ต่ออายุ พรก.ฉุกเฉิน 2 เดือน ถึง 31 ก.ค. 64 มติ ศบค. เห็นชอบแล้ว

ทั่วไป

ศบค.ชุดใหญ่ เห็นชอบ ต่ออายุ พรก.ฉุกเฉิน ทั่วประเทศ ออกไปอีก 2 เดือน เพื่อควบคุมการแพร่ระบาดโรคไวรัสโควิด-19 ตั้งแต่ 1 มิ.ย. – 31 ก.ค. 2564 เตรียมชง ครม. เห็นชอบต่อไป

ลงทะเบียนฉีด วัคซีนโควิด 19 ถึงคิวคนวัย 18 – 59 ปี เริ่ม 31 พ.ค.

หมอพร้อม ลงทะเบียนฉีดวัคซีนโควิด 19 ผ่านไลน์

วันนี้ (21 พ.ค. 2564) นายแพทย์ทวีศิลป์ วิษณุโยธิน ในฐานะโฆษกของคณะกรรมการบริหารสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (ศบค.) เปิดเผยว่า ที่ประชุม ศบค.ชุดใหญ่ มีมติเห็นชอบให้ขยายระยะเวลาการประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินในทุกเขตท้องที่ทั่วราชอาณาจักร ตาม พ.ร.ก. ฉุกเฉินฯ ออกไปอีก 2 เดือน ตั้งแต่ 1 มิถุนายน – 31 กรกฎาคม 2564 จากเดิมที่กำลังจะครบกำหนดในวันที่ 31 พฤษภาคมนี้

ทั้งนี้ ศบค. ให้เหตุผลการ ต่ออายุ พ.ร.ก. ฉุกเฉิน ว่าสาเหตุหลักมาจากการควบคุมโรค ของกระทรวงสาธารณสุข เนื่องจากสถานการณ์การระบาดในขณะนี้ยังคงมีผู้ติดเชื้อในระดับพันรายทุกวัน ซึ่งมติของ ศบค.ชุดใหญ่ ซึ่งมี พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ในฐานะ ผอ.ศบค. เป็นประธาน จะได้นำเข้าที่ประชุม ครม. ในวันอังคารที่ 25 พฤษภาคม 2564 เพื่อพิจารณาให้ความเห็นชอบอีกครั้ง ซึ่งหาก ครม. มีมติเห็นชอบจึงจะประกาศลงในราชกิจจานุเบกษาเพื่อให้มีผลบังคับใช้ต่อไป

ขยายเวลา พ.ร.ก. ฉุกเฉินต่อเนื่องเป็นครั้งที่ 12

การประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินเป็นอำนาจของนายกรัฐมนตรีโดยความเห็นชอบของคณะรัฐมนตรี ตามพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ.2548 หรือที่มักเรียกว่า พ.ร.ก. ฉุกเฉินฯ ซึ่งได้ให้อำนาจขยายระยะเวลาการบังคับใช้ประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินในทุกเขตท้องที่ทั่วราชอาณาจักรได้เมื่อมีเหตุจำเป็น โดยครั้งนี้ ศบค.ชุดใหญ่เห็นควรให้ ต่อายุ พ.ร.ก. ฉุกเฉินฯ ต่อไปเนื่องจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19 ยังอยู่ในระดับพันรายอย่างต่อเนื่อง

นายกฯ ต่ออายุ พรก.ฉุกเฉิน มาแล้ว 11 ครั้ง รวมเวลา 1 ปี 2 เดือน

ตั้งแต่ปี 2563 ที่ผ่านมา นายกรัฐมนตรีได้ใช้อำนาจ ตาม พ.ร.ก. ฉุกเฉิน โดยความเห็นชอบของที่ประชุม ครม. ประกาศสถานการณ์ฉุกเฉิน เนื่องจากการแพร่ระบาดของโรคโควิด 19 (COVID-19) เริ่มตั้งแต่วันที่ 26 มีนาคม 2563 และได้ขยายระยะเวลาการบังคับใช้เนื่องจากเป็นสถานการณ์ฉุกเฉินไปแล้วทั้งสิ้น 11 ครั้ง รวมระยะเวลาที่ประเทศไทยอยู่ในสถานการณ์ฉุกเฉินมาแล้วรวมเป็นระยะเวลาทั้งสิ้น ราว 1 ปี 2 เดือน และหาก ครม. มีมติต่ออายุ พ.ร.ก. อีกเป็นครั้งที่ 12 จะทำให้ประเทศไทยอยู่ในสถานการณ์ฉุกเฉินเพราะเหตุโควิด 19 รวมเป็นระยะเวลาราว 1 ปี 4 เดือน

  • ประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินครั้งแรก: 26 มี.ค. 2563
  • ขยายครั้งที่ 1: 1 พ.ค. – 31 พ.ค. 2563 (รวม 1 เดือน)
  • ขยายครั้งที่ 2: 1 มิ.ย. – 30 มิ.ย. 2563 (รวม 1 เดือน)
  • ขยายครั้งที่ 3: 1 ก.ค. – 31 ก.ค. 2563 (รวม 1 เดือน)
  • ขยายครั้งที่ 4: 1 ส.ค. – 31 ส.ค. 2563 (รวม 1 เดือน)
  • ขยายครั้งที่ 5: 1 ก.ย. – 30 ก.ย. 2563 (รวม 1 เดือน)
  • ขยายครั้งที่ 6: 1 ต.ค. – 31 ต.ค. 2563 (รวม 1 เดือน)
  • ขยายครั้งที่ 7: 1 พ.ย. – 30 พ.ย. 2563 (รวม 1 เดือน)
  • ขยายครั้งที่ 8: 1 ธ.ค. 2563 – 15 ม.ค. 2564 (รวม 1 เดือนครึ่ง)
  • ขยายครั้งที่ 9: 16 ม.ค. 2564 – 28 ก.พ. 2564 (รวม 1 เดือนครึ่ง)
  • ขยายครั้งที่ 10: 1 มี.ค. 2564 – 31 มี.ค. 2564 (รวม 1 เดือน)
  • ขยายครั้งที่ 11: 1 เม.ย. 2564 – 31 พ.ค. 2564 (รวม 2 เดือน)
  • ขยายครั้งที่ 12 (ถ้ามี): 1 มิ.ย. 2564 – 31 ก.ค. 2564 (รวม 2 เดือน)

มีข้อสังเกต การขยายเวลาครั้งที่ 11 และครั้งที่ 12 เป็นการประกาศขยายคราวละ 2 เดือน ซึ่งแตกต่างจากการขยายเวลาครั้งแรกๆ ที่จะขยายคราวละ 1 เดือน

 

 

 

app icon
iTAX คำนวณและวางแผนภาษี
star star star star star
(100K+)