การอุดหนุนเงินภาษีให้พรรคการเมือง (เดิมเรียกว่า การบริจาคภาษีที่ชำระให้พรรคการเมือง) เป็นสิทธิที่ผู้เสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาเลือกได้ว่าอยากให้เงินภาษีของตัวเองไปสนับสนุนพรรคการเมืองใดหรือไม่ก็ได้ ซึ่งการใช้สิทธินี้ก็ไม่ได้ทำให้ผู้เสียภาษีได้รับเงินคืนภาษีน้อยลงแต่อย่างใดด้วย เพราะเป็นการตัดเงินภาษีส่วนนึงแทนที่จะเอาเข้าคลังแผ่นดินก็เอาไปให้พรรคการเมืองตามความต้องการของเรานั่นเอง
เรามาดูกันว่าสถิติย้อนหลังจาก กกต. ตั้งแต่ปีภาษี 2551-2559 มีพรรคไหนได้รับการอุดหนุนเงินภาษีเยอะที่สุด เทียบกันแบบปีต่อปีกันไปเลย
ปีภาษี 2551 (ยื่นภาษีช่วงต้นปี 2552)
เงินภาษีอุดหนุนพรรคการเมืองปีภาษี 2551 | ||||
อันดับ | พรรคการเมือง | จำนวนผู้อุดหนุน | ได้รับเงินอุดหนุน | คิดเป็นสัดส่วน |
1 | พรรคประชาธิปัตย์ | 59,768 คน | ฿5,976,800 | 86.06% |
2 | พรรคเพื่อไทย | 7,941 คน | ฿794,100 | 11.43% |
3 | พรรคชาติไทยพัฒนา | 263 คน | ฿26,300 | 0.38% |
4 | พรรคเพื่อฟ้าดิน | 212 คน | ฿21,200 | 0.31% |
5 | พรรคประชากรไทย | 204 คน | ฿20,400 | 0.29% |
6 – 35 | อื่นๆ | 1,063 คน | ฿106,300 | 1.53% |
รวม | 69,451 คน | ฿6,945,100 | 100% |
หมายเหตุ:
- ปีภาษี 2551 มี 35 พรรคที่ได้รับเงินภาษีอุดหนุน โดยมีจำนวนผู้อุดหนุนทั้งหมด 69,451 คน รวมเป็นเงิน ฿6,945,100
- การยื่นภาษีประจำปีภาษี 2551 เกิดขึ้นหลังจากพรรคประชาธิปัตย์ได้เป็นรัฐบาลเมื่อวันที่ 20 ธันวาคม 2551 ต่อจากพรรคพลังประชาชนซึ่งเป็นแกนนำรัฐบาลเดิมแต่ถูกยุบพรรคไปเมื่อวันที่ 2 ธันวาคม 2551
ปีภาษี 2552 (ยื่นภาษีช่วงต้นปี 2553)
เงินภาษีอุดหนุนพรรคการเมืองปีภาษี 2552 (ยื่นภาษีช่วงต้นปี 2553) | ||||
อันดับ | พรรคการเมือง | จำนวนผู้อุดหนุน | ได้รับเงินอุดหนุน | คิดเป็นสัดส่วน |
1 | พรรคประชาธิปัตย์ | 81,330 คน | ฿8,133,000 | 55.45% |
2 | พรรคการเมืองใหม่ | 39,835 คน | ฿3,983,500 | 27.16% |
3 | พรรคเพื่อไทย | 23,057 คน | ฿2,305,700 | 15.72% |
4 | พรรคชาติไทยพัฒนา | 433 คน | ฿43,300 | 0.30% |
5 | พรรคภูมิใจไทย | 303 คน | ฿30,300 | 0.21% |
6 – 36 | อื่นๆ | 1,710 คน | ฿117,100 | 1.17% |
รวม | 146,668 คน | ฿14,666,800 | 100% |
หมายเหตุ:
