ยื่นคำร้องขอคดีจัดการมรดก ตั้งผู้จัดการมรดก ออนไลน์ ผ่านระบบ e-Filing ศาลยุติธรรม ฟรี ทำด้วยตัวเองได้ ไม่เสียค่าใช้จ่าย ไม่ต้องเดินทางไปศาล
- ยื่นคำฟ้องออนไลน์ คดีผู้บริโภค ผ่านระบบ e-Filing ศาลยุติธรรม ฟรี
- ฟ้องคดีซื้อขายออนไลน์ เสียหายสิบบาทก็ฟ้องได้ โดยศาลยุติธรรม
- แจ้งอายัดบัญชีมิจฉาชีพ – แจ้งความออนไลน์ โดนหลอกโอนเงิน
ขั้นตอนการสมัครใช้งาน e-Filing สำหรับยื่นคำร้องขอคดีจัดการมรดก
- ไปที่เว็บไซต์ efiling3.coj.go.th
- เลือกประเภทผู้ใช้งานเป็น “ประชาชน-ยื่นฟ้องในฐานะประชาชน”
- กด “ลงทะเบียน”
- ยอมรับนโยบายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลของสำนักงานศาลยุติธรรมแล้วกด ‘ดำเนินการต่อ’ เพื่อกรอกข้อมูลการลงทะเบียน
- กรอกข้อมูลส่วนตัวและที่อยู่
- ตั้งรหัสผ่านสำหรับการเข้าสู่ระบบ (รหัสผ่านต้องมีอย่างน้อย 8 ตัวอักษร ประกอบด้วยตัวอักษรใด ๆ และต้องมีอักษรภาษาอังกฤษตัวพิมพ์ใหญ่ ตัวพิมพ์เล็ก และตัวเลขอารบิกอย่างน้อยอย่างละ 1 ตัวอักษร)
- กรอกอีเมลและเบอร์โทรศัพท์มือถือที่จะใช้เป็นช่องทางการติดต่อรับข้อมูลการยื่นคำฟ้อง/คำร้อง
- แนบไฟล์ ‘บัตรประจำตัวประชาชน’ และ ‘ภาพถ่ายสี (หน้าตรงสุภาพ)’ ขนาดไฟล์ต้องไม่เกิน 1 MB
- กด ‘ยืนยันการลงทะเบียน’
- เมื่อลงทะเบียนสำเร็จแล้วสามารถกลับเข้าสู่ระบบและดำเนินการยื่นคำร้องขอคดีจัดการมรดก/ตั้งผู้จัดการมรดกได้
ขั้นตอนการยื่นคำร้องขอคดีจัดการมรดก “ตั้งผู้จัดการมรดก ออนไลน์” บนระบบ e-Filing ศาลยุติธรรม
- ไปที่เว็บไซต์ efiling3.coj.go.th
- เลือกประเภทผู้ใช้งานเป็น “ประชาชน-ยื่นฟ้องในฐานะประชาชน”
- กด “เข้าสู่ระบบ”
- กรอกเลขบัตรประชาชน 13 หลัก และรหัสผ่าน
- รอรับรหัส OTP 6 หลักแล้วกรอกเพื่อยืนยันตัวตน
- ที่หน้า ระบบยื่นคำฟ้องอิเล็กทรอนิกส์สำหรับประชาชน (e-Filing) ให้เลือกปุ่ม “ยื่นคำร้องขอ คดีจัดการมรดก”
- กดยอมรับเงื่อนไขการใช้งาน
- เริ่มกรอกข้อมูลตามขั้นตอนทั้ง 8 ขั้นตอน ได้แก่
- ศาล/ประเภทคำร้อง
- ผู้ร้อง
- ผู้ตาย
- บัญชีทรัพย์
- บัญชีเครือญาติ
- ไฟล์เอกสารหลักฐาน
- บัญชีพยาน และ
- สรุปข้อมูลการยื่นคำร้อง
หมายเหตุ: ควรกดปุ่ม “บันทึกฉบับร่าง” ทุกครั้งที่กรอกข้อมูลในแต่ละหน้าครบถ้วน เพื่อป้องกันปัญหาข้อมูลสูญหายจนต้องกรอกข้อมูลเดิมซ้ำใหม่เมื่อกลับสู่ระบบครั้งต่อไป
ขั้นตอนที่ 1 กรอกข้อมูลศาล/ประเภทคำร้อง
