เช็คสิทธิประกันสังคมมาตรา 40 รอบ 2 ตรวจสอบสถานะเงินเยียวยาผู้ประกันตน ม.40 ในพื้นที่สีแดงเข้ม (พื้นที่ควบคุมสูงสุดและเข้มงวด) อีก 16 จังหวัดที่ได้รับผลกระทบจากมาตรการควบคุมของรัฐ ที่สมัครตั้งแต่วันที่ 4-24 สิงหาคม 2564 โดยจะได้รับการช่วยเหลือค่าครองชีพให้คนละ 5,000 บาท ซึ่งเป็นผู้ประกันตน ม.40 จำนวน 5,258,030 คน ที่เว็บไซต์ sso.go.th ของสำนักงานประกันสังคม
- สมัครประกันสังคมมาตรา 40 รับเงินเยียวยา 5,000 บาท
- ลงทะเบียนรับ QR Code เดินทางข้ามพื้นที่ covid-19.in.th ‘หยุดเชื้อเพื่อชาติ’
- ตรวจสอบรายชื่อ 77 จังหวัด พื้นที่ ‘ล็อกดาวน์’ ของ ศบค. (อัพเดตล่าสุด)
ประกันสังคมกำหนดวันจ่ายเงินเยียวยาให้กับผู้ประกันตน มาตรา 40 รอบ 2 คนละ 5,000 บาท ที่สมัครตั้งแต่วันที่ 4-24 สิงหาคม 2564 ในพื้นที่ควบคุมสูงสุดและเข้มงวด หรือ พื้นที่สีแดงเข้มอีก 16 จังหวัด ทั้งนี้ ผู้ประกันตน ม.40 สามารถตรวจสอบสถานะ เช็คเงินเยียวยามาตรา 40 (เช็คสิทธิการรับเงินเยียวยา 5,000 บาท) ด้วยตนเองผ่านเว็บไซต์สำนักงานประกันสังคม www.sso.go.th
ช่องทาง เช็คสิทธิประกันสังคมมาตรา 40
- เว็บไซต์ประกันสังคม >> www.sso.go.th เริ่มตรวจสวยได้ตั้งแต่วันที่ 15 กันยายน 2564
วิธี เช็คสิทธิประกันสังคมมาตรา 40
- ไปที่เว็บไซต์ประกันสังคม >> www.sso.go.th
- กรอกเลขบัตรประชาชน 13 หลัก
- กรอกรหัสให้ตรงกับรูปภาพ
- กด ‘ค้นหา’
- ระบบจะแจ้งผล “ได้รับสิทธิ” หรือ “ไม่ได้รับสิทธิ” ตามเงื่อนไขโครงการเยียวยาผู้ประกันตนมาตรา 40 ในกิจการที่ได้รับผลกระทบจากมาตรการของรัฐในพื้นที่ควบคุมสูงสุด และเข้มงวด 29 จังหวัด ใน 9 ประเภทกิจการ
เช็คสิทธิประกันสังคมมาตรา 40 แล้วไม่ได้สิทธิ ต้องทำอย่างไรต่อดี?
- กรณีที่หากเช็คแล้วไม่ได้สิทธิ ให้รอยื่นทบทวนสิทธิ์อีกครั้งหนึ่ง โดยสำนักงานประกันสังคมได้เปิดให้ผู้ประกันตน มาตรา 40 สอบถามผ่านสายด่วนประกันสังคม 1506 ได้ตลอด 24 ชั่วโมง
รอบเวลาการโอนเงินเยียวยาของแต่ละธนาคาร
- ธนาคารออมสิน โอนเวลา 1.00 น.
- ธนาคารกสิกรไทย โอนเวลา 1.35 น.
- ธนาคารกรุงไทย โอนเวลา 3.00 น.
- ธนาคารกรุงเทพ โอนเวลา 3.00 น.
- ธนาคารไทยพาณิชย์ โอนเวลา 4.00 น.
- ธกส. โอนเวลา 4.30 น.
- ธนาคารอื่นๆ โอนเงินภายในเวลา 5.00 น.
