กองทุนส่วนบุคคล (Private Fund) เป็นกองทุนที่ผู้ลงทุนมอบทรัพย์สินให้ผู้จัดการกองทุนจากบริษัทที่ได้รับอนุญาตฯ เป็นผู้บริหารจัดการกองทุน ดังนั้น ผู้ลงทุนที่เป็นบุคคลธรรมดาจึงมีภาระภาษีไม่ต่างจากการลงทุนด้วยตัวเอง ซึ่งทางกรมสรรพากรได้เคยอธิบายรายละเอียดในข้อหารือกรมสรรพากรไว้ดังนี้
- เครดิตภาษีเงินปันผลจากหุ้น ใช้/ไม่ใช้ แบบไหนคุ้มสุด?
- วิเคราะห์ค่าภาษีตามยอดขาย ขายของได้เท่านี้ ต้องจ่ายภาษีเท่าไหร่?
- วิเคราะห์ ค่าภาษีตามฐานเงินเดือน
- ซื้อของด้วยคริปโต “ลูกค้า” อาจเป็นฝ่ายต้องเสีย ‘ภาษีคริปโต’ เองด้วย
แนวทางจัดเก็บภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาของกรมสรรพากร สำหรับเงินได้จาก กองทุนส่วนบุคคล (Private Fund)
อ้างอิง ข้อหารือกรมสรรพากร เลขที่ กค 0811/05486
ผู้เป็นเจ้าของกองทุนส่วนบุคคล คือ ผู้เป็นเจ้าของทรัพย์สินที่นำไปมอบให้บริษัทที่ได้รับอนุญาตประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ประเภทจัดการกองทุนส่วนบุคคล ดังนั้น ผลประโยชน์ที่กองทุนส่วนบุคคลได้รับจะเป็นเงินได้ของนักลงทุน โดยกรณีผู้ลงทุนเป็นบุคคลธรรมดา จะมีภาระภาษีแยกตามประเภทต่างๆ ของเงินได้ที่กองทุนส่วนบุคคลได้รับ ดังนี้
1. ได้รับผลประโยชน์ในรูปของ ดอกเบี้ย
กรณีผู้มีเงินได้เป็นบุคคลธรรมดาไม่ว่าจะเป็นผู้อยู่ในประเทศไทยถึง 180 วันหรือไม่ หากเงินได้ดังกล่าวเป็นดอกเบี้ยพันธบัตร ดอกเบี้ยเงินฝากธนาคารในราชอาณาจักร ดอกเบี้ยเงินฝากสหกรณ์ ดอกเบี้ยหุ้นกู้ ดอกเบี้ยตั๋วเงินที่ได้จากบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลหรือนิติบุคคลอื่น ดอกเบี้ยเงินกู้ยืมที่ได้ จากบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล หรือนิติบุคคลอื่น ดอกเบี้ยที่ได้จากสถาบันการเงินที่มีกฎหมายโดยเฉพาะของประเทศไทยจัดตั้งขึ้นสำหรับให้กู้ยืมเงินเพื่อส่งเสริมเกษตรกรรม พาณิชยกรรมหรืออุตสาหกรรม
ดอกเบี้ยเหล่านี้อยู่ในบังคับต้องถูกหักภาษีเงินได้ณ ที่จ่าย ในอัตรา 15% นักลงทุนมีสิทธิเลือกเสียภาษีในอัตรา 15% โดยไม่ต้องนำไปรวมคำนวณภาษีตอนสิ้นปีก็ได้
2. ได้รับผลประโยชน์ในรูปของ เงินปันผล
กรณีผู้มีเงินได้เป็นบุคคลธรรมดาไม่ว่าจะเป็นผู้อยู่ในประเทศไทยถึง 180 วันหรือไม่ หากเงินได้ดังกล่าวเป็นเงินปันผล จะอยู่ในบังคับต้องถูกหักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่าย ในอัตรา 10%
ทั้งนี้ หากผู้มีเงินได้เป็นผู้อยู่ในประเทศไทยถึง 180 วันแล้ว จะเลือกเสียภาษีในอัตรา 10% โดยไม่ต้องนำไปรวมคำนวณเพื่อเสียภาษีเงินได้ตอนสิ้นปีก็ได้
อย่างไรก็ตาม หากเงินปันผลดังกล่าวเป็นเงินปันผลจากกิจการที่ได้รับการส่งเสริม BOI จะได้รับยกเว้นไม่ต้องเสียภาษี และจะไม่ถูกหักภาษี ณ ที่จ่ายด้วย
ผู้ลงทุนใช้เครดิตภาษีเงินปันผลจากหุ้นได้
ในกรณีที่ลงทุนในกองทุนส่วนบุคคลแล้วได้รับผลประโยชน์เป็นเงินปันผลหุ้นจากบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายไทย (เช่น หจก. บริษัทจำกัด บริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ เป็นต้น) และนักลงทุนเป็นผู้มีภูมิลำเนาในประเทศไทยหรือเป็นผู้อยู่ในประเทศไทยถึง 180 วัน จะสามารถใช้สิทธิเครดิตภาษีเงินปันผลจากหุ้นในการคำนวณภาษีได้
3. ได้รับผลประโยชน์ในรูปของส่วนลด/ผลต่างระหว่างราคาไถ่ถอนกับราคาจำหน่ายตราสารหนี้ครั้งแรก
