สรุปเนื้อหาจากงาน “iTAX 2020 เทศกาลลดหย่อนภาษีประจำปี” เมื่อวันที่ 24 ต.ค. 2563
ไม่ว่าใครก็คงปฏิเสธไม่ได้ว่าโควิดทำให้หลายสิ่งเปลี่ยนแปลงไป ไม่ว่าจะเป็นวิถีชีวิต การทำงาน การใช้เวลาว่าง ไปจนถึงพฤติกรรมการเลือกซื้อสินค้าและบริการ เจ้าของธุรกิจและนักการตลาดจึงควรทำความเข้าใจถึงการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นในสถานการณ์โควิด-19 และศึกษาเทรนด์การตลาดที่กำลังเกิดขึ้นใหม่จากสถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็ว
ดร.เอกก์ ภทรธนกุล ประธานหลักสูตรปริญญาโทด้านแบรนด์และการตลาด (ภาษาอังกฤษ) จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย แบ่งปันเทรนด์การตลาดโลกในยุคหลังโควิด-19 ในงาน iTAX 2020 เทศกาลลดหย่อนภาษีประจำปี ว่าสถานการณ์ปัจจุบันของธุรกิจต่างๆ เป็นอย่างไร ควรปรับตัวไปในทิศทางใดเพื่อทำให้ธุรกิจยังสามารถดำเนินต่อไปได้ และเทรนด์การตลาดที่น่าสนใจในสถานการณ์โควิด-19 มีอะไรบ้าง
(อาจ) ไม่มีโอกาสในวิกฤติโควิด-19
ดร.เอกก์ กล่าวถึงสถานการณ์ของธุรกิจต่างๆ ในสถานการณ์โควิดว่าภาพรวมยังดูไม่ดีนัก กิจการยักษ์ใหญ่หลายกิจการล้มละลายหรือปิดกิจการไปหลายกิจการทั้งในประเทศไทยและต่างประเทศ ไม่ว่าจะเป็นกิจการในอุตสาหกรรมท่องเที่ยว อย่างโรงแรม สถานที่ท่องเที่ยว หรือสายการบิน นอกจากนี้ยังมีการประมาณการณ์ความเสียหายที่เกิดขึ้นจากโควิด-19 ว่าจะมีความร้ายแรงกว่าความเสียหายในวิกฤติเศรษฐกิจปี 2540 ถึง 4 เท่าเนื่องจากการใช้จ่ายในประเทศ การลงทุนจากต่างประเทศ การส่งออกและการท่องเที่ยวลดลงอย่างมากพร้อมๆ กัน
“อยู่นิ่งๆ จนกว่าหน้าหนาวจะผ่านพ้นไปแล้วจึงกลับมาเติบโตอีกครั้ง”
นี่อาจเปรียบเสมือน ‘ฤดูหนาว’ ของเศรษฐกิจ ผู้ประกอบการจึงยังไม่ควรตั้งคำถามว่าเราจะเติบโตอย่างไรแต่ควรเน้นไปที่การเอาตัวรอดก่อน “อยู่นิ่งๆ จนกว่าหน้าหนาวจะผ่านพ้นไปแล้วจึงกลับมาเติบโตอีกครั้ง” ดร.เอกก์เปรียบเทียบ
ลืมของเก่าแล้วไปต่อ
