ถ้าพูดถึงการยื่นภาษีประจำปีแล้วไม่พูดถึงสิทธิลดหย่อนภาษี หรือตัวช่วยที่ทำให้เราจ่ายภาษีถูกลงก็คงจะเป็นเรื่องที่แปลกไป(ไม่)หน่อย และเราเชื่อว่าผู้เสียภาษีหลายคนรู้กันดีอยู่แล้วว่า สิทธิลดหย่อนภาษีตามกฎหมายกำหนดมีอะไรบ้าง ( สามารถเช็กสิทธิ์ลดหย่อนภาษีตัวเองได้ที่ ค่าลดหย่อน ) และสิทธิลดหย่อนภาษีผู้เสียภาษีให้ความสนใจกันมากคงหนีไม่พ้น ค่าลดหย่อนบิดามารดา แต่ถ้าอยู่ดีๆ มีคนอื่นมาใช้สิทธิ์นี้ซ้ำกับเรา จะต้องทำยังไง? แก้ไขแบบไหนได้บ้าง iTAX หาคำตอบมาให้แล้ว
เรื่องที่ต้องทำ เมื่อมีคนใช้สิทธิ์ลดหย่อนภาษีพ่อแม่แทนเรา
ในกรณีที่พ่อแม่ของคุณมีคุณสมบัติครบตรงตามเงื่อนไขที่สามารถใช้สิทธิ์ลดหย่อนภาษีบิดามารดาได้ แต่หลังจากยื่นภาษีไปแล้วกลับได้รับแจ้งจากเจ้าหน้าที่สรรพากรว่าไม่สามารถใช้สิทธิ์ลดหย่อนภาษีพ่อแม่ได้ เนื่องจากมีบุคคลอื่นได้ทำการยื่นภาษีพร้อมใช้สิทธิ์ลดหย่อนนี้แทนคุณไปแล้ว เราอยากจะบอกว่าไม่ต้องตกใจไป เพราะเรื่องแบบนี้แม้จะเกิดขึ้นไม่บ่อย แต่ไม่ได้หมายความว่าจะไม่สามารถเกิดขึ้นได้ และหากคุณต้องพบเจอกับเรื่องแบบนี้ เราแนะนำให้
1. ตรวจเช็กความถูกต้องกับคนในครอบครัวก่อน
ในกรณีที่คุณไม่ใช่ลูกคนเดียว เราแนะนำให้คุณรีบไถ่ถามคนในครอบครัว (พี่-น้อง) ดูก่อนว่ามีใครยื่นภาษีโดยใช้สิทธิ์ลดหย่อนพ่อแม่ไปหรือยัง? เพราะหลายๆ ครั้งที่เราไม่สามารถใช้สิทธิ์ลดหย่อนภาษีได้มีสาเหตุมาจากการยื่นขอใช้สิทธิ์ที่ซ้ำซ้อนกัน และหากพบว่าคนที่ใช้สิทธิ์ลดหย่อนภาษีตัดหน้าเราไปเป็นพี่น้องเราเอง คุณก็จะไม่สามารถใช้สิทธิ์ลดหย่อนพ่อแม่ในปีนี้ได้
ดังนั้น เมื่อถึงเวลาที่ต้อง ยื่นภาษี คุณจะต้องทำการตกลงกับพี่น้องให้ดีว่าใครจะเป็นคนใช้สิทธิลดหย่อนพ่อแม่ในปีนี้ เพราะหลายๆ ครั้ง การยื่นขอใช้สิทธิลดหย่อนที่ซ้ำซ้อนกัน อาจจะทำให้ไม่มีใครสามารถใช้สิทธิ์ลดหย่อนนี้เลยก็ได้
แต่ในกรณีที่เป็นลูกคนเดียว เราแนะนำให้คุณถามกับคุณพ่อคุณแม่ให้ดีเลยว่า มีการเซ็นเอกสารยินยอมให้คนอื่นสามารถใช้สิทธิ์ลดหย่อนภาษีตรงนี้ได้หรือไม่? และหากคุณได้รับการยืนยันว่าไม่ได้อนุญาตให้ใช้สิทธิลดหย่อน เราแนะนำให้คุณทำตามข้อถัดไป
