ประชาชนที่ฉีดวัคซีนโควิดแล้วพบอาการข้างเคียงภายหลังจากฉีดวัคซีนโควิด หรือ แพ้วัคซีนโควิด สามารถติดต่อขอรับเงินช่วยเหลือผ่านสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) ได้ รับเงินช่วยเหลือสูงสุด 400,000 บาท กรณีเสียชีวิต ทุพพลภาพถาวร หรือเจ็บป่วยเรื้อรังที่ต้องรักษาตลอดชีวิต
หมอพร้อม ลงทะเบียนฉีดวัคซีนโควิด 19 ผ่านไลน์
ครม. เห็นชอบ เงินบริจาคสถาบันวัคซีน ลดหย่อนภาษีได้
อาการหลังฉีดวัคซีน ที่เป็น อาการแพ้วัคซีนโควิด หรือ อาการข้างเคียงชนิดรุนแรง
หากพบอาการข้างเคียงชนิดรุนแรงต่อไปนี้ ควรรีบพบแพทย์โดยเร็วที่สุด หรือโทร. 1669 เพื่อขอรับความช่วยเหลือ
- มีไข้สูง
- ปวดศีรษะรุนแรง
- ใจสั่น หนาวสั่น
- เหนื่อย เจ็บหน้าอก แน่นหน้าอก หายใจลำบาก หรือหายใจไม่ออก
- หลอดเลือดอุดตัน
- หน้าเบี้ยว ปากเบี้ยว
- มีอาการชา กล้ามเนื้ออ่อนแรง แขนขาอ่อนแรง ไม่สามารถทรงตัวได้
- ตามัว เห็นภาพซ้อน
- มีจุด (จ้ำ) เลือดออกจำนวนมาก
- ผื่นขึ้นทั้งตัว ตุ่มน้ำพอง ผิวหนังลอก
- มีอาการบวมตามร่างกาย หน้าบวม คอบวม
- อาเจียนมากกว่า 5 ครั้ง
- ชัก หมดสติ
- ปวดท้องหรือปวดหลังรุนแรง
- ปวดข้อ ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อรุนแรง
อาการข้างเคียงที่ไม่รุนแรงและไม่ต้องไปพบแพทย์
อาการต่อไปนี้เป็นอาการทั่วไปที่ไม่รุนแรง สามารถหายเองได้ภายใน 1-2 วัน ไม่จัดเป็นอาการแพ้วัคซีน
- มีไข้ต่ำๆ หรือปวดศีรษะ
- ปวด บวม แดง ร้อน คัน บริเวณจุดที่ฉีดวัคซีน
- รู้สึกอ่อนเพลีย ไม่มีแรง
- ปวดเมื่อย ไม่สบายตัว
- คลื่นไส้ อาเจียน ไม่เกิน 5 ครั้ง
- มีผื่นแดงขึ้นเล็กน้อย
แพ้วัคซีนโควิด จ่ายเงินช่วยเหลือตามระดับความรุนแรงของความเสียหาย
การพิจารณาการจ่ายเงินช่วยเหลือจะเป็นไปตามมติคณะอนุกรรรมการพิจารณาวินิจฉัยคำร้องฯ ในระดับเขตพื้นที่ โดยคำนึงถึงความรุนแรงของความเสียหาย โดยมีหลักเกณฑ์ ดังนี้
1. กรณีบาดเจ็บหรือเจ็บป่วยต่อเนื่อง จ่ายสูงสุด 100,000 บาท
หากประชาชนเข้ารับวัคซีนโควิด-19 แล้วแพ้วัคซีนจนต้องสูญเสียอวัยวะหรือพิการที่มีผลกระทบกับการดำเนินชีวิต สามารถติดต่อขอรับเงินช่วยเหลือได้สูงสุดไม่เกิน 100,000 บาท
