สายด่วน1668 ติดต่อกรมการแพทย์ ประสานงานผู้ติดเชื้อโควิด

ทั่วไป

กรมการแพทย์เปิด สายด่วน1668 รับประสานงานผู้ติดเชื้อโควิด-19 เพื่อช่วยผู้ติดเชื้อโควิด-19 เข้ารับการรักษาในโรงพยาบาล สถานพยาบาล หรือสถานพยาบาลที่ได้มาตรฐานอย่างทันท่วงที ใน 4 ขั้นตอน โดยแบ่งจิตอาสาจากบุคลากรทางการแพทย์เป็น 4 ทีม รับประสานงานให้ประชาชน

บริจาคเงินให้โรงพยาบาล ต้านโควิด 19 (COVID-19) ลดหย่อนภาษีได้

สายด่วน1668 ทำ 4 หน้าที่สำคัญ

  1. ให้คำแนะนำผู้ติดเชื้อโควิด 19 ในการปฏิบัติตัวระหว่างรอรับการดูแลรักษาในโรงพยาบาล
  2. ช่วยเหลือผู้ติดเชื้อให้ได้รับการประสานส่งต่อเข้ารับการดูแลรักษาในโรงพยาบาลให้เร็วที่สุด
  3. ติดตามประเมินการเปลี่ยนแปลงของอาการเป็นระยะ ระหว่างรอการรักษาในโรงพยาบาล
  4. แจ้งกระบวนการจัดการสถานการณ์ของภาครัฐและเอกชน และสิทธิ์ของผู้ติดเชื้อโควิด 19

สายด่วน1668 แบ่งบุคลากรทางการแพทย์ 4 ทีม ดูแลผู้ติดเชื้อโควิด 19

สายด่วน1668 กรมการแพทย์ใช้จิตอาสาจากบุคลากรทางการแพทย์รับประสานงานให้ประชาชนโดยแบ่งเป็น 4 ทีม ได้แก่

1. ทีมรับสาย Hotline ‘สายด่วน1668’

ทีมรับสาย Hotline สายด่วน1668 จากผู้ป่วยโควิด 19 สอบถามข้อมูลรายละเอียดของผู้ป่วยและเบอร์โทรศัพท์ และให้คำปรึกษาในการปฏิบัติตัวเบื้องต้นในการดูแลตัวเองและป้องกันการแพร่กระจายของโรคสู่คนใกล้ตัว

2. ทีมข้อมูล

ทีมข้อมูล มีหน้าที่ในการรวบรวมข้อมูลจากทีมงานสายด่วนและทีมประสานงาน วิเคราะห์ข้อมูล จัดทำฐานข้อมูล สรุปข้อมูลรายวัน

3. ทีมแพทย์

ทีมแพทย์ ทำหน้าที่ประเมินอาการระดับความรุนแรงของผู้ป่วย โดยจะแบ่งระดับความรุนแรงเป็น 3 ระดับ ตามความรุนแรงของโรค เพื่อดำเนินการดูแลผู้ป่วยโควิด-19 ตามความเหมาะสม

4. ทีมตอบสนองและประสานงาน

ทีมตอบสนองและประสานงาน ทำหน้าที่ประสานขอเตียงจากโรงพยาบาลเป้าหมาย (ผ่านศูนย์ส่งต่อโรงพยาบาลราชวิถี กรณีเป็นผู้ติดเชื้อในความรับผิดชอบของกรมการแพทย์ และประสานผ่านศูนย์เอราวัณ กรุงเทพมหานคร กรณีเป็นผู้ติดเชื้อในความรับผิดชอบของโรงพยาบาลนอกสังกัดกรมการแพทย์) รวมทั้งโทรติดตามอาการของผู้ป่วย ซึ่งแต่ละสายใช้เวลาในการพูดคุยกับผู้ป่วยประมาณ 20 – 40 นาที

ทั้งนี้ กรมการแพทย์ยืนยันว่าผู้ป่วยโควิด-19 ที่เข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลเอกชนที่สายด่วน1668 ส่งตัวไปนั้นไม่ต้องเสียค่าใช้จ่าย

app icon
iTAX คำนวณและวางแผนภาษี
star star star star star
(100K+)