2. เตรียมเอกสาร ใบ ลย.03
ในกรณีที่คุณสอบถามพ่อแม่เรียบร้อยและพบว่า พ่อแม่ของคุณไม่ได้เซ็นเอกสารให้บุคคลนอกครอบครัวไปใช้ลดหย่อนภาษี และสอบถามกับพี่น้องและพบว่ายังไม่มีใครใช้สิทธิ์ลดหย่อนพ่อแม่ไปนั้น เราแนะนำให้คุณทำการปริ๊นหนังสือรับรองการหักลดหย่อนค่าอุปการะเลี้ยงดูบิดามารดา ใบ ลย.03 และให้คุณพ่อหรือคุณแม่เซ็นใบ ลย.03 จากนั้นนำใบ ลย.03 ไปยื่นที่สรรพากรได้เลย
ในกรณีที่พี่น้องมีการยื่นขอใช้สิทธิ์ลดหย่อนบิดามารดาซ้ำซ้อนกัน ส่วนใหญ่สรรพากรจะไม่ให้สิทธิ์ลดหย่อนภาษีพ่อแม่กับใครเลย แต่ในกรณีที่คุณโดนแอบอ้างสิทธิ์ลดหย่อนภาษีพ่อแม่ อาจจะต้องไปดูกันที่เอกสารต่างๆ อีกทีว่าทางกรมสรรพากรจะมีมาตรการอย่างไร
โทรถามกรมสรรพากรได้หรือไม่ว่า ใครใช้สิทธิ์ลดหย่อนพ่อแม่เราไป?
ในกรณีที่คุณมั่นใจแล้วว่าบุคคลที่ใช้สิทธิ์ลดหย่อนพ่อแม่ไม่ใช่พี่น้องหรือคู่สมรมของคุณเอง คุณอยากจะสอบถามทางกรมสรรพากรเพื่อให้ทราบว่าใครเป็นผู้ใช้สิทธิ์ตรงนี้แทนคุณ เราอยากจะบอกว่า คุณสามารถสอบถามได้เพียงแนวทางการเตรียมเอกสารเพื่อแย้งเท่านั้น
เพราะ ประมวลรัษฎากร มาตรา 10 ได้ระบุไว้อย่างชัดเจนว่า “เจ้าพนักงานผู้ใดโดยหน้าที่ราชการตามลักษณะนี้ ได้รู้เรื่องกิจการของผู้เสียภาษีอากรหรือของผู้อื่นที่เกี่ยวข้อง ห้ามมิให้นำออกแจ้งแก่ผู้ใด เว้นแต่จะมีอำนาจที่จะทำได้โดยชอบด้วยกฎหมาย” นั่นหมายความว่า เจ้าหน้าที่กรมสรรพากรไม่อาจจะบอกได้อยู่ดีว่าใครเป็นคนใช้สิทธิ์ลดหย่อนพ่อแม่แทนคุณไป
รู้แบบนี้แล้ว หากคุณไม่ใช่ลูกคนเดียวของพ่อแม่และต้องการใช้สิทธิ์ลดหย่อนภาษีบิดามารดา เราแนะนำให้คุณทำการพูดคุยและตกลงกับพี่น้องให้ดีเสียก่อนว่าใครจะเป็นคนใช้สิทธิ์ลดหย่อนภาษีในปีภาษีนั้นๆ เพื่อป้องกันการเกิดการยื่นขอให้สิทธิ์ซ้ำซ้อนนั่นเอง
ทบทวนเงื่อนไขการใช้ สิทธิ์ลดหย่อนภาษีพ่อแม่ กันอีกครั้ง
เงื่อนไขการใช้สิทธิ์ลดหย่อนพ่อแม่นั้น จะแบ่งได้ออกเป็น 2 กรณีคือ