‘เมื่อมีโควิดเข้ามา บางอย่างที่เราเคยรู้มาก็ต้องเปลี่ยนหมด’ ดร.เอกก์กล่าวถึงเทรนด์ธุรกิจที่เคยเป็นที่จับตามองอย่างเศรษฐกิจแบบแบ่งปัน หรือ sharing economy ที่เติบโตอย่างรวดเร็วในช่วงที่ผ่านมาก่อนมีการระบาดของโควิด-19 เช่น แกร็บ อูเบอร์ แอร์บีเอ็นบี หรือพื้นที่ทำงานแบบ co-working space ต่างๆ ก็ต้องหยุดชะงักเนื่องจากผู้ใช้งานคำนึงถึงความปลอดภัย ไม่มั่นใจที่จะใช้ของ/พื้นที่ร่วมกับผู้อื่น ทำให้ผู้ประกอบการและนักการตลาดต้องลืมหลักการเก่าๆ ที่เคยใช้มาบ้าง แล้วมองหาโอกาสและความเป็นไปได้ใหม่ๆ
เทรนด์การตลาด 5 จ. ในยุคโควิด-19
ถึงแม้จะหวังการเติบโตของเศรษฐกิจไม่ได้มาก แต่เทรนด์การตลาดรูปแบบใหม่ๆ ที่สอดรับกับสถานการณ์ก็ยังมีให้นักการตลาดและผู้ประกอบการเห็นเป็นแนวทางเพื่อนำมาปรับใช้กับธุรกิจของตนเอง โดย ดร.เอกก์สรุปออกมาเป็นเทรนด์การตลาด 5 จ. ให้จำง่าย ดังนี้
1. จับกระแส
นักการตลาดตามตำรามักกล่าวว่า ‘อย่าตามกระแส’ เพราะกระแสนั้นมาเร็วไปเร็ว แต่ในปัจจุบันที่ผู้คนสามารถเข้าถึงอินเตอร์เน็ตได้อย่างแพร่หลาย กระแสที่ปรากฎขึ้นในโลกออนไลน์ก็สามารถเข้าถึงคนได้จำนวนมหาศาล ดังนั้นถึงจะเป็นระยะสั้นๆ แต่การจับกระแสก็ทำให้ธุรกิจของเราเข้าถึงลูกค้าจำนวนมากได้เช่นกัน
นอกจากนี้ ในสถานการณ์ปัจจุบันที่การคาดหมายอะไรๆ ในระยะยาวดูจะเป็นไปแทบไม่ได้ ‘กระแส’ ก็ยังคงเป็นเครื่องมือที่สำคัญของนักการตลาด
“ไม่ต้องแปลกใจที่ตอนนี้คนในสังคมคิดกันคนละอย่าง ขนาดขำยังขำกันคนละเรื่องเลย”
ด้วยอัลกอริทึมของสื่อออนไลน์ปัจจุบัน ทำให้ผู้ใช้งานสื่อออนไลน์แต่ละชนิดกลับได้รับ ‘สาส์น’ หรือเนื้อหาที่แตกต่างกันเกือบสิ้นเชิง เช่นถ้ามีกระแสอะไรเริ่มขึ้นมาในโลกออนไลน์ คนจะรู้จักมันบนติ๊กต็อก (TikTok) ก่อน หลังจากนั้นจะไปอยู่บนทวิตเตอร์ (Twitter) หลังจากนั้นจะไปอยู่บนอินสตาแกรม (Instagram) แล้วสุดท้ายจะไปอยู่บนเฟซบุ๊ก (Facebook) คนที่ใช้งานติ๊กต็อกกับคนที่ใช้งานเฟซบุ๊กก็จะมีอารมณ์ขันที่ต่างกันเพราะสื่อที่เสพเป็นคนละอย่างกัน “ไม่ต้องแปลกใจที่ตอนนี้คนในสังคมคิดกันคนละอย่าง ขนาดขำยังขำกันคนละเรื่องเลย” ดร. เอกก์กล่าว
แล้วจะรู้ได้อย่างไรว่าตอนนี้คนพูดถึงอะไรอยู่บนโลกออนไลน์? เครื่องมือสำรวจเทรนด์ออนไลน์สำหรับนักการตลาด เช่น BuzzSumo , Google Trends และ Wisesight Trends
2. จิกลูกค้า
นักการตลาดมักกล่าวว่า ‘อย่าจิกลูกค้า’ เพราะจะทำให้ลูกค้ารู้สึกอึดอัดและทำให้ภาพลักษณ์ของธุรกิจเสียไป
