วันเลือกตั้ง 2566 อาทิตย์ที่ 14 พ.ค. 2566 เวลา 08.00-17.00 น. ค้นหาหน่วยเลือกตั้ง 2566 และเช็กสิทธิเลือกตั้งของตัวเองผ่านช่องทางออนไลน์ ผ่านเว็บไซต์กรมการปกครอง https://boraservices.bora.dopa.go.th/election/enqelection/
- ลงทะเบียนบัตรประชาชนดิจิทัล ผ่าน ThaID ไม่ต้องไปเขต-อำเภอ
- เขตเลือกตั้ง 2566 แยกตามจังหวัด ครบทั้ง 400 เขต (อัพเดตล่าสุด)
วันเลือกตั้ง 2566
- วันอาทิตย์ที่ 14 พฤษภาคม 2566 เวลา 08.00 น. – 17.00 น.
หมายเลขและรายชื่อพรรคที่ลงสมัครรับเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร 2566 (ปาร์ตี้ลิสต์)
เบอร์เลือกตั้ง | พรรค |
---|---|
เบอร์ 1 |
พรรคใหม่ |
เบอร์ 2 |
พรรคประชาธิปไตยใหม่ |
เบอร์ 3 |
พรรคเป็นธรรม |
เบอร์ 4 |
พรรคท้องที่ไทย |
เบอร์ 5 |
พรรคพลังสังคมใหม่ |
เบอร์ 6 |
พรรคครูไทยเพื่อประชาชน |
เบอร์ 7 |
พรรคภูมิใจไทย |
เบอร์ 8 |
พรรคแรงงานสร้างชาติ |
เบอร์ 9 |
พรรคพลัง |
เบอร์ 10 |
พรรคอนาคตไทย |
เบอร์ 11 |
พรรคประชาชาติ |
เบอร์ 12 |
พรรคไทยรวมไทย |
เบอร์ 13 |
พรรคไทยชนะ |
เบอร์ 14 |
พรรคชาติพัฒนากล้า |
เบอร์ 15 |
พรรคกรีน |
เบอร์ 16 |
พรรคพลังสยาม |
เบอร์ 17 |
พรรคเสมอภาค |
เบอร์ 18 |
พรรคชาติไทยพัฒนา |
เบอร์ 19 |
พรรคภาคีเครือข่ายไทย |
เบอร์ 20 |
พรรคเปลี่ยน |
เบอร์ 21 |
พรรคไทยภักดี |
เบอร์ 22 |
พรรครวมไทยสร้างชาติ |
เบอร์ 23 |
พรรครวมใจไทย |
เบอร์ 24 |
พรรคเพื่อชาติ |
เบอร์ 25 |
พรรคเสรีรวมไทย |
เบอร์ 26 |
พรรคประชาธิปัตย์ |
เบอร์ 27 |
พรรคพลังธรรมใหม่ |
เบอร์ 28 |
พรรคไทยพร้อม |
เบอร์ 29 |
พรรคเพื่อไทย |
เบอร์ 30 |
พรรคทางเลือกใหม่ |
เบอร์ 31 |
พรรคก้าวไกล |
เบอร์ 32 |
พรรคไทยสร้างไทย |
เบอร์ 33 |
พรรคไทยเป็นหนึ่ง |
เบอร์ 34 |
พรรคแผ่นดินธรรม |
เบอร์ 35 |
พรรครวมพลัง |
เบอร์ 36 |
พรรคเพื่อชาติไทย |
เบอร์ 37 |
พรรคพลังประชารัฐ |
เบอร์ 38 |
พรรคเพื่อไทรวมพลัง |
เบอร์ 39 |
พรรคมิติใหม่ |
เบอร์ 40 |
พรรคประชาภิวัฒน์ |
เบอร์ 41 |
พรรคไทยธรรม |
เบอร์ 42 |
พรรคไทยศรีวิไลย์ |
เบอร์ 43 |
พรรคพลังสหกรณ์ |
เบอร์ 44 |
พรรคราษฎร์วิถี |
เบอร์ 45 |
พรรคแนวทางใหม่ |
เบอร์ 46 |
พรรคถิ่นกาขาวชาววิไล |
เบอร์ 47 |
พรรครวมแผ่นดิน |
เบอร์ 48 |
พรรคเพื่ออนาคตไทย |
เบอร์ 49 |
พรรครักษ์ผืนป่าประเทศไทย |
เบอร์ 50 |
พรรคพลังปวงชนไทย |