1. ลดหย่อนภาษีพ่อแม่เราเอง
แน่นอนว่าสำหรับค่าลดหย่อนบิดามารดานั้น คนที่สามารถใช้สิทธิลดหย่อนภาษีนี้ได้จะต้อง
1.1. เป็นลูกที่ถูกต้องตามกฎหมายของพ่อแม่ (ลูกบุญธรรมจะไม่สามารถใช้สิทธินี้ได้)
1.2. พ่อแม่ต้องมีอายุครบ 60 ปี ใน ปีภาษี
1.3. พ่อแม่อยู่ในความดูแลของเรา
1.4. พ่อแม่ต้องมีรายได้ทั้งปีภาษีไม่เกิน 30,000 บาท
1.5. ต้องอาศัยอยู่ในประเทศไทยครบ 180 วันในปีภาษี
1.6. ในกรณีที่คุณไม่ใช่ลูกคนเดียว จะต้องทำการตกลงกับพี่-น้องให้ดีว่า ใครจะใช้สิทธิ์ตรงนี้ เพราะพ่อหรือแม่ 1 คน เท่ากับลดหย่อนได้ 1 สิทธิ์เท่านั้น
2. พ่อแม่คู่สมรส
การใช้สิทธิ์ลดหย่อนพ่อแม่คู่สมรส จะต้องเป็นไปตามเงื่อนไขต่อไปนี้
2.1 คู่สมรสไม่มีรายได้ตลอดปีภาษี
2.2 คู่สมรสเป็นลูกที่ถูกต้องตามกฎหมายของพ่อแม่ (ลูกบุญธรรมจะไม่สามารถใช้สิทธิได้)
2.3 พ่อแม่ต้องมีอายุครบ 60 ปี ใน ปีภาษี
2.4 พ่อแม่อยู่ในความดูแลของเรา
2.5 พ่อแม่ต้องมีรายได้ทั้งปีภาษีไม่เกิน 30,000 บาท
2.6 ต้องอาศัยอยู่ในประเทศไทยครบ 180 วันในปีภาษี
2.7 ในกรณีที่คู่สมรสไม่ใช่ลูกคนเดียว จะต้องทำการตกลงกับพี่-น้องคู่สมรสให้ดีว่า ใครจะใช้สิทธิ์ตรงนี้ เพราะพ่อหรือแม่ 1 คน เท่ากับลดหย่อนได้ 1 สิทธิ์เท่านั้น
ทั้งนี้ทั้งนั้น คุณสามารถ ทดลองคำนวณภาษี ก่อนยื่นจริงเพื่อรับผลประโยชน์ทางภาษีสูงสุดได้ที่ website : itax.in.th หรือ สามารถโหลดแอปพลิเคชั่น iTAX มาใช้เพื่อคำนวณและ วางแผนภาษี และสามารถเตรียมหนังสือรับรองการหักลดหย่อนค่าอุปการะเลี้ยงดูบิดามารดา (ใบ ลย.03) ได้ฟรีทั้งระบบ iOS และ Android )
RELATED POSTS
เป็นพระต้องเสียภาษีมั๊ย ศาสนาพุทธเป็นสิ่งที่อยู่คู่กับสังคมไทยมาช้านาน พระภิกษุในฐานะนักบวชของศาสนาพุทธจึงเป็นที่พึ่งให้พุทธศาสนิกชนในหลายๆ เรื่อง โดยเฉพาะทางด้านจิตใจ ซึ่งหลายๆ ครั้งก็มักจะจบลงด้วยการใส่ซองถวายเงินให้พระแล้วกราบ 3 ครั้ง วันนี้เราจะมาไขข้อข้องใจกันว่า ตามกฎหมายไทยเป็นพระต้องเสียภาษีมั้ย? 1. พระเป็นผู้เสียภาษีได้ไหม? ในมุมมองของปุถุชน เรามักจะมองว่าพระตัดแล้วซึ่งทางโลก แต่กฎหมายไม่ได้มองแบบนั้น กฎหมายยังคงมองว่าพระภิกษุยังคงเป็น บุคคลธรรมดา ตามกฎหมายอยู่ ดังนั้น ถ้าพระมีรายได้ พระก็จะพ่วงตำแหน่ง ผู้เสียภาษี ไปด้วย ในทางกลับกัน ถ้าพระไม่มีรายได้ พระก็ไม่มีหน้าที่เป็นผู้เสียภาษีแต่อย่างใด 2. พระจะมีรายได้ได้ไง? สำหรับพระซึ่งกฎหมายมองว่าเป็นบุคคลธรรมดา ก็ใช้หลักพื้นฐานง่ายๆ ว่าบุคคลธรรมดาคนนั้นมีรายได้ที่ต้องเสียภาษีไหม (หรือที่ศัพท์กฎหมายยากๆ เรียกว่า “เงินได้พึงประเมิน”) ซึ่งนักบวชที่เป็นพระภิกษุในศาสนาพุทธก็อาจจะมีรายได้ที่ต้องเสียภาษีได้ เช่น รายได้จากการสอนหนังสือ บรรยายธรรมให้องค์กรเอกชน ได้รับดอกเบี้ยเงินฝากธนาคาร เป็นต้น 3. แต่ไม่เคยเห็นพระรูปไหนเสียภาษีเลยนะ? ถ้าเงินที่พระได้รับเป็นเงินทำบุญที่ญาติโยมบริจาคเพื่อใช้ประโยชน์ในกิจการศาสนา แบบนี้จะเป็นเงินได้ที่ต้องได้รับยกเว้นภาษีอยู่แล้ว (มาตรา 42(29) ประมวลรัษฎากร) เมื่อเงินที่ได้ได้รับยกเว้นภาษี ก็แปลว่า พระไม่มีเงินได้ที่ต้องเสียภาษี เมื่อไม่มีเงินได้ก็เลยไม่ต้องเสียภาษีนั่นเอง สรุป ที่พระไม่ต้องเสียภาษีไม่ใช่เพราะพระมีสถานะเป็นพระ แต่เป็นเพราะเงินที่พระได้รับเป็นเงินที่ยกเว้นภาษีต่างหาก พระเลยไม่ต้องเสียภาษี ส่วนพระที่มีรายได้นอกเหนือจากเงินทำบุญ ท่านอาจจะมีหน้าที่ต้องเสียภาษีด้วยนะครับ ยังไงถ้าหลวงพี่ทำภาษีไม่เป็นจริงๆ นิมนต์หลวงพี่ใช้ www.itax.in.th ได้ฟรีนะครับ
บริจาคให้โรงพยาบาลลดหย่อนภาษีได้แล้ว การบริจาคเงินให้โรงพยาบาลรัฐ และสถานพยาบาลของรัฐ สามารถนำมาใช้สิทธิลดหย่อนภาษีได้ 2 เท่า รวมถึงเงินบริจาคโครงการก้าวคนละก้าวก็สามารถลดหย่อนภาษีได้เช่นกัน
ถูกหวยต้องเสียภาษีรึเปล่า? เมื่อผลประกาศมาว่าเราถูกรางวัล! ไม่ว่าจะเป็นรางวัลที่ 1 หรือแม้แต่รางวัลเลขท้ายสองตัว เราจะมีสิทธินำสลากฯ ไปขึ้นรางวัล ซึ่งนั่นย่อมหมายความว่าเรารวยขึ้น และเป็นจุดเริ่มต้นของคำถามว่า เงินรางวัลที่ได้รับนั้นเป็นรายได้ที่ต้องเสียภาษีรึเปล่า?
