เมื่อพูดถึงการซื้อประกันชีวิต ในสังคมเราก็จะมีทั้งคนที่คิดจะซื้อและไม่ซื้อ คนที่ไม่ซื้อก็อาจจะคิดเอาเองว่า ไม่ใช่เรื่องที่จำเป็น หรือไม่ก็มีทัศนคติที่ไม่ดีต่อตัวแทนประกันหรือบริษัทประกัน ส่วนคนที่คิดจะซื้อ ก็อาจจะซื้อเพื่อ ลดหย่อนภาษี หรือเอาไว้เป็นเงินออมระยะยาว การจะเลือกซื้อก็มีซื้อตามคนอื่นบ้าง เอามาเปรียบเทียบเองบ้าง หรือไม่ก็ซื้อตามที่ตัวแทนแนะนำเลย แต่ไม่ว่าอย่างไร ก่อนที่จะตัดสินใจซื้อหรือไม่ซื้อ หรือว่าซื้อแบบไหนดี เราควรจะถามตัวเองก่อนว่า เรามีความจำเป็นมากน้อยแค่ไหน ที่ต้องทำประกันชีวิต?
หาความจำเป็นหรือความต้องการในการทำประกัน ก่อนตัดสินใจเลือกแบบ
ต้องทำความเข้าใจก่อนว่า โดยพื้นฐานแล้ว ประกันชีวิตเป็นสินค้าที่ถูกออกแบบมาเพื่อ “คุ้มครองความเสี่ยง” ให้คนที่เราเลี้ยงดูนะครับ ไม่ใช่เพื่อเอาไว้ลดหย่อนภาษี หรือเอาไว้ออมเงิน ดังนั้น ควรถามตัวเองก่อนว่า ถ้าเราเกิดจากไปอย่างกะทันหัน จะมีใครเดือดร้อนหรือสร้างภาระให้คนอื่นไหม? ถ้าคำตอบคือใช่ เราก็ควรที่จะต้องซื้อประกันชีวิตแบบเน้นความคุ้มครอง (แบบตลอดชีพ หรือแบบชั่วระยะเวลา) ครับ
แต่ปัจจุบัน ประกันชีวิตก็ถูกพัฒนาให้มีหลายประเภท นอกจากเรื่องคุ้มครองความเสี่ยงก็มีเรื่องของผลตอบแทนเข้ามาด้วย คือ ประกันชีวิตสะสมทรัพย์ และ ประกันชีวิตบำนาญ ที่เป็นการออมระยะยาว เหมาะกับการออมที่ต้องการความแน่นอนของผลตอบแทน ไม่ต้องการรับความเสี่ยงเลย (แน่นอนว่า เมื่อไม่มีความเสี่ยง ผลตอบแทนก็ย่อมต่ำตามไปด้วย) ซึ่งก็มีไว้สำหรับเป้าหมายทางการเงินที่ต้องการความแน่นอนสูง หรือสำหรับคนที่ยังมีความรู้และประสบการณ์ด้านการเงินการลงทุนที่ยังไม่มากนัก หรือต้องการสร้างวินัยการออมให้กับตัวเอง หากใครเข้าข่ายลักษณะแบบนี้ ประกันชีวิตแบบสะสมทรัพย์หรือแบบบำนาญ ก็อาจจะเป็นเครื่องมือทางการเงินที่เป็นตัวเลือกหนึ่งที่เหมาะสมครับ
ปัจจัยในการพิจารณาเลือกแบบประกัน
เมื่อเราตอบตัวเองได้แล้วว่า เรามีความจำเป็น หรือความต้องการซื้อประกันชีวิตหรือไม่ และต้องการในรูปแบบไหน (คุ้มครอง หรือ การันตีเงินออม) รวมถึงเข้าใจลักษณะและความแตกต่างของประกันชีวิตแต่ละประเภทแล้ว สุดท้าย เราถึงมาเข้าสู่กระบวนการ “เลือก” แบบประกันแต่ละแบบของแต่ละบริษัท ว่าแบบไหนคุ้มค่าที่สุด (แต่คนส่วนใหญ่กลับเริ่มต้นด้วยการเลือกแบบประกันก่อนเลย ทั้งๆที่ยังไม่ได้สำรวจความต้องการหรือความจำเป็นของตัวเองเลยด้วยซ้ำ)
คำถามก็คือ แล้วเราจะเลือกโดยดูจากอะไรบ้างล่ะ?