แต่ในปัจจุบันสื่อออนไลน์ทำให้การจิกลูกค้าง่ายขึ้นและไม่อึดอัดเท่าแต่ก่อนโดยวิธีการคือการยิงโฆษณาลงบนช่องทางออนไลน์ต่างๆ หากลูกค้าค้นหาอะไรบนอินเตอร์เน็ต นักการตลาดก็ควรใช้ข้อมูลนี้ให้เป็นประโยชน์ เครื่องมือในการสำรวจความสนใจของลูกค้า เช่น Facebook Pixel และ Google Tag Manager
3. จับกลุ่ม
นักการตลาดที่ดีควรตอบได้ว่ากลุ่มเป้าหมายของเราคือใคร พวกเขาจะไปรวมตัวกันอยู่ที่ไหน การทำการตลาดออนไลน์ก็เช่นกัน
ปัจจุบันในช่องทางออนไลน์ต่างๆ จะมีกลุ่มที่รวบรวมผู้ที่มีความสนใจคล้ายๆ กันอยู่มากมาย เช่น กลุ่มเฟซบุ๊กคนรักสุนัข กลุ่มไลน์แม่และเด็ก ซึ่งจะทำให้นักการตลาดเข้าถึงกลุ่มเป้าหมายของตนเองได้ง่ายขึ้น วิธีการค้นหาก็ไม่ยาก เพียงค้นหาคำสำคัญ เช่น รวม Facebook group คนรักสุนัข เป็นต้น
4. จริงใจ
การทำการตลาดอย่างจริงใจ เป็นหนึ่งในปัจจัยสำคัญที่ทำให้ธุรกิจเล็กๆ สามารถดึงจุดเด่นของตนเองออกมาและเอาชนะธุรกิจขนาดใหญ่ได้ เช่น ร้านขายของชำพี่บิ๊กเต้ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ที่มีการให้บริการลูกค้าอย่างเป็นกันเองและสร้างจุดเด่นของร้านโดยการเขียนแนะนำสินค้าต่างๆ ลงบนกระดาษโพส-อิทแล้วแปะไว้ตามชั้นวางสินค้า ทำให้ลูกค้ารู้สึกประทับใจในความจริงใจ ใส่ใจ และทำให้ธุรกิจของพี่บิ๊กเต้โดดเด่นกว่าร้านสะดวกซื้อธรรมดาๆ
5. จุนเจือ (สังคม)
เทรนด์การตลาดที่น่าสนใจในมุมมองของ ดร. เอกก์อย่างสุดท้าย คือ การตลาดแบบจุนเจือสังคม เช่น บริษัทไปรษณีย์ไทยที่มีบริการส่งอุปกรณ์ทางการแพทย์และหน้ากากอนามัยไปที่โรงพยาบาลโดยไม่มีค่าใช้จ่ายเพื่อช่วยเหลือบุคคลากรทางการแพทย์
ในวันที่ทุกคนต่างมีปัญหา การทำธุรกิจแบบเราอยู่ได้ เขาอยู่ได้ น่าจะเป็นวิธีที่ทำให้เกิดประโยชน์กับทุกคนมากที่สุด
RELATED POSTS
เป็นพระต้องเสียภาษีมั๊ย ศาสนาพุทธเป็นสิ่งที่อยู่คู่กับสังคมไทยมาช้านาน พระภิกษุในฐานะนักบวชของศาสนาพุทธจึงเป็นที่พึ่งให้พุทธศาสนิกชนในหลายๆ เรื่อง โดยเฉพาะทางด้านจิตใจ ซึ่งหลายๆ ครั้งก็มักจะจบลงด้วยการใส่ซองถวายเงินให้พระแล้วกราบ 3 ครั้ง วันนี้เราจะมาไขข้อข้องใจกันว่า ตามกฎหมายไทยเป็นพระต้องเสียภาษีมั้ย? 1. พระเป็นผู้เสียภาษีได้ไหม? ในมุมมองของปุถุชน เรามักจะมองว่าพระตัดแล้วซึ่งทางโลก แต่กฎหมายไม่ได้มองแบบนั้น