ตามธรรมเนียมไทย เมื่อนักกีฬาทีมชาติไทยได้สร้างชื่อเสียงให้กับประเทศในระดับโลกพร้อมกับเหรียญรางวัลที่ได้นำกลับมาพร้อมกับความภูมิใจของคนทั้งชาติ บริษัทเอกชนจำนวนมากจะมอบเงินรางวัลสนับสนุนให้นักกีฬาที่ได้เหรียญกลับมา จึงมีประเด็นว่านักกีฬาที่ได้รับเหรียญจากมหกรรมกีฬาโอลิมปิก (Olympic) เช่น Tokyo 2020 เมื่อได้เงินอัดฉีดมาแล้วต้องภาษีเงินได้หรือไม่อย่างไรบ้าง
- ลงทะเบียนรับ QR Code เดินทางข้ามพื้นที่ covid-19.in.th หยุดเชื้อเพื่อชาติ
- www.sso.go.th ผู้ประกันตน ม. 40 รับเงินเยียวยาประกันสังคมเมื่อไหร่?
กรณีได้เงินอัดฉีดไม่เกิน 10 ล้านบาท
หากนักกีฬาได้รับเงินให้เปล่าจากบริษัทห้างร้าน โดยผู้ให้ไม่ได้หวังสิ่งใดตอบแทน แม้เงินที่ได้รับจะทำให้นักกีฬามีฐานะที่ดีขึ้น แต่ถ้าจำนวนเงินที่ได้รับนั้นไม่เกิน 10 ล้านบาท นักกีฬาจะได้รับยกเว้น ไม่ต้องนำเงินอัดฉีดส่วนนี้มาเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา (มาตรา 42(28) ประมวลรัษฎากร)
กรณีได้เงินอัดฉีดเกิน 10 ล้านบาท
โดยปกติแล้ว สำหรับบุคคลทั่วไป หากได้รับเงินเกิน 10 ล้านบาทจากบริษัทห้างร้าน โดยปกติ ผู้รับจะต้องเสียภาษีการรับให้ในอัตรา 5% ของส่วนที่เกินจากเงิน 10 ล้านบาท
แต่ถ้าผู้รับเป็นนักกีฬา รวมถึงสต๊าฟโค้ช และเงินที่ได้รับเป็นเงินอัดฉีด จะได้รับยกเว้นภาษีให้เป็นกรณีพิเศษ กล่าวคือ หากนักกีฬาได้รับเงินอัดฉีดเป็นรางวัลเนื่องจากเข้าร่วมการแข่งขันรายการมหกรรมกีฬาและรายการแข่งขันกีฬาสมัครเล่นระดับนานาชาติ (เช่น Olympic Tokyo 2020) นักกีฬาและทีมผู้ฝึกสอนจะได้รับยกเว้นไม่ต้องนำเงินอัดฉีดส่วนที่เกิน 10 ล้านบาทมาเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาด้วย (ข้อ 2(93) กฎกระทรวง ฉบับที่ 126 (พ.ศ. 2509)) ซึ่งวัตถุประสงค์ของนโยบายยกเว้นภาษีนี้คือ เพื่อเป็นการสนับสนุนนักกีฬาและผู้ฝึกสอนกีฬาที่ได้สร้างชื่อเสียงให้กับประเทศชาตินั่นเอง (อ้างอิง : กฎกระทรวง ฉบับที่ 325 (พ.ศ.2560))
สรุป
นักกีฬาที่ได้รับเงินอัดฉีดจากบริษัทห้างร้านเพื่อเป็นรางวัลเนื่องจากเข้าร่วมการแข่งขันมหกรรมกีฬาสากล เช่น โอลิมปิก จะได้รับยกเว้นไม่เสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาเลย