หากคุณเป็นพนักงานประจำและถูกหักเงินประกันสังคมเดือนละ ฿750 ทุกเดือน คุณจะได้รับสิทธิประโยชน์จากเงินประกันสังคมที่คุณจ่ายในวันที่ออกจากงานด้วย สิทธิประโยชน์ที่ว่านี้คือ เงินทดแทนการขาดรายได้ ซึ่งเป็นเงินที่จ่ายให้พนักงานที่ออกจากงาน (ผู้ประกันตน) เพื่อช่วยเหลือในช่วงเวลาที่กำลังหางานประจำใหม่
สิ่งที่อยากนำเสนอวันนี้ คือ การได้รับสิทธิเงินทดแทนการขาดรายได้เพราะตกงานต้องอย่างไรบ้าง และเงินทดแทนประกันสังคมก้อนนี้ต้องเสียภาษีหรือไม่?
1. ใครมีสิทธิได้เงินทดแทนประกันสังคมบ้าง
ถ้าภายในช่วง 15 เดือนก่อนที่คุณจะว่างงาน คุณได้จ่ายเงินประกันสังคมไปแล้วอย่างน้อย 6 เดือน คุณจะอยู่ในเกณฑ์ได้รับสิทธิได้เงินทดแทนประกันสังคม
2. ตกงานแบบไหนถึงจะมีสิทธิได้เงินทดแทนประกันสังคม
ไม่ว่าคุณถูกไล่ออกหรือลาออกเอง ก็มีสิทธิได้เงินทดแทนประกันสังคมอยู่แล้ว เพียงแต่ว่าผลประโยชน์ที่ได้รับจะแตกต่างกันดังนี้
คุณจะได้รับเงินทดแทนในอัตรา 50% ของค่าจ้างเฉลี่ยต่อเดือน โดยจะจ่ายให้เป็นรายเดือน แต่โดยปกติเงินทดแทนการขาดรายได้นี้จะถูกกำหนดไว้สูงสุดไม่เกินเดือนละ ฿7,500 โดยจะได้รับเงินทดแทนนี้เป็นเวลา 180 วัน (ประมาณ 6 เดือน) ตลอดช่วงเวลาที่ตกงาน
คุณจะได้รับเงินทดแทนในอัตรา 30% ของค่าจ้างเฉลี่ยต่อเดือน โดยจะจ่ายให้เป็นรายเดือน แต่โดยปกติเงินทดแทนการขาดรายได้นี้จะถูกกำหนดไว้สูงสุดไม่เกินเดือนละ ฿4,500 โดยจะได้รับเงินทดแทนนี้เป็นเวลา 90 วัน (ประมาณ 3 เดือน) ตลอดช่วงเวลาที่ตกงาน
3. อยากได้เงินทดแทนต้องทำยังไงบ้าง?
คุณจะมีสิทธิได้รับเงินทดแทนการขาดรายได้ก็ต่อเมื่อ ไปขึ้นทะเบียนสำนักจัดหางานภายใน 30 วันนับแต่วันที่ว่างงาน โดยจะเลือกไปสำนักจัดหางานไหนก็ได้ที่สะดวก
เมื่อขึ้นทะเบียนไปแล้ว คุณจะต้องรายงานตัวเดือนละครั้ง โดยสามารถเลือกกดเช็คชื่อรายงานตัวออนไลน์ก็ได้ แต่ถ้าเดือนไหนลืมรายงานตัวเดือนนั้นก็จะไม่ได้รับเงินทดแทนฯ
เมื่อคุณทำถูกต้องครบทุกขั้นตอน โดยปกติกองทุนประกันสังคมจะจ่ายเงินทดแทนการขาดรายได้ให้ภายใน 7 วัน นับแต่วันที่รายงานตัว โดยจะจ่ายให้เป็นรายเดือนจนกว่าคุณจะหางานใหม่ได้ หรือครบระยะเวลาการช่วยเหลือ
4. เงินทดแทนการขาดรายได้ต้องเสียภาษีมั้ย?
