คุณเคยสงสัยหรือไม่ว่า ทั้งๆ ที่เราก็ยื่นภาษีเงินได้ประจำปีไว แต่ทำไมได้ เงินคืนภาษีช้า (กว่าที่คิด) และหากคุณเป็นหนึ่งคนที่รู้สึกว่า การรอคอยเงินคืนภาษีมันยาวนานเหลือเกิน เราจะมาบอกให้คุณได้รู้ว่า สาเหตุที่คุณได้รับเงินคืนภาษีช้ากว่าที่คิด อาจจะมาจากเหตุผลต่อไปนี้ก็ได้
เปิดสาเหตุที่ทำให้ได้ เงินคืนภาษีช้า
1. เตรียมเอกสารไม่เรียบร้อย
เอกสาร คือหัวใจหลักของการยื่นภาษี หากคุณเตรียมเอกสารที่จะต้องใช้สำหรับการยื่นภาษีเงินได้ประจำปียังไม่ครบ ก็ไม่สามารถทำการยื่นภาษีได้ และเมื่อการยื่นภาษีล่าช้า เงินคืนภาษีย่อมได้รับล่าช้าตามไปด้วย ดังนั้น หากคุณอยากได้รับเงินคืนภาษีแบบรวดเร็วทันใจ คุณจะต้องเตรียมเอกสารให้ครบแต่เนิ่นๆ ไม่ว่าจะเป็น
- หนังสือรับรองเงินเดือนและการหักภาษี (ใบทวิ 50)
- เอกสารที่เกี่ยวกับค่าลดหย่อน อาทิ เอกสารการซื้อกองทุนต่างๆ (RMF ฯลฯ) , หนังสือรับรองการจ่ายค่าเบี้ยประกันชีวิต หรือ ประกันสุขภาพ, เอกสารการรับรองบุตร, ทะเบียนสมรส เป็นต้น
- ใบเสร็จต่างๆ ที่สามารถนำมาลดหย่อนภาษีได้ เช่น เที่ยวเมืองรองลดหย่อนภาษี , ช้อปช่วยชาติลดหย่อนภาษี เป็นต้น
การเตรียมเอกสารทุกอย่างให้เรียบร้อย นอกจากจะมีประโยชน์ในแง่ของความแม่นยำในการกรอกตัวเลขเพื่อยื่นภาษีแล้ว ยังเป็นประโยชน์เมื่อกรมสรรพากรขอเอกสารเพิ่มเติมด้วย เพราะเมื่อคุณมีการเตรียมทุกอย่างไว้แต่เนิ่นๆ ทำให้สามารถส่งเอกสารได้เร็วมากขึ้น และมีโอกาสได้รับเงินคืนภาษีรวดเร็วเพิ่มขึ้นอีกด้วย
2. กรมสรรพากรขอเอกสารเพิ่ม แต่เราไม่รู้เรื่อง
ถือเป็นเหตุที่พบบ่อย และเกิดได้ในทุกปีก็ว่าได้ เพราะผู้เสียภาษีหลายๆ คนที่ได้รับสิทธิ์เงินคืนภาษีมักจะคิดว่า เมื่อยื่นภาษีตามขั้นตอนทุกอย่างแล้ว จากนี้แค่รอรับเงินคืนภาษีอย่างเดียวพอ เราขอบอกเลยว่า คุณกำลังเข้าใจผิด
เพราะในหลายๆ ครั้งเจ้าหน้าที่จากกรมสรรพากรมีการยื่นขอเอกสารเพิ่มเติม แต่คุณอาจจะไม่ได้เช็ก ดังนั้น เมื่อยื่นภาษีเรียบร้อยแล้วอย่านิ่งนอนใจ เราแนะนำให้คุณตรวจสอบสถานะเงินคืนภาษีเรื่อยๆ เผื่อกรมสรรพากรมีการเรียกดูเอกสารอื่นๆ เพิ่ม คุณจะได้ส่งเอกสารเพิ่มได้เร็วขึ้น และลดระยะเวลาการรอเงินคืนภาษีลงด้วยอีกทางหนึ่ง
3. ไม่มีพร้อมเพย์ (PromptPay)
เท่าที่เราถามไถ่จากคนรอบตัวที่เลือกรับเงินคืนภาษีผ่านบริการพร้อมเพย์ในปีที่ผ่านๆ มา ทุกคนพูดเป็นเสียงเดียวกันว่า สรรพากรคืนเงินภาษีผ่านพร้อมเพย์เร็วกว่า เช็คเงินคืนภาษีจริงๆ ที่พูดแบบนี้เพราะส่วนใหญ่มักจะได้รับเงินคืนภาษีอย่างเร็วที่สุดคือ 3 – 7 วัน แต่หากรอรับเช็คเงินคืนภาษีบางกรณีอาจจะต้องรอถึง 45 วันอย่างต่ำเลยทีเดียว