วันเกิดกับภาษี วันเกิดเป็นปัจจัยสำคัญเกี่ยวกับการคำนวณภาษีและสิทธิประโยชน์ต่างๆ ที่อาจคาดไม่ถึง เพราะภาษีบางรายการมีความเกี่ยวข้องกับเกณฑ์อายุด้วย ดังนั้น วันเกิดของคุณจึงอาจส่งผลให้คุณได้สิทธิ์หรือเสียสิทธิ์ทางภาษีได้ในเวลาเดียวกัน
4 ปัญหาสุดฮิตในฤดูภาษี แม้มนุษย์เงินเดือนและผู้มีรายได้หลายคนจะคุ้นเคยกับการที่จะต้อง ยื่นภาษีเงินได้ประจำปี ช่วง วันที่ 1 มกราคม - 31 มีนาคม ของทุกปี อยู่แล้ว แต่เราเชื่อว่าไม่ว่าคุณจะยื่นภาษีครั้งแรก หรือยื่่นภาษีมาแล้วหลายครั้ง ก็มักจะเจอปัญหาเหล่านี้อยู่บ่อยๆ และทีมงาน iTAX ได้ทำการรวบรวมปัญหาสุดฮิตที่พบบ่อยในช่วงยื่นภาษีมาให้แล้ว จะมีอะไรบ้าง ไปดูกัน 1. ภาษากฎหมาย ยาวไปไม่อ่าน เปลี่ยนแปลงบ่อยยิ่งกว่าอากาศ? "ภาษีเงินได้ที่ได้รับการยกเว้นจากการซื้ออสังหาริมทรัพย์" คืออะไร? จะเรียกง่ายๆ ว่า "สิทธิประโยชน์จากโครงการบ้านหลังแรก" ไม่ได้เหรอ? แล้วทุกวันนี้กฎหมายภาษีเปลี่ยนแปลงบ่อยมว๊ากก อยู่ดีๆ ภาษีข้อนี้ลดหย่อนข้อนั้นก็ผุดมา? ซึ่ง iTAX จะทำหน้าที่คอย Update กฎหมายแล้วจัดการแปลเป็นภาษาคนให้คุณทันที 2. ต้องกรอกแบบฟอร์มอะไรบ้าง? ต้นปีจะยื่น ภ.ง.ด. 90 หรือ 91? กลางปีต้องยื่น ภ.ง.ด. 94 ด้วยรึเปล่า? จะยื่นฟอร์มเสริมอะไรไปกับ ภ.ง.ด.บ้าง? ข้อมูลซ้ำๆ กัน อย่างเอาเลขนี้มารวมกับเลขนี้กรอกลงฟอร์มนี้ แล้วลบเลขนี้ค่อยมากรอกลงอีกฟอร์มนึง หรือแค่พิมพ์ชื่อใส่ไปทุกฟอร์มก็เมื่อยมือแล้ว ช่วยถามทีเดียวและกรอกลงมันทุกฟอร์มเลยได้มั๊ย? ได้สิ iTAX ทำให้หมดทุกอย่าง 3. ใช้สิทธิลดหย่อนเรื่องนี้ได้ป่าว จะโดนปรับทีหลังมั๊ย? ก็ไม่ได้อยากใช้สิทธิเกินจนต้องมาโดนปรับย้อนหลังหรอก แต่จะไปค้นจากไหนว่าลดหย่อนแต่ละรายการมีเงื่อนไขอะไรบ้าง? เอาแค่ ลดหย่อนเลี้ยงดูพ่อแม่ ก็มีเงื่อนไขตั้ง 3-4 ข้อแล้ว ต้องมานั่งค้นทุกรายการกันเลยไหมว่าเราเข้าข่ายลดหย่อนอะไรบ้างรึเปล่า? คงจะดีถ้ามีใครมาสรุปแล้วเช็คให้เลยว่าถูกเงื่อนไขทุกข้อไม่เกินและใช้สิทธิได้ครบจริงๆ ไม่ตกหล่น? ... แล้ว iTAX ก็จัดการให้คุณง่าย... ได้อีก 4. มีทางได้เงินคืนมากกว่านี้มั๊ย? คนนี้บอกรวยได้ภาษีไม่ยาก คนนั้นได้เงินคืนเยอะแยะ บางคนถึงขั้นลงทุนจ้างนักวางแผนภาษีส่วนตัว