เงินทดแทนการขาดรายได้เป็นเงินประโยชน์ทดแทนที่ผู้ประกันตนได้รับจากกองทุนประกันสังคมจากกรณีว่างงาน ซึ่งได้รับยกเว้นภาษีอยู่แล้ว (มาตรา 42(25) ประมวลรัษฎากร) ไม่ต้องนำมาคำนวณภาษีหรือเสียภาษีแต่อย่างใด
สรุป
เมื่อออกจากงาน เงินประกันสังคมที่คุณเคยจ่ายไว้ทุกเดือนให้สิทธิประโยชน์เงินทดแทนการขาดรายได้ก็จริง แต่คุณต้องขึ้นทะเบียนเพื่อใช้สิทธิให้ถูกต้องด้วย
ถ้าคุณออกจากงานปีนี้แล้วไม่แน่ใจว่าต้องเสียภาษีเท่าไหร่ สามารถใช้ iTAX ช่วยคำนวณภาษีได้ที่แอป iTAX โหลดฟรีทั้ง iOS และ Android แต่ถ้าคำนวณแล้วรู้สึกยังอยากได้เงินคืนภาษีมากกว่านั้น สามารถเลือกค่าลดหย่อนที่น่าสนใจได้ที่ iTAX shop
RELATED POSTS
เป็นพระต้องเสียภาษีมั๊ย ศาสนาพุทธเป็นสิ่งที่อยู่คู่กับสังคมไทยมาช้านาน พระภิกษุในฐานะนักบวชของศาสนาพุทธจึงเป็นที่พึ่งให้พุทธศาสนิกชนในหลายๆ เรื่อง โดยเฉพาะทางด้านจิตใจ ซึ่งหลายๆ ครั้งก็มักจะจบลงด้วยการใส่ซองถวายเงินให้พระแล้วกราบ 3 ครั้ง วันนี้เราจะมาไขข้อข้องใจกันว่า ตามกฎหมายไทยเป็นพระต้องเสียภาษีมั้ย? 1. พระเป็นผู้เสียภาษีได้ไหม? ในมุมมองของปุถุชน เรามักจะมองว่าพระตัดแล้วซึ่งทางโลก แต่กฎหมายไม่ได้มองแบบนั้น กฎหมายยังคงมองว่าพระภิกษุยังคงเป็น บุคคลธรรมดา ตามกฎหมายอยู่ ดังนั้น ถ้าพระมีรายได้ พระก็จะพ่วงตำแหน่ง ผู้เสียภาษี ไปด้วย ในทางกลับกัน ถ้าพระไม่มีรายได้ พระก็ไม่มีหน้าที่เป็นผู้เสียภาษีแต่อย่างใด 2. พระจะมีรายได้ได้ไง? สำหรับพระซึ่งกฎหมายมองว่าเป็นบุคคลธรรมดา ก็ใช้หลักพื้นฐานง่ายๆ ว่าบุคคลธรรมดาคนนั้นมีรายได้ที่ต้องเสียภาษีไหม (หรือที่ศัพท์กฎหมายยากๆ เรียกว่า “เงินได้พึงประเมิน”) ซึ่งนักบวชที่เป็นพระภิกษุในศาสนาพุทธก็อาจจะมีรายได้ที่ต้องเสียภาษีได้ เช่น รายได้จากการสอนหนังสือ บรรยายธรรมให้องค์กรเอกชน ได้รับดอกเบี้ยเงินฝากธนาคาร เป็นต้น 3. แต่ไม่เคยเห็นพระรูปไหนเสียภาษีเลยนะ? ถ้าเงินที่พระได้รับเป็นเงินทำบุญที่ญาติโยมบริจาคเพื่อใช้ประโยชน์ในกิจการศาสนา แบบนี้จะเป็นเงินได้ที่ต้องได้รับยกเว้นภาษีอยู่แล้ว (มาตรา 42(29) ประมวลรัษฎากร) เมื่อเงินที่ได้ได้รับยกเว้นภาษี ก็แปลว่า พระไม่มีเงินได้ที่ต้องเสียภาษี เมื่อไม่มีเงินได้ก็เลยไม่ต้องเสียภาษีนั่นเอง สรุป ที่พระไม่ต้องเสียภาษีไม่ใช่เพราะพระมีสถานะเป็นพระ แต่เป็นเพราะเงินที่พระได้รับเป็นเงินที่ยกเว้นภาษีต่างหาก พระเลยไม่ต้องเสียภาษี ส่วนพระที่มีรายได้นอกเหนือจากเงินทำบุญ ท่านอาจจะมีหน้าที่ต้องเสียภาษีด้วยนะครับ ยังไงถ้าหลวงพี่ทำภาษีไม่เป็นจริงๆ นิมนต์หลวงพี่ใช้ www.itax.in.th ได้ฟรีนะครับ
บริจาคให้โรงพยาบาลลดหย่อนภาษีได้แล้ว การบริจาคเงินให้โรงพยาบาลรัฐ และสถานพยาบาลของรัฐ สามารถนำมาใช้สิทธิลดหย่อนภาษีได้ 2 เท่า รวมถึงเงินบริจาคโครงการก้าวคนละก้าวก็สามารถลดหย่อนภาษีได้เช่นกัน
ถูกหวยต้องเสียภาษีรึเปล่า? เมื่อผลประกาศมาว่าเราถูกรางวัล! ไม่ว่าจะเป็นรางวัลที่ 1 หรือแม้แต่รางวัลเลขท้ายสองตัว เราจะมีสิทธินำสลากฯ ไปขึ้นรางวัล ซึ่งนั่นย่อมหมายความว่าเรารวยขึ้น และเป็นจุดเริ่มต้นของคำถามว่า เงินรางวัลที่ได้รับนั้นเป็นรายได้ที่ต้องเสียภาษีรึเปล่า?