- ปีภาษี 2552 มี 36 พรรคที่ได้รับเงินภาษีอุดหนุน โดยมีจำนวนผู้อุดหนุนทั้งหมด 146,668 คน รวมเป็นเงิน ฿14,666,800 ซึ่งเพิ่มขึ้นจากปีภาษี 2551 เป็นเงิน ฿7,721,700 (+111.18%)
- การยื่นภาษีประจำปีภาษี 2552 เกิดขึ้นหลังจากกลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย (พธม.) จัดตั้ง ‘พรรคการเมืองใหม่’ เมื่อวันที่ 4 มิถุนายน 2552 (ภายหลัง ‘พรรคการเมืองใหม่’ เปลี่ยนชื่อเป็น ‘พรรคสังคมประชาธิปไตย’ เมื่อวันที่ 4 กรกฎาคม 2556)
ปีภาษี 2553 (ยื่นภาษีช่วงต้นปี 2554)
เงินภาษีอุดหนุนพรรคการเมืองปีภาษี 2553 (ยื่นภาษีช่วงต้นปี 2554) | ||||
อันดับ | พรรคการเมือง | จำนวนผู้อุดหนุน | ได้รับเงินอุดหนุน | คิดเป็นสัดส่วน |
1 | พรรคประชาธิปัตย์ | 81,819 คน | ฿8,181,900 | 63.30% |
2 | พรรคเพื่อไทย | 22,440 คน | ฿2,244,000 | 17.36% |
3 | พรรคการเมืองใหม่ | 20,495 คน | ฿2,049,500 | 15.86% |
4 | พรรคชาติไทยพัฒนา | 865 คน | ฿86,500 | 0.67% |
5 | พรรคภูมิใจไทย | 590 คน | ฿59,000 | 0.46% |
6 – 44 | อื่นๆ | 3,053 คน | ฿305,300 | 2.36% |
รวม | 129,262 คน | ฿12,926,200 | 100% |
หมายเหตุ:
- ปีภาษี 2553 มี 44 พรรคที่ได้รับเงินภาษีอุดหนุน โดยมีจำนวนผู้อุดหนุนทั้งหมด 129,262 คน รวมเป็นเงิน ฿12,926,200 ซึ่งลดลงจากปีภาษี 2552 เป็นเงิน ฿1,740,600 (-11.87%)
- ภายหลัง ‘พรรคการเมืองใหม่’ เปลี่ยนชื่อเป็น ‘พรรคสังคมประชาธิปไตย’ เมื่อวันที่ 4 กรกฎาคม 2556
ปีภาษี 2554 (ยื่นภาษีช่วงต้นปี 2555)
เงินภาษีอุดหนุนพรรคการเมืองปีภาษี 2554 (ยื่นภาษีช่วงต้นปี 2555) | ||||
อันดับ | พรรคการเมือง | จำนวนผู้อุดหนุน | ได้รับเงินอุดหนุน | คิดเป็นสัดส่วน |
1 | พรรคประชาธิปัตย์ | 96,616 คน | ฿9,661,600 | 69.50% |
2 | พรรคเพื่อไทย | 30,707 คน | ฿3,070,700 | 22.09% |
3 | พรรคเพื่อฟ้าดิน | 2,328 คน | ฿232,800 | 1.67% |
4 | พรรคการเมืองใหม่ | 2,119 คน | ฿211,900 | 1.52% |
5 | พรรครักประเทศไทย | 1,992 คน | ฿199,200 | 1.43% |
6 – 45 | อื่นๆ | 5,245 คน | ฿524,500 | 3.77% |
รวม | 139,007 คน | ฿13,900,700 | 100% |
หมายเหตุ:
- ปีภาษี 2554 มี 45 พรรคที่ได้รับเงินภาษีอุดหนุน โดยมีจำนวนผู้อุดหนุนทั้งหมด 139,007 คน รวมเป็นเงิน ฿13,900,700 ซึ่งเพิ่มขึ้นจากปีภาษี 2553 เป็นเงิน ฿974,500 (+7.54%)
