เหลืออีกไม่ถึงเดือนก็จะหมดเวลา ยื่นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา แล้ว ซึ่งแน่นอนว่าผมเองก็ได้รับคำถามที่น่าสนใจเกี่ยวกับการยื่นภาษีประจำปี 2559 พอสมควร ซึ่งประเด็นที่ถูกถามบ่อยๆ ก็มักจะเหมือนเดิม ดังนั้น เพื่อประโยชน์ในการเตรียมภาษีปีนี้ ผมจึงขออนุญาตสรุปเป็น 3 สิ่งที่ควรบอกเพื่อนก่อนหมดเวลายื่นภาษี ดังนี้ครับ
1. ยื่นรายได้ให้ครบ
บางคนมักคิดว่ารายได้ถ้าถูกหักภาษี ณ ที่จ่ายไปแล้ว แสดงว่าเสียภาษีไปเรียบร้อยแล้ว ไม่จำเป็นต้องเอามายื่นภาษีอีก ที่เป็นความเข้าใจของคนส่วนใหญ่ที่คลาดเคลื่อนอย่างแรงที่อาจส่งผลให้คุณเสียประโยชน์อย่างมาก เพราะโดยหลักแล้วการถูกหักภาษี ณ ที่จ่ายเป็นเพียงการจ่ายล่วงหน้าเท่านั้น ไม่ใช่ภาษีสุดท้ายที่จ่ายแล้วจบเลย (มีเพียงรายได้ไม่กี่รายการเท่านั้นที่กฎหมายยอมให้หักภาษี ณ ที่จ่ายและจบเลยได้ เช่น ดอกเบี้ยเงินฝากเงินปันผล รายได้จากการขายอสังหาริมทรัพย์ เป็นต้น)
ดังนั้น การมีรายได้ที่ถูก หักภาษี ณ ที่จ่าย จึงจำเป็นต้อง ยื่นภาษี ให้ครบถ้วน มิเช่นนั้นอาจเกิดเหตุการณ์ลักษณะนี้
- จริงๆ แล้วเสียภาษีน้อย แต่ถูกหักภาษีไปเยอะ : เราจะเสียประโยชน์เพราะถูกหักภาษีไปเกินหน้าที่ต้องจ่ายจริง
- จริงๆ แล้วเสียภาษีเยอะ แต่ถูกหักภาษีไปน้อย : แบบนี้ยิ่งอันตรายใหญ่ เพราะการที่เราเสียภาษีไม่ครบถ้วนแล้วยังไม่ยอมเอาไปยื่นภาษีอีก เราจะโดนเบี้ยปรับพร้อมดอกเบี้ยด้วย ซึ่งแพงกว่าค่าภาษีที่ค้างจ่ายอีกหลายเท่าตัว
ทั้งนี้ อย่าหลงเข้าข้างตัวเองว่ารัฐคงไม่รู้หรอกว่าเรามีรายได้ เพราะอย่าลืมว่า การที่เราถูกหักภาษี ณ ที่จ่าย แสดงว่าคนจ่ายเงินให้เราเขาได้ส่งหลักฐานว่าเรามีรายได้พร้อมชื่อ-นามสกุล เลขบัตรประชาชน และภาษีที่ถูกหักไปให้รัฐเรียบร้อยแล้ว ถ้าถึงเวลาที่ต้องยื่นภาษีแล้วเราไม่ยื่น จะแถยังไงก็เจ็บตัว สีข้างถลอกเปล่าๆ
2. เช็คสิทธิประโยชน์ให้คุ้ม
ปี 2559 เป็นปีที่โปรโมชั่น ลดหย่อนภาษี เยอะมาก เช่น ลดหย่อนท่องเที่ยว ช้อปช่วยชาติ ฯลฯ การเช็คสิทธิประโยชน์ของเราคือการรักษาสิทธิ์ที่กฎหมายมอบให้เรา ไม่ใช่ความงกหรือความเห็นแก่ตัว ดังนั้น พยายามเช็คให้ครบและใช้ให้คุ้ม