วันเกิดกับภาษี วันเกิดเป็นปัจจัยสำคัญเกี่ยวกับการคำนวณภาษีและสิทธิประโยชน์ต่างๆ ที่อาจคาดไม่ถึง เพราะภาษีบางรายการมีความเกี่ยวข้องกับเกณฑ์อายุด้วย ดังนั้น วันเกิดของคุณจึงอาจส่งผลให้คุณได้สิทธิ์หรือเสียสิทธิ์ทางภาษีได้ในเวลาเดียวกัน
4 ปัญหาสุดฮิตในฤดูภาษี แม้มนุษย์เงินเดือนและผู้มีรายได้หลายคนจะคุ้นเคยกับการที่จะต้อง ยื่นภาษีเงินได้ประจำปี ช่วง วันที่ 1 มกราคม - 31 มีนาคม ของทุกปี อยู่แล้ว แต่เราเชื่อว่าไม่ว่าคุณจะยื่นภาษีครั้งแรก หรือยื่่นภาษีมาแล้วหลายครั้ง ก็มักจะเจอปัญหาเหล่านี้อยู่บ่อยๆ และทีมงาน iTAX ได้ทำการรวบรวมปัญหาสุดฮิตที่พบบ่อยในช่วงยื่นภาษีมาให้แล้ว จะมีอะไรบ้าง ไปดูกัน 1. ภาษากฎหมาย ยาวไปไม่อ่าน เปลี่ยนแปลงบ่อยยิ่งกว่าอากาศ? "ภาษีเงินได้ที่ได้รับการยกเว้นจากการซื้ออสังหาริมทรัพย์" คืออะไร? จะเรียกง่ายๆ ว่า "สิทธิประโยชน์จากโครงการบ้านหลังแรก" ไม่ได้เหรอ? แล้วทุกวันนี้กฎหมายภาษีเปลี่ยนแปลงบ่อยมว๊ากก อยู่ดีๆ ภาษีข้อนี้ลดหย่อนข้อนั้นก็ผุดมา? ซึ่ง iTAX จะทำหน้าที่คอย Update กฎหมายแล้วจัดการแปลเป็นภาษาคนให้คุณทันที 2. ต้องกรอกแบบฟอร์มอะไรบ้าง? ต้นปีจะยื่น ภ.ง.ด. 90 หรือ 91? กลางปีต้องยื่น ภ.ง.ด. 94 ด้วยรึเปล่า? จะยื่นฟอร์มเสริมอะไรไปกับ ภ.ง.ด.บ้าง? ข้อมูลซ้ำๆ กัน อย่างเอาเลขนี้มารวมกับเลขนี้กรอกลงฟอร์มนี้ แล้วลบเลขนี้ค่อยมากรอกลงอีกฟอร์มนึง หรือแค่พิมพ์ชื่อใส่ไปทุกฟอร์มก็เมื่อยมือแล้ว ช่วยถามทีเดียวและกรอกลงมันทุกฟอร์มเลยได้มั๊ย? ได้สิ iTAX ทำให้หมดทุกอย่าง 3. ใช้สิทธิลดหย่อนเรื่องนี้ได้ป่าว จะโดนปรับทีหลังมั๊ย? ก็ไม่ได้อยากใช้สิทธิเกินจนต้องมาโดนปรับย้อนหลังหรอก แต่จะไปค้นจากไหนว่าลดหย่อนแต่ละรายการมีเงื่อนไขอะไรบ้าง? เอาแค่ ลดหย่อนเลี้ยงดูพ่อแม่ ก็มีเงื่อนไขตั้ง 3-4 ข้อแล้ว ต้องมานั่งค้นทุกรายการกันเลยไหมว่าเราเข้าข่ายลดหย่อนอะไรบ้างรึเปล่า? คงจะดีถ้ามีใครมาสรุปแล้วเช็คให้เลยว่าถูกเงื่อนไขทุกข้อไม่เกินและใช้สิทธิได้ครบจริงๆ ไม่ตกหล่น? ... แล้ว iTAX ก็จัดการให้คุณง่าย... ได้อีก 4. มีทางได้เงินคืนมากกว่านี้มั๊ย? คนนี้บอกรวยได้ภาษีไม่ยาก