เคยได้ยินเวลาที่ดารารับเงินจากคนจ้าง บางครั้งคนจ้างก็จะถามว่าจะให้ หักภาษี ณ ที่จ่าย 3% หรือ 5% ดีนะ? ถ้าเราฟังเร็วๆ อาจจะรู้สึกว่าถูกหักแค่ 3% ย่อมดีกว่าถูกหัก 5% สิ เวลารับเช็คจะได้ตัวเลขเยอะขึ้นเพราะถูกหักภาษีน้อยกว่า แต่ว่าวิธีคิดแบบนี้ดีกว่าจริงๆ มั้ยเราไปดูกัน
1. ประเภทของเงินได้ที่ได้รับมีผลกับการวางแผนภาษี
โดยปกติดาราจะได้รับรายได้อยู่ 2 แบบหลักๆ คือ ค่าตัวนักแสดงสาธารณะ 40(8) หรือไม่ก็ ค่าจ้างทั่วไป 40(2)
-
กรณีเป็นค่าตัวนักแสดงสาธารณะ 40(8)
จะสามารถหัก ค่าใช้จ่าย ได้ 2 ขั้นคือ ค่าตัว ฿300,000 แรกจะหักค่าใช้จ่ายแบบเหมาได้ 60% และค่าตัวส่วนเกิน ฿300,000 จะหักค่าใช้จ่ายแบบเหมาได้ 40% แต่จะหักค่าใช้จ่ายแบบเหมาได้สูงสุดไม่เกิน ฿600,000
ดังนั้น ถ้าค่าจ้างส่วนนี้ตลอดทั้งปีเกิน ฿1,350,000 เมื่อไหร่ คุณจะหมดสิทธิ์หักค่าใช้จ่ายเพิ่มเพราะเต็มเพดานไปแล้ว แต่ถ้ามีค่าใช้จ่ายตามจริงมากกว่านั้นจะเลือกหักค่าใช้จ่ายตามจริงก็ได้ (แต่ต้องเก็บหลักฐานค่าใช้จ่ายด้วย)
-
กรณีเป็นค่าจ้างทั่วไป 40(2)
จะสามารถหักค่าใช้จ่ายแบบเหมาสูงสุด 50% แต่ไม่เกิน ฿100,000 (เมื่อรวมกับการหักค่าใช้จ่ายของ เงินเดือน 40(1) แล้ว)
ดังนั้น ถ้าค่าจ้างส่วนนี้ (รวมเงินเดือน) ตลอดทั้งปีเกิน ฿200,000 เมื่อไหร่ คุณจะไม่สามารถใช้สิทธิ์หักค่าใช้จ่ายได้อีก เพราะใช้สิทธิ์เต็มเพดานไปแล้ว และไม่สามารถเลือกหักค่าใช้จ่ายตามจริงได้
จากการเปรียบเทียบข้างต้น จะเห็นได้ว่า ถ้าเลือกให้ค่าตัวของเราเป็นค่าตัวนักแสดงสาธารณะ 40(8) จะช่วยให้ประหยัดภาษีมากกว่า
2. อัตราภาษีที่ถูกหัก ณ ที่จ่ายมีผลต่อการกำหนดประเภทของเงินได้
ต้องเข้าใจก่อนว่าค่าจ้างที่ถูกหักภาษี 5% จะถูกบันทึกว่าเป็นค่าตัวนักแสดงสาธารณะ 40(8) ในขณะที่ค่าจ้างที่ถูกหักภาษี 3% จะถูกบันทึกว่าเป็นค่าจ้างทั่วไป 40(2) ซึ่งข้อมูลเหล่านี้คนจ่ายเงินจะต้องบันทึกไว้แล้วนำไปส่งกรมสรรพากร
ดังนั้น ถ้าคุณถูกหัก ณ ที่จ่ายไป 3% แล้ว ตอนยื่นภาษีจะแจ้งว่าเป็นค่าตัวนักแสดงสาธารณะ 40(8) (ที่ควรจะถูกหักภาษี 5%) คุณอาจจะถูกโต้แย้งได้ เพราะต้นขั้วไม่ได้บันทึกไว้แบบนั้น ทำให้ดาราหลายๆ คนวางแผนภาษีลำบากตอนยื่นภาษี เพราะกรมสรรพากรเข้าใจว่าเป็นค่าจ้างทั่วไป 40(2) มาตั้งแต่แรกไปแล้ว
3. คนจ้างจะหักภาษีเรา 3% หรือ 5% ไม่มีผลกับเขาเท่าไหร่เลย