ด้วยเหตุนี้หลายคนจึงเข้าใจผิดคิดไปว่า การที่สรรพากรอนุมัติเงินคืนภาษีผ่านเช็คช้า เพราะต้องการกดดันให้ประชาชนสมัครพร้อมเพย์กันมากขึ้น แต่ในความเป็นจริง
การที่คุณได้รับเงินคืนภาษีผ่านเช็คช้า กว่าคนที่มีบริการพร้อมเพย์นั้นเป็นเพราะ
โดยปกติเมื่อเราทำการยื่นภาษีและมีสิทธิ์ได้รับเงินคืนภาษีตามที่กฎหมายกำหนด สรรพากรจะทำการอนุมัติเงินและส่งให้ธนาคารดำเนินการออกเช็คและจัดส่งเช็คเงินคืนภาษีให้ผู้เสียภาษีทางไปรษณีย์ แต่เมื่อมีบริการพร้อมเพย์เข้ามาเป็นหนึ่งในตัวเลือกในการรับเงินคืนภาษี เจ้าหน้าที่กรมสรรพากรจึงต้องทำการตรวจสอบให้แน่ใจว่า ผู้เสียภาษีมีบริการพร้อมเพย์หรือไม่ และหากพบว่ามีพร้อมเพย์ก็จะทำการโอนเงินคืนภาษีให้ทันที
แต่หากคุณกำลังคิดว่า ในเมื่อเช็กแล้วว่าฉันไม่ได้สมัครพร้อมเพย์ไว้ ก็ออกหนังสือหรือออกเช็คเงินคืนภาษีได้ทันทีเลยสิ เราอยากจะบอกว่าคุณคิดผิดถนัดเลยล่ะ! เพราะเจ้าหน้าที่สรรพากรจะต้องตรวจสอบก่อนว่า ผู้เสียภาษีได้ทำการสมัครพร้อมเพย์หลังจากยื่นภาษีหรือไม่ หากครบกำหนดระยะเวลาแล้วพบว่า ผู้เสียภาษีไม่ได้สมัครพร้อมเพย์ไว้ (และไม่มีท่าทีว่าจะสมัครแน่ๆ ) ระบบจึงจะทำการออกเอกสารสำหรับรับเงินคืนภาษีที่เคาน์เตอร์ธนาคารที่สรรพากรกำหนดให้แทน
ทั้งนี้ทั้งนั้น เจ้าหน้าที่สรรพากรแจ้งว่า การรับเงินคืนภาษีผ่านบัญชีพร้อมเพย์นั้น จะต้องเป็นบัญชีพร้อมเพย์ผูกกับเลขประจำตัวประชาชนเท่านั้น บัญชีพร้อมเพย์ที่ผูกกับเบอร์โทรศัพท์จะไม่สามารถรับเงินคืนภาษีได้
สมัครพร้อมเพย์ เพื่อรับเงินคืนภาษีหลังจากยื่นภาษี ได้นะ รู้ยัง?
มาถึงตรงนี้ใครที่ทำการยื่นภาษีไปแล้วแต่ไม่มีพร้อมเพย์ และกำลังรอคอยเงินคืนภาษีอย่างใจจดใจจ่อ ไม่ต้องเป็นกังวลใจไป เพราะคุณสามารถสมัครบริการพร้อมเพย์หลังจากทำการยื่นภาษีและขอคืนเงินภาษีได้ 30 วัน เพราะหากระบบตรวจพบบัญชีพร้อมเพย์ของคุณ ทางสรรพากรจะทำการโอนเงินคืนภาษีให้คุณทันทีเช่นกัน และใครที่มุ่งมั่นตั้งใจว่าจะไม่สมัครพร้อมเพย์แน่ๆ ก็ไม่ต้องกังวลใจไป เพราะคุณจะยังได้รับเงินคืนภาษีเหมือนเดิม แต่อาจจะรอนานกว่าคนอื่นนิดหน่อยเท่านั้น
และสำหรับปีนี้ ทางสรรพากรได้ออกประกาศยกเลิกการคืนเงินภาษีผ่านเช็ค แต่ให้รับเงินภาษีผ่านพร้อมเพย์ หรือ รับเงินคืนภาษีได้ที่เคาน์เตอร์ธนาคาร ที่กรมสรรพากรกำหนด (รายละเอียดเพิ่มเติมที่ สรรพากรยกเลิกคืนเงินภาษีผ่านเช็ค) รู้แบบนี้แล้ว ใครอยากได้เงินคืนภาษีแบบด่วนทันใจ สมัครพร้อมเพย์ (PromptPay) ไว้ดีที่สุด!