แต่ก็อย่าลืมว่า การใช้สิทธิประโยชน์แต่ละรายการจะมีรายละเอียดปลีกย่อยอยู่ พยายามใช้เช็คเงื่อนไขเหล่านั้นก่อนด้วยว่าเราอยู่ในเกณฑ์ได้รับสิทธิ์หรือไม่ เช่น ถ้าคุณกำลังใช้สิทธิ์ ลดหย่อนบิดามารดา ก็อย่าลืมเช็คว่าพ่อแม่อยู่ในเกณฑ์ใช้ลดหย่อนได้จริงไหม เพราะบางคนเข้าใจแค่ว่าอายุ 60 ปีบริบูรณ์ก็ใช้ลดหย่อนได้แล้ว ซึ่งไม่ถูกต้อง เนื่องจากยังมีเงื่อนไขเกณฑ์รายได้ของคุณพ่อคุณแม่ด้วยว่าต้องมีรายได้ตลอดทั้งปีไม่เกิน ฿30,000 อีกด้วย เป็นต้น
ดังนั้น ถ้าคุณเคลมใช้สิทธิ์ทั้งๆ ที่คุณไม่มีสิทธิ์ คุณอาจจะโดนเก็บภาษีเพิ่มย้อนหลังพร้อมดอกเบี้ยก็เป็นได้ เช็คให้รอบคอบก่อนเคลมจะได้ไม่เงิบทีหลัง
3. ใช้แบบฟอร์มภาษีให้ถูก
โดยปกติ การยื่นภาษีประจำปีสำหรับบุคคลธรรมดา ก็จะมีแบบฟอร์มหลักๆ คือ ภ.ง.ด. 91 สำหรับ คนที่มีรายได้จากงานประจำทางเดียว หรือ ภ.ง.ด. 90 สำหรับคนที่มีรายได้ทางอื่นนอกจากงานประจำด้วย แต่ปีนี้พิเศษหน่อยตรงที่มีการโยกเอารายการลดหย่อนภาษีต่างๆ ไปไว้ในเอกสารอีกใบที่เรียกว่า ใบแนบแสดงรายละเอียดรายการลดหย่อนและยกเว้นหลังจากหักค่าใช้จ่าย รวมถึงใบแนบปลีกย่อยที่ต้องเตรียมไว้เพื่อใช้สำหรับเป็นหลักฐานสนับสนุนการยื่นแบบ เช่น แบบฟอร์ม ล.ย. 03 สำหรับใช้ สิทธิ์ลดหย่อนบิดามารดา, แบบฟอร์มหนังสือรับรองผู้ซื้อ-ผู้ขายสำหรับกรณีการใช้ สิทธิ์ลดหย่อนบ้านหลังแรก เป็นต้น
สรุป
ทั้งหมดนี้คือ 3 สิ่งที่ผมอยากฝากผู้อ่านบอกเพื่อนๆ ก่อนหมดเวลายื่นภาษี แต่ถ้ารู้สึกไม่มั่นใจว่าจะทำได้ทั้งหมดนี้ไหม ผมแนะนำให้เข้าไปเตรียมภาษีปี 2559 นี้ที่ www.itax.in.th ซึ่งระบบจะเช็ครายได้ที่ต้องยื่นภาษีให้ครบทุกรายการ เช็คสิทธิประโยชน์และเงื่อนไขเพื่อเค้นสิทธิของเราที่มีได้อย่างคุ้มที่สุดและประหยัดภาษีที่สุด และสุดท้ายยังเตรียม ภ.ง.ด. 90/91 พร้อมแบบฟอร์มภาษีแนบที่จำเป็น แค่ print เซ็นชื่อก็สามารถนำไปยื่นได้จริง ที่สำคัญคือใช้งานได้ฟรีด้วย เหลือเวลาไม่มากแล้วอย่าลืมจัดการเรื่องภาษีปีนี้ให้ครบถ้วนนะครับ
RELATED POSTS
-
ฟรีแลนซ์ยื่นภาษียังไง?การยื่นภาษีของฟรีแลนซ์ เงินได้ฟรีแลนซ์ถือเป็น เงินได้ประเภท 2 (เงินได้ตามมาตรา 40(2)) และจะต้องใช้ใบ 50 ทวิ (ตั้งแต่ 1 ม.ค. - 31 ธ.ค.) ในการยื่นภาษีเช่นกัน