คนนั้นได้เงินคืนเยอะแยะ บางคนถึงขั้นลงทุนจ้างนักวางแผนภาษีส่วนตัว แต่เราไม่รู้จะไปหาที่ไหนเริ่มต้นยังไง? ลองใช้ iTAX ดู คุณจะได้แผนภาษีพร้อมแผนการเงินที่เหมาะกับสุขภาพการเงินและเป้าหมายทางการเงินของคุณ เหมือนมีที่ปรึกษามืออาชีพคอยบริการส่วนตัวให้ฟรีๆ ไม่ว่าในอดีตภาษีจะเป็นเรื่องที่ทำให้คุณปวดหัวมากแค่ไหน เราอยากให้คุณลืมความยุ่งยากน่าปวดหัวเหล่านั้นไปซะ เพราะ iTAX คือโปรแกรมที่จะช่วยให้คุณจัดการคำนวณภาษี วางแผนภาษี และหาตัวช่วยลดหย่อนภาษีได้ง่ายๆ แบบคนไม่รู้ภาษีก็ทำได้ อยากรู้ว่าเราพูดเรื่องจริงมั้ย? คลิกเลย www.itax.in.th
ฟรีแลนซ์ยื่นภาษียังไง? การยื่นภาษีของฟรีแลนซ์ เงินได้ฟรีแลนซ์ถือเป็น เงินได้ประเภท 2 (เงินได้ตามมาตรา 40(2)) และจะต้องใช้ใบ 50 ทวิ (ตั้งแต่ 1 ม.ค. - 31 ธ.ค.) ในการยื่นภาษีเช่นกัน
RELATED POSTS
เป็นพระต้องเสียภาษีมั๊ย ศาสนาพุทธเป็นสิ่งที่อยู่คู่กับสังคมไทยมาช้านาน พระภิกษุในฐานะนักบวชของศาสนาพุทธจึงเป็นที่พึ่งให้พุทธศาสนิกชนในหลายๆ เรื่อง โดยเฉพาะทางด้านจิตใจ ซึ่งหลายๆ ครั้งก็มักจะจบลงด้วยการใส่ซองถวายเงินให้พระแล้วกราบ 3 ครั้ง วันนี้เราจะมาไขข้อข้องใจกันว่า ตามกฎหมายไทยเป็นพระต้องเสียภาษีมั้ย? 1. พระเป็นผู้เสียภาษีได้ไหม? ในมุมมองของปุถุชน เรามักจะมองว่าพระตัดแล้วซึ่งทางโลก แต่กฎหมายไม่ได้มองแบบนั้น กฎหมายยังคงมองว่าพระภิกษุยังคงเป็น บุคคลธรรมดา ตามกฎหมายอยู่ ดังนั้น ถ้าพระมีรายได้ พระก็จะพ่วงตำแหน่ง ผู้เสียภาษี ไปด้วย ในทางกลับกัน ถ้าพระไม่มีรายได้ พระก็ไม่มีหน้าที่เป็นผู้เสียภาษีแต่อย่างใด 2. พระจะมีรายได้ได้ไง? สำหรับพระซึ่งกฎหมายมองว่าเป็นบุคคลธรรมดา ก็ใช้หลักพื้นฐานง่ายๆ ว่าบุคคลธรรมดาคนนั้นมีรายได้ที่ต้องเสียภาษีไหม (หรือที่ศัพท์กฎหมายยากๆ เรียกว่า “เงินได้พึงประเมิน”) ซึ่งนักบวชที่เป็นพระภิกษุในศาสนาพุทธก็อาจจะมีรายได้ที่ต้องเสียภาษีได้ เช่น รายได้จากการสอนหนังสือ บรรยายธรรมให้องค์กรเอกชน ได้รับดอกเบี้ยเงินฝากธนาคาร เป็นต้น 