เพราะไม่ว่าจะเลือกหักภาษีแบบไหน คนจ่ายเงินให้ดาราก็สามารถนำไปหักเป็นรายจ่ายของเขาได้เต็มจำนวนอยู่แล้ว เขาจะหักภาษี ณ ที่จ่าย 3% หรือ 5% ก็ไม่มีผลกับเขา แต่มีผลกับดารามากพอสมควร
สรุป
พอเห็นความแตกต่างแล้วว่าถ้าเลือกให้ค่าตัวของเราเป็นค่าตัวนักแสดงสาธารณะ 40(8) จะช่วยให้ประหยัดภาษีมากกว่า ดังนั้น เวลาดารารับเงินค่าจ้างครั้งต่อไป จะเลือกให้หักภาษี ณ ที่จ่าย 3% หรือ 5% ดีก็วางแผนภาษีกันดีๆ นะครับ
RELATED POSTS
-
เงินคืนภาษี กับเรื่องต้องระวัง!สิ่งหนึ่งที่รัฐใช้จูงใจให้ผู้มีรายได้หันมายื่นภาษีกันมากขึ้นก็คือ “เงินคืนภาษี” แต่แม้ว่า การได้รับเงินคืนภาษีจะทำให้หลายคนพอใจ แต่การที่คุณจะได้รับเงินคืนภาษีนั้น ก็มีเรื่องต้องระวังอยู่เช่นกัน
-
ได้เงินเดือนจากการฝึกงานต้องเสียภาษีมั้ย?นักศึกษาที่มีรายได้จากการฝึกงานในบริษัทต่างๆ จะต้องยื่นภาษีหรือไม่นั้น ก็ขึ้นอยู่กับว่า รายได้ที่ได้จากการฝึกงานนั้นถึง 120,000 บาทหรือไม่ เพราะถ้าได้รับเงินเดือนรวมกันไม่ถึง 120,000 บาท/ปี ก็ไม่จำเป็นต้องยื่นภาษี
เป็นพระต้องเสียภาษีมั๊ยศาสนาพุทธเป็นสิ่งที่อยู่คู่กับสังคมไทยมาช้านาน พระภิกษุในฐานะนักบวชของศาสนาพุทธจึงเป็นที่พึ่งให้พุทธศาสนิกชนในหลายๆ เรื่อง โดยเฉพาะทางด้านจิตใจ ซึ่งหลายๆ ครั้งก็มักจะจบลงด้วยการใส่ซองถวายเงินให้พระแล้วกราบ 3 ครั้ง วันนี้เราจะมาไขข้อข้องใจกันว่า ตามกฎหมายไทยเป็นพระต้องเสียภาษีมั้ย? 1. พระเป็นผู้เสียภาษีได้ไหม? ในมุมมองของปุถุชน เรามักจะมองว่าพระตัดแล้วซึ่งทางโลก แต่กฎหมายไม่ได้มองแบบนั้น กฎหมายยังคงมองว่าพระภิกษุยังคงเป็น บุคคลธรรมดา ตามกฎหมายอยู่ ดังนั้น ถ้าพระมีรายได้ พระก็จะพ่วงตำแหน่ง ผู้เสียภาษี ไปด้วย ในทางกลับกัน ถ้าพระไม่มีรายได้ พระก็ไม่มีหน้าที่เป็นผู้เสียภาษีแต่อย่างใด 2. พระจะมีรายได้ได้ไง? สำหรับพระซึ่งกฎหมายมองว่าเป็นบุคคลธรรมดา ก็ใช้หลักพื้นฐานง่ายๆ ว่าบุคคลธรรมดาคนนั้นมีรายได้ที่ต้องเสียภาษีไหม (หรือที่ศัพท์กฎหมายยากๆ เรียกว่า “เงินได้พึงประเมิน”) ซึ่งนักบวชที่เป็นพระภิกษุในศาสนาพุทธก็อาจจะมีรายได้ที่ต้องเสียภาษีได้ เช่น รายได้จากการสอนหนังสือ บรรยายธรรมให้องค์กรเอกชน ได้รับดอกเบี้ยเงินฝากธนาคาร เป็นต้น 3. แต่ไม่เคยเห็นพระรูปไหนเสียภาษีเลยนะ? ถ้าเงินที่พระได้รับเป็นเงินทำบุญที่ญาติโยมบริจาคเพื่อใช้ประโยชน์ในกิจการศาสนา