เป็นพระต้องเสียภาษีมั๊ยศาสนาพุทธเป็นสิ่งที่อยู่คู่กับสังคมไทยมาช้านาน พระภิกษุในฐานะนักบวชของศาสนาพุทธจึงเป็นที่พึ่งให้พุทธศาสนิกชนในหลายๆ เรื่อง โดยเฉพาะทางด้านจิตใจ ซึ่งหลายๆ ครั้งก็มักจะจบลงด้วยการใส่ซองถวายเงินให้พระแล้วกราบ 3 ครั้ง วันนี้เราจะมาไขข้อข้องใจกันว่า ตามกฎหมายไทยเป็นพระต้องเสียภาษีมั้ย? 1. พระเป็นผู้เสียภาษีได้ไหม? ในมุมมองของปุถุชน เรามักจะมองว่าพระตัดแล้วซึ่งทางโลก แต่กฎหมายไม่ได้มองแบบนั้น กฎหมายยังคงมองว่าพระภิกษุยังคงเป็น บุคคลธรรมดา ตามกฎหมายอยู่ ดังนั้น ถ้าพระมีรายได้ พระก็จะพ่วงตำแหน่ง ผู้เสียภาษี ไปด้วย ในทางกลับกัน ถ้าพระไม่มีรายได้ พระก็ไม่มีหน้าที่เป็นผู้เสียภาษีแต่อย่างใด 2. พระจะมีรายได้ได้ไง? สำหรับพระซึ่งกฎหมายมองว่าเป็นบุคคลธรรมดา ก็ใช้หลักพื้นฐานง่ายๆ ว่าบุคคลธรรมดาคนนั้นมีรายได้ที่ต้องเสียภาษีไหม (หรือที่ศัพท์กฎหมายยากๆ เรียกว่า “เงินได้พึงประเมิน”) ซึ่งนักบวชที่เป็นพระภิกษุในศาสนาพุทธก็อาจจะมีรายได้ที่ต้องเสียภาษีได้ เช่น รายได้จากการสอนหนังสือ บรรยายธรรมให้องค์กรเอกชน ได้รับดอกเบี้ยเงินฝากธนาคาร เป็นต้น 3. แต่ไม่เคยเห็นพระรูปไหนเสียภาษีเลยนะ? ถ้าเงินที่พระได้รับเป็นเงินทำบุญที่ญาติโยมบริจาคเพื่อใช้ประโยชน์ในกิจการศาสนา แบบนี้จะเป็นเงินได้ที่ต้องได้รับยกเว้นภาษีอยู่แล้ว (มาตรา 42(29) ประมวลรัษฎากร) เมื่อเงินที่ได้ได้รับยกเว้นภาษี ก็แปลว่า พระไม่มีเงินได้ที่ต้องเสียภาษี เมื่อไม่มีเงินได้ก็เลยไม่ต้องเสียภาษีนั่นเอง สรุป ที่พระไม่ต้องเสียภาษีไม่ใช่เพราะพระมีสถานะเป็นพระ แต่เป็นเพราะเงินที่พระได้รับเป็นเงินที่ยกเว้นภาษีต่างหาก พระเลยไม่ต้องเสียภาษี ส่วนพระที่มีรายได้นอกเหนือจากเงินทำบุญ ท่านอาจจะมีหน้าที่ต้องเสียภาษีด้วยนะครับ ยังไงถ้าหลวงพี่ทำภาษีไม่เป็นจริงๆ นิมนต์หลวงพี่ใช้ www.itax.in.th ได้ฟรีนะครับ
-
นักกีฬาเอเชียนเกมส์ได้เงินอัดฉีด เสียภาษียังไง?หากนักกีฬาได้รับเงินให้เปล่าจากบริษัทห้างร้าน (เงินอัดฉีด) โดยผู้ให้ไม่ได้หวังสิ่งใดตอบแทน แต่ถ้าจำนวนเงินที่ได้รับนั้นไม่เกิน 10 ล้านบาท นักกีฬาจะได้รับยกเว้น ไม่ต้องนำเงินอัดฉีดส่วนนี้มาเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา (มาตรา 42(28) ประมวลรัษฎากร)
-
ได้เงินทดแทนประกันสังคมเพราะตกงาน ต้องเสียภาษีมั้ย?พนักงานประจำที่ถูกหักเงินประกันสังคมเดือนละ ฿750 ทุกเดือน จะได้รับเงินทดแทนการขาดรายได้ หรือเงินชดเชยจากประกันสังคม ที่จ่ายให้พนักงานที่ออกจากงาน (ผู้ประกันตน) เพื่อช่วยเหลือในช่วงเวลาที่กำลังหางานประจำใหม่ และเงินทดแทนประกันสังคมก้อนนี้ต้องเสียภาษีหรือไม่?
