เปิด ร่างรัฐธรรมนูญ ฉบับพลังประชารัฐ ขอแก้ไข 5 ประเด็นสำคัญ

ทั่วไป

เปิดสาระสำคัญของ ร่างรัฐธรรมนูญ ฉบับพลังประชารัฐ ยื่นโดย นายไพบูลย์ นิติตะวัน สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบบัญชีรายชื่อของพรรคพลังประชารัฐ โดยเน้นการแก้ไขรัฐธรรมนูญใน 5 ประเด็น 13 มาตรา โดยมีรายละเอียดที่เกี่ยวข้องกับทั้งการเปลี่ยนระบบการเลือกตั้งให้กลับมาใช้บัตรเลือกตั้ง 2 ใบ และการขอแก้ไขการขัดกันแห่งผลประโยชน์เพื่อให้การดำเนินงานมีความคล่องตัวขึ้น

นายกฯ ประกาศ แก้ปัญหาทุจริต เป็นวาระแห่งชาติ ไทยอันดับ 104 ของโลก

ลงทะเบียนไทยร่วมใจ ฉีดวัคซีนโควิดฟรี พื้นที่ กทม.

พ.ร.ก.กู้เงิน 5 แสนล้าน ผ่านสภาฯ เห็นชอบ 270 เสียง

ผู้ยื่นญัตติร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญ

นายไพบูลย์ นิติตะวัน สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบบัญชีรายชื่อของพรรคพลังประชารัฐ

ส่วนที่เสนอให้แก้ไขเพิ่มเติมในรัฐธรรมนูญ

นายไพบูลย์ นิติตะวัน ยื่นญัตติร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญ หมวด 3 (สิทธิและเสรีภาพของปวงชนชาวไทย) หมวด 7 (รัฐสภา) หมวด 9 (การขัดกันแห่งผลประโยชน์) และบทเฉพาะกาล รวม 13 มาตรา

หมวด 3 สิทธิและเสรีภาพของปวงชนชาวไทย

  • มาตรา 29 สิทธิและเสรีภาพเกี่ยวกับคดีอาญา
  • มาตรา 41 สิทธิในการเข้าถึงข้อมูลข่าวสารของรัฐ ร้องเรียนต่อรัฐ หรือฟ้องร้องรัฐ
  • มาตรา 45 เสรีภาพในการจัดตั้งพรรคการเมือง

หมวด 7 รัฐสภา

  • มาตรา 83 องค์ประกอบของสภา
  • มาตรา 85 วิธีเลือกตั้ง
  • มาตรา 86 การกำหนดจำนวนสมาชิกและเขตเลือกตั้ง
  • มาตรา 90 การส่งผู้สมัครแบบบัญชีรายชื่อ
  • มาตรา 91 หลักเกณฑ์คำนวณจำนวนสมาชิกสภาแบบบัญชีรายชื่อ
  • มาตรา 92 การเลือกตั้งใหม่
  • มาตรา 94 บทให้ใช้มาตรา 93 โดยอนุโลมแก่กรณีเลือกตั้งใหม่เพราะการเลือกตั้งเดิมไม่สุจริต
  • มาตรา 144 การแก้ไขร่างพระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่าย

หมวด 9 การขัดกันแห่งผลประโยชน์

  • มาตรา 185 บทห้ามสมาชิกรัฐสภาใช้ตำแหน่งหน้าที่แทรกแซงการบริหารกิจการของรัฐ

บทเฉพาะกาล

  • มาตรา 270 วุฒิสภา: หน้าที่และอำนาจเพิ่มเติม

สรุป ร่างรัฐธรรมนูญ ฉบับพลังประชารัฐ ขอแก้ไข 5 ประเด็นสำคัญ 

1. ขอเพิ่มการคุ้มครองสิทธิเสรีภาพของประชาชน

ขอแก้ไขมาตรา 29 มาตรา 41 และมาตรา 45 เพื่อเพิ่มการคุ้มครองสิทธิเสรีภาพแก่ประชาชน ด้านสิทธิการเข้าถึงกระบวนการยุติธรรม การขอประกันตัว การให้ประชาชนได้รับความช่วยเหลือทางกฎหมายจากรัฐเกี่ยวกับการฟ้องหน่วยงานรัฐ

