บัตรสวัสดิการแห่งรัฐ เมษายน 2566 โอนเงินงวดแรกวันไหน?

ทั่วไป

ไทม์ไลน์การโอนเงินเข้า บัตรสวัสดิการแห่งรัฐ (บัตรคนจน) รอบใหม่ เมษายน 2566 โดยกรมบัญชีกลาง กระทรวงการคลัง เริ่มวันที่ 1 เมษายน 2566

กรมบัญชีกลาง กระทรวงการคลัง ได้กำหนดการโอนเงินให้กับผู้ถือบัตรสวัสดิการแห่งรัฐรอบใหม่ (โอนเงินเข้าบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ) เริ่มวันแรก 1 เมษายน โดยมีรายละเอียดดังนี้

การโอนเงินเข้า บัตรสวัสดิการแห่งรัฐ ของ เมษายน 2566

เงินบัตรสวัสดิการแห่งรัฐที่เข้าไม่สามารถถอนเป็นเงินสดได้ และไม่สะสมในเดือนถัดไป ได้แก่

  • วงเงินซื้อสินค้าสูงสุด 300 บาท/เดือน สำหรับค่าซื้อซื้อสินค้าอุปโภคบริโภคที่จำเป็น สินค้าเพื่อการศึกษาและวัตถุดิบเพื่อเกษตรกรรม จากร้านธงฟ้าราคาประหยัดพัฒนาเศรษฐกิจท้องถิ่น (ร้านธงฟ้าฯ) และร้านอื่น ๆ ตามที่กระทรวงพาณิชย์กำหนด ตั้งแต่เวลา 05.00 – 23.00 น.
  • ส่วนลดค่าซื้อก๊าซหุงต้ม 80 บาท/ 3 เดือน ตั้งแต่เวลา 05.00 – 23.00 น.
  • ค่าใช้จ่ายในการเดินทาง 750 บาท/เดือน ประกอบด้วย
    • ค่ารถเมล์ ขสมก. (สำหรับผู้ที่อาศัยอยู่ใน กทม. และปริมณฑล)
    • ค่ารถ บขส.
    • ค่ารถไฟฟ้า (MRT/BTS/ARL)
    • ค่ารถไฟความเร็วสูง
    • ค่ารถไฟ
  • เงินคืนค่าไฟฟ้า ไม่เกิน 315 บาท/ครัวเรือน/เดือน (สำหรับผู้ที่ใช้ไฟฟ้าไม่เกิน 315 บาท/เดือน)
  • เงินคืนค่าน้ำประปา ไม่เกิน 100 บาท/ครัวเรือน/เดือน (สำหรับผู้ที่ใช้น้ำประปาไม่เกิน 315 บาท/เดือน จะได้รับเงินคืนไม่เกิน 100 บาท ส่วนที่เกิน ผู้ถือบัตรฯ จะต้องชำระเอง)

เช็คผลการลงทะเบียน บัตรสวัสดิการแห่งรัฐ ได้ทางไหน?

  • เว็บไซต์โครงการลงทะเบียนเพื่อสวัสดิการแห่งรัฐ https://welfare.mof.go.th

ขั้นตอนการ เช็กผลการลงทะเบียนบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ ต้องทำอย่างไรบ้าง?

  1. ไปที่เว็บไซต์โครงการลงทะเบียนเพื่อสวัสดิการแห่งรัฐ กระทรวงการคลัง https://welfare.mof.go.th
  2. กดปุ่ม “ตรวจสอบสถานะการลงทะเบียน”
  3. ที่หน้าตรวจสอบสถานะการลงทะเบียน ให้กรอกข้อมูลเลขประจำตัวประชาชน 13 หลัก และวันเดือนปีเกิด (พ.ศ.) โดยให้กรอกข้อมูลตามหน้าบัตรประจำตัวประชาชนใบล่าสุดและยังไม่หมดอายุ ในกรณีไม่ทราบวันเกิด / เดือนเกิด ให้เลือก “ไม่ทราบวันเกิด” / “ไม่ทราบเดือนเกิด”
  4. กดปุ่ม “ตรวจสอบข้อมูล”
  5. ระบบจะแสดงผลสถานะการลงทะเบียนบัตรสวัสดิการแห่งรัฐว่า ผ่าน-ไม่ผ่าน

ติดต่อสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม

โทรศัพท์สอบถามเพิ่มเติมในวัน เวลาราชการได้ที่ช่องทางต่อไปนี้

  • Call Center ศูนย์ลูกค้าสัมพันธ์บัตรสวัสดิการแห่งรัฐ 02-109-2345 และ
  • Call Center กรมบัญชีกลาง 0 2270 6400

