านอกเขต
  7. เลือกสถานที่ที่ต้องการไปใช้สิทธิเลือกตั้งล่วงหน้านอกเขต
  8. กด “บันทึกข้อมูล”
  9. กด “ยืนยัน”
  10. ระบบจะแสดงผล “ลงทะเบียนสำเร็จ”

กรณีต้องการลงทะเบียนเลือกตั้งล่วงหน้า “นอกเขตราชอาณาจักร” สำหรับคนไทยที่อยู่ต่างประเทศ ผ่านช่องทางออนไลน์ BORA PORTAL กรมการปกครอง

  1. ผ่านเว็บไซต์ BORA PORTAL กรมการปกครอง https://thportal.bora.dopa.go.th
  2. กดปุ่ม “LOGIN ด้วย ThaID” (กรณียังไม่เคยสมัครใช้บริการ ThaID บัตรประชาชนดิจิทัลของกรมการปกครอง สามารถดูขั้นตอนการสมัครท้ายบทความนี้)
  3. แสกน QR Code ด้วยแอป ThaID หรือ กดปุ่ม “เข้าสู่ระบบด้วย ThaID”
  4. เมื่อเข้าสู่ระบบแล้ว ให้เลือกเมนู “ระบบเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร (ส.ส.)”
  5. เลือก “ลงทะเบียนขอใช้สิทธิล่วงหน้านอกราชอาณาจักร ทางอินเทอเน็ต”
  6. ตรวจสอบข้อมูลเลขหนังสือเดินทาง (Passport) แล้วกด “ตรวจสอบข้อมูล”
  7. เลือกประเทศที่ต้องการใช้สิทธิเลือกตั้ง
  8. เลือกสถานทูต/สถานกงสุลที่ต้องการใช้สิทธิเลือกตั้ง
  9. กรอกที่อยู่ปัจจุบันในต่างประเทศเป็นภาษาอังกฤษ
  10. กรอกที่อยู่สำหรับจัดส่งเอกสารทางไปรษณีย์ (สามารถระบุเป็นภาษาท้องถิ่นได้)
  11. กรอก email สำหรับส่งอีเมลตอบกลับ
  12. กด “บันทึกการลงทะเบียน”
  13. กด “ยืนยัน”
  14. ระบบจะแสดงผล “ลงทะเบียนสำเร็จ”

ลงทะเบียนเปิดใช้บริการ ThaID บัตรประชาชนดิจิทัล กรมการปกครอง

การลงทะเบียนเลือกตั้งนอกเขตผ่าน BORA PORTAL จำเป็นต้องสมัครใช้ ThaID ก่อนลงทะเบียนด้วย ซึ่งเป็นระบบ Digital ID ของกรมการปกครอง เพื่อสร้างระบบการพิสูจน์และยืนยันตัวตนทางดิจิทัลของประเทศรองรับการใช้งานบริการภาครัฐ โดยประชาชนทั่วไปสามารถลงทะเบียนเปิดใช้ ThaID บัตรประชาชนดิจิทัลได้ฟรีที่บ้านโดยไม่ต้องไปแจ้งเขต-อำเภอก็ได้

ขั้นตอนการ ลงทะเบียนบัตรประชาชนดิจิทัล ด้วยตนเอง (พิสูจน์และยืนยันตัวผ่านแอป ThaID)

  1. โหลดแอป ThaID
  2. เลือกหัวข้อลงทะเบียนด้วยตนเอง
  3. ยอมรับข้อตกลงและเงื่อนไขการใช้บริการเพื่อทำการลงทะเบียนสิ่งแทนเอกลักษณ์ดิจิทัล
  4. ถ่ายรูปหน้าบัตรประจำตัวประชาชน เมื่อเสร็จแล้วให้ตรวจสอบความชัดเจนและกดปุ่มยืนยันหรือถ่ายใหม่
  5. ถ่ายรูปหลังบัตรประจำตัวประชาชน เมื่อเสร็จแล้วให้ตรวจสอบความชัดเจนและกดปุ่มยืนยันหรือถ่ายใหม่
  6. ตรวจสอบข้อมูลบัตรประจำตัวประชาชน หากถูกต้องให้กดยืนยัน
  7. ถ่ายรูปภาพใบหน้าตนเอง
  8. ตั้งค่ารหัสผ่านเหมือนกัน 2 ครั้งโดยต้องไม่เรียงกัน และไม่ซ้ำกันเกิน 4 ตัว เช่น 1234, 1111
  9. ระบบแจ้งเตือนขอความยินยอมโดยระบุรหัสผ่านอีกครั้งเพื่อเข้าใช้งานแอปพลิเคชันครั้งแรก
  10. เมื่อลงทะเบียนเสร็จสิ้น หน้าจอจะแสดงรูปบัตรประจำตัวประชาชน

ขั้นตอนการ ลงทะเบียนบัตรประชาชนดิจิทัล ผ่านเจ้าหน้าที่

  1. โหลดแอป ThaID
  2. เลือกหัวข้อลงทะเบียนผ่านเจ้าหน้าที่
  3. นำบัตรประจำตัวประชาชนใบล่าสุด เพื่อให้เจ้าหน้าที่ผู้รับลงทะเบียนทำการตรวจสอบข้อมูลก่อนการลงทะเบียน ณ สำนักทะเบียน
  4. เปิดแอปพลิเคชัน ThaID พร้อมทั้งอนุญาตให้ใช้อุปกรณ์ของเครื่องโทรศัพท์มือถือ
  5. ยอมรับข้อตกลงและเงื่อนไขการใช้บริการเพื่อทำการลงทะเบียนสิ่งแทนเอกลักษณ์ดิจิทัล
  6. ระบุเลขประจำตัวประชาชน 13 หลัก ให้ถูกต้อง
  7. แสกนลายพิมพ์นิ้วชี้กับเจ้าหน้าที่
  8. แสกน QR code บนหน้าจอของเจ้าหน้าที่ ด้วยแอพพลิเคชั่น ThaID
  9. ตั้งค่ารหัสผ่านเหมือนกัน 2 ครั้งโดยต้องไม่เรียงกัน และไม่ซ้ำกันเกิน 4 ตัว เช่น 1234, 1111
  10. ระบบแจ้งเตือนขอความยินยอมโดยระบุรหัสผ่านอีกครั้งเพื่อเข้าใช้งานแอปพลิเคชันครั้งแรก
  11. เมื่อลงทะเบียนเสร็จสิ้น หน้าจอจะแสดงรูปบัตรประจำตัวประชาชน

หมายเหตุ: กรณีลืมรหัสผ่าน สามารถรีเซ็ตรหัสผ่านได้ โดยการถ่ายรูปภาพใบหน้าตนเองเพื่อขอสร้างรหัสผ่านใหม่

app icon
iTAX คำนวณและวางแผนภาษี
star star star star star
(100K+)