เริ่ม 1 เมษายน 2563 แล้ว กระทรวงการคลังประกาศปรับลดอัตราภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย เฉพาะกลุ่มรายได้ที่ถูกหักภาษี ณ ที่จ่ายในอัตรา 3% เพื่อช่วยเหลือผู้ประกอบการที่ได้รับผลกระทบจาก COVID-19 เป็น 2 ระยะ ดังนี้ (กฎกระทรวงฉบับที่ 361 (พ.ศ. 2563))
1. ลดจาก 3% → 1.5% ระหว่าง 1 เมษายน – 30 กันยายน 2563
ให้ลดอัตราภาษีหัก ณ ที่จ่ายจาก 3% เหลือ 1.5% สำหรับผู้รับเงินแต่ละประเภทดังต่อไปนี้
ประเภทรายได้ | บุคคลธรรมดา | บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล |
เงินได้ตามมาตรา 40(2) | -ไม่เปลี่ยนแปลง- | 1.5% |
เงินได้ตามมาตรา 40(3) เฉพาะค่าสิทธิ์ | -ไม่เปลี่ยนแปลง- | 1.5% |
เงินได้ตามมาตรา 40(6) | 1.5% | 1.5% |
เงินได้ตามมาตรา 40(7) | 1.5% | 1.5% |
เงินได้ตามมาตรา 40(8) ในส่วนจ้างทำของ รางวัล ส่วนลด ส่งเสริมการขาย | 1.5% | 1.5% |
2. ลดจาก 3% → 2% ระหว่าง 1 ตุลาคม 2563 – 31 ธันวาคม 2564 เฉพาะ E-withholding tax
นอกจากนี้ เพื่อเป็นการสนับสนุนระบบ E-payment และ E-withholding tax
กระทรวงการคลังให้ลดอัตราภาษีหัก ณ ที่จ่ายจาก 3% เหลือ 1.5% สำหรับผู้รับเงินแต่ละประเภทดังต่อไปนี้
ประเภทรายได้ | บุคคลธรรมดา | บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล |
เงินได้ตามมาตรา 40(2) | -ไม่เปลี่ยนแปลง- | 2% |
เงินได้ตามมาตรา 40(3) เฉพาะค่าสิทธิ์ | -ไม่เปลี่ยนแปลง- | 2% |
เงินได้ตามมาตรา 40(6) | 2% | 2% |
เงินได้ตามมาตรา 40(7) | 2% | 2% |
เงินได้ตามมาตรา 40(8) ในส่วนจ้างทำของ รางวัล ส่วนลด ส่งเสริมการขาย | 2% | 2% |
ปล. คำอธิบายเงินได้แต่ละประเภท สามารถศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ : ประเภทของเงินได้พึงประเมิน
คำนวณ หัก ณ ที่จ่าย
โปรแกรมคำนวณภาษีหัก ณ ที่จ่าย และภาษีมูลค่าเพิ่ม
อนึ่ง หากจำนวนเงินที่ต้องจ่ายตามสัญญาทั้งหมดไม่ถึง 1,000 บาท (999.99 บาทลงมา) กฎหมายไม่บังคับให้ต้องหักภาษี ณ ที่จ่าย แต่ถ้ามีจำนวนเงินที่ต้องจ่ายตามสัญญาทั้งหมดตั้งแต่ 1,000 บาทขึ้นไป กฎหมายจะบังคับให้ผู้จ่ายเงินต้องหักภาษี ณ ที่จ่าย แม้ว่าสัญญานั้นแบ่งงวดการจ่ายแต่ละครั้งไม่ถึง 1,000 บาทก็ตาม
ทั้งนี้ เจ้าของธุรกิจที่ไม่อยากปวดหัวกับการจัดการบัญชีสำหรับธุรกิจ คุณสามารถเลือกใช้บริการ iTAX SME ได้ เรามีนักบัญชีมืออาชีพที่จะช่วยให้ การจัดการบัญชีและการคำนวณภาษีสำหรับธุรกิจของคุณ ไม่ใช่เรื่องยากอีกต่อไป