ตรวจสอบเขตเลือกตั้ง ผู้ว่าฯ กทม. และ ส.ก. 2565 รวมถึงตรวจสอบสิทธิ์เลือกตั้ง หน่วยเลือกตั้ง สถานที่เลือกตั้ง และลำดับที่ในบัญชีรายชื่อ ได้ที่เว็บไซต์ของกรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย
- ผลการเลือกตั้งผู้ว่าฯ กทม. และ ส.ก. 2565 (รายงานสด)
- ไม่ไปเลือกตั้งผู้ว่าฯ กทม. 2565 ตามกฎหมายมีบทลงโทษอะไรบ้าง?
ช่องทาง ตรวจสอบเขตเลือกตั้ง ผู้ว่าฯ กทม. และ ส.ก.
ผู้มีสิทธิเลือกตั้ง สามารถ เช็กเขตเลือกตั้ง ผู้ว่าฯ กทม. และ ส.ก. ด้วยตัวเองผ่านระบบออนไลน์ได้ที่ เว็บไซต์กรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย https://stat.bora.dopa.go.th/Election/enqelectloc/#/
วิธีเช็กเขตเลือกตั้งผู้ว่าฯ กทม. และ ส.ก.
- ไปที่ เว็บไซต์กรมการปกครอง https://stat.bora.dopa.go.th/Election/enqelectloc/#/
- กรอกเลขประจำตัวประชาชน 13 หลัก
- ระบบจะแสดงผลการตรวจสอบ โดยมีรายละเอียดได้แก่ ตรวจสอบวันที่เลือกตั้ง สิทธิการเลือกตั้ง เขตเลือกตั้ง หน่วยเลือกตั้ง สถานที่เลือกตั้ง และลำดับที่ในบัญชีรายชื่อ
วันเลือกตั้งผู้ว่าฯ กทม. และ ส.ก.
- วันอาทิตย์ที่ 22 พฤษภาคม 2565 ตั้งแต่เวลา 8.00 – 17.00 น.
บัตรเลือกตั้งผู้ว่าฯ กทม. และ ส.ก.
ผู้มีสิทธิเลือกตั้งจะได้รับบัตรเลือกตั้ง 2 ใบ เพื่อนำไปใช้สิทธิเลือกตั้งผู้ว่าฯ กทม. และ ส.ก. ดังนี้
- บัตรเลือกตั้งผู้ว่าฯ กทม. – สีชมพู
- บัตรเลือกตั้งผู้ว่าฯ กทม. – สีน้ำตาล
รายชื่อผู้สมัครผู้ว่าฯ กทม. 2565
หมายเลขผู้สมัคร | ชื่อผู้สมัคร | สังกัดพรรค |
1 | นายวิโรจน์ ลักขณาอดิศร | พรรคก้าวไกล |
2 | พล.ท.ญ.ฐิฏา รังสิตพล มานิตกุล | ผู้สมัครอิสระ |
3 | นายสกลธี ภัททิยกุล | ผู้สมัครอิสระ |
4 | นายสุชัชวีร์ สุวรรณสวัสดิ์ | พรรคประชาธิปัตย์ |
5 | นายวีรชัย เหล่าเรืองวัฒนะ | ผู้สมัครอิสระ |
6 | พล.ต.อ.อัศวิน ขวัญเมือง | ผู้สมัครอิสระ |
7 | นางสาวรสนา โตสิตระกูล | ผู้สมัครอิสระ |
8 | นายชัชชาติ สิทธิพันธุ์ | ผู้สมัครอิสระ |
9 | นางสาววัชรี วรรณศรี | ผู้สมัครอิสระ |
10 | นายศุภชัย ตันติคมน์ | ผู้สมัครอิสระ |
11 | น.ต.ศิธา ทิวารี | พรรคไทยสร้างไทย |
12 | นายประยูร ครองยศ | พรรคไทยศรีวิไลย์ |
13 | นายพิศาล กิตติเยาวมาลย์ | ผู้สมัครอิสระ |
14 | นายธเนตร วงษา | ผู้สมัครอิสระ |
15 | พล.อ.ต.ทูตปรีชา เลิศสันทัดวาที | ผู้สมัครอิสระ |
16 | น.ส.ศศิกานต์ วัฒนะจันทร์ | ผู้สมัครอิสระ |
17 | นายอุเทน ชาติภิญโญ | ผู้สมัครอิสระ |
18 | น.ส.สุมนา พันธุ์ไพโรจน์ | ผู้สมัครอิสระ |
19 | นายไกรเดช บุนนาค | ผู้สมัครอิสระ |
20 | นางอมรพรรณ อุ่นสุวรรณ | ผู้สมัครอิสระ |
21 | นายนิพัทธ์พนธ์ สุวรรณชนะ | ผู้สมัครอิสระ |
22 | นายวรัญชัย โชคชนะ | ผู้สมัครอิสระ |
23 | นายเฉลิมพล อุตรัตน์ | ผู้สมัครอิสระ |
24 | นายโฆสิต สุวินิจจิต | ผู้สมัครอิสระ |
25 | นายประพัฒน์ บรรจงศิริเจริญ | ผู้สมัครอิสระ |
26 | พล.ต.ท.มณฑล เงินวัฒนะ | ผู้สมัครอิสระ |
27 | นายภูมิพัฒน์ อัศวภูภินทร์ | ผู้สมัครอิสระ |
28 | นายสราวุธ เบญจกุล | ผู้สมัครอิสระ |
29 | นายกฤตชัย พยอมแย้ม | พรรคประชากรไทย |
30 | นายพงศา ชูแนม | พรรคกรีน |
31 | นายวิทยา จังกอบพัฒนา | ผู้สมัครอิสระ |
ข้อควรรู้เกี่ยวกับการใช้สิทธิเลือกตั้งผู้ว่าฯ กทม.