กฎหมายยังคงมองว่าพระภิกษุยังคงเป็น บุคคลธรรมดา ตามกฎหมายอยู่ ดังนั้น ถ้าพระมีรายได้ พระก็จะพ่วงตำแหน่ง ผู้เสียภาษี ไปด้วย ในทางกลับกัน ถ้าพระไม่มีรายได้ พระก็ไม่มีหน้าที่เป็นผู้เสียภาษีแต่อย่างใด 2. พระจะมีรายได้ได้ไง? สำหรับพระซึ่งกฎหมายมองว่าเป็นบุคคลธรรมดา ก็ใช้หลักพื้นฐานง่ายๆ ว่าบุคคลธรรมดาคนนั้นมีรายได้ที่ต้องเสียภาษีไหม (หรือที่ศัพท์กฎหมายยากๆ เรียกว่า “เงินได้พึงประเมิน”) ซึ่งนักบวชที่เป็นพระภิกษุในศาสนาพุทธก็อาจจะมีรายได้ที่ต้องเสียภาษีได้ เช่น รายได้จากการสอนหนังสือ บรรยายธรรมให้องค์กรเอกชน ได้รับดอกเบี้ยเงินฝากธนาคาร เป็นต้น 3. แต่ไม่เคยเห็นพระรูปไหนเสียภาษีเลยนะ? ถ้าเงินที่พระได้รับเป็นเงินทำบุญที่ญาติโยมบริจาคเพื่อใช้ประโยชน์ในกิจการศาสนา แบบนี้จะเป็นเงินได้ที่ต้องได้รับยกเว้นภาษีอยู่แล้ว (มาตรา 42(29) ประมวลรัษฎากร) เมื่อเงินที่ได้ได้รับยกเว้นภาษี ก็แปลว่า พระไม่มีเงินได้ที่ต้องเสียภาษี เมื่อไม่มีเงินได้ก็เลยไม่ต้องเสียภาษีนั่นเอง สรุป ที่พระไม่ต้องเสียภาษีไม่ใช่เพราะพระมีสถานะเป็นพระ แต่เป็นเพราะเงินที่พระได้รับเป็นเงินที่ยกเว้นภาษีต่างหาก พระเลยไม่ต้องเสียภาษี ส่วนพระที่มีรายได้นอกเหนือจากเงินทำบุญ ท่านอาจจะมีหน้าที่ต้องเสียภาษีด้วยนะครับ ยังไงถ้าหลวงพี่ทำภาษีไม่เป็นจริงๆ นิมนต์หลวงพี่ใช้ www.itax.in.th ได้ฟรีนะครับ
วันเกิดกับภาษี วันเกิดเป็นปัจจัยสำคัญเกี่ยวกับการคำนวณภาษีและสิทธิประโยชน์ต่างๆ ที่อาจคาดไม่ถึง เพราะภาษีบางรายการมีความเกี่ยวข้องกับเกณฑ์อายุด้วย ดังนั้น วันเกิดของคุณจึงอาจส่งผลให้คุณได้สิทธิ์หรือเสียสิทธิ์ทางภาษีได้ในเวลาเดียวกัน
TAX Talks: ยื่นภาษียุคใหม่ ง่ายจริงหรือ? กรมสรรพากรเปิดตัว PIT Digital Service และโครงการ Open API ที่จะร่วมมือกับเอกชน นำทีมโดย iTAX ที่จะใช้นวัตกรรมใหม่ๆ ที่จะช่วยให้ผู้เสียภาษี ทำการยื่นภาษีได้สะดวกมากขึ้นในอนาคต
ถูกหวยต้องเสียภาษีรึเปล่า? เมื่อผลประกาศมาว่าเราถูกรางวัล! ไม่ว่าจะเป็นรางวัลที่ 1 หรือแม้แต่รางวัลเลขท้ายสองตัว เราจะมีสิทธินำสลากฯ ไปขึ้นรางวัล ซึ่งนั่นย่อมหมายความว่าเรารวยขึ้น และเป็นจุดเริ่มต้นของคำถามว่า เงินรางวัลที่ได้รับนั้นเป็นรายได้ที่ต้องเสียภาษีรึเปล่า?