2. กรณีสูญเสียอวัยวะหรือพิการที่มีผลกระทบกับการดำเนินชีวิต จ่ายสูงสุด 240,000 บาท
หากประชาชนเข้ารับวัคซีนโควิด-19 แล้วแพ้วัคซีนจนต้องสูญเสียอวัยวะหรือพิการที่มีผลกระทบกับการดำเนินชีวิต สามารถติดต่อขอรับเงินช่วยเหลือได้สูงสุดไม่เกิน 240,000 บาท
3. กรณีเสียชีวิต ทุพพลภาพถาวร หรือเจ็บป่วยเรื้อรังที่ต้องรักษาตลอดชีวิต จ่ายสูงสุด 400,000 บาท
หากประชาชนเข้ารับวัคซีนโควิด-19 แล้วแพ้วัคซีนจนถึงขั้นสูญเสียเสียชีวิต ทุพพลภาพถาวร หรือเจ็บป่วยเรื้อรังที่ต้องรักษาตลอดชีวิต สามารถติดต่อขอรับเงินช่วยเหลือได้สูงสุดไม่เกิน 400,000 บาท
เงินช่วยเหลือแพ้วัคซีนคุ้มครองเฉพาะฉีดวัคซีนโควิดที่รัฐบาลจัดหาให้
ความคุ้มครองดังกล่าวจะคุ้มครองวัคซีนที่ฉีดจะต้องเป็นวัคซีนที่รัฐจัดให้ฟรีเท่านั้น ไม่รวมถึงวัคซีนทางเลือกที่ให้โดยโรงพยาบาลเอกชนที่มีการเรียกเก็บค่าใช้จ่าย
ทั้งนี้ ความคุ้มครองจะครอบคลุมคนไทยทุกคนที่ฉีดวัคซีนที่รัฐจัดหาให้ฟรี ไม่ว่าจะหลักประกันสุขภาพเป็นสิทธิบัตรทอง ประกันสังคม สวัสดิการข้าราชการ ฯลฯ
ผู้มีสิทธิยื่นคำร้องขอรับเงินช่วยเหลือ จ่ายภายใน 5 วันทำการ
ที่ประชุมคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เมื่อวันที่ 3 พฤษภาคม 2564 เห็นชอบให้ปรับเกณฑ์จ่ายเงินเพื่อช่วยเหลือเบื้องต้น แก่คนไทยทุกคนที่ได้รับความเสียหายจากการรับวัคซีนป้องกันโควิด-19 ซึ่งเป็นหลักการเดียวกับมาตรา 41 แห่ง พ.ร.บ.ประกันสุขภาพแห่งชาติ พ.ศ. 2545 โดยผู้มีสิทธิยื่นคำร้องขอรับเงินช่วยเหลือกรณีแพ้วัคซีนโควิด ได้แก่บุคคลต่อไปนี้
- ผู้รับวัคซีน
- ทายาท
- ผู้อุปการะ
- โรงพยาบาลที่ให้บริการ
โดยบุคคลเหล่านี้สามารถยื่นคำร้องได้ภายใน 2 ปี นับตั้งแต่วันที่ทราบความเสียหาย ที่โรงพยาบาลนั้น ๆ หรือที่สำนักงานสาธารณสุขจังหวัด (สสจ.) หรือที่สำนักงาน สปสช. สาขาเขตพื้นที่ทั่วประเทศ เพื่อให้คณะอนุกรรมการพิจารณาวินิจฉัยคำร้องฯ ในระดับเขตพื้นที่เป็นผู้พิจารณาระดับความเสียหาย ทั้งนี้ หลังคณะอนุกรรมการพิจารณาวินิจฉัยคำร้องฯ ในระดับเขตพื้นที่ ได้รับเรื่องแล้วจะต้องจ่ายเงินช่วยเหลือภายใน 5 วันทำการ
