สรรพากรตั้งเป้า เก็บภาษีร้านขายของออนไลน์บน Social Media ปี 2563

ทั่วไป

แม้ว่าจะมีการบังคับใช้ กฎหมายภาษีธุรกรรมลักษณะเฉพาะ (ภาษี E-Payment) หรือภาษีร้านค้าออนไลน์ไปแล้ว แต่เพราะปัจจุบันร้านค้าต่างๆ ไม่ได้อยู่บนเว็บไซต์เท่านั้น แต่ยังมีกิจกรรมการซื้อ – ขายของ บนแพลตฟอร์ม Social Media ด้วย และแน่นอนว่า กรมสรรพากรเตรียมมาตรการรับมือเรียบร้อยแล้ว

ดร. เอกนิติ นิติทัณฑ์ประภาศ อธิบดีกรมสรรพากร เปิดเผยว่า

ในปี 2563 กรมสรรพากรจะโฟกัสไปที่การจัดเก็บภาษีจากการทำธุรกิจออนไลน์ หรือ การขายของออนไลน์ในประเทศไทย (e-commerce) ซึ่งปัจจุบันกรมสรรพากรได้จัดตั้งกองสำรวจธุรกิจนอกระบบ เพื่อทำหน้าที่ติดตามและจับตาดูผู้ประกอบการหรือร้านค้าออนไลน์ที่ขายของบน Social Media ไม่ว่าจะเป็น Facebook, Lazada, Instagram ฯลฯ ว่าผู้ประกอบการหรือร้านค้าเหล่านั้น คือร้านค้าที่อยู่ในระบบ และได้ทำการเสียภาษีถูกต้องหรือไม่

และหากพบว่าร้านค้าหรือผู้ประกอบการบนแพลตฟอร์มออนไลน์ต่างๆ ยังไม่ใช่ร้านค้าที่อยู่ในระบบ และไม่มีการเสียภาษีให้ถูกต้องตามที่กฎหมายกำหนด กรมสรรพากรจะทำการเรียกมาพูดคุย และให้คำแนะนำเกี่ยวกับการดำเนินการ และการชำระภาษีให้ถูกต้อง  แต่หากได้รับคำแนะนำแล้วยังพบว่าผู้ประกอบการยังไม่ทำการยื่นภาษีให้ถูกต้อง อาจจะมีความผิดฐานเลี่ยงภาษีได้

กรมสรรพากรยืนยันว่า มาตรการดังกล่าวมีจุดประสงค์เพื่อให้ผู้ประกอบการเข้าระบบได้ถูกต้องเท่านั้น ไม่ได้มีจุดประสงค์หลักเพื่อการรีดภาษีจากพ่อค้าแม่ค้าออนไลน์แต่อย่างใด

และในปี 2562 กรมสรรพากรได้ส่งเจ้าหน้าที่เข้าไปให้ความรู้ คำแนะนำแก่ผู้ประกอบการ และทำการดึงผู้ประกอบการหรือเจ้าของธุรกิจออนไลน์เข้าระบบและเสียภาษี ด้วยการยื่นแบบแสดงรายได้กับกรมสรรพากรแล้ว 100,000 ราย และสามารถเก็บภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาจากผู้ประกอบการและร้านค้าออนไลน์ได้ประมาณ 1,000 ล้านบาท

และกรมสรรพากรตั้งเป้าว่า ในปี 2563 จะสามารถดึงผู้ประกอบการร้านค้าออนไลน์เข้าสู่ระบบภาษีเพิ่มเป็น 1.7 แสนราย และเชื่อว่าในปี 2563 จะสามารถเก็บภาษีจากผู้ประกอบการร้านค้าออนไลน์ได้มากกว่า 1,000 ล้านบาทแน่นอน

ยกเลิก ข้อยกเว้นการจัดเก็บภาษีมูลค่าเพิ่ม (VAT) สำหรับการนำเข้าสินค้าที่ไม่เกิน 1,500 บาท เพื่อความยุติธรรม