แจ้งลาออกต้องบอกล่วงหน้านานแค่ไหน? กฎหมายแรงงานไม่บังคับลูกจ้างให้ต้องแจ้งลาออกล่วงหน้า 30 วัน ซึ่งโดยปกติสัญญาจ้างแรงงานทั่วไปมักจะไม่ได้กำหนดระยะเวลาหรือวันสิ้นสุดสัญญาจ้างที่แน่นอน ดังนั้น พนักงานจึงสามารถลาออกได้ทันที
4 ปัญหาสุดฮิตในฤดูภาษี แม้มนุษย์เงินเดือนและผู้มีรายได้หลายคนจะคุ้นเคยกับการที่จะต้อง ยื่นภาษีเงินได้ประจำปี ช่วง วันที่ 1 มกราคม - 31 มีนาคม ของทุกปี อยู่แล้ว แต่เราเชื่อว่าไม่ว่าคุณจะยื่นภาษีครั้งแรก หรือยื่่นภาษีมาแล้วหลายครั้ง ก็มักจะเจอปัญหาเหล่านี้อยู่บ่อยๆ และทีมงาน iTAX ได้ทำการรวบรวมปัญหาสุดฮิตที่พบบ่อยในช่วงยื่นภาษีมาให้แล้ว จะมีอะไรบ้าง ไปดูกัน 1. ภาษากฎหมาย ยาวไปไม่อ่าน เปลี่ยนแปลงบ่อยยิ่งกว่าอากาศ? "ภาษีเงินได้ที่ได้รับการยกเว้นจากการซื้ออสังหาริมทรัพย์" คืออะไร? จะเรียกง่ายๆ ว่า "สิทธิประโยชน์จากโครงการบ้านหลังแรก" ไม่ได้เหรอ? แล้วทุกวันนี้กฎหมายภาษีเปลี่ยนแปลงบ่อยมว๊ากก อยู่ดีๆ ภาษีข้อนี้ลดหย่อนข้อนั้นก็ผุดมา? ซึ่ง iTAX จะทำหน้าที่คอย Update กฎหมายแล้วจัดการแปลเป็นภาษาคนให้คุณทันที 2. ต้องกรอกแบบฟอร์มอะไรบ้าง? ต้นปีจะยื่น ภ.ง.ด. 90 หรือ 91? กลางปีต้องยื่น ภ.ง.ด. 94 ด้วยรึเปล่า? จะยื่นฟอร์มเสริมอะไรไปกับ ภ.ง.ด.บ้าง? ข้อมูลซ้ำๆ กัน อย่างเอาเลขนี้มารวมกับเลขนี้กรอกลงฟอร์มนี้ แล้วลบเลขนี้ค่อยมากรอกลงอีกฟอร์มนึง หรือแค่พิมพ์ชื่อใส่ไปทุกฟอร์มก็เมื่อยมือแล้ว ช่วยถามทีเดียวและกรอกลงมันทุกฟอร์มเลยได้มั๊ย? ได้สิ iTAX ทำให้หมดทุกอย่าง 3. ใช้สิทธิลดหย่อนเรื่องนี้ได้ป่าว จะโดนปรับทีหลังมั๊ย? ก็ไม่ได้อยากใช้สิทธิเกินจนต้องมาโดนปรับย้อนหลังหรอก แต่จะไปค้นจากไหนว่าลดหย่อนแต่ละรายการมีเงื่อนไขอะไรบ้าง? เอาแค่ ลดหย่อนเลี้ยงดูพ่อแม่ ก็มีเงื่อนไขตั้ง 3-4 ข้อแล้ว ต้องมานั่งค้นทุกรายการกันเลยไหมว่าเราเข้าข่ายลดหย่อนอะไรบ้างรึเปล่า? คงจะดีถ้ามีใครมาสรุปแล้วเช็คให้เลยว่าถูกเงื่อนไขทุกข้อไม่เกินและใช้สิทธิได้ครบจริงๆ ไม่ตกหล่น? ... แล้ว iTAX ก็จัดการให้คุณง่าย... ได้อีก 