ร่าง พ.ร.บ. งบประมาณ 65 ผ่านวาระแรกตามคาด ที่ประชุมสภาผู้แทนราษฎร ลงมติวาระแรกด้วยคะแนนผู้ลงมติ 268 ต่อ 201 เสียง รับหลักการร่าง พ.ร.บ. งบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ 2565 วงเงิน 3.1 ล้านล้านบาท เตรียมตั้งกรรมาธิการวิสามัญ 72 คน เพื่อประชุมครั้งแรกในวันศุกร์ที่ 4 มิถุนายน 2565
เมื่อวันที่ 2 มิถุนายน 2564 เวลา 23.41 น. นายชวน หลีกภัย ประธานสภาผู้แทนราษฎร ได้กดสัญญาณเรียกสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรเข้าสู่ห้องประชุมเพื่อแสดงตนและตรวจสอบองค์ประชุม เพื่อให้ลงมติร่างพระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 ในวาระแรกว่าจะรับหลักการหรือไม่
ผลการลงคะแนนเสียงวาระแรก เป็นดังนี้
จำนวนผู้ลงมติ | 471 เสียง |
เห็นด้วย | 268 เสียง |
ไม่เห็นด้วย | 201 เสียง |
งดออกเสียง | 2 เสียง |
ไม่ลงคะแนน | 0 เสียง |
ร่าง พ.ร.บ. งบประมาณ 65 ผ่านวาระแรก ด้วยคะแนนเห็นชอบ 268 ต่อ 201 จากนั้นตั้งคณะกรรมาธิการวิสามัญเพื่อพิจารณาร่างพระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 จำนวนทั้งสิ้น 72 คน และเห็นชอบให้แปรญัตติเป็นระยะเวลา 30 วัน ก่อนจะปิดประชุมสภาฯ ในเวลา 00.04 น.
สัดส่วนคณะกรรมาธิการวิสามัญ 72 คน
คณะกรรมาธิการวิสามัญเพื่อพิจารณาร่างพระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 จะประชุมครั้งแรกในวันศุกร์ที่ 4 มิถุนายน 2565 โดยมีจำนวนทั้งสิ้น 72 คน ซึ่งประกอบด้วยคณะรัฐมนตรีและสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรตามสัดส่วนดังต่อไปนี้
- คณะรัฐมนตรี จำนวน 18 คน (ฝ่ายรัฐบาล)
- พรรคเพื่อไทย จำนวน 15 คน (ฝ่ายค้าน)
- พรรคพลังประชารัฐ จำนวน 13 คน (ฝ่ายรัฐบาล)
- พรรคภูมิใจไทย จำนวน 7 คน (ฝ่ายรัฐบาล)
- พรรคก้าวไกล จำนวน 6 คน (ฝ่ายค้าน)
- พรรคประชาธิปัตย์ จำนวน 6 คน (ฝ่ายรัฐบาล)
- พรรคชาติไทยพัฒนา จำนวน 1 คน (ฝ่ายรัฐบาล)
- พรรคเสรีรวมไทย จำนวน 1 คน (ฝ่ายค้าน)
- พรรคประชาชาติ จำนวน 1 คน (ฝ่ายค้าน)
- พรรคเศรษฐกิจใหม่ จำนวน 1 คน (ฝ่ายรัฐบาล)
- พรรครวมพลังประชาชาติไทย 1 คน (ฝ่ายรัฐบาล)
- พรรคเพื่อชาติ 1 คน (ฝ่ายค้าน)
- พรรคพลังท้องถิ่นไท 1 คน (ฝ่ายรัฐบาล)
อนึ่ง ซึ่งหากแบ่งฝ่ายในคณะกรรมาธิการวิสามัญชุดนี้แล้ว จะมีฝ่ายรัฐบาล 48 คน และฝ่ายค้าน 24 คน
ประเมินจำนวนเสียง ส.ส. ในสภาฯ
ฝ่ายรัฐบาล
ฝ่ายรัฐบาล มีจำนวนทั้งสิ้น 19 พรรค รวมคะแนน ส.ส. ทั้งหมด 275 เสียง (รวม 5 ส.ส. อดีต กปปส. ที่ถูกศาลรัฐธรรมนูญสั่งให้หยุดปฏิบัติหน้าที่)
พรรค | จำนวน ส.ส. |
1. พรรคพลังประชารัฐ | 122 เสียง |
2. พรรคภูมิใจไทย | 61 เสียง |
3. พรรคประชาธิปัตย์ |
50 เสียง |
4. พรรคชาติไทยพัฒนา | 12 เสียง |
5. พรรครวมพลังประชาชาติไทย | 5 เสียง |
6. พรรคพลังท้องถิ่นไท | 5 เสียง |
7. พรรคชาติพัฒนา | 4 เสียง |
8. พรรคเศรษฐกิจใหม่ (ไม่รวมนายมิ่งขวัญ แสงสุวรรณ์) | 5 เสียง |
9. พรรครักษ์ผืนป่าประเทศไทย | 2 เสียง |
10. พรรคพลังชาติไทย | 1 เสียง |
11. พรรคประชาภิวัฒน์ | 1 เสียง |
12. พรรคพลังไทยรักไทย | 1 เสียง |
13. พรรคครูไทยเพื่อประชาชน | 1 เสียง |
14. พรรคประชานิยม | 1 เสียง |
15. พรรคพลเมืองไทย | 1 เสียง |
16. พรรคประชาธิปไตยใหม่ | 1 เสียง |
17. พรรคพลังธรรมใหม่ | 1 เสียง |
18. พรรคประชาธรรมไทย | 1 เสียง |
19. พรรคไทรักธรรม | 1 เสียง |
รวม 19 พรรค | 275 เสียง |
อย่างไรก็ตาม เมื่อหัก ส.ส. กลุ่มอดีต กปปส. ซึ่งถูกศาลรัฐธรรมนูญสั่งให้หยุดปฏิบัติหน้าที่ จำนวน 5 คนออก ฝ่ายรัฐบาลจะเหลือ 270 เสียง
ฝ่ายค้าน
ฝ่ายค้านมีจำนวนทั้งสิ้น 6 พรรค รวมคะแนน ส.ส. ทั้งหมด 210 เสียง ร่วมกับอีก 2 เสียงจากฝ่ายค้านเฉพาะกิจจากอีก 2 พรรคการเมือง รวมเป็น 212 เสียง
พรรค | จำนวน ส.ส. |
1. พรรคเพื่อไทย | 134 เสียง |
2. พรรคก้าวไกล | 54 เสียง |
3. พรรคเสรีรวมไทย | 10 เสียง |
4. พรรคประชาชาติ | 7 เสียง |
5. พรรคเพื่อชาติ | 5 เสียง |
6. พรรคพลังปวงชนไทย | 1 เสียง |
7. พรรคไทยศิวิไลย์ (ฝ่ายค้านเฉพาะกิจ) | 1 เสียง |
8. พรรคเศรษฐกิจใหม่ (เฉพาะนายมิ่งขวัญ แสงสุวรรณ์) | 1 เสียง |
รวม 8 พรรค | 212 เสียง |