อันที่จริง มีหลายปัจจัยมากในการที่เราจะเอามาพิจารณาในการเลือกซื้อแบบประกันซักแบบ ทั้งปัจจัยที่เป็นตัวเลข และไม่ใช่ตัวเลข เช่น ความมั่นคงของบริษัทประกัน(ดูจากตัวเลขงบการเงิน), ความคุ้มครองที่ได้รับ(ตัวไหนให้มากกว่า), ผลตอบแทนที่ได้(ตัวไหนสูงกว่า), เบี้ยที่ต้องจ่าย (ที่ไหนถูกกว่า), ระยะเวลาที่ต้องการการคุ้มครองหรือผลตอบแทน ไปจนถึงเรื่องที่วัดด้วยตัวเลขไม่ได้อย่าง ความรู้สึกที่มีต่อตัวแทน หรือทัศนคติที่มีต่อบริษัทประกันนั้นๆ เป็นต้น
ความคุ้มค่าในการคุ้มครอง
ซึ่งหากเราจะเอาปัจจัยทุกตัวมาพิจารณาพร้อมๆกัน ก็คงจะเลือกไม่ถูก (บางตัวอาจจะดี บางตัวอาจจะแย่ ตกลงเลยไม่แน่ใจว่ารวมๆแล้วมันดีหรือแย่) หรือไม่ก็ต้องมีสมการที่มีความซับซ้อนมากมาช่วยคำนวณ ถึงจะได้คำตอบ
ดังนั้น เบื้องต้นที่ง่ายที่สุด(แต่ก็ยังซับซ้อนนิดๆอยู่ดี) คือเราจะพิจารณาจาก “ความคุ้มค่า” ของเบี้ยประกันที่จ่ายไป เทียบกับ “ความคุ้มครอง” ที่ได้รับ และ “ผลตอบแทน” ที่จะได้ ก็พอจะคัดเลือกประกันที่คุ้มค่าได้อยู่ระดับหนึ่งครับ
ซึ่งหากเราจะเอาปัจจัยทุกตัวมาพิจารณาพร้อมๆกัน ก็คงจะเลือกไม่ถูก (บางตัวอาจจะดี บางตัวอาจจะแย่ ตกลงเลยไม่แน่ใจว่ารวมๆแล้วมันดีหรือแย่) หรือไม่ก็ต้องมีสมการที่มีความซับซ้อนมากมาช่วยคำนวณ ถึงจะได้คำตอบ ดังนั้น เบื้องต้นที่ง่ายที่สุด(แต่ก็ยังซับซ้อนนิดๆอยู่ดี) คือเราจะพิจารณาจาก “ความคุ้มค่า” ของเบี้ยประกันที่จ่ายไป เทียบกับ “ความคุ้มครอง” ที่ได้รับ และ “ผลตอบแทน” ที่จะได้ ก็พอจะคัดเลือกประกันที่คุ้มค่าได้อยู่ระดับหนึ่งครับ
IRR
ส่วนเรื่องความคุ้มค่า เมื่อเทียบกับผลตอบแทนที่ได้ เราก็จะเปรียบเทียบว่า “หากจ่ายเบี้ยประกันเท่ากันแล้ว แบบประกันแบบไหนที่ให้ผลตอบแทนสูงกว่า ก็ถือว่าคุ้มค่ากว่า” แต่การที่จะเปรียบเทียบผลตอบแทนนั้น เราไม่สามารถจับผลตอบแทนจากเงินคืนและเงินครบสัญญารวมกัน แล้วเอามาลบด้วย เบี้ยประกันทั้งหมดที่จ่ายไป เพื่อหาว่าเราได้กำไรเท่าไหร่ แบบประกันไหนที่ให้กำไรมากกว่าคือดีกว่า แบบนี้ได้ เพราะมีเรื่องของมูลค่าเงินตามเวลาเข้ามาเกี่ยวข้องด้วย (จำนวนเงินที่เท่ากัน ถ้าได้รับเร็ว จะมีค่ามากกว่า ที่ได้รับช้ากว่า) เราจึงต้องใช้อัตราผลตอบแทนที่เรียกว่า “IRR (Internal Rate of Return)” มาเป็นตัวเปรียบเทียบ เพราะได้เอาเรื่องมูลค่าเงินตามเวลาเข้ามาคิดด้วยแล้ว
การจะคิด IRR ผมคงไม่สอนถึงวิธีการคิดด้วยวิธีคิดมือหรือต้องมานั่งคำนวณเอง แต่จะใช้วิธีคิดจากการกดเครื่องคิดเลขการเงินคำนวณ หรือจากการใช้โปรแกรม excel คิดเอา หลักการก็คือ
ให้คิดจำนวนเงินเป็น “กระแสเงินสด (Cash Flow)” เบี้ยที่จ่าย จะเป็นกระแสเงินสดลบ ส่วนเงินคืนที่ได้ จะเป็นกระแสเงินสดบวก เราก็ต้องใส่ข้อมูลกระแสเงินสดในแต่ละ “ต้นปี” (แต่โดยส่วนใหญ่เงินคืนมักจะถูกเขียนในโบรชัวร์แบบประกัน หรือในกรมธรรม์ว่า จะเป็นเงินคืนเมื่อ “สิ้นปีที่”
ดังนั้น หากเป็นสิ้นปีไหน จะเท่ากับต้นปีถัดไป เช่น สิ้นปีที่ 1 เราก็ต้องกรอกตัวเลขลงไปในช่องต้นปีที่ 2 เป็นต้น) หากต้นปีไหนมีทั้งการจ่ายเบี้ย และมีเงินคืนที่ได้ เราก็ต้องนำกระแสเงินสดทั้ง 2 มาหักลบกัน แล้วค่อยใส่ค่าผลลัพธ์ลงไป ทำเช่นนี้ทุกๆปี ตามแบบประกัน แล้วกดฟังก์ชั่น IRR เพื่อคำนวณ เราก็จะได้ค่า IRR ของแบบประกันนั้นออกมา แบบประกันไหนที่ IRR สูงกว่า ก็ถือว่าคุ้มค่ากว่าครับ
ถ้าเราให้ความสำคัญกับทั้งความคุ้มครอง และผลตอบแทนที่ได้ พร้อมๆกันล่ะ เราจะเปรียบเทียบยังไง?