2. ขอแก้ไขระบบเลือกตั้งจากบัตรเลือกตั้งใบเดียวเป็นบัตรเลือกตั้ง 2 ใบ

ขอแก้ไขระบบเลือกตั้ง ให้กลับไปใช้บัตรเลือกตั้ง 2 ใบ แบบประเทศไทยเคยใช้ตามรัฐธรรมนูญฉบับก่อนๆ โดยขอให้แบ่ง ส.ส. ที่มาจากการเลือกตั้งแบบแบ่งเขตจำนวน 400 คน และ ส.ส. แบบบัญชีรายชื่ออีก 100 คน รวมเป็น 500 คน ทั้งนี้พรรคการเมืองที่ส่ง ส.ส. แบบแบ่งเขตลงสมัครรับเลือกตั้งไม่น้อยกว่า 100 คน จึงจะมีสิทธิส่งผู้สมัคร ส.ส. แบบบัญชีรายชื่อได้ และพรรคการเมืองจะต้องได้คะแนนเลือกตั้ง ส.ส. แบบบัญชีรายชื่อไม่ต่ำกว่า 1% ของคะแนนเสียงทั้งประเทศ จึงจะมีสิทธิได้เก้าอี้ ส.ส. แบบบัญชีรายชื่อ

3. ขอผ่อนคลายมาตราการลงโทษกรรมาธิการงบประมาณที่แทรกแซงการแปรญัตติงบประมาณ

ขอแก้ไขมาตรา 144 ให้ตัดบทลงโทษ ส.ส. และ ส.ว. และกรรมาธิการที่แทรกแซงการแปรญัตติงบประมาณไม่โดยทางตรงหรือทางอ้อม เพื่อผ่อนคลายให้เจ้าหน้าที่สำนักงบประมาณกล้ามาเป็นกรรมาธิการงบประมาณ โดยไม่ต้องกังวลเรื่องเข้าไปก้าวก่ายแทรกแซงตามมาตรา 144 แต่ยังต้องคงหลักการไม่ให้กระทบต่อหลักการตรวจสอบงบประมาณที่เข้มข้นของรัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบัน

4. ขอให้มีข้อยกเว้นให้ ส.ส. และ ส.ว. ที่ไปติดต่อหน่วยงานรัฐเพื่อช่วยเหลือประชาชนที่เดือดร้อน ไม่เป็นการก้าวก่ายแทรกแซงการทำงานหน่วยราชการ

ขอแก้ไขมาตรา 185 เพื่อให้มีข้อยกเว้นการห้าม ส.ส. และ ส.ว. เข้าไปแทรกแซงก้าวก่ายการทำงานของข้าราชการ สำหรับกรณีที่ ส.ส. และ ส.ว. ไปติดต่อหน่วยงานรัฐเพื่อช่วยเหลือประชาชนที่เดือดร้อน ให้ไม่เป็นการก้าวก่ายแทรกแซงการทำงานหน่วยราชการ แต่ยังต้องคงหลักการป้องกันการก้าวก่ายแทรกแซงการทำงานข้าราชการไว้ตามรัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบัน

5. ขอเปลี่ยนแปลงให้อำนาจ ส.ส. มาร่วมกับ ส.ว. ติดตาม เสนอแนะ เร่งรัดการปฏิรูปประเทศด้วย

ขอยกเลิกมาตรา 270 เพื่อเปลี่ยนแปลงอำนาจวุฒิสภา โดยเสนอให้ ส.ส. มีอำนาจเข้ามาร่วมกันติดตาม เสนอแนะ เร่งรัดการปฏิรูปประเทศร่วมกับ ส.ว. ด้วย

 

app icon
iTAX คำนวณและวางแผนภาษี
star star star star star
(100K+)