หมายเหตุ: สำหรับผู้ที่โอนไม่สำเร็จ สำนักงานประกันสังคมจะทำการโอนเงินรอบเก็บตกให้ทุกวันพฤหัสบดี
หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไข เงินเยียวยาผู้ประกันตน ม.40
1. คุณสมบัติของกลุ่มเป้าหมายที่มีสิทธิได้รับเงินเยียวยา 5,000 บาท
- เป็นผู้ประกันตนตามมาตรา 40 ตั้งแต่วันที่ 4-24 สิงหาคม 2564
- มีสัญชาติไทย
- ไม่เป็นข้าราชการหรือผู้รับบำนาญของกรมบัญชีกลาง
- สถานะเป็นผู้ประกันตนตามมาตรา 40 ในฐานทะเบียนประกันสังคมที่มีสถานะ A (Active) ณ วันที่ 3 สิงหาคม 2564 (พื้นที่ควบคุมสูงสุดและเข้มงวดเพิ่มเติม 16 จังหวัด)
- ชำระเงินสมทบงวดใดงวดหนึ่งแล้วระหว่าง เดือนพฤษภาคม – สิงหาคม 2564
2. ต้องอยู่ในพื้นที่ควบคุมสูงสุดและเข้มงวด (สีแดงเข้ม) 16 จังหวัด
ผู้ประกันตน มาตรา 39 และ มาตรา 40 ที่จะมีสิทธิรับเงินเยียวยารอบ 2 ต้องขึ้นทะเบียนเป็นผู้ประกันตนในพื้นที่สำนักงานประกันสังคม ที่รับผิดชอบในพื้นที่ควบคุมสูงสุดและเข้มงวด และมีที่อยู่ในฐานทะเบียนประกันสังคม ในพื้นที่ควบคุมสูงสุด และเข้มงวดมีที่อยู่ตามภูมิลำเนาในพื้นที่ควบคุมสูงสุดและเข้มงวด 16 จังหวัด (ข้อมูลที่อยู่ในฐานข้อมูลของสำนักทะเบียนกลาง กรมปกครอง) ได้แก่
- นครราชสีมา
- ระยอง
- ราชบุรี
- สระบุรี
- สุพรรณบุรี
- กาญจนบุรี
- ลพบุรี
- เพชรบูรณ์
- ประจวบคีรีขันธ์
- ปราจีนบุรี
- เพชรบุรี
- ตาก
- อ่างทอง
- นครนายก
- สมุทรสงคราม
- สิงห์บุรี
หมายเหตุ: การเดินทางเข้า-ออกพื้นที่สีแดงเข้มต้องลงทะเบียนรับ QR Code เดินทางข้ามพื้นที่ covid-19.in.th ‘หยุดเชื้อเพื่อชาติ’ ด้วย
3. จ่าย เงินเยียวยาผู้ประกันตน ผ่านพร้อมเพย์
วิธีการจ่ายเงินเยียวยาให้ผู้ประกันตน ม.40 จะใช้วิธีโอนเงินให้ผู้ประกันตนผ่านบัญชีพร้อมเพย์ (PromptPay) ที่ผูกบัญชีกับเลขประจำตัวประชาชนแล้วเท่านั้น
โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี กล่าวเพิ่มเติมว่า ที่ประชุม ครม. ได้มอบให้กระทรวงแรงงานเร่งตรวจสอบยืนยันตัวตนของกลุ่มเป้าหมายเพื่อไม่ให้เกิดการเยียวยาซ้ำซ้อน และเร่งให้โอนเงินเยียวยาผู้ประกันตนตามมาตรา 39 และมาตรา 40 ที่อยู่ในพื้นที่ควบคุมสูงสุดและเข้มงวดใน 10 จังหวัด ก่อนระยะเวลาที่กำหนด ภายในวันที่ 24 สิงหาคม 2564 เนื่องจากเป็นกลุ่มที่อยู่ในพื้นที่ที่สถานการณ์การระบาดของโควิดมีความรุนแรงและได้รับผลกระทบจากการปฏิบัติตามข้อกำหนดฯ ของรัฐบาลก่อนพื้นที่อื่นๆ ทั้งนี้ รัฐบาลได้กำหนดกลุ่มเป้าหมาย ผู้ประกันตน ม.40 จำนวน 5,258,030 คน
กลุ่มกิจการที่ได้รับเงินเยียวยา 9 ประเภทกิจการ
1. ที่พักแรมและบริการด้านอาหาร
ตัวอย่างกิจการ
- โรงแรม
- รีสอร์ท
- เกสต์เฮาส์
- ที่พักสัมผัสวัฒนธรรมชนบท
- การบริการด้านอาหารในภัตตาคาร/ร้านอาหาร
- การบริการด้านอาหารบนแผงลอยและตลาด
- การบริการด้านการจัดเลี้ยง
- การบริการด้านเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์เป็นหลักในร้าน
2. การขนส่งและสถานที่เก็บสินค้า
ตัวอย่างกิจการ
- การขนส่งผู้โดยสารทางรถโดยสารประจําทางระหว่างกรุงเทพฯ กับจังหวัดอื่น และระหว่างจังหวัด
- การขนส่งผู้โดยสารโดยรถยนต์รับจ้าง/แท็กซี่/รถสามล้อเครื่อง/จักรยานยนต์รับจ้าง