3. แต่ไม่เคยเห็นพระรูปไหนเสียภาษีเลยนะ? ถ้าเงินที่พระได้รับเป็นเงินทำบุญที่ญาติโยมบริจาคเพื่อใช้ประโยชน์ในกิจการศาสนา แบบนี้จะเป็นเงินได้ที่ต้องได้รับยกเว้นภาษีอยู่แล้ว (มาตรา 42(29) ประมวลรัษฎากร) เมื่อเงินที่ได้ได้รับยกเว้นภาษี ก็แปลว่า พระไม่มีเงินได้ที่ต้องเสียภาษี เมื่อไม่มีเงินได้ก็เลยไม่ต้องเสียภาษีนั่นเอง สรุป ที่พระไม่ต้องเสียภาษีไม่ใช่เพราะพระมีสถานะเป็นพระ แต่เป็นเพราะเงินที่พระได้รับเป็นเงินที่ยกเว้นภาษีต่างหาก พระเลยไม่ต้องเสียภาษี ส่วนพระที่มีรายได้นอกเหนือจากเงินทำบุญ ท่านอาจจะมีหน้าที่ต้องเสียภาษีด้วยนะครับ ยังไงถ้าหลวงพี่ทำภาษีไม่เป็นจริงๆ นิมนต์หลวงพี่ใช้ www.itax.in.th ได้ฟรีนะครับ
บริจาคให้โรงพยาบาลลดหย่อนภาษีได้แล้ว การบริจาคเงินให้โรงพยาบาลรัฐ และสถานพยาบาลของรัฐ สามารถนำมาใช้สิทธิลดหย่อนภาษีได้ 2 เท่า รวมถึงเงินบริจาคโครงการก้าวคนละก้าวก็สามารถลดหย่อนภาษีได้เช่นกัน
ถูกหวยต้องเสียภาษีรึเปล่า? เมื่อผลประกาศมาว่าเราถูกรางวัล! ไม่ว่าจะเป็นรางวัลที่ 1 หรือแม้แต่รางวัลเลขท้ายสองตัว เราจะมีสิทธินำสลากฯ ไปขึ้นรางวัล ซึ่งนั่นย่อมหมายความว่าเรารวยขึ้น และเป็นจุดเริ่มต้นของคำถามว่า เงินรางวัลที่ได้รับนั้นเป็นรายได้ที่ต้องเสียภาษีรึเปล่า?
วันเกิดกับภาษี วันเกิดเป็นปัจจัยสำคัญเกี่ยวกับการคำนวณภาษีและสิทธิประโยชน์ต่างๆ ที่อาจคาดไม่ถึง เพราะภาษีบางรายการมีความเกี่ยวข้องกับเกณฑ์อายุด้วย ดังนั้น วันเกิดของคุณจึงอาจส่งผลให้คุณได้สิทธิ์หรือเสียสิทธิ์ทางภาษีได้ในเวลาเดียวกัน
4 ปัญหาสุดฮิตในฤดูภาษี แม้มนุษย์เงินเดือนและผู้มีรายได้หลายคนจะคุ้นเคยกับการที่จะต้อง ยื่นภาษีเงินได้ประจำปี ช่วง วันที่ 1 มกราคม - 31 มีนาคม ของทุกปี อยู่แล้ว แต่เราเชื่อว่าไม่ว่าคุณจะยื่นภาษีครั้งแรก หรือยื่่นภาษีมาแล้วหลายครั้ง ก็มักจะเจอปัญหาเหล่านี้อยู่บ่อยๆ และทีมงาน iTAX ได้ทำการรวบรวมปัญหาสุดฮิตที่พบบ่อยในช่วงยื่นภาษีมาให้แล้ว จะมีอะไรบ้าง ไปดูกัน 1. ภาษากฎหมาย ยาวไปไม่อ่าน เปลี่ยนแปลงบ่อยยิ่งกว่าอากาศ? "ภาษีเงินได้ที่ได้รับการยกเว้นจากการซื้ออสังหาริมทรัพย์" คืออะไร? จะเรียกง่ายๆ ว่า "สิทธิประโยชน์จากโครงการบ้านหลังแรก" ไม่ได้เหรอ? แล้วทุกวันนี้กฎหมายภาษีเปลี่ยนแปลงบ่อยมว๊ากก อยู่ดีๆ ภาษีข้อนี้ลดหย่อนข้อนั้นก็ผุดมา? ซึ่ง iTAX จะทำหน้าที่คอย Update กฎหมายแล้วจัดการแปลเป็นภาษาคนให้คุณทันที 2. ต้องกรอกแบบฟอร์มอะไรบ้าง? ต้นปีจะยื่น ภ.