คณะรัฐมนตรี ได้มีมติเห็นชอบ มาตรการเยียวยาโควิดรอบใหม่ให้นายจ้าง-ลูกจ้าง ที่อยู่ในระบบประกันสังคม ม.33 ในพื้นที่ 10 จังหวัด เมื่อวันที่ 12 กรกฎาคม 2564 ที่ผ่านมา โดยใช้งบประมาณราว 30,000 ล้านบาท ขณะนี้สำนักงานประกันสังคมเปิดระบบ ตรวจสอบสิทธิ์เยียวยา ม.33 ให้นายจ้างและลูกจ้างเข้าไปตรวจสอบได้แล้ว ที่ www.sso.go.th
ตรวจสอบสิทธิ์เยียวยา นายจ้างและผู้ประกันตน ม.33 www.sso.go.th
- ตรวจสอบสิทธิ์เยียวยาของลูกจ้าง >> สำหรับผู้ประกันตน ม.33
- ตรวจสอบสิทธิ์เยียวยาของนายจ้าง >> สำหรับนายจ้าง
มาตรการเยียวยาโควิดรอบใหม่ สำหรับลูกจ้างและกิจการที่ได้รับผลกระทบ ในพื้นที่ 10 จังหวัด วงเงิน 30,000 ล้านบาท
พื้นที่ที่ผู้ได้รับผลกระทบจะได้รับการเยียวยาจาก มาตรการเยียวยาโควิดรอบใหม่ จะอยู่ในพื้นที่ควบคุมเข้มงวดและสูงสุด (พื้นที่สีแดงเข้ม) 10 จังหวัด ต่อไปนี้
- กรุงเทพมหานคร
- นครปฐม
- นนทบุรี
- ปทุมธานี
- สมุทรปราการ
- สมุทรสาคร
- นราธิวาส
- ปัตตานี
- ยะลา
- สงขลา
กลุ่มของกิจการที่จะได้รับการเยียวยาตาม มาตรการเยียวยาโควิดรอบใหม่
กลุ่มกิจการ 9 หมวด ได้แก่
- ก่อสร้าง
- ที่พักแรมและบริการด้านอาหาร
- ศิลปะ บันเทิงและนันทนาการ
- กิจกรรมการบริการด้านอื่นๆ
- ขายส่งขายปลีกและซ่อมยานยนต์
- ขนส่งและสถานที่เก็บสินค้า
- กิจกรรมการบริหารและบริการสนับสนุน
- กิจกรรมวิชาชีพ วิทยาศาสตร์ และกิจกรรมทางวิชาการ
- ข้อมูลข่าวสารและสื่อสาร
กลุ่มกิจการของถุงเงิน 5 กิจการ ได้แก่
- ร้านอาหารและเครื่องดื่ม
- ร้าน OTOP
- ร้านค้าทั่วไป
- ร้านค้าบริการ
- กิจการขนส่งสาธารณะ (ไม่รวมกิจการขนาดใหญ่)
แนวทางการเยียวยาผู้ที่ได้รับผลกระทบแต่ละกลุ่ม
1. ลูกจ้างในระบบประกันสังคม (ม. 33) ในกิจการ 9 หมวด
- รัฐจะจ่ายสมทบให้ลูกจ้างสัญชาติไทย 2,500 บาทต่อคน แต่ถ้ามีการหยุดงานด้วย รัฐจะจ่ายเงินเยียวยาให้ 50% ของรายได้ (สูงสุดไม่เกิน 7,500 บาท) รวมแล้วได้รับเงินเยียวยาสูงสุด 10,000 บาท โดยจะโอนเงินเข้าบัญชีพร้อมเพย์ ในวันที่ 6 สิงหาคม 2564
- เอกสารที่ลูกจ้างต้องเตรียม
- หน้าสมุดบัญชีเงินฝากธนาคารที่ผูกบัญชีพร้อมเพย์กับบัตรประชาชนแล้ว
- สำเนาบัตรประชาชน
- แบบคําขอรับประโยชน์ทดแทน กองทุนประกันสังคม กรณีว่างงาน (สปส.2-01/7) >> โหลดแบบฟอร์ม สปส.2-01/7