- ระบุที่อยู่ที่ปรากฏในแบบรับรองรายการทะเบียนราษฎรของผู้ตาย เพื่อแสดงรายชื่อศาลในการพิจารณาคดี
- ระบุวันเดือนปีและสาเหตุของการตาย
- ระบุการมีอยู่ของพินัยกรรม
- ระบุจำนวนทายาท
- เลือกวิธีไต่สวน
ขั้นตอนที่ 2 กรอกข้อมูลผู้ร้อง
- ตรวจสอบข้อมูลของผู้ร้อง
- รับรองว่าผู้ร้องไม่เป็นบุคคลวิกลจริต หรือบุคคลซึ่งศาลสั่งให้เป็นผู้เสมือนไร้ความสามารถ ไม่เป็นบุคคลซึ่งศาลสั่งให้เป็นคนล้มละลาย
ขั้นตอนที่ 3 กรอกข้อมูลผู้ตาย
กรอกรายละเอียดเกี่ยวกับผู้ตาย ได้แก่ ชื่อ นามสกุล เลขบัตรประชาชน ภูมิลำเนา
ขั้นตอนที่ 4 กรอกข้อมูลบัญชีทรัพย์สิน
ระบุรายการบัญชีทรัพย์สินของผู้ตายว่ามีอะไรบ้าง
ขั้นตอนที่ 5 กรอกข้อมูลบัญชีเครือญาติ
ระบุข้อมูลเครือญาติของผู้ตาย ได้แก่
-
- บิดามารดา
- สามีภรรยา
- บุตรโดยชอบด้วยกฏหมาย
- บุตรบุญธรรม
- บุตรนอกกฏหมายที่บิดารับรองโดยพฤตินัย
- พี่น้องร่วมบิดาและ/หรือมารดาเดียวกัน
- ผู้รับพินัยกรรมที่ไม่ใช่ทายาท
- ผู้มีส่วนได้เสีย/เจ้าของกรรมสิทธิ์ร่วม ของเจ้ามรดก
ขั้นตอนที่ 6 อัปโหลดไฟล์เอกสารหลักฐาน
ระบบจะขอให้อัปโหลดไฟล์เอกสารหลักฐานต่อไปนี้
- หนังสือสำคัญแสดงการเปลี่ยนชื่อตัว – สกุลของผู้ร้อง
- ทะเบียนบ้านผู้ร้อง *จำเป็น
- ใบมรณบัตรของผู้ตาย *จำเป็น
- ทะเบียนบ้านผู้ตาย
- หนังสือสำคัญแสดงการเปลี่ยนชื่อตัว – สกุลของผู้ตาย
- ใบสำคัญการสมรส หรือแบบข้อมูลทะเบียนครอบครัวของผู้ตาย
- ใบมรณบัตรของผู้รับพินัยกรรมที่ไม่ใช่ทายาท เช่นใบมรณบัตรของบิดาผู้ตาย ใบมรณบัตรของมารดาผู้ตาย ใบมรณบัตรของคู่สมรสของผู้ตายเป็นต้น
- หนังสือมอบอำนาจ
เมื่อเลือกไฟล์ที่ต้องการแนบได้แล้ว ให้กดปุ่ม “อัปโหลด” เพื่อให้ระบบบันทึกไฟล์เอกสารหลักฐานของแต่ละรายการด้วย
ขั้นตอนที่ 7 ระบุบัญชีพยาน
ในขั้นตอนนี้ให้ระบุชื่อพยานที่สามารถยืนยันความสัมพันธ์ของผู้ตายได้
ขั้นตอนที่ 8 สรุปข้อมูลการยื่นคำร้อง
ในขั้นตอนนี้ ระบบจะสรุปข้อมูลการยื่นคำร้องให้ตรวจสอบอีกครั้ง
- หากตรวจสอบข้อมูลครบถ้วนถูกต้องแล้วให้กด “ส่งคำร้องให้เจ้าหน้าที่”
- กด “ยืนยัน”
- ระบบจะแสดงผลส่งคำร้องให้เจ้าหน้าที่สำเร็จ ให้กด “ตกลง”
ขั้นตอนสุดท้าย รอรับการติดต่อจากศาล
เมื่อส่งคำร้องให้เจ้าหน้าที่เสร็จสิ้นแล้ว ผู้ร้องจะได้รับเลขที่อ้างอิงการยื่นคำร้องและชื่อศาล ผ่านทาง SMS/อีเมลอีกครั้ง โดยให้รอเจ้าหน้าที่ทำการตรวจสอบต่อไป