สิทธิประโยชน์ของผู้ถือบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ (ผู้ถือบัตรคนจน)

บัตรสวัสดิการแห่งรัฐ (บัตรคนจน) เป็นมาตรการช่วยเหลือประชาชนผู้มีรายได้น้อยเพื่อลดภาระค่าครองชีพ เช่น

  1. ค่าซื้อสินค้า 300 บาท
  2. ค่าเดินทางรถโดยสารสาธารณะ 750 บาท
  3. ส่วนลดค่าก๊าซหุงต้ม 80 บาท (ต่อรอบ 3 เดือน)
  4. เงินช่วยค่าไฟฟ้า ไม่เกิน 315 บาทต่อครัวเรือน (ตามที่จ่ายจริง)
  5. เงินช่วยค่าน้ำประปา ไม่เกิน 100 บาทต่อครัวเรือน (ตามที่จ่ายจริง)

คุณสมบัติของผู้มีสิทธิลงทะเบียนสมัครบัตรคนจน รอบใหม่

  1. เป็นผู้มีสัญชาติไทยอายุ 18 ปีขึ้นไป
  2. ไม่เป็นบุคคล ดังต่อไปนี้
    • ภิกษุ สามเณร นักพรต หรือนักบวช
    • ผู้ต้องขัง ผู้ถูกกักกัน ผู้ต้องกักขัง
    • บุคคลที่อยู่ในสถานสงเคราะห์ของหน่วยงานของรัฐ
    • ข้าราชการ พนักงานราชการ พนักงาน ลูกจ้าง เจ้าหน้าที่ หรือผู้ปฏิบัติงานในหน่วยงานของรัฐ
    • ผู้รับบำเหน็จรายเดือน ผู้รับบำนาญปกติ หรือเบี้ยหวัดจากส่วนราชการ
    • ข้าราชการการเมือง สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร และสมาชิกวุฒิสภา
  3. ว่างงานหรือมีรายได้ส่วนตัวไม่เกิน 100,000 บาทต่อปี ในช่วงระยะเวลาใดเวลาหนึ่ง และหากมีครอบครัว รายได้เฉลี่ยของครอบครัวของผู้ลงทะเบียนไม่เกิน 100,000 บาทต่อคนต่อปี ในช่วงระยะเวลาใดเวลาหนึ่ง (การคำนวณรายได้เฉลี่ยของครอบครัวของผู้ลงทะเบียนคำนวณได้จากการรวมรายได้ของผู้ลงทะเบียน และสมาชิกในครอบครัวของผู้ลงทะเบียน หารด้วยจำนวนบุคคลทั้งหมดในครอบครัว)
  4. ทรัพย์สินทางการเงิน ได้แก่ เงินฝาก สลาก พันธบัตร และตราสารหนี้ภาครัฐ ของผู้ลงทะเบียนต้องมีมูลค่าไม่เกิน 100,000 บาทต่อคน ณ เวลาใดเวลาหนึ่ง และหากมีครอบครัว ทรัพย์สินทางการเงินเฉลี่ยของครอบครัวของผู้ลงทะเบียนมีมูลค่าไม่เกิน 100,000 บาทต่อคน ณ เวลาใดเวลาหนึ่ง (การคำนวณทรัพย์สินทางการเงินเฉลี่ยของครอบครัวของผู้ลงทะเบียนคำนวณได้จากการรวมมูลค่าทรัพย์สินทางการเงินของผู้ลงทะเบียน และสมาชิกในครอบครัวของผู้ลงทะเบียน หารด้วยจำนวนบุคคลทั้งหมดในครอบครัว)
  5. ไม่มีกรรมสิทธิ์ในอสังหาริมทรัพย์ หรือถ้ามีกรรมสิทธิ์ในอสังหาริมทรัพย์ ณ เวลาใดเวลาหนึ่ง จะต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์ ดังต่อไปนี้
    • กรณีผู้ลงทะเบียนไม่มีครอบครัว
      1. ที่อยู่อาศัยที่เป็นที่ดิน และสิ่งปลูกสร้าง (บ้านพร้อมที่ดิน)
        • กรณีอยู่อาศัยอย่างเดียว บ้านเดี่ยว ทาวน์เฮาส์ ห้องแถว และตึกแถว ต้องมีพื้นที่ไม่เกิน 25 ตารางวา และ/หรือ ห้องชุดต้องมีพื้นที่ไม่เกิน 35 ตารางเมตร
