กรมสรรพากรมีระบบลงทะเบียนยื่นภาษีออนไลน์ e-Filing ให้ผู้เสียภาษีทั่วไปและเจ้าของธุรกิจไม่ต้องเดินทางไปที่สำนักงานสรรพากรพื้นที่แล้ว โดยใช้วิธีสมัครผ่านระบบออนไลน์ฟรีและส่งเอกสารทางอีเมลจากที่บ้านได้เลย ทำครั้งเดียวใช้งานได้ตลอดไป
3 ขั้นตอนการสมัคร E-Filing ผ่านระบบออนไลน์
ขั้นตอนที่ 1 เข้าเว็บเพื่อลงทะเบียน
กรมสรรพากรเปิดระบบลงทะเบียน e-Filing ให้ทั้งบุคคลธรรมดาและนิติบุคคล โดยในหน้านี้จะขอข้อมูลทั่วไป เช่น เลขประจำตัวผู้เสียภาษี (เลขบัตรประชาชนหรือเลขทะเบียนนิติบุคคล) ที่อยู่ เบอร์โทร และอีเมลที่จะใช้ลงทะเบียน
ในขั้นตอนนี้ อีเมลเป็นข้อมูลสำคัญที่สุด เพราะระบบลงทะเบียนยื่นภาษีออนไลน์ของกรมสรรพากรจะส่งรหัสผู้ใช้งานและรหัสผ่านให้ทางอีเมลที่ลงทะเบียนไว้เท่านั้น
เมื่อตอบจนครบทั้ง 4 ส่วน ระบบจะออกแบบฟอร์ม ภ.อ.01 เพื่อให้นำไปเซ็นชื่อและแสกนส่งพร้อมกับเอกสารแนบทางอีเมลต่อไป
ขั้นตอนที่ 2 แสกนเอกสารส่งทางอีเมล
ในขั้นตอนนี้ ผู้เสียภาษีไม่ต้องเดินทางไปที่สำนักงานสรรพากรพื้นที่เลย เพียงแค่เตรียมเอกสารที่จำเป็นต้องใช้ประกอบการสมัครแล้วแสกนส่งทางอีเมลให้สำนักงานสรรพากรพื้นที่ที่สถานประกอบการตั้งอยู่ภายใน 15 วัน โดยเอกสารที่ต้องส่งทางอีเมลมี 3 ชิ้น ดังนี้
1. แบบ ภ.อ.01 (ได้รับตอนลงทะเบียนออนไลน์) เซ็นสำเนาถูกต้องพร้อมตราประทับ (ถ้ามี)
2. ข้อตกลงการยื่นแบบฯ ออนไลน์ (ได้รับตอนลงทะเบียนออนไลน์) เซ็นสำเนาถูกต้องพร้อมตราประทับ (ถ้ามี)
3. หลักฐานยืนยันผู้ทำรายการ ได้แก่
3.1 บุคคลธรรมดา มี 1 ชิ้น คือ สำเนาบัตรประชาชนเซ็นสำเนาถูกต้อง แล้วส่งทางอีเมลที่ระบบของกรมสรรพากรแจ้งมา
3.2 นิติบุคคล มี 2 ชิ้น ได้แก่ 1) สำเนาบัตรประชาชนของผู้มีอำนาจทุกคนและเซ็นสำเนาถูกต้อง และ 2) สำเนาหนังสือรับรองนิติบุคคลจากกรมพัฒนาธุรกิจการค้า (DBD) ไม่เกิน 6 เดือนเซ็นสำเนาถูกต้องพร้อมตราประทับ (ถ้ามี) แล้วส่งทางอีเมลที่ระบบของกรมสรรพากรแจ้งมา
ขั้นตอนที่ 3 รอรับ username/password
หากเจ้าหน้าที่ตรวจสอบเอกสารที่ส่งทางอีเมลเรียบร้อยแล้ว ระบบจะส่งรหัสผู้ใช้งานและรหัสผ่านมาให้เพื่อเริ่มต้นใช้งานต่อไป โดยจะส่งทางอีเมลที่ลงทะเบียนไว้เท่านั้น
ทั้งนี้ หากต้องการชำระภาษีผ่านระบบออนไลน์ด้วย ต้องติดต่อธนาคารที่ใช้บริการอยู่เพื่อขอรับบริการส่วนนี้ต่อไป
RELATED POSTS