หลักการคิดก็คือ เราต้องเอาปัจจัยแต่ละตัวมา “ถ่วงน้ำหนัก” ว่าเราให้น้ำหนัก หรือความสำคัญกับเรื่องใดเท่าไหร่ (แต่รวมกันน้ำหนักต้องเท่ากับ 100%) แล้วนำทั้ง 2 ค่าที่ได้มารวมกัน แล้วจึงเลือกแบบประกันที่มีค่าสูงที่สุด
แต่ปัญหาก็คือ ค่าความคุ้มค่าของความคุ้มครองที่ได้ (เบี้ยหารทุน) กับ IRR มันมีฐานคะแนนที่ต่างกัน เราไม่สามารถถ่วงน้ำหนักแล้วจับมารวมกันได้โดยตรง เราจำเป็นต้องทำให้ฐานคะแนนของตัวแปรทั้ง 2 ตัวเท่ากันก่อน ทางออกก็คือ อาจจะใช้วิธี “ให้คะแนน” ของค่าที่คำนวณได้ (คะแนนที่ได้) เทียบกับค่าที่สูงที่สุดของตัวแปรนั้น (เหมือนเป็นคะแนนเต็ม) โดยการจับหาร แล้วคูณ 100 เพื่อให้คะแนนออกมาเป็น % (เหมือนคะแนนเต็ม 100)
แต่ก็มีปัญหาอีกว่า เราไม่รู้ว่าค่าสูงสุดของตัวแปรแต่ละตัวมีค่าเท่าไหร่ (แบบประกันตัวไหนในท้องตลาดที่มีค่าความคุ้มค่าของความคุ้มครองสูงที่สุด และแบบไหนมี IRR สูงที่สุด) เราจะรู้ได้ก็ต่อเมื่อ เรามีข้อมูลของแบบประกันทุกแบบ จากทุกบริษัทประกัน มาให้เราเปรียบเทียบ
ตัวช่วยเปรียบเทียบแบบประกัน
ถึงจุดนี้ หลายๆคนอาจจะกุมขมับแล้วคิดในใจว่า “แล้วฉันจะไปทำเองได้ยังไง?” เมื่อต้องคิดว่าแบบประกันของแต่ละบริษัทมีเยอะแค่ไหน ไหนจะมีอีกตั้งกี่บริษัทอีก คงจะเอามาเปรียบเทียบกันไม่หวาดไม่ไหวอย่างแน่นอน
แต่วันนี้เราอาจจะเห็นแสงสว่างที่ปลายอุโมงค์ เมื่อทาง iTAX เตรียมหาข้อมูลของแบบประกันทั้งหมด โดยใช้เอ็นจิ้นที่คิดค้นเองที่ใช้แนวคิดจากหลักการการเปรียบเทียบที่ว่ามา เป็นคนเปรียบเทียบแบบประกันต่างๆตามความต้องการให้เราเอง ที่เราต้องทำก็เพียงแค่กรอกเพศ อายุ เลือกแบบประกันที่ต้องการ ใส่ค่าทุนประกัน หรือเบี้ยประกันที่ต้องการ แล้วเลือกน้ำหนักที่จะให้ความสำคัญของความคุ้มครองและผลตอบแทน (เลือกได้ 5 ระดับ) เพียงเท่านั้น ระบบก็จะคิดคำนวณและเสนอแบบประกันที่มีคะแนนสูงสุด 3 อันดับแรกให้เราเลือก โดยแทบไม่ต้องเสียเวลามานั่งรวบรวมข้อมูลแล้วเปรียบเทียบเองเลย
เจ๋งแบบนี้ นอกจากเรื่องการวางแผนภาษีแล้ว ก็อย่าลืมใช้ iTAX shop เพื่อช่วยคัดเลือกแบบประกันที่ดีที่สุด ให้ตรงใจเรากันด้วยนะครับ 😉
บทความโดย : Insuranger