ตรวจสอบสถานะโอน “เงินเยียวยาประกันสังคม” คนกลางคืน

ทั่วไป

ตรวจสอบสถานะโอน “เงินเยียวยาประกันสังคม” คนกลางคืน เริ่มโอนเงินเยีวยาวันแรกตั้งแต่ 29 ธันวาคม 2564 ผ่านบัญชีพร้อมเพย์ (PromptPay) ที่ผูกบัญชีกับเลขบัตรประชาชนให้ผู้ประกันตนที่ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์โควิด-19 ที่ถูกสั่งปิดสถานที่ และสถานประกอบการชั่วคราว เช่น ลูกจ้าง กลุ่มคนทำงานในสถานบันเทิง ผับ บาร์คาราโอเกะและผู้ประกอบอาชีพอิสระ รับเงิน 5,000 บาทต่อคน เป็นระยะเวลา 1 เดือน

วิธีตรวจสอบสิทธิรับเงินเยียวยาประกันสังคม คนกลางคืน

ช่องทางการสมัคร ลงทะเบียนประกันสังคม ม.40 กลุ่มคนกลางคืน

  1. สายด่วนประกันสังคม หมายเลข 1506
  2. ร้าน 7-Eleven ทุกสาขา
  3. ธนาคาร ธกส. ทุกสาขา
  4. ห้างสรรพสินค้า Big C
  5. เว็บไซต์ประกันสังคม ผ่าน “ระบบขึ้นทะเบียนผู้ประกันตนตามมาตรา 40” >> www.sso.go.th

คุณสมบัติผู้ประกันตน ม.40 ที่มีสิทธิรับเงินเยียวยา 5,000 บาท

  • เป็นผู้มีสัญชาติไทย
  • มีอายุตั้งแต่ 15 – 65 ปีบริบูรณ์
  • ไม่ได้เป็นลูกจ้างในบริษัท หรือมีนายจ้าง หรือผู้ประกันตน ม.33
  • ไม่ได้เป็นผู้จ่ายประกันสังคมแบบสมัครใจ หรือผู้ประกันตน ม.39
  • ไม่ได้เป็นข้าราชการ หรือพนักงานรัฐวิสาหกิจ
  • ได้รับการรับรองว่าทำงานในสถานบันเทิงนั้นจริงจากสมาคมดนตรีแห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมถ์ หรือสมาพันธ์เครือข่ายคนบันเทิง ที่จดทะเบียน กับกระทรวงมหาดไทย หรือกรมพัฒนาธุรกิจการค้า

ลดอัตราส่งเงินสมทบให้ผู้ประกันตน ม.40 เหลือ 60% ตั้งแต่ ส.ค. 2564 – ม.ค. 2565

พระราชกฤษฎีกากำหนดหลักเกณฑ์และอัตราการจ่ายเงินสมทบประเภทของประโยชน์ทดแทน ตลอดจนหลักเกณฑ์และเงื่อนไขแห่งสิทธิในการรับประโยชน์ทดแทนของบุคคลซึ่งสมัครเป็นผู้ประกันตน (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2564 ได้ปรับลดอัตราการส่งเงินสมทบของผู้ประกันตน ม.40 ลงเหลือ 60% เป็นเวลา 6 เดือน ตั้งแต่ 1 สิงหาคม พ.ศ. 2564 ถึง 31 มกราคม พ.ศ. 2565 ทำให้ผู้ประกันตนมาตรา 40 ซึ่งเป็นผู้ประกอบอาชีพอิสระ ฟรีแลนซ์ ค้าขาย และสนใจประกันตนภาคสมัครใจ จะมีทางเลือกส่งเงินสมทบได้ 3 ทางเลือก

  1. ทางเลือกที่ 1 เลือกรับประโยชน์ทดแทน 3 กรณี: อัตราเงินสมทบเหลือเดือนละ 42 บาท (จากเดิม 70 บาท)
    • คุ้มครองกรณีประสบอันตรายหรือเจ็บป่วย
    • คุ้มครองกรณีทุพพลภาพ
    • คุ้มครองกรณีเสียชีวิต
  2. ทางเลือกที่ 2 เลือกรับประโยชน์ทดแทน 4 กรณี: อัตราเงินสมทบเหลือเดือนละ 60 บาท (จากเดิม 100 บาท)
    • คุ้มครองกรณีประสบอันตรายหรือเจ็บป่วย
    • คุ้มครองกรณีทุพพลภาพ
    • คุ้มครองกรณีเสียชีวิต
    • คุ้มครองกรณีชราภาพ ได้รับเงินก้อนพร้อมดอกผล
  3. ทางเลือกที่ 3 เลือกรับประโยชน์ทดแทน 5 กรณี: อัตราเงินสมทบเหลือเดือนละ 180 บาท (จากเดิม 300 บาท)
    • คุ้มครองกรณีประสบอันตรายหรือเจ็บป่วย
    • คุ้มครองกรณีทุพพลภาพ
    • คุ้มครองกรณีเสียชีวิต
    • คุ้มครองกรณีชราภาพ ได้รับเงินก้อนพร้อมดอกผล
    • คุ้มครองกรณีสงเคราะห์บุตร ได้รับเงินรายเดือนตั้งแต่แรกเกิดถึง 6 ขวบ

หมายเหตุ: ทางเลือกที่ 1 จะได้รับประโยชน์ทดแทนน้อยที่สุด ในขณะที่ทางเลือกที่ 3 จะได้รับประโยชน์ทดแทนมากที่สุด

ยอดเงินประกันสังคมลด แต่ไม่กระทบประโยชน์ทดแทนในกรณีชราภาพ

ก่อนหน้านี้ นายอนุชา บูรพชัยศรี โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรีได้เปิดเผยว่า การปรับลดอัตราการจ่ายเงินสมทบเป็นระยะเวลา 6 เดือน จะส่งผลให้ผู้ประกันตนนำส่งเงินสมทบลดลง 378 ล้านบาท ส่วนรัฐบาลลดนำส่งเงินสมทบลง 189 ล้านบาท แต่แรงงานนอกระบบมีแนวโน้มที่จะเลือกส่งเงินสมทบแบบสมัครใจเป็นจำนวนเพิ่มขึ้นในช่วงเวลาที่มีการลดอัตราการจ่ายเงินสมทบดังกล่าว ซึ่งกระทรวงแรงงานคาดว่าจะมีเงินสมทบลดลงหลังจากการปรับลดอัตราการจ่ายเงินสมทบ 6 เดือน จำนวน 567 ล้านบาท เหลือจำนวน 850.5 ล้านบาท จากจำนวนเดิม 1,417.5 ล้านบาท แต่ทั้งนี้ยืนยันว่าจะไม่ส่งผลกระทบต่อการบริหารจัดการเงินสมทบเพื่อการจ่ายประโยชน์ทดแทนในกรณีชราภาพ เนื่องจากสำนักงานประกันสังคมจัดสรรเงินสมทบเข้ากองทุนเพื่อการจ่ายประโยชน์ทดแทนในกรณีชราภาพตามอัตราปกติ

app icon
iTAX คำนวณและวางแผนภาษี
star star star star star
(100K+)