นำร่อง 31 จังหวัดที่ถอดแมสก์ได้ พื้นที่สีฟ้า/สีเขียว เริ่มในจังหวัดพื้นที่สีฟ้าและพื้นที่สีเขียวที่มีความพร้อม แต่ให้คงใส่หน้ากากอนามัยไว้สำหรับ 3 กลุ่ม ได้แก่ กลุ่มผู้ป่วยหรือกลุ่มเสี่ยง ผู้ที่อยู่ในสถานที่ปิดและอากาศไม่ถ่ายเท และ การเข้าร่วมกิจกรรมคนจำนวนมาก
- ฉีดวัคซีนโมเดอร์นาฟรี รพ.ศิริราช walk-in ได้ไม่ต้องลงทะเบียน
- ลงทะเบียนวินเซฟ กดรับสิทธิ์ ช่วยค่าน้ำมันวันละ 50 บาท
27 พฤษภาคม 2565 – นายแพทย์จักรรัฐ พิทยาวงศ์อานนท์ ผู้อำนวยการ กองระบาดวิทยา กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข แถลงข่าวสถานการณ์โควิด 19 โดยเปิดเผยว่าสถานการณ์ทั่วโลกเริ่มดีขึ้น และเริ่มผ่อนคลายมาตรการแล้ว สำหรับประเทศไทย หากการติดเชื้อลดลง ป่วยหนัก และเสียชีวิตลดลง กระทรวงสาธารณสุข ก็เตรียมลดระดับเตือนภัยจากระดับ 3 เป็นระดับ 2 เพื่อให้ประชาชนใช้ชีวิตปกติมากขึ้น โดยเฉพาะประเด็นการ ถอดแมสก์ ในพื้นที่ที่มีความพร้อม
ด้าน นายแพทย์ทวีทรัพย์ ศิรประภาศิริ ผู้ทรงคุณวุฒิ กรมควบคุมโรค เปิดเผยว่า ภาครัฐเตรียมพิจารณาพื้นที่นำร่องถอดแมสก์สำหรับพื้นที่ที่มีความพร้อม โดยจะเริ่มนำร่องในพื้นที่จังหวัดสีเขียวและจังหวัดสีฟ้าก่อน ส่วนระยะเวลาถอดหน้ากากอนามัยต้องกำหนดอีกที ยังไม่ระบุวัน-เวลา ซึ่งต้องแจ้งให้ทาง ศบค. รับทราบด้วย
ถอดแมสก์ได้เมื่อไหร่?
- ต้องรอมติ ศบค. เพื่อประกาศในราชกิจจานุเบกษาเพื่อบังคับใช้ทั่วประเทศอย่างเป็นทางการต่อไป แต่คาดการณ์ว่าจะเกิดขึ้นภายในเดือนมิถุนายน 2565
31 จังหวัดที่ถอดแมสก์ได้ นำร่องมาตรการ “ถอดหน้ากากอนามัย” ในพื้นที่สีฟ้าและสีเขียว
มาตรการถอดแมสก์จะเริ่มในพื้นที่สีฟ้า 17 จังหวัด และพื้นที่สีเขียว 14 จังหวัด รวมเป็นพื้นที่ 31 จังหวัดนำร่อง ดังนี้
พื้นที่นำร่องท่องเที่ยว (สีฟ้า) – 17 จังหวัด
พื้นที่นำร่องท่องเที่ยว (สีฟ้า) 17 จังหวัด ที่จะนำร่องมาตรการให้ถอดหน้ากากอนามัยได้ ได้แก่
- กรุงเทพมหานคร
- กระบี่
- กาญจนบุรี
- จันทบุรี
- ชลบุรี
- เชียงใหม่
- เชียงราย
- นครราชสีมา
- นนทบุรี
- นราธิวาส
- ปทุมธานี
- ประจวบคีรีขันธ์
- พังงา
- เพชรบุรี
- ภูเก็ต
- ระยอง
- สงขลา
พื้นที่เฝ้าระวัง (สีเขียว) – 14 จังหวัด
พื้นที่เฝ้าระวัง (สีเขียว) 14 จังหวัด ที่จะนำร่องมาตรการให้ถอดหน้ากากอนามัยได้ ได้แก่
- ชัยนาท