- การยื่นภาษีประจำปีภาษี 2554 เกิดขึ้นหลังจากมีการเลือกตั้งในปี 2554 เมื่อวันที่ 3 กรกฎาคม 2554 โดยมีพรรคเพื่อไทยเป็นแกนนำจัดตั้งรัฐบาล
ปีภาษี 2555 (ยื่นภาษีช่วงต้นปี 2556)
เงินภาษีอุดหนุนพรรคการเมืองปีภาษี 2555 (ยื่นภาษีช่วงต้นปี 2556) | ||||
อันดับ | พรรคการเมือง | จำนวนผู้อุดหนุน | ได้รับเงินอุดหนุน | คิดเป็นสัดส่วน |
1 | พรรคประชาธิปัตย์ | 108,594 คน | ฿10,859,400 | 72.54% |
2 | พรรคเพื่อไทย | 30,407 คน | ฿3,040,700 | 20.31% |
3 | พรรคครูไทยเพื่อประชาชน | 2,257 คน | ฿225,700 | 1.51% |
4 | พรรคเพื่อฟ้าดิน | 1,961 คน | ฿178,100 | 1.31% |
5 | พรรครักประเทศไทย | 1,781 คน | ฿178,100 | 1.19 |
6 – 46 | อื่นๆ | 4,700 คน | ฿470,000 | 3.14% |
รวม | 149,700คน | ฿14,970,000 | 100% |
หมายเหตุ:
- ปีภาษี 2555 มี 46 พรรคที่ได้รับเงินภาษีอุดหนุน โดยมีจำนวนผู้อุดหนุนทั้งหมด 149,700 คน รวมเป็นเงิน ฿14,970,000 ซึ่งเพิ่มขึ้นจากปีภาษี 2554 เป็นเงิน ฿1,069,300 (+7.69%)
ปีภาษี 2556 (ยื่นภาษีช่วงต้นปี 2557)
เงินภาษีอุดหนุนพรรคการเมืองปีภาษี 2556 (ยื่นภาษีช่วงต้นปี 2557) | ||||
อันดับ | พรรคการเมือง | จำนวนผู้อุดหนุน | ได้รับเงินอุดหนุน | คิดเป็นสัดส่วน |
1 | พรรคประชาธิปัตย์ | 144,574 คน | ฿14,457,400 | 78.89% |
2 | พรรคเพื่อไทย | 26,069 คน | ฿2,606,900 | 14.22% |
3 | พรรคครูไทยเพื่อประชาชน | 3,277 คน | ฿327,700 | 1.79% |
4 | พรรคเพื่อฟ้าดิน | 2,081 คน | ฿208,100 | 1.14% |
5 | พรรคทวงคืนผืนป่าประเทศไทย | 1,355 คน | ฿135,500 | 0.74% |
6 – 64 | อื่นๆ | 5,914 คน | ฿591,400 | 3.23% |
รวม | 183,270 คน | ฿18,327,000 | 100% |
หมายเหตุ:
- ปีภาษี 2556 มี 64 พรรคที่ได้รับเงินภาษีอุดหนุน โดยมีจำนวนผู้อุดหนุนทั้งหมด 183,270 คน รวมเป็นเงิน ฿18,327,000 ซึ่งเพิ่มขึ้นจากปีภาษี 2555 เป็นเงิน ฿3,357,000 (+22.42%)
- การยื่นภาษีประจำปีภาษี 2556 เกิดขึ้นหลังจาก 153 ส.ส. ของพรรคประชาธิปัตย์ลาออกจากการเป็นส.ส. เมื่อวันที่ 8 ธันวาคม 2556 และพรรคเพื่อไทยประกาศการยุบสภาเมื่อวันที่ 9 ธันวาคม 2556
ปีภาษี 2557 (ยื่นภาษีช่วงต้นปี 2558)
เงินภาษีอุดหนุนพรรคการเมืองปีภาษี 2557 (ยื่นภาษีช่วงต้นปี 2558) | ||||
อันดับ | พรรคการเมือง | จำนวนผู้อุดหนุน | ได้รับเงินอุดหนุน | คิดเป็นสัดส่วน |