เป็นพระต้องเสียภาษีมั๊ย ศาสนาพุทธเป็นสิ่งที่อยู่คู่กับสังคมไทยมาช้านาน พระภิกษุในฐานะนักบวชของศาสนาพุทธจึงเป็นที่พึ่งให้พุทธศาสนิกชนในหลายๆ เรื่อง โดยเฉพาะทางด้านจิตใจ ซึ่งหลายๆ ครั้งก็มักจะจบลงด้วยการใส่ซองถวายเงินให้พระแล้วกราบ 3 ครั้ง วันนี้เราจะมาไขข้อข้องใจกันว่า ตามกฎหมายไทยเป็นพระต้องเสียภาษีมั้ย? 1. พระเป็นผู้เสียภาษีได้ไหม? ในมุมมองของปุถุชน เรามักจะมองว่าพระตัดแล้วซึ่งทางโลก แต่กฎหมายไม่ได้มองแบบนั้น กฎหมายยังคงมองว่าพระภิกษุยังคงเป็น บุคคลธรรมดา ตามกฎหมายอยู่ ดังนั้น ถ้าพระมีรายได้ พระก็จะพ่วงตำแหน่ง ผู้เสียภาษี ไปด้วย ในทางกลับกัน ถ้าพระไม่มีรายได้ พระก็ไม่มีหน้าที่เป็นผู้เสียภาษีแต่อย่างใด 2. พระจะมีรายได้ได้ไง? สำหรับพระซึ่งกฎหมายมองว่าเป็นบุคคลธรรมดา ก็ใช้หลักพื้นฐานง่ายๆ ว่าบุคคลธรรมดาคนนั้นมีรายได้ที่ต้องเสียภาษีไหม (หรือที่ศัพท์กฎหมายยากๆ เรียกว่า “เงินได้พึงประเมิน”) ซึ่งนักบวชที่เป็นพระภิกษุในศาสนาพุทธก็อาจจะมีรายได้ที่ต้องเสียภาษีได้ เช่น รายได้จากการสอนหนังสือ บรรยายธรรมให้องค์กรเอกชน ได้รับดอกเบี้ยเงินฝากธนาคาร เป็นต้น 3. แต่ไม่เคยเห็นพระรูปไหนเสียภาษีเลยนะ? ถ้าเงินที่พระได้รับเป็นเงินทำบุญที่ญาติโยมบริจาคเพื่อใช้ประโยชน์ในกิจการศาสนา แบบนี้จะเป็นเงินได้ที่ต้องได้รับยกเว้นภาษีอยู่แล้ว (มาตรา 42(29) ประมวลรัษฎากร) เมื่อเงินที่ได้ได้รับยกเว้นภาษี ก็แปลว่า พระไม่มีเงินได้ที่ต้องเสียภาษี เมื่อไม่มีเงินได้ก็เลยไม่ต้องเสียภาษีนั่นเอง สรุป ที่พระไม่ต้องเสียภาษีไม่ใช่เพราะพระมีสถานะเป็นพระ แต่เป็นเพราะเงินที่พระได้รับเป็นเงินที่ยกเว้นภาษีต่างหาก พระเลยไม่ต้องเสียภาษี ส่วนพระที่มีรายได้นอกเหนือจากเงินทำบุญ ท่านอาจจะมีหน้าที่ต้องเสียภาษีด้วยนะครับ ยังไงถ้าหลวงพี่ทำภาษีไม่เป็นจริงๆ นิมนต์หลวงพี่ใช้ www.itax.in.th ได้ฟรีนะครับ
วันเกิดกับภาษี วันเกิดเป็นปัจจัยสำคัญเกี่ยวกับการคำนวณภาษีและสิทธิประโยชน์ต่างๆ ที่อาจคาดไม่ถึง เพราะภาษีบางรายการมีความเกี่ยวข้องกับเกณฑ์อายุด้วย ดังนั้น วันเกิดของคุณจึงอาจส่งผลให้คุณได้สิทธิ์หรือเสียสิทธิ์ทางภาษีได้ในเวลาเดียวกัน
ถูกหวยต้องเสียภาษีรึเปล่า? เมื่อผลประกาศมาว่าเราถูกรางวัล! ไม่ว่าจะเป็นรางวัลที่ 1 หรือแม้แต่รางวัลเลขท้ายสองตัว เราจะมีสิทธินำสลากฯ ไปขึ้นรางวัล ซึ่งนั่นย่อมหมายความว่าเรารวยขึ้น และเป็นจุดเริ่มต้นของคำถามว่า เงินรางวัลที่ได้รับนั้นเป็นรายได้ที่ต้องเสียภาษีรึเปล่า?