RELATED POSTS
-
เงินคืนภาษี กับเรื่องต้องระวัง!สิ่งหนึ่งที่รัฐใช้จูงใจให้ผู้มีรายได้หันมายื่นภาษีกันมากขึ้นก็คือ “เงินคืนภาษี” แต่แม้ว่า การได้รับเงินคืนภาษีจะทำให้หลายคนพอใจ แต่การที่คุณจะได้รับเงินคืนภาษีนั้น ก็มีเรื่องต้องระวังอยู่เช่นกัน
เป็นพระต้องเสียภาษีมั๊ยศาสนาพุทธเป็นสิ่งที่อยู่คู่กับสังคมไทยมาช้านาน พระภิกษุในฐานะนักบวชของศาสนาพุทธจึงเป็นที่พึ่งให้พุทธศาสนิกชนในหลายๆ เรื่อง โดยเฉพาะทางด้านจิตใจ ซึ่งหลายๆ ครั้งก็มักจะจบลงด้วยการใส่ซองถวายเงินให้พระแล้วกราบ 3 ครั้ง วันนี้เราจะมาไขข้อข้องใจกันว่า ตามกฎหมายไทยเป็นพระต้องเสียภาษีมั้ย? 1. พระเป็นผู้เสียภาษีได้ไหม? ในมุมมองของปุถุชน เรามักจะมองว่าพระตัดแล้วซึ่งทางโลก แต่กฎหมายไม่ได้มองแบบนั้น กฎหมายยังคงมองว่าพระภิกษุยังคงเป็น บุคคลธรรมดา ตามกฎหมายอยู่ ดังนั้น ถ้าพระมีรายได้ พระก็จะพ่วงตำแหน่ง ผู้เสียภาษี ไปด้วย ในทางกลับกัน ถ้าพระไม่มีรายได้ พระก็ไม่มีหน้าที่เป็นผู้เสียภาษีแต่อย่างใด 2. พระจะมีรายได้ได้ไง? สำหรับพระซึ่งกฎหมายมองว่าเป็นบุคคลธรรมดา ก็ใช้หลักพื้นฐานง่ายๆ ว่าบุคคลธรรมดาคนนั้นมีรายได้ที่ต้องเสียภาษีไหม (หรือที่ศัพท์กฎหมายยากๆ เรียกว่า “เงินได้พึงประเมิน”) ซึ่งนักบวชที่เป็นพระภิกษุในศาสนาพุทธก็อาจจะมีรายได้ที่ต้องเสียภาษีได้ เช่น รายได้จากการสอนหนังสือ บรรยายธรรมให้องค์กรเอกชน ได้รับดอกเบี้ยเงินฝากธนาคาร เป็นต้น 3. แต่ไม่เคยเห็นพระรูปไหนเสียภาษีเลยนะ? ถ้าเงินที่พระได้รับเป็นเงินทำบุญที่ญาติโยมบริจาคเพื่อใช้ประโยชน์ในกิจการศาสนา แบบนี้จะเป็นเงินได้ที่ต้องได้รับยกเว้นภาษีอยู่แล้ว (มาตรา 42(29) ประมวลรัษฎากร) เมื่อเงินที่ได้ได้รับยกเว้นภาษี ก็แปลว่า พระไม่มีเงินได้ที่ต้องเสียภาษี เมื่อไม่มีเงินได้ก็เลยไม่ต้องเสียภาษีนั่นเอง สรุป ที่พระไม่ต้องเสียภาษีไม่ใช่เพราะพระมีสถานะเป็นพระ แต่เป็นเพราะเงินที่พระได้รับเป็นเงินที่ยกเว้นภาษีต่างหาก พระเลยไม่ต้องเสียภาษี ส่วนพระที่มีรายได้นอกเหนือจากเงินทำบุญ ท่านอาจจะมีหน้าที่ต้องเสียภาษีด้วยนะครับ ยังไงถ้าหลวงพี่ทำภาษีไม่เป็นจริงๆ นิมนต์หลวงพี่ใช้ www.itax.in.th ได้ฟรีนะครับ
-
ได้เงินทดแทนประกันสังคมเพราะตกงาน ต้องเสียภาษีมั้ย?พนักงานประจำที่ถูกหักเงินประกันสังคมเดือนละ ฿750 ทุกเดือน จะได้รับเงินทดแทนการขาดรายได้ หรือเงินชดเชยจากประกันสังคม ที่จ่ายให้พนักงานที่ออกจากงาน (ผู้ประกันตน) เพื่อช่วยเหลือในช่วงเวลาที่กำลังหางานประจำใหม่ และเงินทดแทนประกันสังคมก้อนนี้ต้องเสียภาษีหรือไม่?