เบอร์ 51 |
พรรคสามัญชน |
เบอร์ 52 |
พรรคชาติรุ่งเรือง |
เบอร์ 53 |
พรรคพลังสังคม |
เบอร์ 54 |
พรรคภราดรภาพ |
เบอร์ 55 |
พรรคไทยก้าวหน้า |
เบอร์ 56 |
พรรคประชาไทย |
เบอร์ 57 |
พรรคพลังเพื่อไทย |
เบอร์ 58 |
พรรคสังคมประชาธิปไตยไทย |
เบอร์ 59 |
พรรคช่วยชาติ |
เบอร์ 60 |
พรรคความหวังใหม่ |
เบอร์ 61 |
พรรคคลองไทย |
เบอร์ 62 |
พรรคพลังไทยรักชาติ |
เบอร์ 63 |
พรรคประชากรไทย |
เบอร์ 64 |
พรรคเส้นด้าย |
เบอร์ 65 |
พรรคเปลี่ยนอนาคต |
เบอร์ 66 |
พรรคพลังประชาธิปไตย |
เบอร์ 67 |
พรรคไทยสมาร์ท |
กกต. เปิดโอกาสให้ประชาชนผู้มีสิทธิเลือกตั้งสามารถ เช็กสิทธิเลือกตั้ง 2566 และ ค้นหาหน่วยเลือกตั้งได้แล้ว ก่อนเดินทางไปลงคะแนนใน วันเลือกตั้ง 2566 วันอาทิตย์ที่ 14 พฤษภาคม 2566 เวลา 08.00 น. – 17.00 น.
ทั้งนี้ ประชาชนสามารถเช็กสิทธิเลือกตั้งและสถานที่เลือกตั้ง 2566 ได้ผ่านช่องทางออนไลน์ https://boraservices.bora.dopa.go.th/election/enqelection/ ของกรมการปกครองเป็นทางเลือกได้อีกหนึ่งช่องทาง โดยมีรายละเอียดขั้นตอนดังต่อไปนี้
ขั้นตอน ค้นหาหน่วยเลือกตั้ง และเช็กสิทธิเลือกตั้ง 2566 ผ่านช่องทางออนไลน์ เว็บไซต์ กรมการปกครอง
- ไปที่เว็บไซต์ ตรวจสอบรายละเอียดผู้มีสิทธิเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร (ส.ส.) โดย กรมการปกครอง https://boraservices.bora.dopa.go.th/election/enqelection/
- กรอกเลขประจำตัวประชาชน 13 หลัก แล้วกดปุ่ม “ตรวจสอบ”
- ที่หน้าระบบข้อมูลผู้มีสิทธิเลือกตั้ง จะแสดงผลรายละเอียดผู้มีสิทธิเลือกตั้ง ได้แก่
- ชื่อ จังหวัด และเขตที่มีสิทธิ
- กรณีลงทะเบียนเลือกตั้งล่วงหน้า จะแสดงข้อมูลการขอไปใช้สิทธิล่วงหน้านอกเขตเลือกตั้ง ได้แก่ วันที่เลือกตั้งล่วงหน้า จังหวัดที่ไปใช้สิทธิ สถานที่ที่จะไปใช้สิทธิ และลำดับในบัญชี
ตรวจสอบสิทธิเลือกตั้ง 2566 ผ่านช่องทางออนไลน์ BORA PORTAL กรมการปกครอง
- ไปที่เว็บไซต์ BORA PORTAL กรมการปกครอง https://thportal.bora.dopa.go.th
- กดปุ่ม “LOGIN ด้วย ThaID” (กรณียังไม่เคยสมัครใช้บริการ ThaID บัตรประชาชนดิจิทัลของกรมการปกครอง สามารถดูขั้นตอนการสมัครท้ายบทความนี้)
- แสกน QR Code ด้วยแอป ThaID หรือ กดปุ่ม “เข้าสู่ระบบด้วย ThaID”
- เมื่อเข้าสู่ระบบแล้ว ให้เลือกเมนู “ระบบเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร (ส.ส.)”