4 ปัญหาสุดฮิตในฤดูภาษี แม้มนุษย์เงินเดือนและผู้มีรายได้หลายคนจะคุ้นเคยกับการที่จะต้อง ยื่นภาษีเงินได้ประจำปี ช่วง วันที่ 1 มกราคม - 31 มีนาคม ของทุกปี อยู่แล้ว แต่เราเชื่อว่าไม่ว่าคุณจะยื่นภาษีครั้งแรก หรือยื่่นภาษีมาแล้วหลายครั้ง ก็มักจะเจอปัญหาเหล่านี้อยู่บ่อยๆ และทีมงาน iTAX ได้ทำการรวบรวมปัญหาสุดฮิตที่พบบ่อยในช่วงยื่นภาษีมาให้แล้ว จะมีอะไรบ้าง ไปดูกัน 1. ภาษากฎหมาย ยาวไปไม่อ่าน เปลี่ยนแปลงบ่อยยิ่งกว่าอากาศ? "ภาษีเงินได้ที่ได้รับการยกเว้นจากการซื้ออสังหาริมทรัพย์" คืออะไร? จะเรียกง่ายๆ ว่า "สิทธิประโยชน์จากโครงการบ้านหลังแรก" ไม่ได้เหรอ? แล้วทุกวันนี้กฎหมายภาษีเปลี่ยนแปลงบ่อยมว๊ากก อยู่ดีๆ ภาษีข้อนี้ลดหย่อนข้อนั้นก็ผุดมา? ซึ่ง iTAX จะทำหน้าที่คอย Update กฎหมายแล้วจัดการแปลเป็นภาษาคนให้คุณทันที 2. ต้องกรอกแบบฟอร์มอะไรบ้าง? ต้นปีจะยื่น ภ.ง.ด. 90 หรือ 91? กลางปีต้องยื่น ภ.ง.ด. 94 ด้วยรึเปล่า? จะยื่นฟอร์มเสริมอะไรไปกับ ภ.ง.ด.บ้าง? ข้อมูลซ้ำๆ กัน อย่างเอาเลขนี้มารวมกับเลขนี้กรอกลงฟอร์มนี้ แล้วลบเลขนี้ค่อยมากรอกลงอีกฟอร์มนึง หรือแค่พิมพ์ชื่อใส่ไปทุกฟอร์มก็เมื่อยมือแล้ว ช่วยถามทีเดียวและกรอกลงมันทุกฟอร์มเลยได้มั๊ย? ได้สิ iTAX ทำให้หมดทุกอย่าง 3. ใช้สิทธิลดหย่อนเรื่องนี้ได้ป่าว จะโดนปรับทีหลังมั๊ย? ก็ไม่ได้อยากใช้สิทธิเกินจนต้องมาโดนปรับย้อนหลังหรอก แต่จะไปค้นจากไหนว่าลดหย่อนแต่ละรายการมีเงื่อนไขอะไรบ้าง? เอาแค่ ลดหย่อนเลี้ยงดูพ่อแม่ ก็มีเงื่อนไขตั้ง 3-4 ข้อแล้ว ต้องมานั่งค้นทุกรายการกันเลยไหมว่าเราเข้าข่ายลดหย่อนอะไรบ้างรึเปล่า? คงจะดีถ้ามีใครมาสรุปแล้วเช็คให้เลยว่าถูกเงื่อนไขทุกข้อไม่เกินและใช้สิทธิได้ครบจริงๆ ไม่ตกหล่น? ... แล้ว iTAX ก็จัดการให้คุณง่าย... ได้อีก 4. มีทางได้เงินคืนมากกว่านี้มั๊ย? คนนี้บอกรวยได้ภาษีไม่ยาก คนนั้นได้เงินคืนเยอะแยะ บางคนถึงขั้นลงทุนจ้างนักวางแผนภาษีส่วนตัว แต่เราไม่รู้จะไปหาที่ไหนเริ่มต้นยังไง? ลองใช้ iTAX ดู คุณจะได้แผนภาษีพร้อมแผนการเงินที่เหมาะกับสุขภาพการเงินและเป้าหมายทางการเงินของคุณ เหมือนมีที่ปรึกษามืออาชีพคอยบริการส่วนตัวให้ฟรีๆ ไม่ว่าในอดีตภาษีจะเป็นเรื่องที่ทำให้คุณปวดหัวมากแค่ไหน เราอยากให้คุณลืมความยุ่งยากน่าปวดหัวเหล่านั้นไปซะ เพราะ iTAX คือโปรแกรมที่จะช่วยให้คุณจัดการคำนวณภาษี วางแผนภาษี และหาตัวช่วยลดหย่อนภาษีได้ง่ายๆ แบบคนไม่รู้ภาษีก็ทำได้ อยากรู้ว่าเราพูดเรื่องจริงมั้ย? คลิกเลย www.itax.in.th
นักกีฬาเอเชียนเกมส์ได้เงินอัดฉีด เสียภาษียังไง? หากนักกีฬาได้รับเงินให้เปล่าจากบริษัทห้างร้าน (เงินอัดฉีด) โดยผู้ให้ไม่ได้หวังสิ่งใดตอบแทน แต่ถ้าจำนวนเงินที่ได้รับนั้นไม่เกิน 10 ล้านบาท นักกีฬาจะได้รับยกเว้น ไม่ต้องนำเงินอัดฉีดส่วนนี้มาเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา (มาตรา 42(28) ประมวลรัษฎากร)
RELATED POSTS
เป็นพระต้องเสียภาษีมั๊ย ศาสนาพุทธเป็นสิ่งที่อยู่คู่กับสังคมไทยมาช้านาน พระภิกษุในฐานะนักบวชของศาสนาพุทธจึงเป็นที่พึ่งให้พุทธศาสนิกชนในหลายๆ เรื่อง โดยเฉพาะทางด้านจิตใจ ซึ่งหลายๆ ครั้งก็มักจะจบลงด้วยการใส่ซองถวายเงินให้พระแล้วกราบ 3 ครั้ง วันนี้เราจะมาไขข้อข้องใจกันว่า ตามกฎหมายไทยเป็นพระต้องเสียภาษีมั้ย? 1. พระเป็นผู้เสียภาษีได้ไหม? ในมุมมองของปุถุชน เรามักจะมองว่าพระตัดแล้วซึ่งทางโลก แต่กฎหมายไม่ได้มองแบบนั้น กฎหมายยังคงมองว่าพระภิกษุยังคงเป็น บุคคลธรรมดา ตามกฎหมายอยู่ ดังนั้น ถ้าพระมีรายได้ พระก็จะพ่วงตำแหน่ง ผู้เสียภาษี ไปด้วย ในทางกลับกัน ถ้าพระไม่มีรายได้ พระก็ไม่มีหน้าที่เป็นผู้เสียภาษีแต่อย่างใด 2. พระจะมีรายได้ได้ไง? สำหรับพระซึ่งกฎหมายมองว่าเป็นบุคคลธรรมดา ก็ใช้หลักพื้นฐานง่ายๆ ว่าบุคคลธรรมดาคนนั้นมีรายได้ที่ต้องเสียภาษีไหม (หรือที่ศัพท์กฎหมายยากๆ เรียกว่า “เงินได้พึงประเมิน”) ซึ่งนักบวชที่เป็นพระภิกษุในศาสนาพุทธก็อาจจะมีรายได้ที่ต้องเสียภาษีได้ เช่น รายได้จากการสอนหนังสือ บรรยายธรรมให้องค์กรเอกชน ได้รับดอกเบี้ยเงินฝากธนาคาร เป็นต้น 3. แต่ไม่เคยเห็นพระรูปไหนเสียภาษีเลยนะ? ถ้าเงินที่พระได้รับเป็นเงินทำบุญที่ญาติโยมบริจาคเพื่อใช้ประโยชน์ในกิจการศาสนา