แต่เราไม่รู้จะไปหาที่ไหนเริ่มต้นยังไง? ลองใช้ iTAX ดู คุณจะได้แผนภาษีพร้อมแผนการเงินที่เหมาะกับสุขภาพการเงินและเป้าหมายทางการเงินของคุณ เหมือนมีที่ปรึกษามืออาชีพคอยบริการส่วนตัวให้ฟรีๆ ไม่ว่าในอดีตภาษีจะเป็นเรื่องที่ทำให้คุณปวดหัวมากแค่ไหน เราอยากให้คุณลืมความยุ่งยากน่าปวดหัวเหล่านั้นไปซะ เพราะ iTAX คือโปรแกรมที่จะช่วยให้คุณจัดการคำนวณภาษี วางแผนภาษี และหาตัวช่วยลดหย่อนภาษีได้ง่ายๆ แบบคนไม่รู้ภาษีก็ทำได้ อยากรู้ว่าเราพูดเรื่องจริงมั้ย? คลิกเลย www.itax.in.th
นักกีฬาเอเชียนเกมส์ได้เงินอัดฉีด เสียภาษียังไง? หากนักกีฬาได้รับเงินให้เปล่าจากบริษัทห้างร้าน (เงินอัดฉีด) โดยผู้ให้ไม่ได้หวังสิ่งใดตอบแทน แต่ถ้าจำนวนเงินที่ได้รับนั้นไม่เกิน 10 ล้านบาท นักกีฬาจะได้รับยกเว้น ไม่ต้องนำเงินอัดฉีดส่วนนี้มาเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา (มาตรา 42(28) ประมวลรัษฎากร)
RELATED POSTS
เป็นพระต้องเสียภาษีมั๊ย ศาสนาพุทธเป็นสิ่งที่อยู่คู่กับสังคมไทยมาช้านาน พระภิกษุในฐานะนักบวชของศาสนาพุทธจึงเป็นที่พึ่งให้พุทธศาสนิกชนในหลายๆ เรื่อง โดยเฉพาะทางด้านจิตใจ ซึ่งหลายๆ ครั้งก็มักจะจบลงด้วยการใส่ซองถวายเงินให้พระแล้วกราบ 3 ครั้ง วันนี้เราจะมาไขข้อข้องใจกันว่า ตามกฎหมายไทยเป็นพระต้องเสียภาษีมั้ย? 1. พระเป็นผู้เสียภาษีได้ไหม? ในมุมมองของปุถุชน เรามักจะมองว่าพระตัดแล้วซึ่งทางโลก แต่กฎหมายไม่ได้มองแบบนั้น กฎหมายยังคงมองว่าพระภิกษุยังคงเป็น บุคคลธรรมดา ตามกฎหมายอยู่ ดังนั้น ถ้าพระมีรายได้ พระก็จะพ่วงตำแหน่ง ผู้เสียภาษี ไปด้วย ในทางกลับกัน ถ้าพระไม่มีรายได้ พระก็ไม่มีหน้าที่เป็นผู้เสียภาษีแต่อย่างใด 2. พระจะมีรายได้ได้ไง? สำหรับพระซึ่งกฎหมายมองว่าเป็นบุคคลธรรมดา ก็ใช้หลักพื้นฐานง่ายๆ ว่าบุคคลธรรมดาคนนั้นมีรายได้ที่ต้องเสียภาษีไหม (หรือที่ศัพท์กฎหมายยากๆ เรียกว่า “เงินได้พึงประเมิน”) ซึ่งนักบวชที่เป็นพระภิกษุในศาสนาพุทธก็อาจจะมีรายได้ที่ต้องเสียภาษีได้ เช่น รายได้จากการสอนหนังสือ บรรยายธรรมให้องค์กรเอกชน ได้รับดอกเบี้ยเงินฝากธนาคาร เป็นต้น 