2. นายจ้างในระบบประกันสังคมในกิจการ 9 หมวด
- รัฐจะจ่ายให้ตามจำนวนลูกจ้าง 3,000 บาทต่อราย สูงสุดไม่เกิน 200 คน โดยจะได้รับเงินในวันที่ 6 สิงหาคม 2564
- เอกสารที่นายจ้างต้องเตรียม
- สำเนาหนังสือรับรองนิติบุคคล อายุไม่เกิน 6 เดือน
- สำเนาบัตรประชาชนของกรรมการบริษัท
- หน้าสมุดบัญชีเงินฝากธนาคารของบริษัท
- หนังสือแจ้งความประสงค์
3. ผู้ประกันตนภาคสมัครใจในระบบประกันสังคม (ม. 39 และ ม. 40)
- รัฐบาลจะช่วยเหลือค่าใช้จ่ายให้ 5,000 บาทต่อคน โดยจะโอนเงินเยียวยาเข้าบัญชีพร้อมเพย์ ในวันที่ 6 สิงหาคม 2564
4. ผู้ประกอบอาชีพอิสระ (freelance)
- ให้ขึ้นทะเบียนเป็นผู้ประกันตนภาคสมัครใจของระบบประกันสังคมตาม ม. 40 ภายในเดือนกรกฎาคม 2564 เพื่อรับค่าช่วยเหลือ 5,000 บาท ตามกลุ่มที่ 3 เพื่อรับเงินเยียวยาเข้าบัญชีพร้อมเพย์ ในวันที่ 6 สิงหาคม 2564
5. ผู้ประกอบการที่มีลูกจ้างแต่ไม่ได้อยู่ในระบบประกันสังคม
- ให้ขึ้นทะเบียนเป็นนายจ้างในระบบประกันสังคม ภายในเดือนกรกฎาคม 2564 เพื่อรับเงินช่วยเหลือตามกลุ่มที่ 1 และ 2 เพื่อรับเงินเยียวยาเข้าบัญชีพร้อมเพย์ ในวันที่ 6 สิงหาคม 2564
6. ผู้ประกอบการที่ไม่มีลูกจ้าง และไม่ได้อยู่ในระบบประกันสังคม
- ให้ขึ้นทะเบียนเป็นผู้ประกันตนภาคสมัครใจของระบบประกันสังคมตาม ม. 40 ภายในเดือนกรกฎาคม 2564 เพื่อรับค่าช่วยเหลือ 5,000 บาท ตามกลุ่มที่ 3 เพื่อรับเงินเยียวยาเข้าบัญชีพร้อมเพย์ ในวันที่ 6 สิงหาคม 2564
7. ผู้ประกอบการในระบบ “ถุงเงิน” 5 หมวด ภายใต้โครงการ “คนละครึ่ง” และโครงการ “เราชนะ” ที่มีลูกจ้าง
- ให้ขึ้นทะเบียนเป็นนายจ้างในระบบประกันสังคม ภายในเดือนกรกฎาคม 2564 เพื่อรับเงินช่วยเหลือตามกลุ่มที่ 1 และ 2 เพื่อรับเงินเยียวยาเข้าบัญชีพร้อมเพย์ ในวันที่ 6 สิงหาคม 2564
8. ผู้ประกอบการในระบบ “ถุงเงิน” 5 หมวด ภายใต้โครงการ “คนละครึ่ง” และโครงการ “เราชนะ” แต่ไม่มีลูกจ้าง
- ให้ขึ้นทะเบียนเป็นผู้ประกันตนภาคสมัครใจของระบบประกันสังคมตาม ม. 40 ภายในเดือนกรกฎาคม 2564 เพื่อรับค่าช่วยเหลือ 5,000 บาท ตามกลุ่มที่ 3 เพื่อรับเงินเยียวยาเข้าบัญชีพร้อมเพย์ ในวันที่ 6 สิงหาคม 2564
ระยะเวลาในการให้ความช่วยเหลือกลุ่มที่ได้รับผลกระทบในพื้นที่ 10 จังหวัด
- 1 เดือน ทั้งนี้ อาจมีการขยายต่อตามสถานการณ์