- เลือก “ตรวจสอบสิทธิเลือกตั้ง”
- ที่หน้าระบบข้อมูลผู้มีสิทธิเลือกตั้ง จะแสดงผลรายละเอียดผู้มีสิทธิเลือกตั้ง ได้แก่
- ชื่อ จังหวัด และเขตที่มีสิทธิ
- กรณีลงทะเบียนเลือกตั้งล่วงหน้า จะแสดงข้อมูลการขอไปใช้สิทธิล่วงหน้านอกเขตเลือกตั้ง ได้แก่ วันที่เลือกตั้งล่วงหน้า จังหวัดที่ไปใช้สิทธิ สถานที่ที่จะไปใช้สิทธิ และลำดับในบัญชี
ลงทะเบียนเปิดใช้บริการ ThaID บัตรประชาชนดิจิทัล กรมการปกครอง
การลงทะเบียนเลือกตั้งนอกเขตผ่าน BORA PORTAL จำเป็นต้องสมัครใช้ ThaID ก่อนลงทะเบียนด้วย ซึ่งเป็นระบบ Digital ID ของกรมการปกครอง เพื่อสร้างระบบการพิสูจน์และยืนยันตัวตนทางดิจิทัลของประเทศรองรับการใช้งานบริการภาครัฐ โดยประชาชนทั่วไปสามารถลงทะเบียนเปิดใช้ ThaID บัตรประชาชนดิจิทัลได้ฟรีที่บ้านโดยไม่ต้องไปแจ้งเขต-อำเภอก็ได้
ขั้นตอนการ ลงทะเบียนบัตรประชาชนดิจิทัล ด้วยตนเอง (พิสูจน์และยืนยันตัวผ่านแอป ThaID)
- โหลดแอป ThaID
- ผู้ใช้งานแอนดรอยด์ (Android) » โหลดผ่าน Google Play Store
- ผู้ใช้งานไอโฟน (iPhone) » โหลดผ่าน Apple App Store
- เลือกหัวข้อลงทะเบียนด้วยตนเอง
- ยอมรับข้อตกลงและเงื่อนไขการใช้บริการเพื่อทำการลงทะเบียนสิ่งแทนเอกลักษณ์ดิจิทัล
- ถ่ายรูปหน้าบัตรประจำตัวประชาชน เมื่อเสร็จแล้วให้ตรวจสอบความชัดเจนและกดปุ่มยืนยันหรือถ่ายใหม่
- ถ่ายรูปหลังบัตรประจำตัวประชาชน เมื่อเสร็จแล้วให้ตรวจสอบความชัดเจนและกดปุ่มยืนยันหรือถ่ายใหม่
- ตรวจสอบข้อมูลบัตรประจำตัวประชาชน หากถูกต้องให้กดยืนยัน
- ถ่ายรูปภาพใบหน้าตนเอง
- ตั้งค่ารหัสผ่านเหมือนกัน 2 ครั้งโดยต้องไม่เรียงกัน และไม่ซ้ำกันเกิน 4 ตัว เช่น 1234, 1111
- ระบบแจ้งเตือนขอความยินยอมโดยระบุรหัสผ่านอีกครั้งเพื่อเข้าใช้งานแอปพลิเคชันครั้งแรก
- เมื่อลงทะเบียนเสร็จสิ้น หน้าจอจะแสดงรูปบัตรประจำตัวประชาชน
ขั้นตอนการ ลงทะเบียนบัตรประชาชนดิจิทัล ผ่านเจ้าหน้าที่
- โหลดแอป ThaID
- ผู้ใช้งานแอนดรอยด์ (Android) » โหลดผ่าน Google Play Store
- ผู้ใช้งานไอโฟน (iPhone) » โหลดผ่าน Apple App Store
- เลือกหัวข้อลงทะเบียนผ่านเจ้าหน้าที่
- นำบัตรประจำตัวประชาชนใบล่าสุด เพื่อให้เจ้าหน้าที่ผู้รับลงทะเบียนทำการตรวจสอบข้อมูลก่อนการลงทะเบียน ณ สำนักทะเบียน
- เปิดแอปพลิเคชัน ThaID พร้อมทั้งอนุญาตให้ใช้อุปกรณ์ของเครื่องโทรศัพท์มือถือ
- ยอมรับข้อตกลงและเงื่อนไขการใช้บริการเพื่อทำการลงทะเบียนสิ่งแทนเอกลักษณ์ดิจิทัล