1 | พรรคประชาธิปัตย์ | 91,095 คน | ฿9,109,500 | 79.99% |
2 | พรรคเพื่อไทย | 13,836 คน | ฿1,383,600 | 12.15% |
3 | พรรคเพื่อฟ้าดิน | 1,569 คน | ฿156,900 | 1.38% |
4 | พรรคครูไทยเพื่อประชาชน | 1,563 คน | ฿156,300 | 1.37% |
5 | พรรครักประเทศไทย | 651 คน | ฿65,100 | 0.57% |
6 – 73 | อื่นๆ | 5,163 คน | ฿516,300 | 4.53% |
รวม | 113,877 คน | ฿11,387,700 | 100% |
หมายเหตุ:
- ปีภาษี 2557 มี 73 พรรคที่ได้รับเงินภาษีอุดหนุน โดยมีจำนวนผู้อุดหนุนทั้งหมด 113,877 คน รวมเป็นเงิน ฿11,387,700 ซึ่งลดลงจากปีภาษี 2556 เป็นเงิน ฿6,939,300 (-37.86%)
- การยื่นภาษีประจำปีภาษี 2557 เกิดขึ้นหลังจากมีการเลือกตั้งเมื่อวันที่ 2 กุมภาพันธ์ 2557 แต่ศาลรัฐธรรมนูญมีคำวินิจฉัยให้การเลือกตั้งเป็นโมฆะเมื่อวันที่ 21 มีนาคม 2557 และมีการรัฐประหารโดยคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) เมื่อวันที่ 22 พฤษภาคม 2557
ปีภาษี 2558 (ยื่นภาษีช่วงต้นปี 2559)
เงินภาษีอุดหนุนพรรคการเมืองปีภาษี 2558 (ยื่นภาษีช่วงต้นปี 2559) | ||||
อันดับ | พรรคการเมือง | จำนวนผู้อุดหนุน | ได้รับเงินอุดหนุน | คิดเป็นสัดส่วน |
1 | พรรคประชาธิปัตย์ | 71,211 คน | ฿7,121,100 | 78.07% |
2 | พรรคเพื่อไทย | 12,609 คน | ฿1,260,900 | 13.82% |
3 | พรรคเพื่อฟ้าดิน | 1,511 คน | ฿151,100 | 1.66% |
4 | พรรคครูไทยเพื่อประชาชน | 804 คน | ฿80,400 | 0.88% |
5 | พรรคทวงคืนผืนป่าประเทศไทย | 514 คน | ฿51,400 | 0.56% |
6 – 70 | อื่นๆ | 4,567 คน | ฿456,700 | 5.01% |
รวม | 91,216 คน | ฿9,121,600 | 100% |
หมายเหตุ:
- ปีภาษี 2558 มี 70 พรรคที่ได้รับเงินภาษีอุดหนุน โดยมีจำนวนผู้อุดหนุนทั้งหมด 91,216 คน รวมเป็นเงิน ฿9,121,600 ซึ่งลดลงจากปีภาษี 2557 เป็นเงิน ฿2,266,100 (-19.90%)
- ตลอดทั้งปีภาษี 2558 ไม่มีพรรคการเมืองในสภาฯ เนื่องจากมีสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) ทำหน้าที่อยู่
ปีภาษี 2559 (ยื่นภาษีช่วงต้นปี 2560)
เงินภาษีอุดหนุนพรรคการเมืองปีภาษี 2559 (ยื่นภาษีช่วงต้นปี 2560) | ||||
อันดับ | พรรคการเมือง | จำนวนผู้อุดหนุน | ได้รับเงินอุดหนุน | คิดเป็นสัดส่วน |
1 | พรรคประชาธิปัตย์ | 57,818 คน | ฿5,781,800 | 76.02% |