4. มีทางได้เงินคืนมากกว่านี้มั๊ย? คนนี้บอกรวยได้ภาษีไม่ยาก คนนั้นได้เงินคืนเยอะแยะ บางคนถึงขั้นลงทุนจ้างนักวางแผนภาษีส่วนตัว แต่เราไม่รู้จะไปหาที่ไหนเริ่มต้นยังไง? ลองใช้ iTAX ดู คุณจะได้แผนภาษีพร้อมแผนการเงินที่เหมาะกับสุขภาพการเงินและเป้าหมายทางการเงินของคุณ เหมือนมีที่ปรึกษามืออาชีพคอยบริการส่วนตัวให้ฟรีๆ ไม่ว่าในอดีตภาษีจะเป็นเรื่องที่ทำให้คุณปวดหัวมากแค่ไหน เราอยากให้คุณลืมความยุ่งยากน่าปวดหัวเหล่านั้นไปซะ เพราะ iTAX คือโปรแกรมที่จะช่วยให้คุณจัดการคำนวณภาษี วางแผนภาษี และหาตัวช่วยลดหย่อนภาษีได้ง่ายๆ แบบคนไม่รู้ภาษีก็ทำได้ อยากรู้ว่าเราพูดเรื่องจริงมั้ย? คลิกเลย www.itax.in.th
RELATED POSTS
เป็นพระต้องเสียภาษีมั๊ย ศาสนาพุทธเป็นสิ่งที่อยู่คู่กับสังคมไทยมาช้านาน พระภิกษุในฐานะนักบวชของศาสนาพุทธจึงเป็นที่พึ่งให้พุทธศาสนิกชนในหลายๆ เรื่อง โดยเฉพาะทางด้านจิตใจ ซึ่งหลายๆ ครั้งก็มักจะจบลงด้วยการใส่ซองถวายเงินให้พระแล้วกราบ 3 ครั้ง วันนี้เราจะมาไขข้อข้องใจกันว่า ตามกฎหมายไทยเป็นพระต้องเสียภาษีมั้ย? 1. พระเป็นผู้เสียภาษีได้ไหม? ในมุมมองของปุถุชน เรามักจะมองว่าพระตัดแล้วซึ่งทางโลก แต่กฎหมายไม่ได้มองแบบนั้น กฎหมายยังคงมองว่าพระภิกษุยังคงเป็น บุคคลธรรมดา ตามกฎหมายอยู่ ดังนั้น ถ้าพระมีรายได้ พระก็จะพ่วงตำแหน่ง ผู้เสียภาษี ไปด้วย ในทางกลับกัน ถ้าพระไม่มีรายได้ พระก็ไม่มีหน้าที่เป็นผู้เสียภาษีแต่อย่างใด 2. พระจะมีรายได้ได้ไง? สำหรับพระซึ่งกฎหมายมองว่าเป็นบุคคลธรรมดา ก็ใช้หลักพื้นฐานง่ายๆ ว่าบุคคลธรรมดาคนนั้นมีรายได้ที่ต้องเสียภาษีไหม (หรือที่ศัพท์กฎหมายยากๆ เรียกว่า “เงินได้พึงประเมิน”) ซึ่งนักบวชที่เป็นพระภิกษุในศาสนาพุทธก็อาจจะมีรายได้ที่ต้องเสียภาษีได้ เช่น รายได้จากการสอนหนังสือ บรรยายธรรมให้องค์กรเอกชน ได้รับดอกเบี้ยเงินฝากธนาคาร เป็นต้น 3. แต่ไม่เคยเห็นพระรูปไหนเสียภาษีเลยนะ? ถ้าเงินที่พระได้รับเป็นเงินทำบุญที่ญาติโยมบริจาคเพื่อใช้ประโยชน์ในกิจการศาสนา แบบนี้จะเป็นเงินได้ที่ต้องได้รับยกเว้นภาษีอยู่แล้ว (มาตรา 