พ.ร.บ.การเลือกตั้งสมาชิกสภาท้องถิ่นหรือผู้บริหารท้องถิ่น พ.ศ. 2562 ได้กำหนดคุณสมบัติของผู้มีสิทธิเลือกตั้ง บุคคลต้องห้าม รวมถึงบทลงโทษในกรณีไม่ไปเลือกตั้งผู้ว่าฯ กทม. ในวันที่ 22 พฤษภาคม 2565 ด้วย ซึ่งสามารถสรุปได้ดังนี้
ผู้มีสิทธิเลือกตั้งผู้ว่าฯ กทม.
บุคคลผู้มีคุณสมบัติดังต่อไปน้ี เป็นผู้มีสิทธิเลือกต้ังผู้ว่าฯ กทม.
- บุคคลที่มีสัญชาติไทยโดยการเกิด หรือมีสัญชาติไทยโดยการแปลงสัญชาติ โดยได้สัญชาติไทยมาแล้ว ไม่น้อยกว่า 5 ปี
- มีอายุไม่ต่ำกว่า 18 ปีในวันเลือกตั้ง คือ เกิดวันที่ 22 พฤษภาคม 2547 หรือก่อนหน้านั้น
- มีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้านในเขตเลือกตั้งมาแล้วเป็นเวลาติดต่อกันไม่น้อยกว่าหนึ่งปีนับถึง วันเลือกตั้ง และ
- คุณสมบัติอื่นตามที่กฎหมายว่าด้วยการจัดต้ังองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นกำหนด
บุคคลต้องห้ามใช้สิทธิเลือกตั้งผู้ว่าฯ กทม.
บุคคลผู้มีลักษณะดังต่อไปนี้ในวันเลือกตั้ง เป็นบุคคลต้องห้ามมิให้ใช้สิทธิเลือกตั้ง
- เป็นภิกษุ สามเณร นักพรตหรือนักบวช
- อยู่ในระหว่างถูกเพิกถอนสิทธิเลือกต้ังไม่ว่าคดีนั้นจะถึงที่สุดแล้วหรือไม่
- ต้องคุมขังอยู่โดยหมายของศาลหรือโดยคำสั่งที่ชอบด้วยกฎหมาย
- วิกลจริตหรือจิตฟั่นเฟือนไม่สมประกอบ
- มีลักษณะอื่นตามท่ีกฎหมายว่าด้วยการจัดต้ังองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นกำหนด
กรณีไม่ไปใช้สิทธิเลือกตั้งผู้ว่าฯ กทม.
1. กรณีมีเหตุอันสมควร
ในการเลือกตั้งคร้ังใด ถ้าผู้มีสิทธิเลือกต้ังไม่อาจไปใช้สิทธิเลือกต้ังได้เนื่องจากมีเหตุอันสมควร ให้แจ้งเหตุที่ไม่อาจไปใช้สิทธิเลือกตั้งต่อบุคคลซึ่งคณะกรรมการการเลือกต้ังกำหนด ภายใน 7 วันก่อนวันเลือกตั้งหรือภายใน 7 วันนับแต่วันเลือกตั้ง
แต่ถ้ามีเหตุจำเป็นไม่อาจแจ้งได้ภายใน 7 วันก่อนวันเลือกตั้ง ให้ดำเนินการแจ้งตามท่ีคณะกรรมการการเลือกต้ังกำหนด ทั้งนี้ การแจ้งเหตุดังกล่าวไม่เป็นการตัดสิทธิท่ีผู้น้ันจะไปใช้สิทธิเลือกต้ังหากภายหลังสามารถเดินทางไปเลือกตั้งได้
อย่างไรก็ตาม การแจ้งเหตุไม่ไปใช้สิทธิ ให้ผู้มีสิทธิเลือกตั้งทำเป็นหนังสือหรือโดยวิธีการอื่นเพื่อชี้แจงเหตุดังกล่าว โดยสามารถมอบหมายให้บุคคลใดไปยื่นต่อบุคคลซึ่ง กกต. แต่งต้ังแทน หรือ จัดส่งหนังสือชี้แจงเหตุนั้นทางไปรษณีย์ลงทะเบียน หรือแจ้งโดยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์ก็ได้
ถ้า กกต. เห็นว่าไม่ใช่เหตุอันสมควร จะแจ้งให้ผู้มีสิทธิเลือกตั้งทราบภายใน 3 วันนับแต่วันท่ีได้รับแจ้งเหตุ
2. กรณีไม่มีเหตุอันสมควร