แบบนี้จะเป็นเงินได้ที่ต้องได้รับยกเว้นภาษีอยู่แล้ว (มาตรา 42(29) ประมวลรัษฎากร) เมื่อเงินที่ได้ได้รับยกเว้นภาษี ก็แปลว่า พระไม่มีเงินได้ที่ต้องเสียภาษี เมื่อไม่มีเงินได้ก็เลยไม่ต้องเสียภาษีนั่นเอง สรุป ที่พระไม่ต้องเสียภาษีไม่ใช่เพราะพระมีสถานะเป็นพระ แต่เป็นเพราะเงินที่พระได้รับเป็นเงินที่ยกเว้นภาษีต่างหาก พระเลยไม่ต้องเสียภาษี ส่วนพระที่มีรายได้นอกเหนือจากเงินทำบุญ ท่านอาจจะมีหน้าที่ต้องเสียภาษีด้วยนะครับ ยังไงถ้าหลวงพี่ทำภาษีไม่เป็นจริงๆ นิมนต์หลวงพี่ใช้ www.itax.in.th ได้ฟรีนะครับ
วันเกิดกับภาษี วันเกิดเป็นปัจจัยสำคัญเกี่ยวกับการคำนวณภาษีและสิทธิประโยชน์ต่างๆ ที่อาจคาดไม่ถึง เพราะภาษีบางรายการมีความเกี่ยวข้องกับเกณฑ์อายุด้วย ดังนั้น วันเกิดของคุณจึงอาจส่งผลให้คุณได้สิทธิ์หรือเสียสิทธิ์ทางภาษีได้ในเวลาเดียวกัน
ถูกหวยต้องเสียภาษีรึเปล่า? เมื่อผลประกาศมาว่าเราถูกรางวัล! ไม่ว่าจะเป็นรางวัลที่ 1 หรือแม้แต่รางวัลเลขท้ายสองตัว เราจะมีสิทธินำสลากฯ ไปขึ้นรางวัล ซึ่งนั่นย่อมหมายความว่าเรารวยขึ้น และเป็นจุดเริ่มต้นของคำถามว่า เงินรางวัลที่ได้รับนั้นเป็นรายได้ที่ต้องเสียภาษีรึเปล่า?
4 ปัญหาสุดฮิตในฤดูภาษี แม้มนุษย์เงินเดือนและผู้มีรายได้หลายคนจะคุ้นเคยกับการที่จะต้อง ยื่นภาษีเงินได้ประจำปี ช่วง วันที่ 1 มกราคม - 31 มีนาคม ของทุกปี อยู่แล้ว แต่เราเชื่อว่าไม่ว่าคุณจะยื่นภาษีครั้งแรก หรือยื่่นภาษีมาแล้วหลายครั้ง ก็มักจะเจอปัญหาเหล่านี้อยู่บ่อยๆ และทีมงาน iTAX ได้ทำการรวบรวมปัญหาสุดฮิตที่พบบ่อยในช่วงยื่นภาษีมาให้แล้ว จะมีอะไรบ้าง ไปดูกัน 1. ภาษากฎหมาย ยาวไปไม่อ่าน เปลี่ยนแปลงบ่อยยิ่งกว่าอากาศ? "ภาษีเงินได้ที่ได้รับการยกเว้นจากการซื้ออสังหาริมทรัพย์" คืออะไร? จะเรียกง่ายๆ ว่า "สิทธิประโยชน์จากโครงการบ้านหลังแรก" ไม่ได้เหรอ? แล้วทุกวันนี้กฎหมายภาษีเปลี่ยนแปลงบ่อยมว๊ากก อยู่ดีๆ ภาษีข้อนี้ลดหย่อนข้อนั้นก็ผุดมา? ซึ่ง iTAX จะทำหน้าที่คอย Update กฎหมายแล้วจัดการแปลเป็นภาษาคนให้คุณทันที 2. ต้องกรอกแบบฟอร์มอะไรบ้าง? ต้นปีจะยื่น ภ.