42(29) ประมวลรัษฎากร) เมื่อเงินที่ได้ได้รับยกเว้นภาษี ก็แปลว่า พระไม่มีเงินได้ที่ต้องเสียภาษี เมื่อไม่มีเงินได้ก็เลยไม่ต้องเสียภาษีนั่นเอง สรุป ที่พระไม่ต้องเสียภาษีไม่ใช่เพราะพระมีสถานะเป็นพระ แต่เป็นเพราะเงินที่พระได้รับเป็นเงินที่ยกเว้นภาษีต่างหาก พระเลยไม่ต้องเสียภาษี ส่วนพระที่มีรายได้นอกเหนือจากเงินทำบุญ ท่านอาจจะมีหน้าที่ต้องเสียภาษีด้วยนะครับ ยังไงถ้าหลวงพี่ทำภาษีไม่เป็นจริงๆ นิมนต์หลวงพี่ใช้ www.itax.in.th ได้ฟรีนะครับ
วันเกิดกับภาษี วันเกิดเป็นปัจจัยสำคัญเกี่ยวกับการคำนวณภาษีและสิทธิประโยชน์ต่างๆ ที่อาจคาดไม่ถึง เพราะภาษีบางรายการมีความเกี่ยวข้องกับเกณฑ์อายุด้วย ดังนั้น วันเกิดของคุณจึงอาจส่งผลให้คุณได้สิทธิ์หรือเสียสิทธิ์ทางภาษีได้ในเวลาเดียวกัน
TAX Talks: ยื่นภาษียุคใหม่ ง่ายจริงหรือ? กรมสรรพากรเปิดตัว PIT Digital Service และโครงการ Open API ที่จะร่วมมือกับเอกชน นำทีมโดย iTAX ที่จะใช้นวัตกรรมใหม่ๆ ที่จะช่วยให้ผู้เสียภาษี ทำการยื่นภาษีได้สะดวกมากขึ้นในอนาคต
ถูกหวยต้องเสียภาษีรึเปล่า? เมื่อผลประกาศมาว่าเราถูกรางวัล! ไม่ว่าจะเป็นรางวัลที่ 1 หรือแม้แต่รางวัลเลขท้ายสองตัว เราจะมีสิทธินำสลากฯ ไปขึ้นรางวัล ซึ่งนั่นย่อมหมายความว่าเรารวยขึ้น และเป็นจุดเริ่มต้นของคำถามว่า เงินรางวัลที่ได้รับนั้นเป็นรายได้ที่ต้องเสียภาษีรึเปล่า?
แจ้งลาออกต้องบอกล่วงหน้านานแค่ไหน? กฎหมายแรงงานไม่บังคับลูกจ้างให้ต้องแจ้งลาออกล่วงหน้า 30 วัน ซึ่งโดยปกติสัญญาจ้างแรงงานทั่วไปมักจะไม่ได้กำหนดระยะเวลาหรือวันสิ้นสุดสัญญาจ้างที่แน่นอน ดังนั้น พนักงานจึงสามารถลาออกได้ทันที
4 ปัญหาสุดฮิตในฤดูภาษี แม้มนุษย์เงินเดือนและผู้มีรายได้หลายคนจะคุ้นเคยกับการที่จะต้อง ยื่นภาษีเงินได้ประจำปี ช่วง วันที่ 1 มกราคม - 31 มีนาคม ของทุกปี อยู่แล้ว แต่เราเชื่อว่าไม่ว่าคุณจะยื่นภาษีครั้งแรก หรือยื่่นภาษีมาแล้วหลายครั้ง ก็มักจะเจอปัญหาเหล่านี้อยู่บ่อยๆ และทีมงาน iTAX ได้ทำการรวบรวมปัญหาสุดฮิตที่พบบ่อยในช่วงยื่นภาษีมาให้แล้ว จะมีอะไรบ้าง ไปดูกัน 1. ภาษากฎหมาย ยาวไปไม่อ่าน