แต่หากเสียชีวิตเพราะสาเหตุอื่นแม้จะเกิดขึ้นภายหลังฉีดวัคซีนโควิด เช่น คณะอนุกรรมการพิจารณาวินิจฉัยคำร้องฯ ในระดับเขตพื้นที่มีผลการวินิจฉัยเห็นว่าสาเหตุการเสียชีวิตเกิดจากโรคประจำตัว ไม่เกี่ยวข้องกับการฉีดวัคซีนโควิด เป็นต้น กรณีนี้ สปสช. จะไม่จ่ายเงินช่วยเหลือ 400,000 บาทให้ ดังนั้น หากผู้ยื่นคำร้องไม่เห็นด้วยกับผลการวินิจฉัย สามารถยื่นอุทธรณ์ได้ภายใน 30 วันนับตั้งแต่วันที่ทราบผลการวินิจฉัย
ช่องทางยื่นคำร้องขอรับเงินช่วยเหลือกรณีแพ้วัคซีนโควิด
- โรงพยาบาลหรือสถานพยาบาลที่ฉีดวัคซีนให้
- สำนักงานสาธารณสุขจังหวัด
- สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) ทั้ง 13 เขตทั่วประเทศ
ยื่นเรื่องเข้ามาแล้ว 260 ราย จ่ายเงินเยียวยา ‘แพ้วัคซีน’ ไปแล้ว 162 ราย
ทั้งนี้ เมื่อวันที่ 4 มิถุนายน 2564 นายแพทย์ จเด็จ ธรรมธัชอารี เลขาธิการสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) เปิดเผยว่า สปสช. ได้รับเรื่องยื่นขอเยียวยาจากเหตุแพ้วัคซีนเข้ามาแล้ว 260 ราย และได้จ่ายเงินเยียวยาไปแล้วจำนวน 162 ราย โดยส่วนใหญ่เป็นเรื่องอาการชาหลังฉีดวัคซีน ซึ่ง สปสช. ถือว่าได้รับความเสียหาย หากมีอาการชาเป็นเวลาสั้น-ยาวจะมีผลต่อการจ่ายเงินชดเชยที่ต่างกันออกไป
ส่วนกรณีเสียชีวิตมีผู้ยื่นเรื่องขอเยียวยามาแล้ว 6 รายทั่วประเทศ และได้อนุมัติจ่ายเงิน 400,000 บาทไปแล้ว 1 ราย ที่พื้นที่ สปสช.เขต 4 สระบุรี และปฏิเสธ 1 ราย คณะอนุกรรมการฯ ในพื้นที่ กทม. ได้พิจารณาว่าไม่เกี่ยวข้อง จึงเหลืออีก 4 รายที่อยู่ในระหว่างการพิจารณา
เลขาธิการ สปสช. ยืนยันว่า ไม่ต้องถึงขนาดพิสูจน์ถูกผิดจนจบกระบวนการว่าอาการแพ้เกิดจากวัคซีนหรือไม่ แม้ไปฉีดวัคซีนแล้วเกิดอาการข้างเคียงหรือแม้กระทั่งเสียชีวิตแต่แพทย์จะระบุสาเหตุการเสียชีวิตจากเรื่องอื่น หากยังสงสัยว่าเกี่ยวกับวัคซีน ก็สามารถยื่นเรื่องขอรับเงินช่วยเหลือเบื้องต้นจาก สปสช. ได้เลย
เงินช่วยเหลือเพื่อชดใช้ความเสียหายได้รับยกเว้นภาษี
กรณีแพ้วัคซีนโควิดและได้ดำเนินการจนได้รับเงินช่วยเหลือจาก สปสช. เงินดังกล่าวจะเป็นเงินที่ได้รับยกเว้นไม่ต้องเสียภาษี เนื่องจากเป็นเงินค่าสินไหนทดแทนเพื่อชดใช้ความเสียหายที่เกิดจากเหตุละเมิดตามกฎหมาย ซึ่งกฎหมายกำหนดให้ได้รับยกเว้นภาษี ด้วยเหตุนี้ ผู้ได้รับเงินช่วยเหลือดังกล่าวจึงได้รับยกเว้นไม่ต้องทำเงินช่วยเหลือดังกล่าวไปเสียภาษี