3. แต่ไม่เคยเห็นพระรูปไหนเสียภาษีเลยนะ? ถ้าเงินที่พระได้รับเป็นเงินทำบุญที่ญาติโยมบริจาคเพื่อใช้ประโยชน์ในกิจการศาสนา แบบนี้จะเป็นเงินได้ที่ต้องได้รับยกเว้นภาษีอยู่แล้ว (มาตรา 42(29) ประมวลรัษฎากร) เมื่อเงินที่ได้ได้รับยกเว้นภาษี ก็แปลว่า พระไม่มีเงินได้ที่ต้องเสียภาษี เมื่อไม่มีเงินได้ก็เลยไม่ต้องเสียภาษีนั่นเอง สรุป ที่พระไม่ต้องเสียภาษีไม่ใช่เพราะพระมีสถานะเป็นพระ แต่เป็นเพราะเงินที่พระได้รับเป็นเงินที่ยกเว้นภาษีต่างหาก พระเลยไม่ต้องเสียภาษี ส่วนพระที่มีรายได้นอกเหนือจากเงินทำบุญ ท่านอาจจะมีหน้าที่ต้องเสียภาษีด้วยนะครับ ยังไงถ้าหลวงพี่ทำภาษีไม่เป็นจริงๆ นิมนต์หลวงพี่ใช้ www.itax.in.th ได้ฟรีนะครับ
บริจาคให้โรงพยาบาลลดหย่อนภาษีได้แล้ว การบริจาคเงินให้โรงพยาบาลรัฐ และสถานพยาบาลของรัฐ สามารถนำมาใช้สิทธิลดหย่อนภาษีได้ 2 เท่า รวมถึงเงินบริจาคโครงการก้าวคนละก้าวก็สามารถลดหย่อนภาษีได้เช่นกัน
ถูกหวยต้องเสียภาษีรึเปล่า? เมื่อผลประกาศมาว่าเราถูกรางวัล! ไม่ว่าจะเป็นรางวัลที่ 1 หรือแม้แต่รางวัลเลขท้ายสองตัว เราจะมีสิทธินำสลากฯ ไปขึ้นรางวัล ซึ่งนั่นย่อมหมายความว่าเรารวยขึ้น และเป็นจุดเริ่มต้นของคำถามว่า เงินรางวัลที่ได้รับนั้นเป็นรายได้ที่ต้องเสียภาษีรึเปล่า?
วันเกิดกับภาษี วันเกิดเป็นปัจจัยสำคัญเกี่ยวกับการคำนวณภาษีและสิทธิประโยชน์ต่างๆ ที่อาจคาดไม่ถึง เพราะภาษีบางรายการมีความเกี่ยวข้องกับเกณฑ์อายุด้วย ดังนั้น วันเกิดของคุณจึงอาจส่งผลให้คุณได้สิทธิ์หรือเสียสิทธิ์ทางภาษีได้ในเวลาเดียวกัน
4 ปัญหาสุดฮิตในฤดูภาษี แม้มนุษย์เงินเดือนและผู้มีรายได้หลายคนจะคุ้นเคยกับการที่จะต้อง ยื่นภาษีเงินได้ประจำปี ช่วง วันที่ 1 มกราคม - 31 มีนาคม ของทุกปี อยู่แล้ว แต่เราเชื่อว่าไม่ว่าคุณจะยื่นภาษีครั้งแรก หรือยื่่นภาษีมาแล้วหลายครั้ง ก็มักจะเจอปัญหาเหล่านี้อยู่บ่อยๆ และทีมงาน iTAX ได้ทำการรวบรวมปัญหาสุดฮิตที่พบบ่อยในช่วงยื่นภาษีมาให้แล้ว จะมีอะไรบ้าง ไปดูกัน 1. ภาษากฎหมาย ยาวไปไม่อ่าน เปลี่ยนแปลงบ่อยยิ่งกว่าอากาศ? "ภาษีเงินได้ที่ได้รับการยกเว้นจากการซื้ออสังหาริมทรัพย์" คืออะไร? จะเรียกง่ายๆ ว่า "สิทธิประโยชน์จากโครงการบ้านหลังแรก" ไม่ได้เหรอ? แล้วทุกวันนี้กฎหมายภาษีเปลี่ยนแปลงบ่อยมว๊ากก อยู่ดีๆ ภาษีข้อนี้ลดหย่อนข้อนั้นก็ผุดมา? ซึ่ง iTAX จะทำหน้าที่คอย Update กฎหมายแล้วจัดการแปลเป็นภาษาคนให้คุณทันที 2. ต้องกรอกแบบฟอร์มอะไรบ้าง? ต้นปีจะยื่น ภ.