เปลี่ยนแปลงบ่อยยิ่งกว่าอากาศ? "ภาษีเงินได้ที่ได้รับการยกเว้นจากการซื้ออสังหาริมทรัพย์" คืออะไร? จะเรียกง่ายๆ ว่า "สิทธิประโยชน์จากโครงการบ้านหลังแรก" ไม่ได้เหรอ? แล้วทุกวันนี้กฎหมายภาษีเปลี่ยนแปลงบ่อยมว๊ากก อยู่ดีๆ ภาษีข้อนี้ลดหย่อนข้อนั้นก็ผุดมา? ซึ่ง iTAX จะทำหน้าที่คอย Update กฎหมายแล้วจัดการแปลเป็นภาษาคนให้คุณทันที 2. ต้องกรอกแบบฟอร์มอะไรบ้าง? ต้นปีจะยื่น ภ.ง.ด. 90 หรือ 91? กลางปีต้องยื่น ภ.ง.ด. 94 ด้วยรึเปล่า? จะยื่นฟอร์มเสริมอะไรไปกับ ภ.ง.ด.บ้าง? ข้อมูลซ้ำๆ กัน อย่างเอาเลขนี้มารวมกับเลขนี้กรอกลงฟอร์มนี้ แล้วลบเลขนี้ค่อยมากรอกลงอีกฟอร์มนึง หรือแค่พิมพ์ชื่อใส่ไปทุกฟอร์มก็เมื่อยมือแล้ว ช่วยถามทีเดียวและกรอกลงมันทุกฟอร์มเลยได้มั๊ย? ได้สิ iTAX ทำให้หมดทุกอย่าง 3. ใช้สิทธิลดหย่อนเรื่องนี้ได้ป่าว จะโดนปรับทีหลังมั๊ย? ก็ไม่ได้อยากใช้สิทธิเกินจนต้องมาโดนปรับย้อนหลังหรอก แต่จะไปค้นจากไหนว่าลดหย่อนแต่ละรายการมีเงื่อนไขอะไรบ้าง? เอาแค่ ลดหย่อนเลี้ยงดูพ่อแม่ ก็มีเงื่อนไขตั้ง 3-4 ข้อแล้ว ต้องมานั่งค้นทุกรายการกันเลยไหมว่าเราเข้าข่ายลดหย่อนอะไรบ้างรึเปล่า? คงจะดีถ้ามีใครมาสรุปแล้วเช็คให้เลยว่าถูกเงื่อนไขทุกข้อไม่เกินและใช้สิทธิได้ครบจริงๆ ไม่ตกหล่น? ... แล้ว iTAX ก็จัดการให้คุณง่าย... ได้อีก 4. มีทางได้เงินคืนมากกว่านี้มั๊ย? คนนี้บอกรวยได้ภาษีไม่ยาก คนนั้นได้เงินคืนเยอะแยะ บางคนถึงขั้นลงทุนจ้างนักวางแผนภาษีส่วนตัว แต่เราไม่รู้จะไปหาที่ไหนเริ่มต้นยังไง? ลองใช้ iTAX ดู คุณจะได้แผนภาษีพร้อมแผนการเงินที่เหมาะกับสุขภาพการเงินและเป้าหมายทางการเงินของคุณ เหมือนมีที่ปรึกษามืออาชีพคอยบริการส่วนตัวให้ฟรีๆ ไม่ว่าในอดีตภาษีจะเป็นเรื่องที่ทำให้คุณปวดหัวมากแค่ไหน เราอยากให้คุณลืมความยุ่งยากน่าปวดหัวเหล่านั้นไปซะ เพราะ iTAX คือโปรแกรมที่จะช่วยให้คุณจัดการคำนวณภาษี วางแผนภาษี และหาตัวช่วยลดหย่อนภาษีได้ง่ายๆ แบบคนไม่รู้ภาษีก็ทำได้ อยากรู้ว่าเราพูดเรื่องจริงมั้ย? คลิกเลย www.itax.in.th
เทรนด์การตลาด
Last modified: 24 November, 2020