ภาษีผ้าอนามัย (Tampon Tax) ประเทศไทยเอาไงดี?

ทั่วไป

ประเทศไทยพูดถึงการลดภาษีที่เกี่ยวข้องกับสินค้าสตรีให้ ผ้าอนามัยไม่มีภาษี เหมือนกับสินค้าอุปโภคบริโภคที่เกี่ยวข้องกับความจำเป็นขั้นพื้นฐานอื่นๆ เช่น ยารักษาโรค เป็นต้น เพื่อช่วยให้ประชาชนสามารถเข้าถึงสินค้าเหล่านี้ได้ด้วยต้นทุนที่ต่ำที่สุด มาดูกันว่าแต่ละประเทศมีนโยบายเกี่ยวกับภาษีผ้าอนามัย (Tampon Tax) อย่างไรกันบ้าง

เคนยา

  • ประเทศเคนยา ถือเป็นประเทศแรกของโลกที่ยกเลิกภาษีการบริโภคสำหรับผ้าอนามัย โดยยกเลิกภาษีไปตั้งแต่ปี พ.ศ. 2547

สหรัฐอเมริกา

  • 5 มลรัฐไม่เก็บภาษีการบริโภคอยู่แล้ว จึงไม่ได้รับผลกระทบ ได้แก่
    • อลาสก้า
    • เดลาแวร์
    • มอนเทนา
    • นิวแฮมเชียร์ และ
    • ออเรกอน  
  • ในขณะที่ 13 รัฐที่เก็บภาษีการบริโภคได้ประกาศยกเลิกภาษีการบริโภคสำหรับผ้าอนามัย ได้แก่
      • โอไฮโอ
      • แคลิฟอร์เนีย
      • คอนเน็คติคัต
      • ฟลอริด้า
      • อิลลินอยส์
      • แมรี่แลนด์
      • แมสซาชูเซตส์
      • มินเนสโซตา
      • นิวเจอร์ซี่
      • นิวยอร์ค
      • เนวาดา
      • เพนซิลวาเนีย และ
      • โร้ด ไอแลนด์

แคนาดา

  • ยกเลิกภาษีการบริโภค 10% สำหรับผ้าอนามัย เมื่อปี พ.ศ. 2558

เยอรมัน

  • ลดภาษีการบริโภคจาก 19% ซึ่งเป็นอัตราภาษีสำหรับสินค้าฟุ่มเฟือย เหลือ 7% ซึ่งเป็นอัตราภาษีสำหรับสินค้าในชีวิตประจำวันทั่วไป เมื่อถึงวันที่ 1 ม.ค. 2563

ออสเตรเลีย

  • ยกเลิกภาษีการบริโภค 10% สำหรับผ้าอนามัย เมื่อวันที่ 1 ม.ค. 2562

อินเดีย

  • ยกเลิกภาษีการบริโภค 12% สำหรับผ้าอนามัย เมื่อปี 2561

อย่างไรก็ดี ในหลายประเทศก็ยังไม่มีการยกเลิกภาษีและรัฐบาลก็ยังไม่มีการพูดถึงก็มี เช่น สหราชอาณาจักร หากจะมีการยกเลิกภาษีผ้าอนามัยก็น่าจะต้องรอถึงวันที่ 1 มกราคม 2565 เป็นอย่างเร็ว หรือในประเทศไทยยังมีการเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มอยู่ (แต่ไม่เก็บภาษีสรรพาสามิตในลักษณะสินค้าฟุ่มเฟือย) สำหรับประเด็นภาษีผ้าอนามัยมีการพูดถึงกันเฉพาะใน Social Media เท่านั้น ยังไม่มีหน่วยงานราชการหรือรัฐบาลพูดถึงประเด็นการยกเลิกภาษีมูลค่าเพิ่มแต่อย่างใด

ข้อมูลจาก

Wikipedia: en.wikipedia.org
BBC: www.bbc.com

app icon
iTAX คำนวณและวางแผนภาษี
star star star star star
(100K+)