กรณีผู้มีเงินได้เป็นบุคคลธรรมดาไม่ว่าจะเป็นผู้อยู่ในประเทศไทยถึง 180 วันหรือไม่ หากเงินได้ดังกล่าวเป็นกำไรจากการขายตราสารหนี้ (เช่น ผลต่างระหว่างราคาไถ่ถอนกับราคาจำหน่ายตั๋วเงิน หรือตราสารแสดงสิทธิในหนี้ที่บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลหรือนิติบุคคลอื่นเป็นผู้ออกและจำหน่ายครั้งแรกในราคาต่ำกว่าราคาไถ่ถอน) และผู้ลงทุนเป็นผู้ทรงคนแรก จะอยู่ในบังคับต้องถูกหักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่าย ในอัตรา 15% และผู้ลงทุนมีสิทธิเลือกเสียภาษีในอัตรา 15% โดย
ไม่ต้องนำไปรวมคำนวณภาษีตอนสิ้นปีก็ได้
4. ได้รับผลประโยชน์จากการขายหลักทรัพย์ในตลาดหลักทรัพย์ฯ
กรณีผู้มีเงินได้เป็นบุคคลธรรมดาไม่ว่าจะเป็นผู้อยู่ในประเทศไทยถึง 180 วันหรือไม่ หากเงินได้ดังกล่าวเป็นเงินได้จากการขายหลักทรัพย์ในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (แต่ไม่รวมถึงเงินได้จากการขายหลักทรัพย์ที่เป็นหุ้นกู้หรือพันธบัตร) จะได้รับยกเว้นไม่ต้องเสียภาษีเงินได้
5. ได้รับผลประโยชน์จากการขายหุ้นกันนอกตลาดหลักทรัพย์ฯ
กรณีผู้มีเงินได้เป็นผู้อยู่ในประเทศไทยถึง 180 วัน และได้รับเงินได้ที่เป็นผลประโยชน์ที่ได้จากการโอนหุ้นนอกตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ทั้งนี้ เฉพาะซึ่งตีราคาเป็นเงินได้เกินกว่าที่ลงทุนอยู่ในบังคับต้องถูกหักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่าย ซึ่งโดยปกติจะคำนวณหักในอัตรา 15%
กรณีผู้มีเงินได้มิได้เป็นผู้อยู่ในประเทศไทยถึง 180 วัน และได้รับเงินได้ที่เป็นผลประโยชน์ที่ได้จากการโอนหุ้นนอกตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ทั้งนี้ เฉพาะซึ่งตีราคาเป็นเงินได้เกินกว่าที่ลงทุนอยู่ในบังคับต้องถูกหักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่าย ในอัตรา 15% เว้นแต่จะมีบทบัญญัติในอนุสัญญาภาษีซ้อนบัญญัติไว้เป็นอย่างอื่น
6. ได้รับผลประโยชน์ในรูปของกำไรจากการขายพันธบัตร หุ้นกู้ ตั๋วเงิน หรือตราสารหนี้
กรณีผู้มีเงินได้เป็นบุคคลธรรมดาไม่ว่าจะเป็นผู้อยู่ในประเทศไทยถึง 180 วันหรือไม่ หากได้รับเงินได้ที่เป็นผลประโยชน์ที่ได้จากการโอนพันธบัตร หุ้นกู้ หรือตั๋วเงินหรือตราสารแสดงสิทธิในหนี้ที่บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลหรือนิติบุคคลอื่นเป็นผู้ออก เฉพาะซึ่งตีราคาเป็นเงินได้เกินกว่าที่ลงทุน อยู่ในบังคับต้องถูกหักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่าย ในอัตรา 15% และผู้มีเงินได้มีสิทธิเลือกไม่ต้องนำไปรวมคำนวณภาษีตอนสิ้นปีก็ได้
แต่ถ้าเป็นกำไรจากการขายพันธบัตร หุ้นกู้ ตั๋วเงิน หรือตราสารหนี้ที่ได้รับยกเว้นภาษีอยู่แล้ว ผู้ลงทุนในกองทุนส่วนบุคคลจะได้รับยกเว้นไม่ต้องนำเงินได้ดังกล่าวไปรวมคำนวณเพื่อเสียภาษีเงินได้
กรณีผู้ลงทุนรวมเงินกันร่วมลงทุนในกองทุนส่วนบุคคล
กรณีผู้ลงทุนเป็นกลุ่มบุคคลซึ่งประกอบด้วยบุคคลธรรมดาตั้งแต่ 2 คนขึ้นไป กลุ่มบุคคลดังกล่าวมีฐานะเป็นคณะบุคคล หรือห้างหุ้นส่วนสามัญ ซึ่งมีภาระภาษีเช่นเดียวกับกรณีลงทุนเป็นบุคคลธรรมดา โดยผู้อำนวยการหรือผู้จัดการเป็นผู้ยื่นรายการเกี่ยวกับเงินได้พึงประเมิน ในนามของคณะบุคคลหรือห้างหุ้นส่วนสามัญ
ข้อสังเกต – กรณีสามีภรรยาลงทุนในกองทุนส่วนบุคคลร่วมกัน
เว้นแต่กรณีที่กลุ่มบุคคลดังกล่าวประกอบด้วย สามี ภรรยาโดยชอบด้วยกฎหมายและความเป็นสามีภริยามีอยู่ตลอดปีภาษี เงินได้ดังกล่าวเป็นเงินได้ของสามี