2 | พรรคเพื่อไทย | 10,484 คน | ฿1,048,400 | 13.79% |
3 | พรรคเพื่อฟ้าดิน | 1,374 คน | ฿137,400 | 1.81% |
4 | พรรคเครือข่ายชาวนาแห่งประเทศไทย | 568 คน | ฿56,800 | 0.75% |
5 | พรรคครูไทยเพื่อประชาชน | 557 คน | ฿55,700 | 0.73% |
6 – 69 | อื่นๆ | 5,251 คน | ฿525,100 | 6.90% |
รวม | 76,052 คน | ฿7,605,200 | 100% |
หมายเหตุ:
- ปีภาษี 2559 มี 69 พรรคที่ได้รับเงินภาษีอุดหนุน โดยมีจำนวนผู้อุดหนุนทั้งหมด 76,052 คน รวมเป็นเงิน ฿7,605,200 ซึ่งลดลงจากปีภาษี 2558 เป็นเงิน ฿1,516,400 (-16.62%)
- ตลอดทั้งปีภาษี 2558 ไม่มีพรรคการเมืองในสภาฯ เนื่องจากมีสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) ทำหน้าที่อยู่
ข้อสังเกต
- ผู้เสียภาษีหลายคนตัดสินใจไม่อุดหนุนเงินภาษีให้พรรคการเมือง ทำให้สัดส่วนผู้อุดหนุนมีไม่ถึง 2% ของผู้มีหน้าที่เสียภาษีทั้งหมดกว่า 4 ล้านคน) ซึ่งสาเหตุหนึ่งที่ทำให้เพราะเข้าใจผิดว่าจะทำให้ตัวเองได้เงินคืนภาษีน้อยลงหรือเสียภาษีแพงขึ้น แต่ความจริงแล้วการอุดหนุนเงินภาษีให้พรรคการเมืองไม่ได้ทำให้คุณมีหน้าที่ต้องเสียภาษีมากขึ้น และไม่ทำให้คุณได้รับเงินคืนภาษีน้อยลงแต่อย่างใด ถ้าคุณมีรายได้อยู่ในเกณฑ์ต้องเสียภาษีอยู่แล้วและมีพรรคที่ชื่นชอบก็สามารถใช้สิทธิอุดหนุนเงินภาษีให้พรรคนั้นๆ ได้ และถ้าเคยยื่นภาษีไปโดยที่ไม่ได้ใช้สิทธิดังกล่าวก็ยังสามารถยื่นภาษีแก้ไขเพิ่มเติมย้อนหลังได้ภายในกำหนดยื่นภาษีอยู่
- ปีที่มีการอุดหนุนเงินภาษีให้พรรคการเมืองมากที่สุด คือ ปีภาษี 2556 ได้รับเงินอุดหนุน ฿18,327,000
- พรรคประชาธิปัตย์ เป็นพรรคการเมืองที่ได้รับการอุดหนุนเงินภาษีให้พรรคการเมืองมากที่สุด 9 ปีภาษีติดต่อกัน โดยปีที่พรรคประชาธิปัตย์ได้รับเงินอุดหนุนสูงสุด คือ ปีภาษี 2556 โดยมีผู้อุดหนุนรวม 144,574 คน เป็นเงินทั้งหมด ฿14,457,400
- อันดับและสัดส่วนการได้รับอุดหนุนเงินภาษีสูงสุดจากผู้เสียภาษีอาจไม่มีความสัมพันธ์โดยตรงกับจำนวนสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรในสภาฯ และไม่มีความสัมพันธ์โดยตรงกับการเป็นพรรคแกนนำรัฐบาลในช่วงนั้นๆ ด้วย
- ปีภาษี 2551-2559 ยังคงใช้อัตราเงินอุดหนุนคงที่คนละ ฿100 ในขณะที่ตั้งแต่ปีภาษี 2561 เป็นต้นไป ผู้เสียภาษีจะเลือกได้ว่าจะอุดหนุนพรรคการเมืองได้สูงสุดถึง ฿500 (5 เท่าจากของเดิม)