-
บริจาคให้โรงพยาบาลลดหย่อนภาษีได้แล้วการบริจาคเงินให้โรงพยาบาลรัฐ และสถานพยาบาลของรัฐ สามารถนำมาใช้สิทธิลดหย่อนภาษีได้ 2 เท่า รวมถึงเงินบริจาคโครงการก้าวคนละก้าวก็สามารถลดหย่อนภาษีได้เช่นกัน
-
ถูกหวยต้องเสียภาษีรึเปล่า?เมื่อผลประกาศมาว่าเราถูกรางวัล! ไม่ว่าจะเป็นรางวัลที่ 1 หรือแม้แต่รางวัลเลขท้ายสองตัว เราจะมีสิทธินำสลากฯ ไปขึ้นรางวัล ซึ่งนั่นย่อมหมายความว่าเรารวยขึ้น และเป็นจุดเริ่มต้นของคำถามว่า เงินรางวัลที่ได้รับนั้นเป็นรายได้ที่ต้องเสียภาษีรึเปล่า?
-
วันเกิดกับภาษีวันเกิดเป็นปัจจัยสำคัญเกี่ยวกับการคำนวณภาษีและสิทธิประโยชน์ต่างๆ ที่อาจคาดไม่ถึง เพราะภาษีบางรายการมีความเกี่ยวข้องกับเกณฑ์อายุด้วย ดังนั้น วันเกิดของคุณจึงอาจส่งผลให้คุณได้สิทธิ์หรือเสียสิทธิ์ทางภาษีได้ในเวลาเดียวกัน
RELATED POSTS
-
เงินคืนภาษี กับเรื่องต้องระวัง!สิ่งหนึ่งที่รัฐใช้จูงใจให้ผู้มีรายได้หันมายื่นภาษีกันมากขึ้นก็คือ “เงินคืนภาษี” แต่แม้ว่า การได้รับเงินคืนภาษีจะทำให้หลายคนพอใจ แต่การที่คุณจะได้รับเงินคืนภาษีนั้น ก็มีเรื่องต้องระวังอยู่เช่นกัน
เป็นพระต้องเสียภาษีมั๊ยศาสนาพุทธเป็นสิ่งที่อยู่คู่กับสังคมไทยมาช้านาน พระภิกษุในฐานะนักบวชของศาสนาพุทธจึงเป็นที่พึ่งให้พุทธศาสนิกชนในหลายๆ เรื่อง โดยเฉพาะทางด้านจิตใจ ซึ่งหลายๆ ครั้งก็มักจะจบลงด้วยการใส่ซองถวายเงินให้พระแล้วกราบ 3 ครั้ง วันนี้เราจะมาไขข้อข้องใจกันว่า ตามกฎหมายไทยเป็นพระต้องเสียภาษีมั้ย? 1. พระเป็นผู้เสียภาษีได้ไหม? ในมุมมองของปุถุชน เรามักจะมองว่าพระตัดแล้วซึ่งทางโลก แต่กฎหมายไม่ได้มองแบบนั้น กฎหมายยังคงมองว่าพระภิกษุยังคงเป็น บุคคลธรรมดา ตามกฎหมายอยู่ ดังนั้น ถ้าพระมีรายได้ พระก็จะพ่วงตำแหน่ง ผู้เสียภาษี ไปด้วย ในทางกลับกัน ถ้าพระไม่มีรายได้ พระก็ไม่มีหน้าที่เป็นผู้เสียภาษีแต่อย่างใด 2. พระจะมีรายได้ได้ไง? สำหรับพระซึ่งกฎหมายมองว่าเป็นบุคคลธรรมดา ก็ใช้หลักพื้นฐานง่ายๆ ว่าบุคคลธรรมดาคนนั้นมีรายได้ที่ต้องเสียภาษีไหม (หรือที่ศัพท์กฎหมายยากๆ เรียกว่า “เงินได้พึงประเมิน”) ซึ่งนักบวชที่เป็นพระภิกษุในศาสนาพุทธก็อาจจะมีรายได้ที่ต้องเสียภาษีได้ เช่น รายได้จากการสอนหนังสือ บรรยายธรรมให้องค์กรเอกชน ได้รับดอกเบี้ยเงินฝากธนาคาร เป็นต้น 3. แต่ไม่เคยเห็นพระรูปไหนเสียภาษีเลยนะ? ถ้าเงินที่พระได้รับเป็นเงินทำบุญที่ญาติโยมบริจาคเพื่อใช้ประโยชน์ในกิจการศาสนา แบบนี้จะเป็นเงินได้ที่ต้องได้รับยกเว้นภาษีอยู่แล้ว (มาตรา 42(29) ประมวลรัษฎากร) เมื่อเงินที่ได้ได้รับยกเว้นภาษี ก็แปลว่า พระไม่มีเงินได้ที่ต้องเสียภาษี เมื่อไม่มีเงินได้ก็เลยไม่ต้องเสียภาษีนั่นเอง สรุป ที่พระไม่ต้องเสียภาษีไม่ใช่เพราะพระมีสถานะเป็นพระ แต่เป็นเพราะเงินที่พระได้รับเป็นเงินที่ยกเว้นภาษีต่างหาก พระเลยไม่ต้องเสียภาษี ส่วนพระที่มีรายได้นอกเหนือจากเงินทำบุญ ท่านอาจจะมีหน้าที่ต้องเสียภาษีด้วยนะครับ ยังไงถ้าหลวงพี่ทำภาษีไม่เป็นจริงๆ นิมนต์หลวงพี่ใช้ www.itax.in.th ได้ฟรีนะครับ
-
ได้เงินทดแทนประกันสังคมเพราะตกงาน ต้องเสียภาษีมั้ย?พนักงานประจำที่ถูกหักเงินประกันสังคมเดือนละ ฿750 ทุกเดือน จะได้รับเงินทดแทนการขาดรายได้ หรือเงินชดเชยจากประกันสังคม ที่จ่ายให้พนักงานที่ออกจากงาน (ผู้ประกันตน) เพื่อช่วยเหลือในช่วงเวลาที่กำลังหางานประจำใหม่ และเงินทดแทนประกันสังคมก้อนนี้ต้องเสียภาษีหรือไม่?
-
บริจาคให้โรงพยาบาลลดหย่อนภาษีได้แล้วการบริจาคเงินให้โรงพยาบาลรัฐ และสถานพยาบาลของรัฐ สามารถนำมาใช้สิทธิลดหย่อนภาษีได้ 2 เท่า รวมถึงเงินบริจาคโครงการก้าวคนละก้าวก็สามารถลดหย่อนภาษีได้เช่นกัน
-
ถูกหวยต้องเสียภาษีรึเปล่า?เมื่อผลประกาศมาว่าเราถูกรางวัล! ไม่ว่าจะเป็นรางวัลที่ 1 หรือแม้แต่รางวัลเลขท้ายสองตัว เราจะมีสิทธินำสลากฯ ไปขึ้นรางวัล ซึ่งนั่นย่อมหมายความว่าเรารวยขึ้น และเป็นจุดเริ่มต้นของคำถามว่า เงินรางวัลที่ได้รับนั้นเป็นรายได้ที่ต้องเสียภาษีรึเปล่า?
-
วันเกิดกับภาษีวันเกิดเป็นปัจจัยสำคัญเกี่ยวกับการคำนวณภาษีและสิทธิประโยชน์ต่างๆ ที่อาจคาดไม่ถึง เพราะภาษีบางรายการมีความเกี่ยวข้องกับเกณฑ์อายุด้วย ดังนั้น วันเกิดของคุณจึงอาจส่งผลให้คุณได้สิทธิ์หรือเสียสิทธิ์ทางภาษีได้ในเวลาเดียวกัน