- การขนส่งสินค้าแช่เย็นหรือแช่แข็งทางถนน
- การขนส่งสินค้าที่บรรจุในตู้คอนเทนเนอร์ทางถนน
3. การขายแข่งและการขายปลีก
ตัวอย่างกิจการ
- การซ่อมยานยนต์
- ห้างสรรพสินค้า
- ซุปเปอร์เซ็นเตอร์
- การขายปลีกสินค้าทั่วไป
4. กิจกรรมการบริหารและบริการสนับสนุน
ตัวอย่างกิจการ
- ธุรกิจจัดนําเที่ยว
- กิจกรรมของมัคคุเทศก์
- กิจกรรมการรักษาความปลอดภัย
- การบริการทําความสะอาด
- การจัดการประชุมและจัดการแสดงที่สินค้า (Event)
5. กิจกรรมวิชาชีพ วิทยาศาสตร์และกิจกรรมทางวิชาการ
ตัวอย่างกิจการ
- กิจกรรมของบริษัทโฆษณา
- กิจกรรมการออกแบบและตกแต่งภายใน
- การตรวจสอบบัญชี
- การให้คําปรึกษาด้านภาษี
6. ข้อมูลข่าวสารและการสื่อสาร
ตัวอย่างกิจการ
- กิจกรรมการผลิตภาพยนตร์และวีดิทัศน์
- กิจกรรมการผลิตรายการโทรทัศน์
- กิจกรรมด้านการจัดฉายภาพยนตร์
7. การก่อสร้าง
ตัวอย่างกิจการ
- การก่อสร้างอาคารที่พักอาศัย
- การก่อสร้างถนน, สะพานและอุโมงค์
- การติดตั้งระบบประปาและระบายน้ํา
8. กิจกรรมการบริการด้านอื่นๆ
ตัวอย่างกิจการ
- กิจกรรมสปา
- กิจกรรมการแต่งผม
- กิจกรรมการดูแลความงาม แต่งเล็บมือและเล็บเท้า
- กิจกรรมเกี่ยวกับงานศพและกิจกรรมที่เกี่ยวข้อง
9. ศิลปะ ความบันเทิงและนันทนาการ
ตัวอย่างกิจการ
- การดําเนินงานของสถานที่ออกกําลังกาย
- กิจกรรมด้านสโมสรกีฬา
- กิจกรรมด้านสวนสนุกและธีมปาร์ค
- กิจกรรมการแห่งโชว์เพื่อความบันเทิงและการนันทนาการ
ลดอัตราส่งเงินสมทบให้ผู้ประกันตน ม.40 เหลือ 60% ตั้งแต่ ส.ค. 2564 – ม.ค. 2565
พระราชกฤษฎีกากำหนดหลักเกณฑ์และอัตราการจ่ายเงินสมทบประเภทของประโยชน์ทดแทน ตลอดจนหลักเกณฑ์และเงื่อนไขแห่งสิทธิในการรับประโยชน์ทดแทนของบุคคลซึ่งสมัครเป็นผู้ประกันตน (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2564 ได้ปรับลดอัตราการส่งเงินสมทบของผู้ประกันตน ม.40 ลงเหลือ 60% เป็นเวลา 6 เดือน ตั้งแต่ 1 สิงหาคม พ.ศ. 2564 ถึง 31 มกราคม พ.ศ. 2565 ทำให้ผู้ประกันตนมาตรา 40 ซึ่งเป็นผู้ประกอบอาชีพอิสระ ฟรีแลนซ์ ค้าขาย และสนใจประกันตนภาคสมัครใจ จะมีทางเลือกส่งเงินสมทบได้ 3 ทางเลือก
- ทางเลือกที่ 1 เลือกรับประโยชน์ทดแทน 3 กรณี: อัตราเงินสมทบเหลือเดือนละ 42 บาท (จากเดิม 70 บาท)
- คุ้มครองกรณีประสบอันตรายหรือเจ็บป่วย
- คุ้มครองกรณีทุพพลภาพ
- คุ้มครองกรณีเสียชีวิต
- ทางเลือกที่ 2 เลือกรับประโยชน์ทดแทน 4 กรณี: อัตราเงินสมทบเหลือเดือนละ 60 บาท (จากเดิม 100 บาท)
- คุ้มครองกรณีประสบอันตรายหรือเจ็บป่วย
- คุ้มครองกรณีทุพพลภาพ
- คุ้มครองกรณีเสียชีวิต
- คุ้มครองกรณีชราภาพ ได้รับเงินก้อนพร้อมดอกผล
- ทางเลือกที่ 3 เลือกรับประโยชน์ทดแทน 5 กรณี: อัตราเงินสมทบเหลือเดือนละ 180 บาท (จากเดิม 300 บาท)
- คุ้มครองกรณีประสบอันตรายหรือเจ็บป่วย
- คุ้มครองกรณีทุพพลภาพ
- คุ้มครองกรณีเสียชีวิต
- คุ้มครองกรณีชราภาพ ได้รับเงินก้อนพร้อมดอกผล
- คุ้มครองกรณีสงเคราะห์บุตร ได้รับเงินรายเดือนตั้งแต่แรกเกิดถึง 6 ขวบ
หมายเหตุ: ทางเลือกที่ 1 จะได้รับประโยชน์ทดแทนน้อยที่สุด ในขณะที่ทางเลือกที่ 3 จะได้รับประโยชน์ทดแทนมากที่สุด