        • กรณีเป็นที่อยู่อาศัยและใช้ประโยชน์จากที่ดินเพื่อการเกษตร ต้องมีพื้นที่ไม่เกิน 10 ไร่ หรือในกรณีที่ใช้ประโยชน์ที่ดินเพื่อการอื่นที่ไม่ใช่เพื่อการเกษตรจะต้องมีพื้นที่ไม่เกิน 1 ไร่
      2. ที่ดินแยกจากที่อยู่อาศัย
        • ในกรณีที่ใช้ประโยชน์ที่ดินเพื่อการเกษตรต้องมีพื้นที่ไม่เกิน 10 ไร่หรือ
        • ในกรณีที่ใช้ประโยชน์ที่ดินเพื่อการอื่นที่ไม่ใช่เพื่อการเกษตรต้องมีพื้นที่ไม่เกิน 1 ไร่
    • กรณีผู้ลงทะเบียนมีครอบครัว
      1. ที่อยู่อาศัยที่เป็นที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง (บ้านพร้อมที่ดิน)
        • กรณีอยู่อาศัยอย่างเดียว 
          • ผู้ลงทะเบียนและคู่สมรสเป็นเจ้าของที่ดินที่มีลักษณะเป็นบ้านเดี่ยว ทาวน์เฮาส์ ห้องแถว และตึกแถวแยกจากกัน ไม่ว่าจะมีบุคคลอื่นเป็นเจ้าของรวมด้วยหรือไม่ก็ตาม ส่วนที่เป็นกรรมสิทธิ์ในที่ดินของลงทะเบียนและคู่สมรสแต่ละคนต้องมีพื้นที่ไม่เกิน 25 ตารางวา
          • ผู้ลงทะเบียนและคู่สมรสเป็นเจ้าของที่ดินที่มีลักษณะเป็นบ้านเดี่ยว ทาวน์เฮาส์ ห้องแถว และตึกแถวร่วมกัน ไม่ว่าจะมีบุคคลอื่นเป็นเจ้าของรวมด้วยหรือไม่ก็ตาม ส่วนที่เป็นกรรมสิทธิ์ในที่ดินของผู้ลงทะเบียนและคู่สมรสรวมกันต้องมีพื้นที่ไม่เกิน 25 ตารางวา
          • ผู้ลงทะเบียนและคู่สมรสเป็นเจ้าของห้องชุดแยกจากกัน ไม่ว่าจะมีบุคคลอื่นเป็นเจ้าของรวมด้วยหรือไม่ก็ตาม ส่วนที่เป็นกรรมสิทธิ์ในห้องชุดของผู้ลงทะเบียนและคู่สมรสแต่ละคนต้องมีพื้นที่ไม่เกิน 35 ตารางเมตร
          • ผู้ลงทะเบียนและคู่สมรสเป็นเจ้าของห้องชุดร่วมกัน ไม่ว่าจะมีบุคคลอื่นเป็นเจ้าของรวมด้วยหรือไม่ก็ตาม ส่วนที่เป็นกรรมสิทธิ์ในห้องชุดของผู้ลงทะเบียนและคู่สมรสรวมกันต้องมีพื้นที่ไม่เกิน 35 ตารางเมตร
        • กรณีเป็นที่อยู่อาศัยและใช้ประโยชน์จากที่ดินเพื่อการเกษตร ต้องมีพื้นที่ไม่เกิน 20 ไร่ หรือในกรณีที่ใช้ประโยชน์ที่ดินเพื่อการอื่นที่ไม่ใช่เพื่อการเกษตรจะต้องมีพื้นที่ไม่เกิน 2 ไร่
      2. ที่ดินแยกจากที่อยู่อาศัย
        • ในกรณีที่ใช้ประโยชน์ที่ดินเพื่อการเกษตรต้องมีพื้นที่ไม่เกิน 20 ไร่ หรือ
        • ในกรณีที่ใช้ประโยชน์ที่ดินเพื่อการอื่นที่ไม่ใช่เพื่อการเกษตรต้องมีพื้นที่ไม่เกิน 2 ไร่
  6. ผู้ลงทะเบียนจะต้องไม่มีบัตรเครดิต ณ เวลาใดเวลาหนึ่ง
  7. ผู้ลงทะเบียนจะต้องไม่มีวงเงินกู้ หรือมีวงเงินกู้ ณ เวลาใดเวลาหนึ่ง แต่ไม่เกินหลักเกณฑ์ ได้แก่ วงเงินกู้สำหรับที่อยู่อาศัยรวมไม่เกิน 1.5 ล้านบาท และ/หรือ วงเงินกู้สำหรับยานพาหนะรวมไม่เกิน 1 ล้านบาท
app icon
iTAX คำนวณและวางแผนภาษี
star star star star star
(100K+)