รัฐบาลประกาศเกณฑ์ขอรับเงินช่วยเหลือ แพ้วัคซีนโควิด จ่ายภายใน 5 วันทำการ
เพจไทยคู่ฟ้า โดย ทำเนียบรัฐบาล ได้โพสประชาสัมพันธ์ข้อมูลผ่าน Facebook ประกาศเกณฑ์การขอรับเงินช่วยเหลือเบื้องต้นกรณีได้รับความเสียหายจากการฉีดวัคซีน โดยให้ยื่นคำร้องผ่านสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) ซึ่งเป็นหน่วยงานที่ดูแลกรณีนี้โดยตรง โดยมีข้อความดังนี้
เปิดเกณฑ์รับเงินช่วยเหลือ หากแพ้วัคซีนโควิด-19.เพื่อสร้างความมั่นใจให้กับประชาชนในการเข้ารับการฉีดวัคซีนป้องกันโรคโควิด-19 รัฐบาลจึงได้ประกาศเกณฑ์การขอรับเงินช่วยเหลือเบื้องต้นกรณีได้รับความเสียหายจากการฉีดวัคซีน ผ่านสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) ที่ดูแลเรื่องนี้โดยตรง.ในการพิจารณาการจ่ายเงินช่วยเหลือนี้ จะเป็นไปตามมติคณะอนุกรรรมการพิจารณาวินิจฉัยคำร้องฯ ในระดับเขตพื้นที่ โดยคำนึงถึงความรุนแรงของความเสียหาย ภายใต้หลักเกณฑ์ ดังนี้1.กรณีเสียชีวิต ทุพพลภาพถาวร หรือเจ็บป่วยเรื้อรังที่ต้องรักษาตลอดชีวิต จ่ายไม่เกิน 4 แสนบาท2.กรณีสูญเสียอวัยวะหรือพิการที่มีผลกระทบกับการดำเนินชีวิต จ่ายไม่เกิน 2.4 แสนบาท3.กรณีบาดเจ็บหรือเจ็บป่วยต่อเนื่อง จ่ายไม่เกิน 1 แสนบาท.หลักเกณฑ์ดังกล่าวจะครอบคลุมคนไทยทุกสิทธิ ไม่ว่าจะเป็นสิทธิบัตรทอง ประกันสังคม สวัสดิการข้าราชการ ฯลฯ แต่มีเงื่อนไข คือ วัคซีนที่ฉีดจะต้องเป็นวัคซีนที่รัฐจัดให้ฟรี ไม่รวมถึงวัคซีนทางเลือกที่ให้โดยโรงพยาบาลเอกชนที่มีการเรียกเก็บค่าใช้จ่าย.ใครบ้างที่มีสิทธิยื่นคำร้อง?ผู้รับวัคซีน ทายาท ผู้อุปการะ หรือโรงพยาบาลที่ให้บริการ สามารถยื่นคำร้องได้ภายใน 2 ปีนับตั้งแต่วันที่ทราบความเสียหาย ที่โรงพยาบาลนั้น ๆ หรือที่สำนักงานสาธารณสุขจังหวัด (สสจ.) หรือที่สำนักงาน สปสช. สาขาเขตพื้นที่ทั่วประเทศ
และหากผู้ยื่นคำร้องไม่เห็นด้วยกับผลการวินิจฉัย สามารถยื่นอุทธรณ์ได้ภายใน 30 วันนับตั้งแต่วันที่ทราบผลการวินิจฉัยเพื่อสร้างความมั่นใจให้กับประชาชนในการเข้ารับการฉีดวัคซีนป้องกันโรคโควิด-19