ถ้าคุณเป็นหนึ่งคนที่ต้องรับช่วงต่อธุรกิจจากทางบ้าน แต่อยากจะเปิดธุรกิจใหม่ในชื่อตัวเอง แต่ไม่แน่ใจว่าจะสามารถทำได้หรือไม่ และการจดทะเบียนธุรกิจใหม่ในชื่อตัวเองนั้นจะยุ่งยากมากแค่ไหน คุ้มค่ากับการเสียเวลาหรือไม่ iTAX หาคำตอบมาให้เจ้าของธุรกิจหน้าใหม่ทุกคนแล้ว
เช็กก่อนว่า ธุรกิจที่บ้าน จดทะเบียนแบบไหน?
หากคุณเป็นหนึ่งคนที่ต้องรับช่วงต่อจากธุรกิจที่บ้าน และต้องการจะจดทะเบียนธุรกิจหรือบริษัทเพราะมองเห็นแล้วว่า การจดทะเบียนชื่อบริษัท เป็นของตัวเอง นั้น ง่ายและสะดวกในการทำธุรกรรมทางการเงิน หรือ กู้เงินเพื่อทำธุรกิจมากกว่า เราอยากให้คุณตรวจสอบให้แน่ใจก่อนว่า เจ้าของธุรกิจเดิม หรือ คุณพ่อคุณแม่ของคุณนั้น เดิมท่านได้จดทะเบียนธุรกิจไว้แบบไหน และหาก
1. ดำเนินธุรกิจในรูปแบบบุคคลธรรมดา
หากที่บ้านของคุณดำเนินธุรกิจในรูปแบบบุคคลธรรมดา หรือ จดทะเบียนพาณิชย์ไว้ ก็สามารถดำเนินการโอนกิจการมาเป็นของคุณได้ โดยการแจ้งจดยกเลิกทะเบียนพาณิชย์เดิมและระบุในเอกสารจดทะเบียนเลิกว่า มีความประสงค์จะโอนกิจการให้ใคร
1.1 โดยผู้แจ้งยกเลิก (เจ้าของกิจการเดิม) ต้องเตรียมเอกสารดังนี้
- แบบ ทพ
- สำเนาบัตรประชาชนผู้ขอเลิก
- ใบทะเบียนพาณิชย์ฉบับเดิม
1.2 ผู้ประกอบการรายใหม่ (เจ้าของกิจการคนใหม่)
สำหรับใครที่เป็นเจ้าของกิจการคนใหม่ ต้องแจ้งรับโอนกิจการด้วย โดยต้องระบุเรื่องการโอนกิจการในใบคำขอจดทะเบียนว่า มีความประสงค์รับโอนกิจการจากผู้ใด (มีค่าเอกสาร 50 บาท) และต้องเตรียมเอกสารดังนี้
- แบบ ทพ.
- สำเนาบัตรประชาชน และสำเนาทะเบียนบ้านของผู้ขอจดทะเบียนพาณิชย์
- หลักฐานที่ตั้งกิจการ เช่น สำเนาสัญญาเช่า และ ทะเบียนบ้านผู้ให้เช่า
- แผนที่ร้านค้า หรือ สถานประกอบกิจการ
และเมื่อดำเนินการเสร็จเรียบร้อยแล้ว เราแนะนำให้คุณขอสำเนาเอกสารต่างๆ เพื่อใช้เป็นเอกสารและหลักฐานในการทำธุรกรรม นิติกรรมต่างๆ ไว้ด้วย เพื่อที่กิจการของคุณจะได้มีความต่อเนื่องไม่ขาดตอน ทั้งนี้ทั้งนั้น การบอกยกเลิกกิจการเดิม แจ้งโอนกิจการ และรับโอนกิจการนั้น จะต้องดำเนินการในวันเดียวกันเท่านั้น (จดแจ้งยกเลิกก่อน ค่อยตามด้วยการจดจัดตั้งใหม่)
2. จดทะเบียนในนามนิติบุคคล
ในกรณีที่ กิจการที่บ้านของคุณทำธุรกิจในนามนิติบุคคล ไม่ว่าจะเป็นในรูปแบบของ การจดทะเบียนบริษัท หรือ จดทะเบียนห้างหุ้นส่วนจำกัด คุณไม่ต้องดำเนินการบอกยกเลิกการจดทะเบียนและดำเนินการจดทะเบียนธุรกิจใหม่ แต่จะต้อง
2.1.แจ้งเปลี่ยนชื่อผู้ถือหุ้น
สำหรับการเปลี่ยนแปลงผู้ถือหุ้น หรือ การโอนหุ้นนั้น จะมีอยู่ 2 กรณี คือ
- การโอนหุ้นชนิดที่ออกให้ผู้ถือ (ใบหุ้นไม่ได้ระบุผู้ถือหุ้น) กฎหมายไม่ได้กำหนดว่าผู้ถือหุ้นเดิมจะต้องทำการโอนหุ้นให้ผู้ถือหุ้นคนใหม่ เพียงส่งมอบใบหุ้นและชำระค่าหุ้นกฎหมายก็ถือว่า การโอนหุ้นเรียบร้อยและบริษัทไม่จำเป็นที่จะต้องออกใบหุ้นให้ผู้ถือหุ้นคนใหม่
- การโอนใบหุ้นแบบระบุชื่อผู้ถือหุ้น จะต้องทำการโอนหุ้นทำสัญญาโอนหุ้นระบุชื่อผู้โอนหุ้น ผู้รับโอนหุ้น หมายเลขหุ้น จำนวนหุ้น ราคาค่าหุ้นที่โอนไปให้เรียบร้อย ในกรณีนี้ บริษัทส่วนใหญ่จะออกใบหุ้นฉบับใหม่ให้ผู้ถือหุ้นคนใหม่ด้วย
2. แจ้งเปลี่ยนกรรมการบริษัท
บอกก่อนว่า ในการทำธุรกิจรูปแบบนิติบุคคลนั้น กรรมการไม่จำเป็นต้องเป็นคนเดียวกับผู้ถือหุ้น แต่หากคุณอยากที่จะแจ้งเปลี่ยนกรรมการบริษัทด้วย ก็สามารถทำได้ โดยการยื่นคำขอจดทะเบียนเปลี่ยนแปลงกรรมการ และส่งแบบ บอจ. 5 ในเวลาเดียวกันได้เลย (ดูตัวอย่างได้ที่ www.dbd.go.th)
สำหรับที่กำลังจะรับช่วงธุรกิจต่อจากที่บ้าน หรือ กำลังจะเปิดธุรกิจส่วนตัว แต่ยังมีเรื่องที่ไม่เข้าใจ ไม่แน่ใจว่าธุรกิจของตัวเองเหมาะกับการจดทะเบียนแบบไหน หรืออยากจดทะเบียนธุรกิจแต่ไม่มีเวลาดำเนินการเอง iTAX sme พร้อมที่จะเป็นผู้ช่วยให้คุณจดทะเบียนธุรกิจ และวางแผนภาษีธุรกิจได้อย่างราบรื่น ติดต่อสอบถามค่าบริการ โทร. 062-486-9787