สำหรับ การยกเว้นข้อยกเว้นการจัดเก็บภาษีมูลค่าเพิ่ม (VAT) 7% สำหรับการนำเข้าสินค้าจากต่างประเทศนั้น เป็นเพราะกรมสรรพากรเห็นว่า ข้อยกเว้นการจัดเก็บภาษีมูลค่าเพิ่ม (VAT) สำหรับการนำเข้าสินค้าที่ไม่เกิน 1,500 บาทนั้น ส่งผลให้มีบุคคลบางกลุ่มอาศัยช่องโหว่ของข้อกฎหมายนี้ นำของมาขายโดยไม่เสียภาษี ทำให้เกิดผลกระทบที่ตามมาคือ ผู้ประกอบการไทย และ SME เกิดความเสียเปรียบ

ดังนั้น หากทำการยกเลิกข้อยกเว้นการจัดเก็บภาษีมูลค่าเพิ่ม (VAT) สำหรับการนำเข้าสินค้าที่ไม่เกิน 1,500 บาท จะทำให้ทุกคนเสียภาษีอย่างเป็นธรรม และเท่าเทียมกัน และถึงแม้จะมีการยกเลิก ข้อยกเว้นการจัดเก็บภาษีมูลค่าเพิ่ม (VAT) สำหรับการนำเข้าสินค้าที่ไม่เกิน 1,500 บาท ผู้ประกอบการก็ไม่ต้องกังวลใดๆ

เพราะหากคุณมีรายได้ในแต่ละปีไม่เกิน 1.8 ล้านบาท ก็ไม่ต้อง เสียภาษีมูลค่าเพิ่ม (VAT)

จะเสียแค่ ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา เท่านั้น

หมายเหตุ 

มาตรการยกเลิกข้อยกเว้นการจัดเก็บภาษีมูลค่าเพิ่ม (VAT) สำหรับการนำเข้าสินค้าที่ไม่เกิน 1,500 บาทนั้นยังอยู่ในขั้นตอนการพิจารณารายละเอียดทางกฎหมายเท่านั้น

ดร. เอกนิติ นิติทัณฑ์ประภาศ อธิบดีกรมสรรพากร ยืนยันว่า

ผู้ค้าออนไลน์ไม่ต้องห่วง กรมสรรพากรพร้อมช่วยที่จะทำให้ถูกต้อง หน้าที่ของกรมสรรพากรคือต้องไม่เปิดโอกาสให้คนที่หลบภาษี ได้ดีกว่าคนที่จ่ายภาษี ไม่อย่างนั้นประเทศไทยจะอยู่ไม่ได้ หลายประเทศในละตินอเมริกาที่มีปัญหาการคลัง เพราะคนหลบภาษีเยอะ หน้าที่เราคือต้องสร้างความเป็นธรรม

และสำหรับการยื่นแบบภาษีเงินได้ประจำปี 2562  ที่ต้องยื่นภายในวันที่ 1 มกราคม – 31 มีนาคม 2563 นั้น กรมสรรพากรแนะนำให้ผู้ประกอบการหรือบุคคลธรรมดาที่มีรายได้จากการขายของออนไลน์ ทำการยื่นภาษีและเสียภาษีให้ถูกต้อง เพื่อที่จะไม่ต้องเสี่ยงกับค่าปรับเงินเพิ่ม และการถูกตรวจสอบภาษีย้อนหลังในอนาคต

และสำหรับผู้เสียภาษีที่ต้องการจะวางแผนภาษี และคำนวณภาษีสำหรับการยื่นภาษีเงินได้ประจำปี 2562 แอป iTAX Pro คำนวณภาษีเพื่อเตรียมพร้อมสำหรับการยื่นภาษีได้ฟรี ทั้ง iOS และ Android

app icon
iTAX คำนวณและวางแผนภาษี
star star star star star
(100K+)