- ตราด (พื้นที่บางส่วนเป็นพื้นที่นำร่อง (พื้นที่สีฟ้า))
- นครพนม
- น่าน
- บุรีรัมย์ (พื้นที่บางส่วนเป็นพื้นที่นำร่อง (พื้นที่สีฟ้า))
- พิจิตร
- มหาสารคาม
- ยโสธร
- ลำปาง
- สุราษฎร์ธานี (พื้นที่บางส่วนเป็นพื้นที่นำร่อง (พื้นที่สีฟ้า))
- สุรินทร์ (พื้นที่บางส่วนเป็นพื้นที่นำร่อง (พื้นที่สีฟ้า))
- อ่างทอง
- อำนาจเจริญ
- อุดรธานี (พื้นที่บางส่วนเป็นพื้นที่นำร่อง (พื้นที่สีฟ้า))
หมายเหตุ: มาตรการดังกล่าวจะยังคงให้ใส่หน้ากากอนามัยไว้สำหรับบุคคล 3 กลุ่ม ได้แก่
- กลุ่มผู้ป่วยหรือกลุ่มเสี่ยง
- ผู้ที่อยู่ในสถานที่ปิดและอากาศไม่ถ่ายเท และ
- การเข้าร่วมกิจกรรมคนจำนวนมาก
พื้นที่สีเหลือง 46 จังหวัด เป็นพื้นที่เฝ้าระวัง ยังไม่อยู่ในเกณฑ์นำร่องถอดแมสก์ได้
พื้นที่เฝ้าระวัง (พื้นที่สีเหลือง) จำนวน 46 จังหวัด ยังต้องรอประกาศมาตรการถอดหน้ากากอนามัยต่อไป
พื้นที่เฝ้าระวังสูง (สีเหลือง) 65 จังหวัด
พื้นที่สีเหลือง (เฝ้าระวังสูง) ประกอบด้วย 65 จังหวัด ต่อไปนี้
- กาฬสินธุ์
- กำแพงเพชร
- ขอนแก่น (พื้นที่บางส่วนเป็นพื้นที่นำร่อง (พื้นที่สีฟ้า))
- ฉะเชิงเทรา
- ชัยภูมิ
- ชุมพร
- ตรัง
- ตาก
- นครนายก
- นครปฐม
- นครศรีธรรมราช
- นครสวรรค์
- บึงกาฬ
- ปราจีนบุรี
- ปัตตานี
- พะเยา
- พระนครศรีอยุธยา (พื้นที่บางส่วนเป็นพื้นที่นำร่อง (พื้นที่สีฟ้า))
- พัทลุง
- พิษณุโลก
- เพชรบูรณ์
- แพร่
- มุกดาหาร
- แม่ฮ่องสอน
- ยะลา (พื้นที่บางส่วนเป็นพื้นที่นำร่อง (พื้นที่สีฟ้า))
- ร้อยเอ็ด
- ระนอง (พื้นที่บางส่วนเป็นพื้นที่นำร่อง (พื้นที่สีฟ้า))
- ราชบุรี
- ลพบุรี
- ลำพูน
- เลย (พื้นที่บางส่วนเป็นพื้นที่นำร่อง (พื้นที่สีฟ้า))
- ศรีสะเกษ
- สกลนคร
- สตูล
- สมุทรปรากร (พื้นที่บางส่วนเป็นพื้นที่นำร่อง (พื้นที่สีฟ้า))
- สมุทรสงคราม
- สมุทรสาคร
- สระแก้ว
- สระบุรี
- สิงห์บุรี
- สุโขทัย
- สุพรรณบุรี
- หนองคาย (พื้นที่บางส่วนเป็นพื้นที่นำร่อง (พื้นที่สีฟ้า))
- หนองบัวลำภู
- อุตรดิตถ์
- อุทัยธานี
- อุบลราชธานี
เกณฑ์การพิจารณาพื้นที่นำร่อง “ถอดแมสก์” ได้
ทั้งนี้ พื้นที่นำร่องดังกล่าว ใช้เกณฑ์การปรับมาตรการสวมหน้ากากอนามัย ได้แก่
- เป็นพื้นที่ระบาดโควิดอยู่ในระดับต่ำ โดยพิจารณาจากจำนวนผู้ติดเชื้อและผู้เสียชีวิต
- อัตราการฉีดวัคซีนกับประชาชนได้ตามเกณฑ์
- ระบบรักษาผู้ป่วยโควิด-19 ของสถานพยาบาลในพื้นที่นั้นๆ มีความพร้อม