แบบนี้จะเป็นเงินได้ที่ต้องได้รับยกเว้นภาษีอยู่แล้ว (มาตรา 42(29) ประมวลรัษฎากร) เมื่อเงินที่ได้ได้รับยกเว้นภาษี ก็แปลว่า พระไม่มีเงินได้ที่ต้องเสียภาษี เมื่อไม่มีเงินได้ก็เลยไม่ต้องเสียภาษีนั่นเอง สรุป ที่พระไม่ต้องเสียภาษีไม่ใช่เพราะพระมีสถานะเป็นพระ แต่เป็นเพราะเงินที่พระได้รับเป็นเงินที่ยกเว้นภาษีต่างหาก พระเลยไม่ต้องเสียภาษี ส่วนพระที่มีรายได้นอกเหนือจากเงินทำบุญ ท่านอาจจะมีหน้าที่ต้องเสียภาษีด้วยนะครับ ยังไงถ้าหลวงพี่ทำภาษีไม่เป็นจริงๆ นิมนต์หลวงพี่ใช้ www.itax.in.th ได้ฟรีนะครับ
-
บริจาคให้โรงพยาบาลลดหย่อนภาษีได้แล้วการบริจาคเงินให้โรงพยาบาลรัฐ และสถานพยาบาลของรัฐ สามารถนำมาใช้สิทธิลดหย่อนภาษีได้ 2 เท่า รวมถึงเงินบริจาคโครงการก้าวคนละก้าวก็สามารถลดหย่อนภาษีได้เช่นกัน
-
วันเกิดกับภาษีวันเกิดเป็นปัจจัยสำคัญเกี่ยวกับการคำนวณภาษีและสิทธิประโยชน์ต่างๆ ที่อาจคาดไม่ถึง เพราะภาษีบางรายการมีความเกี่ยวข้องกับเกณฑ์อายุด้วย ดังนั้น วันเกิดของคุณจึงอาจส่งผลให้คุณได้สิทธิ์หรือเสียสิทธิ์ทางภาษีได้ในเวลาเดียวกัน
-
ถูกหวยต้องเสียภาษีรึเปล่า?เมื่อผลประกาศมาว่าเราถูกรางวัล! ไม่ว่าจะเป็นรางวัลที่ 1 หรือแม้แต่รางวัลเลขท้ายสองตัว เราจะมีสิทธินำสลากฯ ไปขึ้นรางวัล ซึ่งนั่นย่อมหมายความว่าเรารวยขึ้น และเป็นจุดเริ่มต้นของคำถามว่า เงินรางวัลที่ได้รับนั้นเป็นรายได้ที่ต้องเสียภาษีรึเปล่า?
RELATED POSTS
-
เงินคืนภาษี กับเรื่องต้องระวัง!สิ่งหนึ่งที่รัฐใช้จูงใจให้ผู้มีรายได้หันมายื่นภาษีกันมากขึ้นก็คือ “เงินคืนภาษี” แต่แม้ว่า การได้รับเงินคืนภาษีจะทำให้หลายคนพอใจ แต่การที่คุณจะได้รับเงินคืนภาษีนั้น ก็มีเรื่องต้องระวังอยู่เช่นกัน
-
ได้เงินเดือนจากการฝึกงานต้องเสียภาษีมั้ย?นักศึกษาที่มีรายได้จากการฝึกงานในบริษัทต่างๆ จะต้องยื่นภาษีหรือไม่นั้น ก็ขึ้นอยู่กับว่า รายได้ที่ได้จากการฝึกงานนั้นถึง 120,000 บาทหรือไม่ เพราะถ้าได้รับเงินเดือนรวมกันไม่ถึง 120,000 บาท/ปี ก็ไม่จำเป็นต้องยื่นภาษี