-
บริจาคให้โรงพยาบาลลดหย่อนภาษีได้แล้วการบริจาคเงินให้โรงพยาบาลรัฐ และสถานพยาบาลของรัฐ สามารถนำมาใช้สิทธิลดหย่อนภาษีได้ 2 เท่า รวมถึงเงินบริจาคโครงการก้าวคนละก้าวก็สามารถลดหย่อนภาษีได้เช่นกัน
-
นักกีฬา E-Sport เสียภาษียังไง?หากนักกีฬา E-Sport มีรายได้ แม้จะยังมีอายุไม่ครบ 20 ปีบริบูรณ์ แต่การเป็นผู้เยาว์ก็ไม่ได้ทำให้นักกีฬาได้รับยกเว้นภาษี และหากมีรายได้ในฐานะนักกีฬาอาชีพ จึงให้ทางเลือกสำหรับหักค่าใช้จ่ายที่เกี่ยวข้องกับรายได้ของนักกีฬา E-Sport ได้ 2 วิธี
RELATED POSTS
-
ฟรีแลนซ์ยื่นภาษียังไง?การยื่นภาษีของฟรีแลนซ์ เงินได้ฟรีแลนซ์ถือเป็น เงินได้ประเภท 2 (เงินได้ตามมาตรา 40(2)) และจะต้องใช้ใบ 50 ทวิ (ตั้งแต่ 1 ม.ค. - 31 ธ.ค.) ในการยื่นภาษีเช่นกัน
เป็นพระต้องเสียภาษีมั๊ยศาสนาพุทธเป็นสิ่งที่อยู่คู่กับสังคมไทยมาช้านาน พระภิกษุในฐานะนักบวชของศาสนาพุทธจึงเป็นที่พึ่งให้พุทธศาสนิกชนในหลายๆ เรื่อง โดยเฉพาะทางด้านจิตใจ ซึ่งหลายๆ ครั้งก็มักจะจบลงด้วยการใส่ซองถวายเงินให้พระแล้วกราบ 3 ครั้ง วันนี้เราจะมาไขข้อข้องใจกันว่า ตามกฎหมายไทยเป็นพระต้องเสียภาษีมั้ย? 1. พระเป็นผู้เสียภาษีได้ไหม? ในมุมมองของปุถุชน เรามักจะมองว่าพระตัดแล้วซึ่งทางโลก แต่กฎหมายไม่ได้มองแบบนั้น กฎหมายยังคงมองว่าพระภิกษุยังคงเป็น บุคคลธรรมดา ตามกฎหมายอยู่ ดังนั้น ถ้าพระมีรายได้ พระก็จะพ่วงตำแหน่ง ผู้เสียภาษี ไปด้วย ในทางกลับกัน ถ้าพระไม่มีรายได้ พระก็ไม่มีหน้าที่เป็นผู้เสียภาษีแต่อย่างใด 2. พระจะมีรายได้ได้ไง? สำหรับพระซึ่งกฎหมายมองว่าเป็นบุคคลธรรมดา ก็ใช้หลักพื้นฐานง่ายๆ ว่าบุคคลธรรมดาคนนั้นมีรายได้ที่ต้องเสียภาษีไหม (หรือที่ศัพท์กฎหมายยากๆ เรียกว่า “เงินได้พึงประเมิน”) ซึ่งนักบวชที่เป็นพระภิกษุในศาสนาพุทธก็อาจจะมีรายได้ที่ต้องเสียภาษีได้ เช่น รายได้จากการสอนหนังสือ บรรยายธรรมให้องค์กรเอกชน ได้รับดอกเบี้ยเงินฝากธนาคาร เป็นต้น 