ครม. เห็นชอบ โครงการเยียวยารถสาธารณะ ลงทะเบียนรับเงินเยียวยา 5,000-10,000 บาท แท็กซี่ วินมอ’ไซค์ ในพื้นที่สีแดง (พื้นที่ควบคุมสูงสุดและเข้มงวด) 29 จังหวัด ที่มีอายุเกิน 65 ปี ซึ่งเป็นแรงงานนอกระบบประกันสังคม
- ตรวจสอบสิทธิมาตรา 40 ล่าสุด – เช็คเงินเยียวยา ประกันสังคม
- ขั้นตอนทบทวนสิทธิเงินเยียวยา ผู้ประกันตน ม.33, 39, 40
12 ตุลาคม 2564 – ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) มีมติเห็นชอบ “โครงการเยียวยารถสาธารณะ” หรือโครงการช่วยเหลือกลุ่มอาชีพผู้ขับรถยนต์รับจ้าง (รถแท็กซี่) และรถจักรยานยนต์สาธารณะที่มีอายุเกิน 65 ปี ที่อยู่ในพื้นที่ควบคุมสูงสุดและเข้มงวด (พื้นที่สีแดงเข้ม) จำนวน 29 จังหวัด
ช่องทางการ ลงทะเบียนรับเงินเยียวยา
ลงทะเบียนจองคิวล่วงหน้าผ่านแอป DLT Smart QUEUE ตั้งแต่วันที่ 18 ตุลาคม – 5 พฤศจิกายน 2564
- สำหรับผู้ใช้โทรศัพท์ Android >> โหลดแอป DLT Smart QUEUE บน Google Play
- สำหรับผู้ใช้โทรศัพท์ iPhone >> โหลดแอป DLT Smart QUEUE บน Apple App Store
เมื่อลงทะเบียนจองคิวเรียบร้อยแล้ว ให้เดินทางมาลงทะเบียนด้วยตัวเองตามจุดลงทะเบียนต่อไปนี้
- กรมการขนส่งทางบก อาคาร 6 ชั้น 7
- กลุ่มวิชาการขนส่ง สำนักงานขนส่งกรุงเทพมหานครพื้นที่ 1 – 4 และ
- กลุ่มวิชาการขนส่ง สำนักงานขนส่งจังหวัดทั่วประเทศ
โดยผู้ที่มีสิทธิได้รับเงินช่วยเหลือ ต้องลงทะเบียนขอรับสิทธิช่วยเหลือด้วยตนเอง ระหว่างวันที่ 25 ตุลาคม – 5 พฤศจิกายน 2564 ทั้งนี้ ให้เดินทางมาตามวันเวลาที่จอง ทั้งนี้ ไม่มีค่าใช้จ่ายในการลงทะเบียน
หลักฐานที่จำเป็นต้องเตรียมสำหรับลงทะเบียน
- ใบคำขอเพื่อรับสิทธิช่วยเหลือ (รับที่จุดลงทะเบียน)
- บัตรประจำตัวประชาชน
- ใบอนุญาตขับรถสาธารณะ
- บัตรประจำตัวผู้ขับรถสาธารณะ
กรมการขนส่งทางบกจะเปิดให้มีการลงทะเบียนรับเงินเยียวยาตามหลักเกณฑ์ของโครงการเยียวยารถสาธารณะ และจะดำเนินการตรวจสอบข้อมูลผู้ประกอบอาชีพขับรถยนต์รับจ้าง (รถแท็กซี่) และรถจักรยานยนต์สาธารณะ ที่มีอายุเกิน 65 ปี จากฐานข้อมูลใบอนุญาตขับรถยนต์สาธารณะ (รถแท็กซี่) และใบอนุญาตขับ รถจักรยานยนต์สาธารณะ
สำหรับกลุ่มผู้ขับรถแท็กซี่เช่าที่ไม่สามารถตรวจสอบพื้นที่ให้บริการได้ จะต้องทำการตรวจสอบยืนยันตัวตนก่อน เช่น ให้นิติบุคคลรถเช่า/สหกรณ์แท็กซี่เป็นผู้รับรอง เป็นต้น
กลุ่มเป้าหมายเยียวยาอาชีพขับรถสาธารณะ
- ผู้ขับรถยนต์รับจ้าง (รถแท็กซี่) 12,918 คน
- ผู้ขับรถจักรยานยนต์สาธารณะ 3,776 คน
- รวม 16,694 คน
คุณสมบัติของผู้มีสิทธิ ลงทะเบียนรับเงินเยียวยา แท็กซี่ วินมอ’ไซค์
- ประกอบอาชีพรถยนต์รับจ้าง(รถแท็กซี่) รถจักรยานยนต์รับจ้าง
- มีอายุเกิน 65 ปี
- ต้องมีรายชื่ออยู่ในฐานข้อมูลของกรมการขนส่งทางบก หรือให้กลุ่มแท็กซี่เช่าให้นิติบุคคลรถเช่า/สหกรณ์เป็นผู้รับรอง
- อยู่ในกลุ่มแรงงานนอกระบบ ไม่ได้เป็นผู้ประกันตนตามมาตรา 33 มาตรา 39 และมาตรา 40 ในระบบประกันสังคม
- อยู่ในพื้นที่ควบคุมสูงสุดและเข้มงวด (พื้นที่สีแดงเข้ม) 29 จังหวัด
เงื่อนไขการจ่ายเงินเยียวยา