เป็นพระต้องเสียภาษีมั๊ยศาสนาพุทธเป็นสิ่งที่อยู่คู่กับสังคมไทยมาช้านาน พระภิกษุในฐานะนักบวชของศาสนาพุทธจึงเป็นที่พึ่งให้พุทธศาสนิกชนในหลายๆ เรื่อง โดยเฉพาะทางด้านจิตใจ ซึ่งหลายๆ ครั้งก็มักจะจบลงด้วยการใส่ซองถวายเงินให้พระแล้วกราบ 3 ครั้ง วันนี้เราจะมาไขข้อข้องใจกันว่า ตามกฎหมายไทยเป็นพระต้องเสียภาษีมั้ย? 1. พระเป็นผู้เสียภาษีได้ไหม? ในมุมมองของปุถุชน เรามักจะมองว่าพระตัดแล้วซึ่งทางโลก แต่กฎหมายไม่ได้มองแบบนั้น กฎหมายยังคงมองว่าพระภิกษุยังคงเป็น บุคคลธรรมดา ตามกฎหมายอยู่ ดังนั้น ถ้าพระมีรายได้ พระก็จะพ่วงตำแหน่ง ผู้เสียภาษี ไปด้วย ในทางกลับกัน ถ้าพระไม่มีรายได้ พระก็ไม่มีหน้าที่เป็นผู้เสียภาษีแต่อย่างใด 2. พระจะมีรายได้ได้ไง? สำหรับพระซึ่งกฎหมายมองว่าเป็นบุคคลธรรมดา ก็ใช้หลักพื้นฐานง่ายๆ ว่าบุคคลธรรมดาคนนั้นมีรายได้ที่ต้องเสียภาษีไหม (หรือที่ศัพท์กฎหมายยากๆ เรียกว่า “เงินได้พึงประเมิน”) ซึ่งนักบวชที่เป็นพระภิกษุในศาสนาพุทธก็อาจจะมีรายได้ที่ต้องเสียภาษีได้ เช่น รายได้จากการสอนหนังสือ บรรยายธรรมให้องค์กรเอกชน ได้รับดอกเบี้ยเงินฝากธนาคาร เป็นต้น 3. แต่ไม่เคยเห็นพระรูปไหนเสียภาษีเลยนะ? ถ้าเงินที่พระได้รับเป็นเงินทำบุญที่ญาติโยมบริจาคเพื่อใช้ประโยชน์ในกิจการศาสนา แบบนี้จะเป็นเงินได้ที่ต้องได้รับยกเว้นภาษีอยู่แล้ว (มาตรา 42(29) ประมวลรัษฎากร) เมื่อเงินที่ได้ได้รับยกเว้นภาษี ก็แปลว่า พระไม่มีเงินได้ที่ต้องเสียภาษี เมื่อไม่มีเงินได้ก็เลยไม่ต้องเสียภาษีนั่นเอง สรุป ที่พระไม่ต้องเสียภาษีไม่ใช่เพราะพระมีสถานะเป็นพระ แต่เป็นเพราะเงินที่พระได้รับเป็นเงินที่ยกเว้นภาษีต่างหาก พระเลยไม่ต้องเสียภาษี ส่วนพระที่มีรายได้นอกเหนือจากเงินทำบุญ ท่านอาจจะมีหน้าที่ต้องเสียภาษีด้วยนะครับ ยังไงถ้าหลวงพี่ทำภาษีไม่เป็นจริงๆ นิมนต์หลวงพี่ใช้ www.itax.in.th ได้ฟรีนะครับ
-
บริจาคให้โรงพยาบาลลดหย่อนภาษีได้แล้วการบริจาคเงินให้โรงพยาบาลรัฐ และสถานพยาบาลของรัฐ สามารถนำมาใช้สิทธิลดหย่อนภาษีได้ 2 เท่า รวมถึงเงินบริจาคโครงการก้าวคนละก้าวก็สามารถลดหย่อนภาษีได้เช่นกัน
-
วันเกิดกับภาษีวันเกิดเป็นปัจจัยสำคัญเกี่ยวกับการคำนวณภาษีและสิทธิประโยชน์ต่างๆ ที่อาจคาดไม่ถึง เพราะภาษีบางรายการมีความเกี่ยวข้องกับเกณฑ์อายุด้วย ดังนั้น วันเกิดของคุณจึงอาจส่งผลให้คุณได้สิทธิ์หรือเสียสิทธิ์ทางภาษีได้ในเวลาเดียวกัน
-
ถูกหวยต้องเสียภาษีรึเปล่า?เมื่อผลประกาศมาว่าเราถูกรางวัล! ไม่ว่าจะเป็นรางวัลที่ 1 หรือแม้แต่รางวัลเลขท้ายสองตัว เราจะมีสิทธินำสลากฯ ไปขึ้นรางวัล ซึ่งนั่นย่อมหมายความว่าเรารวยขึ้น และเป็นจุดเริ่มต้นของคำถามว่า เงินรางวัลที่ได้รับนั้นเป็นรายได้ที่ต้องเสียภาษีรึเปล่า?