3. แต่ไม่เคยเห็นพระรูปไหนเสียภาษีเลยนะ? ถ้าเงินที่พระได้รับเป็นเงินทำบุญที่ญาติโยมบริจาคเพื่อใช้ประโยชน์ในกิจการศาสนา แบบนี้จะเป็นเงินได้ที่ต้องได้รับยกเว้นภาษีอยู่แล้ว (มาตรา 42(29) ประมวลรัษฎากร) เมื่อเงินที่ได้ได้รับยกเว้นภาษี ก็แปลว่า พระไม่มีเงินได้ที่ต้องเสียภาษี เมื่อไม่มีเงินได้ก็เลยไม่ต้องเสียภาษีนั่นเอง สรุป ที่พระไม่ต้องเสียภาษีไม่ใช่เพราะพระมีสถานะเป็นพระ แต่เป็นเพราะเงินที่พระได้รับเป็นเงินที่ยกเว้นภาษีต่างหาก พระเลยไม่ต้องเสียภาษี ส่วนพระที่มีรายได้นอกเหนือจากเงินทำบุญ ท่านอาจจะมีหน้าที่ต้องเสียภาษีด้วยนะครับ ยังไงถ้าหลวงพี่ทำภาษีไม่เป็นจริงๆ นิมนต์หลวงพี่ใช้ www.itax.in.th ได้ฟรีนะครับ
-
นักกีฬาเอเชียนเกมส์ได้เงินอัดฉีด เสียภาษียังไง?หากนักกีฬาได้รับเงินให้เปล่าจากบริษัทห้างร้าน (เงินอัดฉีด) โดยผู้ให้ไม่ได้หวังสิ่งใดตอบแทน แต่ถ้าจำนวนเงินที่ได้รับนั้นไม่เกิน 10 ล้านบาท นักกีฬาจะได้รับยกเว้น ไม่ต้องนำเงินอัดฉีดส่วนนี้มาเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา (มาตรา 42(28) ประมวลรัษฎากร)
-
ได้เงินทดแทนประกันสังคมเพราะตกงาน ต้องเสียภาษีมั้ย?พนักงานประจำที่ถูกหักเงินประกันสังคมเดือนละ ฿750 ทุกเดือน จะได้รับเงินทดแทนการขาดรายได้ หรือเงินชดเชยจากประกันสังคม ที่จ่ายให้พนักงานที่ออกจากงาน (ผู้ประกันตน) เพื่อช่วยเหลือในช่วงเวลาที่กำลังหางานประจำใหม่ และเงินทดแทนประกันสังคมก้อนนี้ต้องเสียภาษีหรือไม่?
-
บริจาคให้โรงพยาบาลลดหย่อนภาษีได้แล้วการบริจาคเงินให้โรงพยาบาลรัฐ และสถานพยาบาลของรัฐ สามารถนำมาใช้สิทธิลดหย่อนภาษีได้ 2 เท่า รวมถึงเงินบริจาคโครงการก้าวคนละก้าวก็สามารถลดหย่อนภาษีได้เช่นกัน
-
นักกีฬา E-Sport เสียภาษียังไง?หากนักกีฬา E-Sport มีรายได้ แม้จะยังมีอายุไม่ครบ 20 ปีบริบูรณ์ แต่การเป็นผู้เยาว์ก็ไม่ได้ทำให้นักกีฬาได้รับยกเว้นภาษี และหากมีรายได้ในฐานะนักกีฬาอาชีพ จึงให้ทางเลือกสำหรับหักค่าใช้จ่ายที่เกี่ยวข้องกับรายได้ของนักกีฬา E-Sport ได้ 2 วิธี