ง.ด. 90 หรือ 91? กลางปีต้องยื่น ภ.ง.ด. 94 ด้วยรึเปล่า? จะยื่นฟอร์มเสริมอะไรไปกับ ภ.ง.ด.บ้าง? ข้อมูลซ้ำๆ กัน อย่างเอาเลขนี้มารวมกับเลขนี้กรอกลงฟอร์มนี้ แล้วลบเลขนี้ค่อยมากรอกลงอีกฟอร์มนึง หรือแค่พิมพ์ชื่อใส่ไปทุกฟอร์มก็เมื่อยมือแล้ว ช่วยถามทีเดียวและกรอกลงมันทุกฟอร์มเลยได้มั๊ย? ได้สิ iTAX ทำให้หมดทุกอย่าง 3. ใช้สิทธิลดหย่อนเรื่องนี้ได้ป่าว จะโดนปรับทีหลังมั๊ย? ก็ไม่ได้อยากใช้สิทธิเกินจนต้องมาโดนปรับย้อนหลังหรอก แต่จะไปค้นจากไหนว่าลดหย่อนแต่ละรายการมีเงื่อนไขอะไรบ้าง? เอาแค่ ลดหย่อนเลี้ยงดูพ่อแม่ ก็มีเงื่อนไขตั้ง 3-4 ข้อแล้ว ต้องมานั่งค้นทุกรายการกันเลยไหมว่าเราเข้าข่ายลดหย่อนอะไรบ้างรึเปล่า? คงจะดีถ้ามีใครมาสรุปแล้วเช็คให้เลยว่าถูกเงื่อนไขทุกข้อไม่เกินและใช้สิทธิได้ครบจริงๆ ไม่ตกหล่น? ... แล้ว iTAX ก็จัดการให้คุณง่าย... ได้อีก 4. มีทางได้เงินคืนมากกว่านี้มั๊ย? คนนี้บอกรวยได้ภาษีไม่ยาก คนนั้นได้เงินคืนเยอะแยะ บางคนถึงขั้นลงทุนจ้างนักวางแผนภาษีส่วนตัว แต่เราไม่รู้จะไปหาที่ไหนเริ่มต้นยังไง? ลองใช้ iTAX ดู คุณจะได้แผนภาษีพร้อมแผนการเงินที่เหมาะกับสุขภาพการเงินและเป้าหมายทางการเงินของคุณ เหมือนมีที่ปรึกษามืออาชีพคอยบริการส่วนตัวให้ฟรีๆ ไม่ว่าในอดีตภาษีจะเป็นเรื่องที่ทำให้คุณปวดหัวมากแค่ไหน เราอยากให้คุณลืมความยุ่งยากน่าปวดหัวเหล่านั้นไปซะ เพราะ iTAX คือโปรแกรมที่จะช่วยให้คุณจัดการคำนวณภาษี วางแผนภาษี และหาตัวช่วยลดหย่อนภาษีได้ง่ายๆ แบบคนไม่รู้ภาษีก็ทำได้ อยากรู้ว่าเราพูดเรื่องจริงมั้ย? คลิกเลย www.itax.in.th
นักกีฬาเอเชียนเกมส์ได้เงินอัดฉีด เสียภาษียังไง? หากนักกีฬาได้รับเงินให้เปล่าจากบริษัทห้างร้าน (เงินอัดฉีด) โดยผู้ให้ไม่ได้หวังสิ่งใดตอบแทน แต่ถ้าจำนวนเงินที่ได้รับนั้นไม่เกิน 10 ล้านบาท นักกีฬาจะได้รับยกเว้น ไม่ต้องนำเงินอัดฉีดส่วนนี้มาเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา (มาตรา 42(28) ประมวลรัษฎากร)