- ระบุเลขประจำตัวประชาชน 13 หลัก ให้ถูกต้อง
- แสกนลายพิมพ์นิ้วชี้กับเจ้าหน้าที่
- แสกน QR code บนหน้าจอของเจ้าหน้าที่ ด้วยแอพพลิเคชั่น ThaID
- ตั้งค่ารหัสผ่านเหมือนกัน 2 ครั้งโดยต้องไม่เรียงกัน และไม่ซ้ำกันเกิน 4 ตัว เช่น 1234, 1111
- ระบบแจ้งเตือนขอความยินยอมโดยระบุรหัสผ่านอีกครั้งเพื่อเข้าใช้งานแอปพลิเคชันครั้งแรก
- เมื่อลงทะเบียนเสร็จสิ้น หน้าจอจะแสดงรูปบัตรประจำตัวประชาชน
หมายเหตุ: กรณีลืมรหัสผ่าน สามารถรีเซ็ตรหัสผ่านได้ โดยการถ่ายรูปภาพใบหน้าตนเองเพื่อขอสร้างรหัสผ่านใหม่
ไปเลือกตั้งไม่ทัน หรือ ไม่ได้ไปใช้สิทธิเลือกตั้ง 2566 จะเกิดอะไรขึ้นและควรทำอย่างไร
หากคุณไปเลือกตั้งไม่ทันเวลา 17.00 น.หรือ ไม่ได้ไปใช้สิทธิเลือกตั้ง คุณควรดำเนินการดังนี้
1. กรณีไม่ได้ไปเลือกตั้ง 2566 แต่มีเหตุอันสมควร
ในการเลือกตั้งคร้ังใด ถ้าผู้มีสิทธิเลือกต้ังไม่อาจไปใช้สิทธิเลือกต้ังได้เนื่องจากมีเหตุอันสมควร ให้แจ้งเหตุที่ไม่อาจไปใช้สิทธิเลือกตั้งต่อบุคคลซึ่งคณะกรรมการการเลือกต้ังกำหนด ภายใน 7 วันก่อนวันเลือกตั้งหรือภายใน 7 วันนับแต่วันเลือกตั้ง
แต่ถ้ามีเหตุจำเป็นไม่อาจแจ้งได้ภายใน 7 วันก่อนวันเลือกตั้ง ให้ดำเนินการแจ้งตามที่คณะกรรมการการเลือกต้ังกำหนด ทั้งนี้ การแจ้งเหตุดังกล่าวไม่เป็นการตัดสิทธิท่ีผู้น้ันจะไปใช้สิทธิเลือกต้ังหากภายหลังสามารถเดินทางไปเลือกตั้งได้
อย่างไรก็ตาม การแจ้งเหตุไม่ไปใช้สิทธิ ให้ผู้มีสิทธิเลือกตั้งทำเป็นหนังสือหรือโดยวิธีการอื่นเพื่อชี้แจงเหตุดังกล่าว โดยสามารถมอบหมายให้บุคคลใดไปยื่นต่อบุคคลซึ่ง กกต. แต่งต้ังแทน หรือ จัดส่งหนังสือชี้แจงเหตุนั้นทางไปรษณีย์ลงทะเบียน หรือแจ้งโดยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์ก็ได้
ถ้า กกต. เห็นว่าไม่ใช่เหตุอันสมควร จะแจ้งให้ผู้มีสิทธิเลือกตั้งทราบภายใน 3 วันนับแต่วันที่ได้รับแจ้งเหตุ
ช่องทางแจ้งเหตุจำเป็นที่ไม่อาจไปใช้สิทธิเลือกตั้งทางอิเล็กทรอนิกส์
- เว็บไซต์ กกต. https://stat.bora.dopa.go.th/Election/abscause/#/main
ขั้นตอนการกรอกข้อมูลเพื่อแจ้งเหตุจำเป็นที่ไม่อาจไปใช้สิทธิเลือกตั้งทางอิเล็กทรอนิกส์
- ไปที่เว็บไซต์ https://stat.bora.dopa.go.th/Election/abscause/#/main
- กรอกบัตรประชาชน 13 หลัก
- กรอกรหัสหลังบัตรประชาชน Laser ID
- กรอกชื่อภาษาไทย (โดยไม่ต้องมีคำนำหน้า)
- กรอกนามสกุลภาษาไทย