กลุ่มที่มีสิทธิรับเงินเยียวยา 10,000 บาท
ผู้ที่อยู่ในพื้นที่ 13 จังหวัดสีแดงเข้มต่อไปนี้ จะได้รับเงินเยียวยาคนละ 5,000 บาท จำนวน 2 เดือน รวมเป็นเงิน 10,000 บาท
- กรุงเทพมหานคร
- นครปฐม
- นนทบุรี
- ปทุมธานี
- สมุทรปราการ
- สมุทรสาคร
- ฉะเชิงเทรา
- ชลบุรี
- พระนครศรีอยุธยา
- นราธิวาส
- ปัตตานี
- ยะลา
- สงขลา
กลุ่มที่มีสิทธิรับเงินเยียวยา 5,000 บาท
ผู้ที่อยู่ในพื้นที่ 16 จังหวัดสีแดงเข้มที่ประกาศเพิ่มเติมต่อไปนี้ จะได้รับเงินเยียวคนละ 5,000 บาท เป็นเวลา 1 เดือน
- กาญจนบุรี
- ตาก
- นครนายก
- นครราชสีมา
- ประจวบคีรีขันธ์
- ปราจีนบุรี
- เพชรบุรี
- เพชรบูรณ์
- ระยอง
- ราชบุรี
- ลพบุรี
- สิงห์บุรี
- สมุทรสงคราม
- สระบุรี
- สุพรรณบุรี
- อ่างทอง
ช่องทางรับเงินเยียวยา
- ผู้มีสิทธิรับเงินเยียวจะได้รับเงินโอนเงินผ่านพร้อมเพย์ที่ผูกกับเลขบัตรประชาชน หรือโอนตามวิธีการอื่นที่กรมการขนส่งทางบกกำหนด
รอบจ่ายเงินเยียวยา
- รอบแรก 8-12 พฤศจิกายน 2564
- รอบสอง 22-26 พฤศจิกายน 2564
รัฐบาลเยียวยาอาชีพขับรถสาธารณะ วงเงิน 166.94 ล้านบาท
นายธนกร วังบุญคงชนะ โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี กล่าวว่า คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบโครงการช่วยเหลือกลุ่มอาชีพผู้ขับรถยนต์รับจ้าง (รถแท็กซี่) และรถจักรยานยนต์สาธารณะที่มีอายุเกิน 65 ปี ที่อยู่ในกลุ่มแรงงานนอกระบบและไม่เป็นผู้ประกันตนตามมาตรา 33 มาตรา 39 และมาตรา 40 ในพื้นที่สีแดงเข้ม (พื้นที่ควบคุมสูงสุดและเข้มงวด) 29 จังหวัด แบ่งเป็น ผู้ขับรถยนต์รับจ้าง (รถแท็กซี่) 12,918 คน และผู้ขับรถจักรยานยนต์สาธารณะ 3,776 คน รวม 16,694 คน โดยจะสนับสนุนเงินช่วยเหลือค่าครองชีพ คนละ 5,000 บาทต่อเดือน ภายใต้กรอบวงเงิน 166.94 ล้านบาท
ทั้งนี้ สำหรับกลุ่มเป้าหมายที่อยู่ในพื้นที่ควบคุมสูงสุดและเข้มงวด 13 จังหวัด สนับสนุนเงินช่วยเหลือค่าครองชีพเป็นระยะเวลา 2 เดือน ส่วนพื้นที่ควบคุมสูงสุดและเข้มงวด 16 จังหวัดเพิ่มเติม สนับสนุนเงินช่วยเหลือค่าครองชีพระยะเวลา 1 เดือน
โดยกรมการขนส่งทางบกจะจ่ายเงินด้วยวิธีการโอนผ่านบัญชีพร้อมเพย์ (Promptpay) เฉพาะการผูกบัญชีกับเลขบัตรประจำตัวประชาชน หรือตามวิธีการอื่นที่กรมการขนส่งทางบกกำหนด โดยคาดว่าจะจ่ายเงินรอบแรกระหว่าง 8 – 12 พฤศจิกายน 2564 และจ่ายเงินรอบสอง ระหว่าง 22 – 26 พฤศจิกายน 2564
“โครงการฯ ดังกล่าวจะช่วยรักษาคุณภาพชีวิตของกลุ่มผู้ประกอบอาชีพขับรถยนต์รับจ้างและรถจักรยานยนต์สาธารณะ ในช่วงสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 พร้อมทั้งเป็นการช่วยกระตุ้นระบบเศรษฐกิจในภาพรวมของประเทศ เนื่องจากระบบการขนส่งสาธารณะเป็นปัจจัยสำคัญในการขับเคลื่อนให้เกิดกิจกรรมต่าง ๆ เพื่อเป็นการรักษาไว้ซึ่งระบบนิเวศน์ธุรกิจด้านการขนส่งด้วยรถสาธารณะ ที่จะส่งผลให้ประชาชนยังคงได้ใช้บริการรถสาธารณะที่มีคุณภาพ มีความครอบคลุมในพื้นที่อย่างปลอดภัยต่อไป” โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรีกล่าวทิ้งท้าย