ง.ด. 90 หรือ 91? กลางปีต้องยื่น ภ.ง.ด. 94 ด้วยรึเปล่า? จะยื่นฟอร์มเสริมอะไรไปกับ ภ.ง.ด.บ้าง? ข้อมูลซ้ำๆ กัน อย่างเอาเลขนี้มารวมกับเลขนี้กรอกลงฟอร์มนี้ แล้วลบเลขนี้ค่อยมากรอกลงอีกฟอร์มนึง หรือแค่พิมพ์ชื่อใส่ไปทุกฟอร์มก็เมื่อยมือแล้ว ช่วยถามทีเดียวและกรอกลงมันทุกฟอร์มเลยได้มั๊ย? ได้สิ iTAX ทำให้หมดทุกอย่าง 3. ใช้สิทธิลดหย่อนเรื่องนี้ได้ป่าว จะโดนปรับทีหลังมั๊ย? ก็ไม่ได้อยากใช้สิทธิเกินจนต้องมาโดนปรับย้อนหลังหรอก แต่จะไปค้นจากไหนว่าลดหย่อนแต่ละรายการมีเงื่อนไขอะไรบ้าง? เอาแค่ ลดหย่อนเลี้ยงดูพ่อแม่ ก็มีเงื่อนไขตั้ง 3-4 ข้อแล้ว ต้องมานั่งค้นทุกรายการกันเลยไหมว่าเราเข้าข่ายลดหย่อนอะไรบ้างรึเปล่า? คงจะดีถ้ามีใครมาสรุปแล้วเช็คให้เลยว่าถูกเงื่อนไขทุกข้อไม่เกินและใช้สิทธิได้ครบจริงๆ ไม่ตกหล่น? ... แล้ว iTAX ก็จัดการให้คุณง่าย... ได้อีก 4. มีทางได้เงินคืนมากกว่านี้มั๊ย? คนนี้บอกรวยได้ภาษีไม่ยาก คนนั้นได้เงินคืนเยอะแยะ บางคนถึงขั้นลงทุนจ้างนักวางแผนภาษีส่วนตัว แต่เราไม่รู้จะไปหาที่ไหนเริ่มต้นยังไง? ลองใช้ iTAX ดู คุณจะได้แผนภาษีพร้อมแผนการเงินที่เหมาะกับสุขภาพการเงินและเป้าหมายทางการเงินของคุณ เหมือนมีที่ปรึกษามืออาชีพคอยบริการส่วนตัวให้ฟรีๆ ไม่ว่าในอดีตภาษีจะเป็นเรื่องที่ทำให้คุณปวดหัวมากแค่ไหน เราอยากให้คุณลืมความยุ่งยากน่าปวดหัวเหล่านั้นไปซะ เพราะ iTAX คือโปรแกรมที่จะช่วยให้คุณจัดการคำนวณภาษี วางแผนภาษี และหาตัวช่วยลดหย่อนภาษีได้ง่ายๆ แบบคนไม่รู้ภาษีก็ทำได้ อยากรู้ว่าเราพูดเรื่องจริงมั้ย? คลิกเลย www.itax.in.th
นักกีฬาเอเชียนเกมส์ได้เงินอัดฉีด เสียภาษียังไง? หากนักกีฬาได้รับเงินให้เปล่าจากบริษัทห้างร้าน (เงินอัดฉีด) โดยผู้ให้ไม่ได้หวังสิ่งใดตอบแทน แต่ถ้าจำนวนเงินที่ได้รับนั้นไม่เกิน 10 ล้านบาท นักกีฬาจะได้รับยกเว้น ไม่ต้องนำเงินอัดฉีดส่วนนี้มาเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา (มาตรา 42(28) ประมวลรัษฎากร)