- กรอกวันเดือนปีเกิดตามบัตรประชาชน
- กดเลือก “ฉันไม่ใช่โปรแกรมอัตโนมัติ”
- กด “ตรวจสอบข้อมูล”
- เลือกสาเหตุไม่ไปใช้สิทธิ ซึ่งมีตัวเลือก ได้แก่
- มีกิจธุระจำเป็นเร่งด่วนที่ต้องเดินทางไปพื้นที่ห่างไกล
- เจ็บป่วยและไม่สามารถเดินทางไปใช้สิทธิเลือกตั้งได้
- เป็นคนพิการหรือทุพพลภาพ หรือผู้สูงอายุและไม่สามารถเดินทางไปใช้สิทธิเลือกตั้งได้
- เดินทางออกนอกราชอาณาจักร
- มีถิ่นที่อยู่ห่างไกลจากที่เลือกตั้งเกินกว่าหนึ่งร้อยกิโลเมตร
- ได้รับคำสั่งจากทางราชการให้ไปปฏิบัติหน้าที่นอกเขตเลือกตั้ง
- เหตุสุดวิสัยหรือเหตุอื่นที่คณะกรรมการกำหนด
- กด “บันทึกข้อมูล”
2. กรณีไม่ไปเลือกตั้งล่วงหน้า 2566 โดยไม่มีเหตุอันสมควร
หากผู้มีสิทธิเลือกตั้งไม่ไปใช้สิทธิเลือกตั้งและมิได้แจ้งเหตุที่ไม่อาจไปใช้สิทธิเลือกตั้งหรือแจ้งเหตุที่ไม่อาจไปใช้สิทธิเลือกต้ังแล้วแต่เหตุนั้นมิใช่เหตุอันสมควร ผู้น้ันถูกจำกัดสิทธิ ดังต่อไปนี้
บทลงโทษกรณีไม่ไปเลือกตั้งผู้ว่าฯ โดยไม่มีเหตุอันสมควร
- ไม่สามารถลงสมัครรับเลือกต้ังเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร หรือสมาชิกสภาท้องถิ่นและผู้บริหารท้องถิ่น หรือสมัครรับเลือกเป็นสมาชิกวุฒิสภาได้
- ไม่สามารถลงสมัครรับเลือกเป็นกำนันและผู้ใหญ่บ้านตามกฎหมายว่าด้วยลักษณะปกครองท้องที่ได้
- ไม่สามารถเข้าชื่อร้องขอให้ถอดถอนสมาชิกสภาท้องถิ่นหรือผู้บริหารท้องถิ่นตามกฎหมายว่าด้วย การลงคะแนนเสียงเพื่อถอดถอนสมาชิกสภาท้องถิ่นหรือผู้บริหารท้องถิ่นได้
- ไม่สามารถดำรงตำแหน่งข้าราชการการเมือง และ ข้าราชการรัฐสภาฝ่ายการเมืองได้
- ไม่สามารถดำรงตำแหน่งรองผู้บริหารท้องถิ่น เลขานุการผู้บริหารท้องถิ่น ผู้ช่วยเลขานุการผู้บริหารท้องถิ่น ประธานที่ปรึกษาผู้บริหารท้องถิ่น ที่ปรึกษาผู้บริหารท้องถิ่น หรือคณะที่ปรึกษาผู้บริหารท้องถิ่นได้
- ไม่สามารถดำรงตำแหน่งเลขานกุารประธานสภาท้องถิ่น ผู้ช่วยเลขานุการประธานสภาท้องถิ่นและ เลขานุการรองประธานสภาท้องถิ่นได้
ระยะเวลาจำกัดสิทธิ
การจำกัดสิทธิมีกำหนดเวลาคร้ังละ 2 ปีนับแต่วันเลือกต้ังครั้งที่ผู้มีสิทธิเลือกตั้งไม่ไปใช้สิทธิเลือกต้ัง
ทั้งนี้ หากในการเลือกต้ังครั้งต่อไปผู้นั้นไม่ไปใช้สิทธิเลือกตั้งอีก ให้นับเวลาการจำกัดสิทธิคร้ังหลังนี้โดยนับจากวันที่มิได้ไปใช้สิทธิเลือกตั้งครั้งใหม่ และหากกำหนดเวลาการจำกัดสิทธิครั้งก่อนยังเหลืออยู่เท่าใดก็ให้กำหนดเวลาการจำกัดสิทธินั้นสิ้นสุดลง