หากผู้มีสิทธิเลือกตั้งไม่ไปใช้สิทธิเลือกตั้งและมิได้แจ้งเหตุท่ีไม่อาจไปใช้สิทธิเลือกตั้งหรือแจ้งเหตุที่ไม่อาจไปใช้สิทธิเลือกต้ังแล้วแต่เหตุนั้นมิใช่เหตุอันสมควร ผู้น้ันถูกจำกัดสิทธิ ดังต่อไปน้ี
บทลงโทษกรณีไม่ไปเลือกตั้งผู้ว่าฯ โดยไม่มีเหตุอันสมควร
- ไม่สามารถลงสมัครรับเลือกต้ังเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร หรือสมาชิกสภาท้องถิ่นและผู้บริหารท้องถิ่น หรือสมัครรับเลือกเป็นสมาชิกวุฒิสภาได้
- ไม่สามารถลงสมัครรับเลือกเป็นกำนันและผู้ใหญ่บ้านตามกฎหมายว่าด้วยลักษณะปกครองท้องที่ได้
- ไม่สามารถเข้าช่ือร้องขอให้ถอดถอนสมาชิกสภาท้องถิ่นหรือผู้บริหารท้องถิ่นตามกฎหมายว่าด้วย การลงคะแนนเสียงเพื่อถอดถอนสมาชิกสภาท้องถิ่นหรือผู้บริหารท้องถิ่นได้
- ไม่สามารถดำรงตำแหน่งข้าราชการการเมือง และ ข้าราชการรัฐสภาฝ่ายการเมืองได้
- ไม่สามารถดำรงตำแหน่งรองผู้บริหารท้องถิ่น เลขานุการผู้บริหารท้องถิ่น ผู้ช่วยเลขานุการผู้บริหารท้องถิ่น ประธานที่ปรึกษาผู้บริหารท้องถิ่น ที่ปรึกษาผู้บริหารท้องถิ่น หรือคณะที่ปรึกษาผู้บริหารท้องถิ่นได้
- ไม่สามารถดำรงตำแหน่งเลขานกุารประธานสภาท้องถิ่น ผู้ช่วยเลขานุการประธานสภาท้องถิ่นและ เลขานุการรองประธานสภาท้องถิ่นได้
ระยะเวลาจำกัดสิทธิ
การจำกัดสิทธิมีกำหนดเวลาคร้ังละ 2 ปีนับแต่วันเลือกต้ังครั้งท่ีผู้มีสิทธิเลือกตั้งไม่ไปใช้สิทธิเลือกต้ัง
ทั้งนี้ หากในการเลือกต้ังครั้งต่อไปผู้นั้นไม่ไปใช้สิทธิเลือกตั้งอีก ให้นับเวลาการจำกัดสิทธิคร้ังหลังนี้โดยนับจากวันท่ีมิได้ไปใช้สิทธิเลือกตั้งครั้งใหม่ และหากกำหนดเวลาการจำกัดสิทธิครั้งก่อนยังเหลืออยู่เท่าใดก็ให้กำหนดเวลาการจำกัดสิทธินั้นสิ้นสุดลง
ข้อสังเกตเกี่ยวกับการเลือกตั้งผู้ว่าฯ กทม. 2565
นายขจิต ชัชวานิชย์ ปลัดกรุงเทพมหานคร ในฐานะผู้อำนวยการการเลือกตั้งประจำท้องถิ่นกรุงเทพมหานคร สรุปผลการรับสมัครเลือกตั้งผู้ว่าฯ กทม. และสมาชิกสภากรุงเทพมหานคร (ส.ก.) มีสาระสำคัญ ดังนี้
- ผู้สมัครรับเลือกตั้งผู้ว่าฯ กทม. ทั้งหมด 31 คน โดยเป็นผู้ชาย 25 คน และ ผู้หญิง 6 คน
- ผู้สมัครผู้ว่าฯ อายุมากที่สุด คือ 72 ปี
- ผู้สมัครผู้ว่าฯ อายุน้อยที่สุด คือ 43 ปี
- ผู้สมัคร ส.ก. ทุกเขตรวมกันมีจำนวนทั้งสิ้น 382 คน
- เขตที่มีผู้สมัคร ส.ก. มากที่สุด จำนวน 10 คน ได้แก่ ดุสิต และสวนหลวง
- เขตที่มีผู้สมัคร ส.ก. น้อยที่สุด จำนวน 6 คน มีทั้งหมด 8 เขต คือ สัมพันธวงศ์ ตลิ่งชัน ภาษีเจริญ หนองแขม บางพลัด ดินแดง บางซื่อ และคันนายาว
- ผู้สมัคร ส.ก. อายุมากที่สุด คือ 82 ปี (ผู้สมัครเขตราชเทวี)
- ผู้สมัคร ส.ก. อายุน้อยที่สุด คือ 25 ปี (ผู้สมัครเขตลาดกระบัง)