ง.ด. 90 หรือ 91? กลางปีต้องยื่น ภ.ง.ด. 94 ด้วยรึเปล่า? จะยื่นฟอร์มเสริมอะไรไปกับ ภ.ง.ด.บ้าง? ข้อมูลซ้ำๆ กัน อย่างเอาเลขนี้มารวมกับเลขนี้กรอกลงฟอร์มนี้ แล้วลบเลขนี้ค่อยมากรอกลงอีกฟอร์มนึง หรือแค่พิมพ์ชื่อใส่ไปทุกฟอร์มก็เมื่อยมือแล้ว ช่วยถามทีเดียวและกรอกลงมันทุกฟอร์มเลยได้มั๊ย? ได้สิ iTAX ทำให้หมดทุกอย่าง 3. ใช้สิทธิลดหย่อนเรื่องนี้ได้ป่าว จะโดนปรับทีหลังมั๊ย? ก็ไม่ได้อยากใช้สิทธิเกินจนต้องมาโดนปรับย้อนหลังหรอก แต่จะไปค้นจากไหนว่าลดหย่อนแต่ละรายการมีเงื่อนไขอะไรบ้าง? เอาแค่ ลดหย่อนเลี้ยงดูพ่อแม่ ก็มีเงื่อนไขตั้ง 3-4 ข้อแล้ว ต้องมานั่งค้นทุกรายการกันเลยไหมว่าเราเข้าข่ายลดหย่อนอะไรบ้างรึเปล่า? คงจะดีถ้ามีใครมาสรุปแล้วเช็คให้เลยว่าถูกเงื่อนไขทุกข้อไม่เกินและใช้สิทธิได้ครบจริงๆ ไม่ตกหล่น? ... แล้ว iTAX ก็จัดการให้คุณง่าย... ได้อีก 4. มีทางได้เงินคืนมากกว่านี้มั๊ย? คนนี้บอกรวยได้ภาษีไม่ยาก คนนั้นได้เงินคืนเยอะแยะ บางคนถึงขั้นลงทุนจ้างนักวางแผนภาษีส่วนตัว แต่เราไม่รู้จะไปหาที่ไหนเริ่มต้นยังไง? ลองใช้ iTAX ดู คุณจะได้แผนภาษีพร้อมแผนการเงินที่เหมาะกับสุขภาพการเงินและเป้าหมายทางการเงินของคุณ เหมือนมีที่ปรึกษามืออาชีพคอยบริการส่วนตัวให้ฟรีๆ ไม่ว่าในอดีตภาษีจะเป็นเรื่องที่ทำให้คุณปวดหัวมากแค่ไหน เราอยากให้คุณลืมความยุ่งยากน่าปวดหัวเหล่านั้นไปซะ เพราะ iTAX คือโปรแกรมที่จะช่วยให้คุณจัดการคำนวณภาษี วางแผนภาษี และหาตัวช่วยลดหย่อนภาษีได้ง่ายๆ แบบคนไม่รู้ภาษีก็ทำได้ อยากรู้ว่าเราพูดเรื่องจริงมั้ย? คลิกเลย www.itax.in.th
ฟรีแลนซ์ยื่นภาษียังไง? การยื่นภาษีของฟรีแลนซ์ เงินได้ฟรีแลนซ์ถือเป็น เงินได้ประเภท 2 (เงินได้ตามมาตรา 40(2)) และจะต้องใช้ใบ 50 ทวิ (ตั้งแต่ 1 ม.ค. - 31 ธ.ค.) ในการยื่นภาษีเช่นกัน